Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

noija ถามใน สังคมศาสตร์เศรษฐศาสตร์ · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

เคยคิดบ้างหรือเปล่าทำไมเงินเดือนมากขึ้นแต่ไม่พอใช้

เมื่อก่อนตอนจบใหม่เงินเดือนนิดเดียวรู้สึกรวยมากอยากใช้จ่ายอะไรก็ได้ แต่ตอนนี้เงินเดือนมากขึ้นก่วาเดิมเกือบ 7 เท่าแต่ไม่พอใช้

10 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เราก็เคยคิดอยู่เหมือนกันค่ะ

    เงินเดือนเราอาจจะมากขึ้นตามกาลเวลา

    แต่สินค้า ข้าวของเครื่องใช้ รายจ่ายเรา มันก็เพิ่มขึ้นตามกาลเวลาเหมือนกัน

    อย่างเมื่อก่อน 3-4ปีที่แล้ว เราเคยคิดว่าปกติราคาบ้านอยู่ที่ล้านต้นๆเราก็พอจะซื้อได้แล้ว แต่ผ่านมา 3-4ปี เราอาจจะพอมีเงินเฉียดๆล้าน ก็ยังไม่สามารถซื้อบ้านได้ นั่นก็เพราะราคาบ้านและที่ดินเองก็ขึ้นมาอีก

    ในฐานะคนชั้นกลางของสังคม เรารู้เราเข้าใจเลยค่ะ ยังไงสังคมไทยก็ยังมีคนจนอยู่อีกเยอะ เราเก็บได้เท่านี้ แต่ค่าเงินมันก็ขึ้นๆมาอีก เรายังไม่รู้เลย เมื่อไหร่ เราถึงจะรวยได้อย่างเค้าบ้างนะ ฮาฮา

    สู้กันต่อไปค่ะ อย่างน้อย มีเก็บดีกว่าไม่มีเลยนะ

    และก็มีเงินก็ดีกว่าไม่มีเงินในกระเป๋าเลย

    พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ มีฝันได้ค่ะ และพยายามไต่กันต่อไป อย่าท้อแท้ ; )

  • Tum B.
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    โอ้...เป็นคำถามที่โดนใจผมจริงๆ ครับ แบบว่าเพิ่งคิดเรื่องนี้ไปไม่นานนี้เอง

    ผมเห็นว่าส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้ออะไรต่างๆ อีกส่วนหนึ่งมาจากความรับผิดชอบจากวัยที่สูงขึ้น

    แต่ส่วนสำคัญที่ผมคิดว่าผมเป็นประเด็นใหญ่สำหรับผมเลยก็คือความเคยตัวครับ พอเรามีรายได้มากขึ้น อะไรๆ ก็ซื้อหาง่ายขึ้น สมัยก่อนแบงค์ร้อยใหญ่มาก พอมีเงินเดือนมากขึ้น เราก็มองเห็นคุณค่าของเงินหนึ่งร้อยบาทน้อยลง อาจจะพอๆ กับแบงค์พันตอนนี้เลยก็ได้ ยิ่งพอมีบัตรเครดิตยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย เงินพันเงินหมื่นนี่เป็นเรื่องเล็กมากๆ

    สำหรับตัวผมที่โดยนิสัยไม่ได้เป็นคนชอบซื้อของ แต่ส่วนมากจะหมดไปกับการกินซะเป็นส่วนใหญ่ หลังๆ ผมเลยลองมาสำรวจตัวเองดูครับ ทำให้มองเห็นความเคยชินหรือความเคยตัวของตัวเอง (ที่ไม่ดี) ว่าผมติดนิสัยการออกไปหาอะไรอร่อยๆ กิน อย่างต่ำๆ มื้อละสี่ห้าร้อยนี่เป็นเรื่องปกติ บางทีเคยตัวจนทั้งอาทิตย์ตระเวนหาร้านนู้นร้านนี้กินทุกวัน หลังๆ พอมาเห็นแบบนี้เข้าก็เสียดายเงิน ทำให้ตอนนี้พยายามลดๆ ครับ อาทิตย์นึงจะออกไปกินสักครั้งนึง ใช้ซื้อของมาทำกินเองบ้าง กินข้าวธรรมดาๆ บ้าง ก็อร่อยดีครับ เพราะบางทีเรากินแต่อาหารญี่ปุ่นจนเคยตัว พอมากินข้าวแกงแบบบ้านๆ บ้าง ก็อร่อยไม่แพ้อาหารแพงๆ เหมือนกันครับ

    สำหรรับตอนนี้ผมเลยทำบัญชีใช้จ่ายครับ แยกเป็นหมวดหมู่ จะใช้จดเอาหรือใช้โปรแกรมต่างๆ ช่วยก็ได้ครับ อย่างของผมใช้โปรแกรมที่ลงไว้บนคอมพิวเตอร์ มันสามารถสรุปให้เราได้เลยว่าเราใช้เงินไปกับเรื่องอะไรเยอะสุด สรุปออกมาเป็นกราฟให้เราเห็นได้เลย ช่วยเตือนสติเราได้ดีเหมือนกันครับ

    เพราะฉะนั้นสำหรับคุณ ผมว่าลองจดรายจ่ายดูสักอาทิตย์ก่อนก็ได้ครับ น่าจะพอมองเห็นว่ารายจ่ายส่วนใหญ่หมดไปกับเรื่องไหน จากนั้นก็จะสามารถวางแผนการใช้เงินได้ดีขึ้นครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    1 ค่าครองชีพสูงขึ้น

    อันนี้เราเà��¥à¸·à¸­à¸à¹„ม่ได้แล้วก็ทำอะไรกับมันไม่ได้มากถ้าเป็นของที่จำเป็นต้องใช้

    2 รสนิยมสูงขึ้น

    อันนี้ก็เป็นผลมาจากความรู้สึกว่า"อำนาจในการจับจ่าย"มากขึ้น อะไรที่เคยเลือกซื้อแบบยี่ห้อไหนก็ได้จะกลายเป็นแพงอีกนิดนึงแต่คุณภาพดีกว่า

    ของที่เคยรู้สึกว่าแพง พอเงินมากขึ้นก็รู้สึกว่าไม่แพงเท่าไหร่

    3 สินค้าต่างๆ มีการโฆษณา โปรโมตมากขึ้น ทำให้มีคนใช้มากขึ้น

    ร้านอาหารบางร้านราคาอาหารค่อนข้างแพง แต่พอเราเห็นว่ามีตั้งหลายสาขาแล้วแต่ละสาขามีคนกินตั้งเยอะก็เลยรู้สึกว่าราคามันไม่แพงมากเพราะใครๆก็กินกัน

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ลองคิดดูว่านะคะพี่ noijaว่าที่เงินไม่พอใช้อาจมีต้นเหตุเพราะมีการดำเนินชีวิต

    ประจำวันแบบซ้ำๆ เดิมๆ จนกลายเป็นความ "คุ้นเคย" อาจทำให้พี่นึกไม่ถึงว่ามีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้เงินบางอย่าง เป็นเรื่องไม่จำเป็นเอาซะเลย แต่ที่คุณยังทำอยู่เป็นกิจวัตร ก็เพราะความเคยชินนั่นเองเมื่อà��•à¸±à¸§à¹à¸›à¸£à¸—างเศรษฐกิจไม่เอื้อ

    ให้พี่ใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ได้ เงินเดือนที่บริษัทเพิ่งปรับเพิ่มให้ เมื่อคิดเป็นสัดส่วนยังน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อเสียอีก

    พี่noijaลองนั่งทบทวนพฤติกรรมการใช้เงินในแบบของพี่ีnoija

    ว่ามีอะไรบ้างที่พอจะปรับเปลี่ยน เพื่อลดค่าใช้จ่าย

    --โทรศัพท์มือถือปรับเปลี่ยนโปรโมชั่นดู ให้เหมาะกับการใช้งานจริง หรือให้เข้ากับโปรโมชั่นในปัจจุบัน ที่มักลดราคาจนน่าใจหาย

    --โละของเก่าออกมาขาย......แบบนี้อาจจะช่วยให้มีเงินออมขึ้นมา

    อีกไม่น้อย ลองดูสิ แล้วพี่noijaจะรู้ว่านอกจากได้เงินออมเพิ่มแล้ว พี่ยังได้ความสนุกและความภูมิใจเล็กๆ น้อยๆ ติดไม้ติดมือกลับบ้าน ไม่แน่นะ พี่อาจจะมีอาชีพที่ 2 คือ ขายของเป็นงานอดิเรกเลยก็ได้้

    ---ถ้าพี่มีีไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยด้วยการไปฟิตเนสก่อนหรือหลังเลิกงาน โดยต้องจ่ายเงินเป็นหลักหมื่นต่อปีแล้วไปบ้างไม่ไปบ้าง ลักษณะนี้ให้พี่เปลี่ยนมาเป็นไปวิ่งหรือเอ็กเซอร์ไซส

    ์ตามสวนสาธารณะใกล้บ้านดีกว่า หรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นจ่ายรายวัน

    การออกกำลังกายเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพกาย และใจของพี่ แต่ถ้าต้องแบกค่าใช้จ่ายแพงๆ เอาไว้สุขภาพทางการเงินของ คุณนั่นแหละจะแย่

    ---เปลี่ยนบรรยากาศมาใช้ระบบขนส่งมวลชน..เดี๋ยวนี้ทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน ต่างก็ให้ความสะดวกสบายไม่น้อยแต่ถ้าหากยังยืนยันที่

    จะใช้รถยนต์ต่อไป คงต้องหันมาใช้ระบบคาร์พูลหรือไม่

    ก็ลองเปลี่ยนมาใช้แก๊สโซฮอล์ อาจจะช่วยพี่ประหยัดขึ้นได้บ้าง.

    ----มองหาช่องทางสร้างรายได้พิเศษยามที่ค่าใช้จ่ายพร้อมใจกันขึ้น จนต้นทุนการจับจ่ายใช้สอยของพี่บานปลายหนักขึ้นทุกวัน การหารายได้พิเศษเพิ่มเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วย พี่ปลดเปลื้องภาระอันหนักอึ้ง มาถึงตอนนพี่ลองà��ªà¸³à¸£à¸§à¸ˆà¸•à¸±à¸§à¹€à¸­à¸‡

    ี้ ดูซิว่าพี่มีความสามารถพิเศษอะไรบ้าง

    ---เป็นสมาชิกหนังสือ-เคเบิลทีวีพี่รึเปล่าที่เป็นสมาชิกแมกกาซีนแฟชั่น เดือนละ 3 ฉบับ หนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ คิดเป็นเงินรวมๆ แล้วทีเดียว อ่านทันบ้างไม่ทันบ้างเดือนละหลายตังค์จนบางครั้งพี่เองก็ยอมรับ ว่าไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่ไม่ลองลดการเป็นสมาชิกลงเหลือเล่มเดียวก็พอ

    ---ซื้อของช่วงเซลล์ลดใช้บัตรเครดิต....ในยามสถานการณ์ปกติ

    ---ปาร์ตี้สังสรรค์ให้น้อยลงถ้าเดือนหนึ่งพี่ปาร์ตี้สัปดาห์ละ 2 วัน เท่ากับเดือนละ8วันจำนวนเงินใช้สำหรับปรนเปรอความสนุกสนาน

    อาจไม่เท่ากัน แต่แน่นอนว่าถ้าพี่noijaยังขืนไปสังสรรค์เดือนละ 8 วันเหมือนเดิม แทบไม่มีทางลดค่าใช้ได้เลย

    ---ลองหันมาทำอาหารกินเองภายในครอบครัวดีกว่า นอกจากช่วยพี่ประหยัดเงินแล้ว ยังเป็นโอกาสที่พี่จะได้มีชีวิตอยู่กับครอบครัวอย่างอบอุ่น

    แหล่งข้อมูล: *-*
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เจอบทความหนึ่งน่าสนใจ ลองอ่านà¸��ูนะคะ

    ใช้เงินเป็น

    ที่ผ่านมามีการแนะนำให้เก็บเงิน ออมเงิน มาตลอด วันนี้เรามาดูกันเรื่อง การใช้เงิน กัน

    เพราะตั้งแต่ลืมตาตื่นมาทุกวัน เราก็ต้องใช้เงินกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าผ่านทาง ค่าอาหาร ฯลฯ ไปจนกว่าจะกลับถึงบ้านและนอน

    จะเห็นได้ว่า ในชีวิตเราทุกวัน ความอยาก เป็นตัวกระตุ้นให้เราใช้เงินทั้งนั้น เพราะอยากดูดี อยากเดินทางเร็วไม่อยากเสียเวลา อยากทานอาหารที่ต้องการในราคาแพง และความอยากอีกสารพัดอยาก หรือบางทีแม้ไม่อยากก็ต้องใช้เงินเพื่อภาษีสังคม

    ดังนั้นสรุปได้ว่า เรามีความจำเป็นต้องใช้เงินอยู่ตลอดเวลา และถ้าเป็นเช่นนั้นเรามีเงินใช้ไม่พอจะทำอย่างไร ก็ต้องกลับมาที่เดิมว่า เราจะใช้เงินอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวเรา และยังมีเงินใช้ไปตลอดแม้กระทั่งหลังเกษียณอายุไปแล้ว

    เรื่องนี้....น่าคิด

    จึงลองนำทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในเรื่องการใช้เงินว่า จะทำอย่างไร

    ประการแรก การใช้จ่ายเงินในแต่ละครั้งต้องให้คุ้มค่ากับความพอใจที่เพิ่มขึ้น ในทางเศรษฐศาสตร์จะเรียกความพอใจที่ได้รับเพิ่มขึ้นนี้ว่า ความพึงพอใจส่วนเพิ่มหรือ อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Marginal Utility) ซึ่งการเลือกซื้อหรือบริโภคสินค้าหนึ่งๆ ก็ควรได้รับความพึงพอใจมากกว่าเงินที่เสียไปเสมอ

    ดังนั้น ก่อนควักเงินออกจากกระเป๋าไปทำอะไรก็ตามต้องพิจารณาให้ดีว่าได้ประโยชน์คุ้มค่าแล้วจึงจะจ่ายเงินออกไปทุกครั้ง

    ประการที่สอง เลือกใช้ สินค้าทดแทน

    เช่น การเลือกใช้ของใช้ประจำวันต่างๆ ในบางครั้งควรเลือกใช้สินค้าประเภทเดียวกันแต่มีราคาถูกกว่า หรือการไม่ยึดติดกับยี่ห้อสินค้า รวมทั้งเลือกใช้สินค้าตามความจำเป็นและความเหมาะสม จะเกิดประโยชน์ต่อเà��£à¸²à¹ƒà¸™à¸£à¸°à¸¢à¸°à¸¢à¸²à¸§à¹„ด้มากกว่าเพราะเราจะมีเงินเหลือจากการใช้มาเก็บออมได้

    ประการที่สาม อย่าใช้เงินเกินรายได้

    การใช้จ่ายเงินมากกว่ารายได้ที่ได้มานั้นหมายถึงการ เป็นหนี้ เพราะต้องกู้เงินเพื่อนำมาใช้จ่าย เป็นเหตุให้รายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายได้ในอนาคตลดลง เพราะตอนนี้เราเอาเงินในอนาคตมาใช้ไปแล้ว

    แถมอีกว่า รายได้ในปัจจุบันยังต้องชำระหนี้เงินต้นรวมทั้งดอกเบี้ยด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าการเป็นหนี้จะไม่มีข้อดี แต่การเป็นหนี้ต้องพิจารณาว่า หากสร้างหนี้โดยเอาเงินอนาคตมาใช้ในปัจจุบันแล้ว

    เงินนั้นจะส่งผลตอบแทนในอนาคตได้สูงคุ้มค่า เช่น การกู้เงินไปซื้อที่อยู่อาศัย การกู้เพื่อการศึกษา เป็นต้น ที่เป็นหนี้ในวันนี้ แต่ในอนาคตจะตอบแทนได้สูง หรือการกู้เงินมาลงทุนในเครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อจะผลิตสิ่งของให้ดีขึ้นและเพียงพอต่อการจำหน่ายเพื่อนำรายได้กลับสู่ตนเองต่อไป

    ไม่ใช่ไปเป็นหนี้เพื่อนำเงินอนาคตมา ตอบสนองความต้องการความพึงพอใจในด้านวัตถุหรือบริโภคนิยมในวันนี้เท่านั้น เพราะรายได้ที่เราจะได้รับในอนาคตนั้น เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน บางครั้งรายได้ก็อาจไม่เกิดขึ้นในอนาคตก็ได้ เมื่อไม่มีเงินพอเพื่อจ่ายหนี้ก็จะเป็นทุกข์แสนสาหัสที่จะต้องถูกเจ้าหนี้ทวงเงินอยู่ทุกวัน

    สำหรับประการสุดท้าย คือ ใช้เงินให้เหลือ เพื่อเก็บออมไว้สำหรับอนาคตจะได้มีเงินไว้ใช้อย่างชาญฉลาดทุกวันไปจนวันตาย

    เพียงเรื่องง่ายๆ ข้างต้นนี้ สามารถปลูกฝังให้อยู่ในความคิด ประกอบกับความตั้งใจ และ การมีวินัยในการใช้เงินของเราได้

    เท่านี้ก็จะได้ชื่อว่า ใช้เงินเป็น แล้ว

    เรื่อง : อมฤดา สุวรรณจินดา

    สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

    บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2543

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับความรู้สึกมันบอกครับ ว่ายิ่งน่าที่การงานดีการใช้จ่ายก็มักตามมาแบบเงาตามตัวครับแบบว่า เรื่อลำเล็กก้เจอคลื้นเล็กมังครับผมว่ายิ่งถานะทางสังคมด้วยแล้วนี้ต้องบอกว่ารับเกิบทุกรายการเลยครับแล้วไหนเรื่องครอบครัวอีกครับนีหละครับชีวิตอย่าแท้จริงละครับถึงมีมากก็ต้องใช้มากอยู่ดีครับ

    แหล่งข้อมูล: จากความรู้สึกที่บอกจากใจจริงส่วนลึกครับ
  • ?
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ...ยิ่งเงินเดือนเยอะ ก็หมายความว่า ตำแหน่งหน้าที่การงานของคุณก็สูงตาม ความรับผิดชอบต่างๆ ก็เยอะขึ้น ในเมื่อการงานก้าวไกล มันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะค่าดูแลตัวเอง ค่าเครื่องประดับ ค่าเสื้อผ้า ค่าอาหาร ค่าดูแลลูกน้องเล็กๆน้อยๆ(ที่ไม่เปย์เดี๋ยวจะหาว่างก) และอื่นๆอีกเยอะแยะ

    ..อีกอย่าง คนเราเมื่อได้มามาก แล้วมีรายจ่ายมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เหตุเพราะความไม่พอดี...เป็นกันทุกคนค่ะ ไม่ต้องหวั่นใจ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เงินเดือนขึนตามสถาวะการเงินในบ้านเราครับ เราเคยคิดว่าถ้าเรามีเงินเดือนอยู่ในระดับนีน่าจะพอกลับไม่พอเพราะอะไร

    1.ดูรายจ่ายว่าเราจ่ายไปกับสิ่งใดเยอะ

    2.การควบคุมค่าใช่จ่ายโดยจ่ายตามความจำเป็น

    3.สำคัญหลักการพอเพียนครับ

    แหล่งข้อมูล: http://investments-tawat./ blogspot. com บล็อกผมครับบทความเกี่ยวกับการเงินการลงทุน
  • NooaoM
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เงินมากก้อยากได้มาก มีบัตรเครดิตรูดก้คิดแต่ว่าเดี๋ยวเงินออกมาก้จ่ายหมด แต่เคยคิดไหมว่าแล้วมีเก็บอยุ่เท่าไหร่

  • RoSie
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เหมี่ยวคิดว่า รายรับเพิ่ม รายจ่ายก็เพิ่มตามมั้ง

    ไม่ว่าจะเป็น ความอยากที่มากขึ้น หรือการที่ต้องซื้อ

    ของใช้จำเป็นมากขึ้นกว่าเดิม

    แต่ตอนนี้รายรับเหมี่ยวยังไม่เพิ่มแต่ รายจ่ายมากมาย อิอิ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้