Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

noin@
Lv 4
noin@ ถามใน การเมืองและรัฐบาลการเมือง · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

ข้อแตกต่างของนักวิชาการกับนักการเมือง

หลายคนมักพูดว่า

"นักวิชาการ" ดีแต่คิด ไม่เห็นจ��บอกออกมาเลยว่า ต้องทำอย่างไร คิดอย่างโน้น คิดอย่างนี้ อย่างเดียว ทุกอย่างพูดแต่มุมกว้างๆ ว่าน่าจะ น่าจะ ..... ถ้าทำได้เหมือนที่คิดก็ดีไม่น้อย

ส่วน"นักการเมือง" ดีแต่ทำ ไม่ค่อยคิดเพราะต้องทำเพื่อเอาใจผู้อื่น ทำทุกอย่าง เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมหรือของใคร (แล้วแต่จะคิดน่ะ)

แล้วถ้านักวิชาการเป็นนักการเมืองด้วย ท่านว่าจะดีกว่าไหม ?

อัปเดต:

หรือถ้านักวิชาการ ช่วยเสนอรูปแบบการทำงาน ตามแนวคิด ที่สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรมจะดีกว่าไหม เพื่อลดการโต้แย้ง หรือข้อสงสัย ซึ่งกันและกัน เพราะเห็นเถียงกันคราวไหน ก็บอกว่า ชั้นไม่ได้คิด คนคิดไม่ได้ทำ ประมาณนี้ ไม่ใช่ว่า ฝ่ายนึง ติ อย่างเดียว ส่วนอีกฝ่ายก็แก้อย่างเดียว แล้วเมื่อไหร่น้อ จะเกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา หรือไม่ก็เพื่อเป็นการยืนยันว่า สิ่งที่นักวิชาการคิด สามารถนำเอามาใช้ได้จริงๆ ไม่ใช่ ความฝันที่เอื้อมไม่ถึงอีกต่อไป

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Joey07
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ถ้านักวิชาการเป็นนักการเมืองด้วย ท่านว่าจะดีกว่าไหม ?

    ดีครับ แต่คงเป็นงานที่หนักเอามากๆ ดูตัวอย่าง ในหลวงของเรา แล้วกัน ทำได้อย่างพระองค์ท่านหรือเปล่า คิดค้น วางแผน ลงพื้นที่ ทำงานหนัก เพื่อแก้ไขปัญหาของปวงชนชาวไทย

    แหล่งข้อมูล: ขอจงทรงพร��เจริญ
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ดีแน่นอนเพราะคนประเภทนี้พูดเก่ง,หลักการสูง,กว่าจะลงมือทำอะไรสักอย่างคงต้องทำการวิจัย,ค้นคว้าหาผลกระทบต่างๆจนประเทศเราไค้ย้อนยุคกลับไปสมัยอยุธยาแน่(เพราะไม่ให้ทำอะไรเลยหรือให้ทำแต่รอ30ปี)

    แหล่งข้อมูล: lส่วนตัวนะครับ
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    นักวิชาการ คิดและศึกษาวิจัย เพื่อนำความรู้ที่ตกผลึกแล้ว เผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อให้ทุกภาคส่วนนำมาใช้ประโยชน์

    นักการเมือง เป็นผู้ทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง โดยนำองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้ประโยชน์ พัฒนาประเทศเพื่อความเจริญก้าวหน้า

    ถ้านักวิชาการมาเป็นนักการเมือง ก็อาจเป็นการสูญเสียบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการพัฒนาความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพราะนักการเมืองต้องบริหารความรู้หลายๆด้าน ทำให้นักวิชาการเหล่านั้น ไม่ได้พัฒนาศักยภาพตนเอง สังคมอาจไม่คุ้มทุนที่ใช้บุคลากรผิดประเภท

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    นักวิชาการ

    คิดและทำ แต่ไม่ได้ประกาศหรือโฆษณาสิ่งที่ทำให้สังคมทั่วไปรู้ คนที่รู้คือคนทà¸��่อยู่ในแวดวงเดียวกัน หรือเป็นคนทั่วไปที่สนใจในเรื่องนั้นๆ (ซึ่งน้อยมาก เราว่า)

    นักการเมือง

    ไม่รู้ว่าคิดอะไรมากน้อยแค่ไหน แต่เน้นการลงมือกระทำ แล้วก็ทำให้คนในสังคมทั่วไปเห็นว่าตัวเองทำ

    นักวิชาการที่คนทั่วไปรู้จัก (ส่วนมากผ่านการออกความคิดเห็นผ่านสื่อต่างๆ) เป็นนักวิชาการที่มีความเป็นนักการเมืองอยู่ในตัว คนที่เป็นนักวิชาการโดยไม่มีความเป็นนักการเมืองอยู่ในตัว พอถูกดึงมายุ่งกับการเมืองเมื่อไหร่ ก็เน่าได้ง่ายๆเหมือนกัน

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ก็ต้องบอกว่ามองต่างมุม นักวิชาการเขานั่งอยู่แต่ห้องแอร์ เอาข้อมูลมาจากใหน ถ้าไม่ใช่นักการเมือง ก็เอามาจาก ตาสี ตาสา ยายมา ยายมี อย่างเรา และเมื่อนักวิชาการ มาเป็นนักการเมือง

    เละครับ ยกตัวอย่าง ช่างเครื่อง กะนักบิน เขาแบ่งความรับผิดชอบไว้คนล่ะอย่าง ถ้าเอานักบิน มารู้เรื่องช่างเครื่อง เมื่อไรก็เละ เหมือนกันครับ เอาอีกตัวอย่าง นักวิชาการหลายคน เข้าไปเป็นนักการเมือง ถามว่าคนใหนบ้างที่มีดี เอาสะคน เอนก เหล่าธรรมทัต ไง ดีแต่คิด กะพูด ก็เลยคิดว่า เขาแยกกันแบบนี้แหละดีแล้ว

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ต่างคน ต่างที่ ต่างวาระ

    นักวิชาการชอบพูดชอบบรรยายและมีความรอบรู้ไปซะทุกเรื่อง (สงสัยจะเป็นหนอนหนังสือทั้งน๊าน)

    นักการเมืองชอบพูดแต่ชอบทำ (ทำบ้างไม่ทำบ้างหรือทำเฉพาะที่ได้รับผลประโยชน์)

    ต้องเป็นทั้ง 2 อย่างในคนเดียวกันนะดีม๊าก... มาก....

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จริงก็คือคนๆเดียวกันครับตอนแรกก็คิดช่วยเหลือผู้คนด้านสอนหนังสือหรือไห้ความรู้ผู้คนในวงแคบๆเท่านั้นแต่เพื่อประเทศชาติจึงต้องมาเป็นผู้แทนครับ พรรคดึงตัวในฐานที่ว่ามีลูกศิษย์ลูกหาทั้งประเทศครับ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้