Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Chotima ถามใน สังคมและวัฒนธรรมภาษา · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

คุณคิดอย่างไรกับการพูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทย?

และจำเป็นมากน้อยแค่ใหนที่ต้องพูดสำเนียงแบบเจ้าของภาษา

11 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • NooaoM
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ก็อาจจะเหมือนที่ฝรั่งพูดไทยไม่ชีดนั้นแหล่ะค่ะ เราอาจจะฟั��แล้วเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ออกแนวตลกขบขันบ้าง ความหมายที่พยายามสื่ออาจจเพี้ยนไปบ้างหรือ พูดมาทั้งๆที่ไม่รู้ว่ามันหมายความว่ายังไง ในทางกลับกันถ้าเป็นภาษาอังกฤษฝรั่งคงจะรู้สึกเหมือนๆกับเรา

    การที่เราจะหัดพูดให้ชัดให้เคลียร์ถูกต้องตามสำเนียงนั้นเป็นเรื่องที่ดีค่ะ ขนาดฝรั่งพูดไทยชัดเรายังว่าเขาเก่งเลย แล้วถ้าเราพูดภาษาอังกฤษให้ชัดบ้างเขาคงว่าเราเก่งเหมือนกันเนอะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลยค่ะ สำคัญที่ว่าสามารถสื่อสารกับฝั่งได้ก็น่าจะพอนะคะ เพราะเรามีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติอยู่แล้ว น่าภูมิใจค่ะ ถึงจะพูดไม่ได้เหมือนฝรั่งแต่คุยกับฝรั่งได้รู้เรื่องก็น่าชื่นชมแล้วค่ะ การฝึกให้เหมือนเปี๊ยบคงทำได้แต่ต้องคุยต้องฟังบ่อยๆ ใช้เวลานาน ถ้าทำได้มันก็ดีค่ะ แต่ฝรั่งที่เขามองแง่บวก เขาก็รู้สึกว่าไม่เป็นไร เขาเข้าใจค่ะ ก็เหมือนฝรั่งพูดไทยไม่ชัด มันก็น่ารักดีนะคะ

  • annie
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จริง ๆ แล้วมันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังจะสื่อสารกับใคร กับคนไทยด้วยกันหรือเปล่าในกรณีที่ต้อง Presentation ต่อเจ้านายในองค์กร อันนั้นคิดว่าพวกคนไทยด้วยกันเองจะฟังภาษาอังกฤษสำเนียงไทยได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าต้องใช้ติดต่อสื่อสารกับตัวเจ้าของภาษาแล้วล่ะก็ ดิฉันคิดว่าเรื่องของสำเนียงเป็นสิ่งสำคัญอยู่นะ เพราะอย่างภาษาอังกฤษหรือภาษาไหน ๆ ก็ตาม ถ้ามีการออกเสียงผิด ก็จะทำให้ความหมายของคำศัพท์นั่นเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง คนไทยพูดภาษาอังกฤษก็จะเจอกับปัญหาแบบนี้อยู่บ่อย ๆ ไม่ต้องกังวลหรอกค่ะ และไม่ต้องอายด้วย ที่จะต้องดัดเสียงบ้างในบ้างที เพราะนั่นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะต้องพยายามทำ และยังต้องอาศัยความขยันพูด และพยายามจำสำเนียงจากเจ้าของภาษาไว้ให้ดี ๆ มันจะยิ่งช่วยให้การสื่อสารของคุณกับเจ้าของภาษาที่ว่านี้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เกือบทุกชาติแหล่ะค่ะ ถ้าพูดภาษาอื่นมักออกสำเนียงผิด เป็นธรรมดา แต่เราก็ต้องพยายามฝึกพูดให้เค้าเข้าใจให้ได้ แค่นี้ก็คงจะพอแล้วล่ะค่ะ คิดดูสิคะ ภาษาของเราเองบางทีเรายังใช้กันผิดเลยนะ แล้วภาษาอื่นก็คงคล้ายกันแหละค่ะ ถูกบ้าง ผิดบ้าง มันอยู่ที่ความมานะว่าทุกคนจะทำอย่างไรถึงจะสื่อสารกะเค้าให้เค้าเข้าใจ

    คนไทยพูดภาษาอื่นชัดนะ แต่บางทีพอเจอเข้าจริง ๆกลับพูดไม่ได้อย่างที่คิด เพราะเป็นเหมือนกันค่ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เท่าที่รู้มา คนรอบตัว(ทึ่จริงจังกับชีวิต) ให้ความเห็นว่า เราควรพูดภาษาใดๆก็ตามให้ถูกต้องตามสำเนียงของเจ้าของภาษา และไม่ควรพูดภาษาผสม เป็นการให้เกียรติต่อตัวเองและเจ้าของภาษา

    แต่ส่วนตัวทุกวันนี้ ก้อพูดภาษา Sinlish หรือ Thailish บางทีก็ภาษาใบ้ ภาษาไทยก้อยังพูดไม่ค่อยชัด เพราะเราไม่ชอบอะไรที่เคร่งครัด ไม่ผ่อนคลาย ที่สำคัญรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง เวลาพูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทย (ไม่ต้องดัดจริตของตัวเอง)

    เวลาไปเมืองนอก หรือคุยกับฝรั่ง ทุกคนก็ชมว่าเราพูดและฟังได้ดี (คิดว่าคนที่เขาไม่ชอบ คงไม่มาด่าเราให้ฟังหรอกคะ) อย่างน้อยก็สื่อสารได้รู้เรื่อง

    เวลาอยู่เมืองไทย หลายคนลงความเห็นว่าเราไม่ใช่คนไทย เพราะเราพูดสำเนียงไทยไม่ชัด ทั้งๆที่เกิดเมืองไทย อยู่เมืองไทย และรักเมืองไทยที่สุด

    ส่วนตัวคิดว่าไม่จำเป็นต้องพูดสำเนียงเจ้าของภาษาหรอกคะ ถ้าหากเราคิดแค่จะสื่อสาร แต่ถ้าหากเราต้องการความยอดเยี่ยม เราควรพูดให้ถูกต้องตามสำเนียงเจ้าของภาษา ชอบมากคะเวลาฟังข่าวภาษาอังกฤษ ที่พูดสำเนียงอังกฤษก็ชัด และ พูดสำเนียงชื่อไทยก็ชัด

    คิดดูซิคะ เวลาเราเจอฝรั่งพูดไทยชัด ยังทึ่งเลย และขำ เวลาฝรั่งพูดผิด สนุกดี แต่บางครั้งก้อรำคาญที่ต้องพยายามเข้าใจเขาว่าพูดอะไร

    อย่างไรก้ออย่า Serious นะคะ สบายๆคือไทยแท้คะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คิดว่าในการพูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทยจะทำให้คำนั้นเพี้ยนเลยค่ะ เพราะเวลาฝรั่งออกเสียงอีกอย่าง แล้วเราออกเสียงอีกอย่าง ถ้าถามว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เอาที่ใกล้ตัวที่สุดคือ ถ้าเราสอนลูกอื่นภาษาอังกฤษแล้วออกสำเนียงไทย พอเด็กไปอ่านที่โรงเรียน คนอื่นเค้าก็อ่านตามครูต่างชาติที่มาสอน แต่ถ้าออกสำเนียงไทยคือ หากลูกต้องไปทำงานติดต่อกับชาวต่างชาติและได้ทุนไปเรียนต่างประเทศ หรือไม่ตอนนี้บริษัทหรือองค์กรในประเทศไทยก็ติดต่อธุรกิจกับชาวต่างชาติบ่อยอยู่แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดและจำเป็นที่สุดคือสำเนียงและภาษาที่ถูกต้องของแต่ละชาติค่ะ

  • ไม่มีความจำเป็นมากค่ะที่จะต้องพูดสำเนียงให้เหมือนเจ้าของภาษาเพราะไม่ใช่ภาษาประจำชาติของเราเราไม่ได้พูดมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้ามีโอกาสสามารถเรียนรู้หัดพูดให้ชัดเจนและใกล้เคียงที่สุดก็จะเป็นผลดีต่อหน้าที่การงานที่จำเป็นจะต้องใช้ติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ ความจำเป็นมากจำเป็นน้อยขึ้นอยู่กับหน้าที่การงานของคนนั้นๆ แต่อยากให้คนเก่งภาษาอังกฤษสอนชาวต่างชาติให้หัดพูดหัดใช้ภาษาไทยบ้าง ภาษาไทยของเราน่าภาคภูมิใจ ไม่ใช่อยากเก่งแต่ภาษาของเขา อยากให้ชาวต่างชาติอยากหัดใช้หัดพูดภาษาไทยบ้าง นี่คือข้ออ้างของคนเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่องค่ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    it's hard to understand by oversea people! so if you can speak Eng' like British or American it's great that you can conversationt with others, but for me i like American more than british b'coz i studied Eng' classes with Australian and American teachers.

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผมไม่ว่ายังไงหรอกครับ

    แต่ถ้าพูดสำเนียงไทยแข็งแรงมากๆแล้วเนี่ย

    ่ถ้าไปพูดกับฝรั่งแล้ว เขาจะฟังรู้เรื่อง หรือ เปล่า เท่านั้นเอง

    ผมก็เคยคิดว่า ไม่เป็นไร เลย หน้าเราก็ไม่เหมือนฝรั่งอยู่แล้ว

    แต่พอพูดแล้ว เขาฟังไม่รู้เรื่องเลย เนี่ย ตอนหลังๆก็เลยต้อง

    พยายามทำให้ พูดให้ คนฟัง เหนื่อยน้อย ลงหน่อย

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าพูดสำเนียงกลาง อาทิ American English หรือ British ได้ก็จะดี เพราะทำให้ฝรั่งเข้าใจเรามากขึ้น (ก็ชาติอื่นๆเค้าเีรียนวิธีอ่านแบบสองชาตินี้นี่ครับ) แม้ว่าสำนวน หรือภาษาที่ใช้จะไม่หรูเท่าเจ้าของภาษา ก็จะทำให้เรามีมูลค่าเพิ่มได้

    อย่างไรก็ตาม ในบางแง่มุมการพูดภาษาอังกฤษสำเนียงไทยก็มีข้อเด่นคือ การบ่งบอกสัญชาติว่าเราเป็นใครมาจากที่ไหน เข้าทำนอง "สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล" เพราะฝรั่งจะเข้าใจว่า ภาษาที่เราใช้มักจะไม่มีตัวปิดท้ายเสียง เช่น -d หรือ -t ซึ่งคุณครูไทย สอนแบบผิดๆมาเสมอว่า ถ้าปิดด้วย d ให้ลงท้ายด้วยเดอะๆ แต่ถ้าเป็น t ให้ลงท้ายด้วยเทอะๆ คราวนี้ละครับ ใช้เดอะๆเทอะๆ ฝรั่งงงเป็นแถว คำไหนนะหรือครับ Food (ฟูด) มันต้องออกด้วยเสียง D ปิดท้ายลงต่ำ คนไทยมักจะอ่าน (ฟุต) ที่แปลว่าเท้า ถึงคราวสั่งอาหารทีไร เจอเท้าตลอด ไม่ได้กินข้าวสักที

    แหล่งข้อมูล: ประสบการณ์ส่วนตัว ไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อ่าน Let's Music Entertain Us
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้