Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Eizmo ถามใน สังคมศาสตร์จิตวิทยา · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

'ความรู้สึก' เกิดจากอะไร?

ขอให้เขียนคำตอบทั้ง 2 แง่ เลยนะคะ อยากอ่านค่ะ

1. เชิงวิชาการ (ขออันนี้เป็นหลัก)

2. เชิงพระพุทธศาสนา

จะรออ่านนะคะ อ่อ แล้วก็หากกระทู้ซ้ำขออภัย งานเยอะมาก

ไม่มีเวลาเช็คจริงๆ 3-4 วันเดี๋ยวเข้ามาอ่านนะคะ ^ ^

ฝากความคิดถึงถึงชาวรู้รอบด้วย คิดถึงหลายๆท่านจัง

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ?
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ก่อนอื่นมาดูที่นิยามของคำว่าความรู้สึกก่อนนะครับ

    *ในทางโลก*

    ความรู้สึกนั้นถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ ทั้งระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ผ่านอย่างน้อย 30 ประสาทเคมี ซึ่งทำปฏิกิริยาเดี่ยวหรือร่วมกันอย่างซับซ้อน

    ยกตัวอย่างเช่นความรู้สึกกลัว แปลอย่างกว้างๆ ความกลัวเป็นการคาดการณ์ถึงอันตรายหรือความเจ็บปวด ความกลัวเพิ่มสารเคมีในสมองเช่น adrenalin และ cortisol ความกลัวนั้นมีประโยชน์ เพราะมันเกิดจากสิ่งรอบกายซึ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่ออันตรายหรือ การเผชิญกับอันตรายโดยตรง ถึงกระนั้นก็ดี บางครั้งในสถานการณ์ที่ไม่มีภัย ความนึกคิด จิตใต้สำนึก และ จินตนาการณ์ ก็สามารถก็ให้เกิดความกลัวได้

    การหยั่งรู้ถึงสิ่งรอบกายนั้นไม่จำเป็นว่าผู้เห็นต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ในวิธีที่ผู้เห็นจัดการกันสถานการณ์ การเกี่ยวเนื่ิองของสถานการณ์กับอดีตของผู้เห็น และ อีกหลากหลายปัจจัย

    ความคิดและความรู้สึกนั้น ส่วนใหญ่จะมาด้วยกัน ความคิดเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลของของบางอย่าง ในระหว่างที่ความรู้สึกเป็นการวิเคราะห์ความแตกต่างของของจากภายใน เมื่อความคิดเชื่อมโยงถึงสาเหตุของความแตกต่างของของบางอย่าง ความหยั่งรู้จึงเชื่อมกับลักษณะชึ่งถูกเลือกโดยประสบการณ์ในอดีต สิ่งนี้เรียกว่าอารมณ์

    นิยามข้างต้นนี้จากวิกิพีเดียภาษาไทย แต่ผมว่าอ่านของอังกฤษเพิ่มเติมก็ดีนะครับ http://en.wikipedia.org/wiki/Feeling จะได้เห็นข้อมูลอื่นๆ เช่น นิยามสั้นๆ ทางวิทยาศาสตร์จากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า "state of conciousness, such as that resulting from emotions, sentiments or desires." ซึ่งหมายถึง สติการระลึกรู้ ที่มีผลสืบเนื่องมาจากอารมณ์ ความอ่อนไหว และความปรารถนา

    *ในทางธรรม*

    ส่วนในทางพุทธศาสนา ผมตีความคำว่า "ความรู้สึก" ว่าเป็น "เวทนา" อันนี้ขออโหสิกรรมก่อนนะครับ ขอเน้นว่าข้อมูลนี้อาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ แต่นี่คือที่ผมสืบค้นมาได้ และอ่านแล้ว ใคร่ครวญแล้วคิดว่าน่าจะถูกต้องจึงนำมาแชร์

    กล่าวคือ....เมื่อมีการผัสสะกันเกิดขึ้น อันคือการประจวบกระทบกันทั้ง ๓ ของ อายตนะภายใน, ภายนอก และวิญญาณ ย่อมบังเกิด "เวทนา" คือการเสวยอารมณ์ (อารมณ์-ในทางพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวหรือสัมผัสในขณะนั้นๆ อันหมายถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส(โผฏฐัพพะ) และธรรมารมณ์(เช่น ความคิด ความนึก, สิ่งต่างๆที่รับรู้ได้ด้วยใจ)ที่มากระทบ จึงมีความหมายต่างกับความหมายทางโลกๆ เช่น อา��มณ์ดี อารมณ์เสีย) เป็นไปดังพุทธพจน์ที่ได้ตรัสไว้เกี่ยวกับการเกิดของเวทนา เป็นดังนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(อายตนะภายใน) และรูป(อายตนะภายนอก) เกิดจักษุวิญญาณ(วิญญาณ ๖) ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา) เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา) มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขเวทนา)

    (ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์(คิดนึก)-ใจ อันต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาตามสภาวธรรม)

    (ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)

    เวทนา จึงหมายถึง การเสวยอารมณ์ หรือเสพรับรู้ในรสชาดของทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ อันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยดังข้างต้นที่มากระทบผัสสะกันนั่นเอง

    ซึ่งมีความหมายต่างไปจากภาษาสมมุติทางโลกในภาษาไทย ที่มีความหมายแสดงถึง ความรู้สึกเศร้าใจ น่าสงสาร น่าเห็นใจ หรืออารมณ์เสีย

    โยนิโสมนสิการ พิจารณาดูว่าเวทนาในความหมายใดถูกจริตแห่งท่าน อันก่อให้เกิดความเข้าใจในสภาวธรรมของเวทนาได้อย่างถูกต้อง เช่น

    เวทนา คือ การเสพรสชาดในอารมณ์ (อารมณ์ ที่หมายถึง รูป เสียง กลิ่น ฯ.) เช่น เสพรสชาดของรูปที่เห็นหรือผัสสะ, เสพรสในรสชาดของอาหารที่ผัสสะ

    เวทนา คือ ความรู้สึก, หรือความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่ย่อมเกิดขึ้นมารับรู้ จากการที่สิ่งต่างๆมากระทบสัมผัสอายตนะต่างๆ อันเกิดขึ้นได้ทั้งต่อกายหรือใจ หรือก็คือ ความรู้สึกอันเนื่องมาจากการผัสสะกับอารมณ์นั้นๆ อันคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ โดยมีความจํา(สัญญา)มาจําแนกร่วมกับการรับรู้นั้น เป็นชนิด ชอบใจ สบายใจ ถูกใจ ๑, ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ ไม่ถูกใจ ๑, และไม่สุขไม่ทุกข์หรือเฉยๆ ๑, อันท่านจัดเป็นเวทนาชนิด สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุขหรือไม่ทุกข์ไม่สุข ตามมาเป็นธรรมชาติเป็นธรรมดาของผู้มีชีวิต

    เวทนา คือ ความรู้สึกรับรู้ ที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ) พร้อมความจําได้และเข้าใจในสิ่งที่กระทบสัมผัสนั้น

    หรือ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส อันพร้อมถึงด้วยความจำได้หรือมีประสบการณ์ในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ

    ขอให้สังเกตุหรือโยนิโสมนสิการโดยละเอียดและแยบคายด้วยว่า เวทนาเป็นสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติแท้ๆ ที่ต้องเกิด ต้องมีเป็นธรรมดา มันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่มันเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดาหรือตถตาใช่ไหม?

    หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ที่มากระทบผัสสะนั้น พร้อมความจำได้ (ตามปกติ "รู้แจ้งในอารมณ์" หมายถึง วิญญาณ ที่หมายถึง เกิดแค่ความรู้ ในสิ่งที่ผัสสะนั้น)

    - - - - - - - -

    จากนิยามข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างที่สำคัญจริงๆ ก็คือที่มาของความรู้สึก วิทยาศาสตร์พยายามอธิบายว่ามันเกิดจากการผสมผสานกันของความคิดและประสบการณ์ส่วนตัว รวมถึงการพยายามอธิบายถึงภาวะทางเคมีที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์

    ส่วนทางพุทธผมเข้าใจว่าเราจะบอกว่ามันคือเวทนา เวทนาก็คือ ความรู้สึกรับรู้ ที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ) พร้อมความจําได้และเข้าใจในสิ่งที่กระทบสัมผัสนั้น

    ผมว่า 'ความรู้สึก' ทั้งในทางวิชาการและในเชิงพุทธมีการอธิบายที่แตกต่างกัน แต่มันมีจุดบรรจบกันที่ "การเข้าใจความรู้สึกก็คือหนึ่งในวิธีการเข้าใจตัวเอง" เพราะเมื่อเรารู้แล้วว่าความรู้สึกเกิดจากผัสสะภายนอกที่มากระทบจิตภายใน และส่งผลไปที่จิตใต้สำนึกผสมกับประสบการณ์ของเราเอง

    เราเข้าใจความรู้สึก เราก็จะเข้าใจตัวเอง

    คุณล่ะคิดอย่างไรบ้าง?

    แหล่งข้อมูล: http://www.nkgen.com/patitja6.htm และวิกิพีเดีย
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    'ความรู้สึก'เชิงวิชาการ

    ความรู้สึกกับสมอง

    เมื่อเราหลับเราจะไม่มีความรู้สึก เมื่อตื่นจึงจะมีความรู้สึก ทุกคนมีประสบการเกี่ยวกับความรู้สึก เพราะว่าเราสัมผัสความรู้สึกอยู่ทุกวัน นับแต่วันแรกที่เราเกิดมา และคนทั่วไปรู้ว่า ความรู้สึกไม่ใช่วัตถุ

    แต่สมองเป็นวัตถุ มีตัวตน มันต้องการที่ว่าง และเราสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้มันอยู่ตรงไหน

    ดังนั้น ความรู้สึกกับสมองจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกัน สันนิษฐานว่า ความรู้สึกเกิดจากกิจกรรมของสมอง

    ความรู้สึกและสมองจึงอยู่ในกระโหลกศีรษะ ถูกห่อหุ้มด้วยกระโหลกศีรษะ เหมือนกับอยู่ในห้องมืด ไม่ได้สัมผัสกับโลกภายนอกกระโหลกศีรษะเลย นอกจากจะสัมผัสผ่านอวัยวะรับสัมผัสเท่านั้น คือ ผ่าน ตา หู จมูก สิ้น ผิวหนัง กล่าวคือ อวัยวะรับสัมผัสเหล่านี้จะถูกเชื่อมต่อกันกับสมองด้วยระบบของเส้นประสาท โดยมีปลายเส้นประสาทด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับอวัยวะรับสัมผัส และปลายประสาทอีกด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับสมอง สมองจะรับรู้โลกภายนอกจากข้อมูลที่ปลายประสาทด้านที่เชื่อมต่อกับสมองดังกล่าว ดังนั้น สารจากโลกภายนอกที่เข้าทางตา จะไปถึงสมองที่ปลายประสาทที่เชื่อมต่อกับคอร์เท็กกซ์บริเวณแดนการรู้สึกเห็น คือที่บริเวณท้ายทอย และสมองจะรับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอกเฉพาะที่ปลายประสาทนั้นเท่านั้น เมื่อรับรู้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นเรื่องของสมองเองที่จะคิดต่อไปเกี่ยวกับสารนั้นภายในห้องมืดของกระโหลกศีรษะนั้น ถ้าคนนั้นตาบอดสี สารที่เข้ามาก็จะไม่ครบถ้วน สิ่งที่สมองได้รับและรับรู้จึงไม่เหมือนกับสิ่งจริงในโลกภายนอกสมองนั้น การรับรู้ก็จะถูกบิดเบือนไปจากโลกจริง การอธิบายนี้เป็นการอธิบายอย่างหยาบๆ อธิบายเชิงสันนิษฐาน และเชิงเหตุผล ไม่ใช่เชิงข้อเท็จจริง

    การประมวลผลการรับความรู้สึก

    ( Sensory Integration : SI)

    การประมวลผลการรับความรู้สึก (Sensory Integration) เป็นกระบวนการทางระบบประสาทที่มีมาตั้งแต่กำเนิดส่งผลต่อการรับความรู้สึก การประมวลผล และการแปลผลข้อมูลของสมอง ซึ่งได้จากการกระตุ้นจากสอ่งแวดล้อม ความผิดปกติของการประมวลผลการรับความรู้สึก เป็นความผิดปกติที่ข้อมูลการรับความรู้สึกต่างๆที่สมองรับเข้าไป ไม่ได้ประมวลผลหรือไม่ได้เกอดการจัดระเบียบอย่างเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่หลากหลายในด้านพันาการและพฤติกรรม

    ผู้ที่พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้นคือ ดร. เอ จีน แอร์ (A.jean.ayres) ซึ่งเป็นนักกิจกรรมบำบัดและนักจิตวิทยาการศึกษา ชาวอเมริกัน โดยพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ.1960

    Sensory Integration ให้ความสนใจกับระบบการรับความรู้สึกพื้นฐาน 3 ระบบ คือ ระบบการทรงตัว การรับความรู้สึกที่กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ และระบบการรับสัมผัส

    ระบบการทรงตัว (Vestibular System)

    ระบบนี้มีอวัยวะการรับความรู้สึกอยู่ในหูชั้นใน จะทำงานทันทีที่ศีรษะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากแนวกลางลำตัว ส่งผลให้ร่างกายสามารถรักษาสมดุล ไม่ล้มลงเมื่อมีการเคลื่อนไหว คนที่มีปัญหาในระบบนี้ อาจแสดงออกโดยการแสดงอาการกลัวเมื่อต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่บนพื้นที่ไม่ราบเรียบ โยกเยก สูงจากพื้น ทำให้มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่งุ่มง่าม ไม่คล่องแคล่วสมวัย ไม่ชอบปีนป่ายหรือขึ้นลงบันได หรือในบางคนจะมีลักษณะกระตุ้นตัวเอง คือ ชอบหมุนตัวเอง มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา อยู่ไม่นิ่ง เป็นต้น

    ระบบการรับความรู้สึกที่กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ (Proprioceptive System)

    ระบบนี้มีอวัยวะรับความรู้สึกอยู่ที่กล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อทั่วร่างกาย ซึ่งจะทำงานทันทีที่ข้อต่อถูกกระแทกเข้าหากันหรือถูกดึงออกจากกัน ส่งผลให้เรารับรู้ตำแหน่งส่วนต่างๆของร่างกาย และทราบถึงทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนไหวของแขนขาได้ดี คนที่มีปัญหาในระบบนี้ มักแสดงพฤติกรรม หกล้มบ่อย มีความยากลำบากในการใช้มือ ไม่สามารถกะแรงที่ต้องใช้ในกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม เช่น เขียนหนังสือด้วยแรงกดที่มากเกินไปจนกระดาษทะลุ หรือเขียนเส้นบางมากจนเกินไป

    ระบบการรับสัมผัส (Tactile System)

    ระบบนี้มีอวัยวะการรับความรู้สึกสัมผัสทั่วร่างกาย เพื่อรับความรู้สึกสัมผัส เจ็บ ร้อน เย็น แรงกด คนที่มีปัญหาในระบบนี้ สามารถสังเกตได้จากการพฤติกรรมเดินเขย่งปลายเท้า รับประทานอาหารแบบซ้ำๆ มีความยากลำบากในการปรับตัวเข้ากับคนแปลกหน้า เปลี่ยนแปลงยาก ไม่ชอบใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ ทำให้นำไปสู่พฤติกรรมแยกตัว หันเหความสนใจง่าย พัฒนาการของการใช้มือล่าช้ากว่าวัย เป็นต้น

    ความรู้สึกเป็นคุณสมบัติของนิวโรนในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที��¹ˆà¸šà¸£à¸´à¹€à¸§à¸“ Cerebral Cortex ความรู้สึกเป็นผลจากกิจกรรมของ Cortex ดังกล่าวเมื่อ Cortex นั้นได้รับการกระตุ้นจาก Reticular Formation สิ่งใดไม่มีเซลล์ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่มีสมองแล้วสิ่งนั้นหามีความรู้สึกไม่ ความรู้สึกนี้เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ดังนั้นสิ่งที่ไม่มีความรู้สึกจึงไม่มีจิต ก้อนหิน คอมพิวเตอร์ โต๊ะ ฯลฯ จึงไม่มีจิต

    *********************************************************

    'ความรู้สึก' เชิงพระพุทธศาสนา

    ความรู้สึกตัวที่เกิดขึ้นจากการดูกาย ความรู้สึกตัวที่เกิดจากการดูจิต เหมือนกันเลย

    พอรู้สึกแล้วบังคับไม่ได้ เดี๋ยวสติก็รู้กาย เดี๋ยวสติก็รู้จิต แต่จะรู้ด้วยความรู้สึกตัว

    จิตจะตั้งมั่นขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ไม่หลงไม่เผลอไป ไม่เพ่งไม่เผลอ จิตจะรู้สึกตัว ตั้งมั่นที่จะรู้สึกตัว

    คำว่ารู้สึกตัว คือไม่เผลอ ไม่เพ่งนั่นเอง มีสติ แล้วก็ไม่ไปเผลอไป ไม่ไปเพ่งไว้ ปัญญามันก็เกิด

    คอยมีสติรู้กายรู้ใจไปเรื่อยๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่น อย่างนี้เรียกว่าการเจริญสติปัฎฐานเพื่อให้เกิดปัญญา

    หัดตามรู้กาย หัดตามรู้ใจเรื่อยๆ จนจิตจำสภาวะได้ นี่เป็นการทำสติปัฎฐานให้เกิดสติ

    มีสติรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางทำให้เกิดปัญญา

    มีปัญญาแก่รอบก็เกิดวิมุติ จิตก็จะปล่อยวางความถือมั่น

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เชิงวิชาการ

    ความรู้สึกเกิดจากกิจกรรมของสมอง

    เมื่อเราหลับเราจะไม่มีความรู้สึก เมื่อตื่นจึงจะมีความรู้สึก ทุกคนมีประสบการเกี่ยวกับความรู้สึก เพราะว่าเราสัมผัสความรู้สึกอยู่ทุกวัน นับแต่วันแรกที่เราเกิดมา และคนทั่วไปรู้ว่า ความรู้สึกไม่ใช่วัตถุ

    แต่สมองเป็นวัตถุ มีตัวตน มันต้องการที่ว่าง และเราสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้มันอยู่ตรงไหน

    ดังนั้น ความรู้สึกกับสมองจึงไม่ใช่สิ่เดียวกัน สันนิษฐานว่า ความรู้สึกเกิดจากกิจกรรมของสมอง

    ความรู้สึกและสมองจึงอยู่ในกระโหลกศีรษะ ถูกห่อหุ้มด้วยกระโหลกศีรษะ เหมือนกับอยู่ในห้องมืด ไม่ได้สัมผัสกับโลกภายนอกกระโหลกศีรษะเลย นอกจากจะสัมผัสผ่านอวัยวะรับสัมผัสเท่านั้น คือ ผ่าน ตา หู จมูก สิ้น ผิวหนัง กล่าวคือ อวัยวะรับสัมผัสเหล่านี้จะถูกเชื่อมต่อกันกับสมองด้วยระบบของเส้นประสาท โดยมีปลายเส้นประสาทด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับอวัยวะรับสัมผัส และปลายประสาทอีกด้านหนึ่งเชื่อมต่อกับสมอง สมองจะรับรู้โลกภายนอกจากข้อมูลที่ปลายประสาทด้านที่เชื่อมต่อกับสมองดังกล่าว ดังนั้น สารจากโลกภายนอกที่เข้าทางตา จะไปถึงสมองที่ปลายประสาทที่เชื่อมต่อกับคอร์เท็กกซ์บริเวณแดนการรู้สึกเห็น คือที่บริเวณท้ายทอย และสมองจะรับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอกเฉพาะที่ปลายประสาทนั้นเท่านั้น เมื่อรับรู้แล้ว ขั้นต่อไปจะเป็นเรื่องของสมองเองที่จะคิดต่อไปเกี่ยวกับสารนั้นภายในห้องมืดของกระโหลกศีรษะนั้น ถ้าคนนั้นตาบอดสี สารที่เข้ามาก็จะไม่ครบถ้วน สิ่งที่สมองได้รับและรับรู้จึงไม่เหมือนกับสิ่งจริงในโลกภายนอกสมองนั้น การรับรู้ก็จะถูกบิดเบือนไปจากโลกจริง การอธิบายนี้เป็นการอธิบายอย่างหยาบๆ อธิบายเชิงสันนิษฐาน และเชิงเหตุผล ไม่ใช่เชิงข้อเท็จจริง การศึกษาข้อเท็จจริงว่ากระบวนการดังกล่าวที่เกิดขึ้นจริงในระบบประสาทว่าเป็นอย่างไร เป็นงานของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มประสาทวิทยาหรือ Neurologists ส่วนการศึกษาเรื่องของความรู้สึกเป็นงานของนักจิตวิทยากลุ่ม Cognitivists

    เกี่ยวกับอวัยวะรับสัมผัสอื่นๆ ก็สามารถอธิบายได้ในทำนองเดียวกัน

    เรื่องที่กล่าวมานี้มีความสำคัญอย่างยิ่งกับศาสตร์ทางพฤติกรรมศาสตร์ทุกสาขา โดยเฉพาะ อาชญวิทยา, เกี่ยวกับการพิพากษาคดี และการจดบันทึกข้อมูลเพื่อการวิจัย หรือเพื่อการลงความเห็นใดๆ

    เชิงพระพุทธศาสนา

    ความรู้สึกเกิดจากการกระทบของสิ่ง ๒ สิ่ง ได้แก่อายตนะภายนอก กระทบกับอายตนะภายใน อาทิ ตากระทบกับรูป หูกระทบเสียง… กายกระทบสัมผัสทางกาย เราเคยสังเกตไหมว่า จากความรู้สึกกระทบสัมผัส ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะนำไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปเองตามธรรมชาติ อาทิ การเดินจงกรม บางท่านเดินจงกรมโดยกำหนดที่เท้ายก ย่าง เหยียบ บางท่านกำหนดที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าที่กำลังยก ย่าง เหยียบ การกำหนดทั้ง ๒ กรณีข้างต้น ยังยึดติดกับรูป คือ ดูรูปที่เคลื่อนไหว การกำหนดลักษณะนี้ จะกลายเป็นสมถะไป เพราะเป็นการกำหนดเฉพาะที่ อันได้แก่ ที่เท้าหรือที่อาการเคลื่อนไหวของเท้า แม้การกำหนดอาการเคลà��·à¹ˆà¸­à¸™à¹„หวดูเหมือนว่าน่าจะเป็นวิปัสสนา แต่ก็ไม่เป็นวิปัสสนา เพราะยังต้องประคองเท้าให้ค่อยๆเคลื่อนไหว อันเป็นเรื่องของการบังคับด้วยสมถะ แต่ถ้าหากนักปฏิบัติกำหนดรู้โดยการมีสติระลึกรู้ความรู้สึกของเท้าทึ่กำลังเคลื่อนไหว อันนี้จะเป็นธรรมชาติ เพราะไม่ต้องประคองเท้าให้ค่อยๆ เคลื่อนไหวแบบจิกอาการเคลื่อนไหวของเท้าทีละขยัก ทีละขยัก ทีละขยัก การไม่ประคอง ก็ไม่ได้หมายความว่าเดินจ้ำเอาจ้ำเอาเร็วเกินไป แต่เป็นการเดินช้าอย่างสบายๆ ด้วยความรู้สึกเบาสบายเป็นธรรมชาติ จนรู้สึกความรู้สึกของอาการเคลื่อนไหวของเท้าที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องกันแบบนุ่มนวล เบาสบาย เสมือนหนึ่งคลื่นท้องทะเล ที่ผ่านเข้ามา และผ่านพ้นไป ระลอกแล้วระลอกเล่า โดยไม่ต้องไปหยุดทีละขยัก ทีละขยัก ทีละขยัก ทำให้ไม่รู้สึกของอาการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง หรือแทนที่จะรู้ความรู้สึกของอาการการเคลื่อนไหวของเท้าอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไปประคองยก ประคองย่าง ประคองเหยียบที่ตั้งใจเกินไป จนรู้สึกเมื่อยเท้า และเสียการทรงตัว ทั้งนี้ การดูความรู้สึกของอาการเคลื่อนไหวของเท้านั้นจะพบว่า จะผ่อนคลาย สบายๆ เป็นธรรมชาติ และจะค่อยๆ เกิดเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง กล่าวคือ จากการดูความรู้สึก ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะเกิดอาการความรู้สึกโปร่งเบาและเชื่อมโยงกันเกิดเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง ตรงกันข้าม หากผู้ปฏิบัติกำหนดดูเฉพาะที่โดยยึดติดกับรูป กล่าวคือ กำหนดรู้เฉพาะเท้าที่เคลื่อนไหว หรือกำหนดรู้อาการความเคลื่อนไหวของเท้า โดยไม่สังเกตหรือระลึกรู้ความรู้สึกของเท้าที่กำลังเคลื่อนไหวนั้น จะเกิดเป็นการรู้เฉพาะที่ที่ยึดติดกับรูปหรือรูปแบบ อันเป็นอุปสรรคบังความรู้สึกของเท้าที่กำลังเคลื่อนไหว ผลก็คือเดินเท่าไรๆ ก็ไม่เคยโปร่งเบา และไม่เคยเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง อาตมาขอย้ำอีกครั้งว่า หากผู้ปฏิบัติกำหนดรู้ด้วยการระลึกรู้ความรู้สึก ณ ที่ใดที่หนึ่งของกายที่เคลื่อนไหว จะผสานเชื่อมโยงทำให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปเอง หรือนัยกลับกัน หากผู้ปฏิบัติมีสติเป็นกลางๆ ระลึกรู้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เนืองๆ ก็จะสามารถรู้สึกถึงความแตกต่างของสัมผัสหนักเบาของกายแต่ละส่วนที่เคลื่อนไหว หรือพูดให้เข้าใจง่าย ก็คือสามารถรู้ความรู้สึกเฉพาะที่ของการเคลื่อนไหวนั้นได้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมเช่นกัน จึงสรุปได้ว่า จากความรู้สึกเฉพาะที่นำไปสู่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และความรู้สึกตัวทั่วพรัอมก็ทำให้เห็นความรู้สึกเฉพาะที่ได้เช่นเดียวกัน และที่สำคัญก็คือ การกำหนดรู้ด้วยการระลึกรู้ความรู้สึก อันเป็นผลของสิ่ง ๒ สิ่งกระทบกัน (แม้การเคลื่อนไหวของเท้าขณะยก ขณะย่าง ก็เป็นการกระทบระหว่างเท้ากับอากาศ) จะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นสิ่ง ๒ สิ่งกระทบกัน (ผัสสะ) ด้วย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ถ้าผู้ปฏิบัติไปดูรูปที่กระทบตรงๆ จะไม่ค่อยเห็นความรู้สึกเบาๆ ที่เกิดจากการกระทบได้ชัด แต่หากผู้ปฏิบัติกำหนดรู้โดยการระลึกรู้ความรู้สึกที่เกิดจากการกระทบเนืองๆ ผู้ปฏิบัติจะสามารถรู้เห็นสิ่ง ๒ สิ่งที่กระทบกันอันเป็นไปเองโดยไม่ต้องไปตั้งท่าหรือตั้งใจดูแต่อย่างใด และการที่เห็นสิ่ง ๒ สิ่งกระทบกัน ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้เห็นเองว่านั่นเป็นการกระทบระหว่างอายตนะภายนอก กับอายตนะภายใน และในที่สุดก็จะนำไปสู่การรู้เห็นรูปนาม แยกรูปแยกนาม เห็นว่ารูปกระทบกับรูป (อาทิ กายกระทบสัมผัสทางกาย) หรือรูปกระทบกับนาม (อาทิ รูปที่เห็นบาดตาบาดใจ) หรือนามกระทบกับนาม (อาทิ คิดนึกจนกลุ้มใจ) การเห็นรูปนาม หรือแยกรูปแยกนามในลักษณะนี้ เป็นการเห็นที่เกิดจากการกำหนดรู้ด้วยการระลึกรู้ในสัมปชัญญะหรือความรู้สึกอันเป็นผลจากสิ่ง ๒ สิ่งกระทบกัน แล้วทวนกระแสปฏิจจสมุปบาท จนไปเห็นผัสสสะ เห็นอายตนะภายนอกภายในกระทบกัน และเห็นรูปนาม เกิดการแยกรูปแยกนามที่เป็นไปเอง ไม่ใช่ไปทำให้แยกรูปแยกนามด้วยการไปตั้งใจกำหนดดูรูปนามด้วยสมถะ ฉะนั้น การกำหนดรู้ด้วยการมีสติระลึกรู้ความรู้สึกของการเคลื่อนไหวของเท้าในขณะเดินจงกรม จึงเป็นวิปัสสนา ด้วยเหตุว่าจะทำให้เกิดการทวนกระแà¸��ไปจนเห็นรูปนาม แยกรูปแยกนามที่เป็นไปเองดังกล่าว ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ด้วยอาตาปี สัมปชาโน สติมา คือ มีสัปชัญญะหรือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นไปทั้งภายใน ภายนอก และภายในภายนอก และมีสติระลึกรู้ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนั้น เนืองๆ เสมอๆ จึงจะเป็นไปเพื่อวิปัสสนาด้วยนัยดังที่อาตมาได้อธิบายมาข้างต้น

    อนึ่ง ทุกข์เป็นสิ่งที่พึงกำหนดรู้ ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงอธิบายไว้ในอริยสัจ ๔ การกำหนดรู้ทุกข์ บางครั้งเราก็กำหนดรู้ทุกข์ตรงๆ แต่บางครั้ง ทุกข์ไม่เกิดหรือไม่เห็นทุกข์ เราก็สามารถกำหนดรู้ทุกข์ได้โดยการไปกำหนดรู้ความสุขแทน เพราะเหตุเมื่อความสุขหายไป นั่นก็หมายถึงว่าทุกข์กำลังมาเยือน กล่าวคือ เราสามารถกำหนดรู้ทุกข์ได้ในความสุขเช่นกัน หรือบางครั้งไม่สุขไม่ทุกข์ (อทุกขมสุขเวทนา) เราก็สามารถกำหนดรู้ทุกข์ได้ในความไม่สุขไม่ทุกข์เช่นกัน เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่ได้นาน เปรียบได้กับอารมณ์ของมนุษย์ที่เปลี่ยนไปอยู่ทุกเมื่อตลอดเวลา บางครั้ง อารมณ์ของมนุษย์ก็แกว่งไปทางซ้ายบ้าง แกว่งผ่านตรงกลางบ้าง และแกว่งไปทางขวาบ้าง และก็กลับมาตรงกลางบ้าง แล้วตีกลับไปทางซ้ายอีกบ้าง… อันแสดงให้เห็นถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ตามหลักไตรลักษณ์นั่นเอง คำว่า "ตรงกลาง" นี้ เป็นเรื่องที่น่าพิจารณาว่า "ตรงกลาง"นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมก็ทำให้เกิดตรงกลาง ความสงบอันเกิดจากสมาธิก็ทำให้เกิดตรงกลาง ความว่างหรือสุญญตาก็ทำให้เกิดตรงกลาง และสัมมาทิฏฐิ อันเป็นตัวปัญญา คือ เห็นความทุกข์ในความไม่เที่ยง และเห็นความไม่เที่ยงในความเป็นทุกข์ ในที่สุดก็จะเห็นอนัตตา คือความไม่มีตัวตน เมื่อไม่มีตัวตนก็จะไม่มีคำว่าซ้ายสุด หรือ ขวาสุด ภาวะกลางๆ หรือ "ตรงกลาง" ก็จะเกิดขึ้นเองด้วยปัญญาคือสัมมาทิฏฐินี้ อันเป็นไปเอง เพราะเมื่อเห็นแจ้งแก่ใจเจ้าของในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนแล้ว ก็จะทำให้มีสติรู้เท่าทันและเกิดการปล่อยวาง ภาวะกลางๆ หรือ "ตรงกลาง" ก็จะเกิดขึ้นเอง และเป็นไปเอง ซึ่งต่างจากภาวะกลางๆ หรือ "ตรงกลาง" อันเกิดจากการตั้งใจ จงใจทำ หรือทำให้เกิดด้วยสมถะ หรือ แม้แต่ภาวะกลางๆ หรือ "ตรงกลาง" อันเกิดจากความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ซึ่งก็มีได้ ๒ ประการเช่นเดียวกัน คือ ประการแรกเป็นความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเกิดจากการตั้งใจ จงใจทำ หรือทำให้เกิดด้วยการทำจิตให้ว่าง หรือด้วยสมถะ และความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเกิดจากการมีสติรู้เท่าทันและเกิดการปล่อยวาง ซึ่งเป็นผลจากการมีปัญญาหรือสัมมาทิฏฐิเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน อันเป็นการทวนกระแสด้วยปัญญาจนเกิดภาวะกลางๆ ซึ่งเป็นไปเอง เรียกได้ว่าเป็นการเข้าถึงภาวะกลางๆ อย่างแท้จริง อันเป็นไปเพื่อวิมุตติความหลุดพ้นโดยลำดับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เกิดจากการสัมผัส ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    แหล่งข้อมูล: คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้สำรวมอินทรีย์ 6 อินทรีย์นี้ให้ดี เพราะอินทรีย์ทั้ง6 เป็นเหตุให้อกุศลเจริญขึ้น
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้