Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

การยอม ผู้ที่ให้อภัยหรือผู้ที่ยอมนั่นแหละเป็นผู้ชนะ

เปรียบได้กับภาษิตแพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ท่านเห็นด้วยไหมที่คนไทยก็มีวัมนธรรมเช่นนี้ยอมได้มาเรื่อยๆ

8 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    การยอมเป็น.."ผู้แพ้"ที่ตั้งคำถามมานี้ไม่ชัดเจนครับ...

    และก็ไม่เคยมีวัฒนธรรมที่ว่า.."แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร"ด้วย...

    ..คำภาษิตนั้นเป็นคำเปรียบเทียบของ.."พระพุทธเจ้า"ที่บอกว่าถ้าเราเป็น.."ผู้แพ้"แล้วเราก็จะเป็น.."ผู้ชนะ"นั่นเอง เป็นการแพ้ชนะที่เกิดทางด้านจิตใจยกตัวอย่างเช่น..ถ้าจะมีการปะทะกันโดยมีกลุ่ม.."คนพาล"จะเข้ามาทำร้ายพวกเราก็ให้เขาเป็น"ฝ่ายชนะ"ไปโดยพวกเราอย่าไป"ต่อสู้"กับเขาเพราะไม่คุ้มค่ากับการไปต่อสู้จะเสียเลือดเสียเนื้อไปเปล่าๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเราก็เป็นคนไทยด้วยกันใช่ใหม อย่างนี้แหละครับคือ..การแพ้เป็นพระส่วนฝ่ายชนะก็เป็นมารครับ

  • Pudin
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    รั ก ษ า สิ ท ธิ์

    ==========

    เพราะไม่เข้าใจในสิทธิของตนอย่างถ่องแท้

    จึงไม่สามารถรักษาสิทธิอันชอบธรรมนั้นได้

    พอไม่เข้าใจว่าตนเองมีสิทธิอะไรบ้าง?

    ก็ต้องพ่ายให้กับอันธพาล เป็นที่มาของสำนวน

    "แพ้เป็นพระ-ชนะเป็นมาร"

    กลไกรัฐเอื้อให้เจ้าหน้าที่กินสินบาท-คาดสินบน

    คนต่างด้าวที่ต้องการสิทธิ์จึง "ซื้อหา" ขณะที่

    คนไทย (ปัญญาด้อย) ไม่รู้รักษาสิทธิ์

    วัฒนธรรม "ยอม" จึงได้ถือกำเนิดขึ้น

    ในเวทีสากล... ไม่มีผู้ชนะ มีแต่ "ผู้กดขี่"

    ในเวทีสากล... ไม่มีผู้แพ้ มีแต่ "ผู้ยอม"

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า..

    กินซุปไก่สกัดแล้วปัญญาจะดีขึ้น

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่เห็นด้วย

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    จริงหรือครับ ทำได้จริงหรือครับ ผมว่à¸��การพูดกับทำบางครั้งมันไม่ง่ายเลยครับ ทำไมเหรอครับ ผมเชื่อว่าตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ความรู้สึกย่อมมีครับ ผมว่าลองถามตัวเองดีไหมครับว่าสิ่งที่พูดนั้นกับสิ่งที่ทำมันได้ดังที่เราเขียนไหม(ไม่ได้ว่าใครน่ะครับ นี่คือส่วนที่ผมคิดครับ) ผมว่ามากน้อยต้องมี คนเราตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ ความรู้สึก อารมณ์ต้องมี มากน้อยแล้วแต่จังหวะโอกาสเวลาสถานะ การควบคุมอารมณ์ ทำได้แน่แต่ความรู้สึกย่อมมี งั้นการยอมนั้น ผมว่าเราไม่สามารถกำหนดได้แบบถาวรแน่นอน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกที่ดูดีสำหรับคำๆนี้ถ้าเราพึงปราถนาจะให้มีแบบฐาวร อิอิ รู้ไหมครับทำไง อิอิ ผมคิดของผมแบบนี้น่ะครับ แต่ผมไม่บอกครับ เพราะกว่าจะหาเจอ..................

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนไทยตอนนี้ยอมไม่เป็นเลยกลายเป็นอันธพาลระรานทั่วประเทศกลายเป็นอันธพาลครองเมือง เพราะคนที่ยอมต้องถูกรุกรานความสุขในการใช้ชีวิตประจำ��¸§à¸±à¸™ ถ้าทุกคนยอมและให้อภัยเมืองไทยก็คงสงบร่มเย็น มีแต่รอยยิ้ม ไม่มีรอยเลือด

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    หรือ อาจจะใช้ สำนวณที่ว่า...

    การใช้อภัยศรัตรูของท่าน...

    คือการเอาชนะอย่างชาญฉลาดวิธีหนึ่ง...

    แหม ๆ โหวดให้ด้วยครับ...

  • Mor r
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ส่วนใหญ่เราคิดว่า ยอม คือ การแพ้ ก็เลยไม่มีใครยอมที่จะ หยุดความขัดแย้ง ก่อน ส่วนใหญ่จะรอให้ฝ่ายตรงข้ามเราเป็นคนยอมก่อน โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เพราะส่วนใหญ่มักจะกลัวแพ้

    ในทางตรงข้าม ผมกลับไม่คิดว่าคนไทยส่วนใหญ่จะมีวัฒนธรรมแบบที่ถามมานี้ โดยเฉพาะกับพวกเดียวกันเอง คนไทยมักจะไม่ยอมให้ใครก่อน แม้กับชนชาติอื่น แต่ที่เรามักจะแพ้ชาติอื่น ก็เพราะเรามีความรู้ไม่เพียงพอไปสู้กับเขาเอง

    ในหลักการที่ดีๆ มักจะสอนให้คนเรายอมหยุดสิ่งที่เป็นข้อวิวาทก่อนฝ่ายตรงข้ามเรา แล้วร่วมกันตัดสินด้วยการใช้เหตุผลที่เป็นจริง การตัดสินด้วยความจริงจะทำให้ยอมรับกันได้ทุกฝ่าย อารมณ์ก็ไม่ขุ่นมัว ใช้ความรู้ มากกว่า ความรู้สึก

    (ทีนี้ถ้าไม่ฝึกฝน จะทำไม่ค่อยได้ เพราะส่วนใหญ่ ความรู้สึก จะมีอิทธิพลเหนือความรู้ และมักจะยอมพ่ายแพ้ต่อความรู้สึก โดยคิดไปเองว่าธรรมชาติคงเป็นแบบนี้ แทนที่จะแสวงหาความรู้)

    ดังที่มีภาษิตที่ว่า แพ้เป็นพระ ฯ เพื่อให้คนเห็นถึงสาระสำคัญของการรู้จักยอม บ้าง

    รู้ว่าแบบนี้ ดี แต่ไม่ลองลงมือทำดู แล้วจะรู้ได้ไงว่า ดีจริง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    บางกรณีถ้าคิดพิจารณาดีแล้ว ก็ยอมได้ แต่สำหรับบางเรื่องถ้ามันไม่ดีไม่ควรแล้วจะยอมให้มันผิดต่อไปทำไมกัน

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้