Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ข้อพึงระวังกับการปนเปื้อนเมลามีน?

นอกจากการปนเปื้อนเมลามีนในนมเด็กแล้วผลิตภัณฑืนมต่างๆเช่นนมผง,นมขาดมันเนยผง,

นมพร่องมันเนยผง,ครีมผง,เนยผง,เวย์ผง,ไอสครีม,เนยแข็ง,โยเกิต์,อาหารสัตว์สำหรับสนัข

,แมว,ปลา,วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆที่เป็นแหล่งโปรตีนสูงอีกทั้งเนื้อสัตว์เช่นไก่,สุกร,ปลา,กุ้ง

ที่ใช้อาหารสัตว์เหล่านั้นก็สามารถเข้าสู่ร่างกายได้แต่ข้อดีคือไม่เป็นพิษแต่จะมีผลการเป็นนิ่วในไต,

ระบบขับถ่ายทางแก้พยายามรับประทานอาหารที่หลากหลายมากขึ้นอย่ารับประทานเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง

นานเกินไปครับนมก็เลือกนมในประเทศไทยจากแม่โคไทยดีแน่นอนครับแต่ที่เกิดกับเด็กเพราะเด็ก

ดื่มนมอย่างเดียวและจำนวนมากครับ

2 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารประจำสหภาพยุโรป(European Food Safety Authority : EFSA) ได้เสนอให้มีการกำหนดค่าอนุโลมในการบริโภคเมลามีน (melamine) ต่อวันของมนุษย์และสัตว์ (tolerable daily intake : TDI) ไว้ที่ระดับ 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ของน้ำหนักตัวต่อวัน (mg/kg b.w. per day) ทั้งนี้ ค่าอนุโลมดังกล่าวได้ครอบคลุมถึงสารประเภทเดียวกัน อันได้แก่ ammeline, ammelide และ cyanuric acid ด้วยแล้ว ซึ่งจากการที่ EFSA ได้กำหนดค่า TDI ของเมลามีนสำหรับมนุษย์และสัตว์ให้เท่ากันนั้น เนื่องจากผลวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ในสัตว์ยังไม่เป็นที่ชัดเจน ดังนั้น ทาง EFSA จึงขอให้มีการกำหนดค่า TDI ของเมลามีนสำหรับสัตว์ให้เท่ากับสำหรับมนุษย์ รวมทั้งได้กำหนดค่า TDI ของเมลามีนในภาชนะที่สัมผัสกับอาหาร (food migration limit for foodcontact materials) ไว้ที่ระดับ 30 mg/kg ด้วยแล้ว

    อย่างไรก็ดี ค่า TDI ดังกล่าวเป็นเพียงค่าที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราว หากภายหลังที่ EU ได้รับผลการวิจัยจากกลุ่มประเทศสมาชิกในเรื่องของเมลามีนที่ชัดเจนแล้ว จะได้มีการปรับ-ลดค่าดังกล่าวให้สอดคล้องกับผลการวิจัยนั้นๆ ซึ่งค่า TDI ที่จัดตั้งในครั้งนี้เป็นค่าที่สอดคล้องกับค่า TDI ที่กำหนดขึ้นไว้โดย US Food and Drug Administration’s ด้วยแล้ว

    มาตรการของ EU (European Union ) ขณะนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกมาตรการ ให้ประเทศสมาชิก EU-27 ตรวจเข้ม เพื่อหาการปนเปื้อนของเมลามีนในสินค้าประเภท wheat gluten, corn gluten, corn meal, soy protein, rice bran และ rice protein concentrate ที่นำเข้าจากประเทศที่สาม โดยเฉพาะที่นำเข้าจากประเทศจีน ทั้งนี้ ให้รายงานผลการตรวจเข้าสู่ระบบเตือนภัยกลาง คือ Rapid Alert System for Food and Feed

    การลักลอบใช้เมลามีน : นอกเหนือจากการลับลอบใช้เมลามีนผสมในอาหารสัตว์แล้ว EFSA ยังได้เปิดเผยว่า ยังคงมีการลักลอบใช้เมลามีนผสมในอาหารสำเร็จรูป อาทิเช่น ขนมปัง เส้นพาสต้า พิซซ่า อาหารเด็ก และอาหารสำหรับผู้แพ้กลูเตนด้วยเช่นกัน

    โทษของเมลามีน : ในปี 1999 หน่วยงานวิจัยด้านมะเร็งสากล (International Agency for Research on Cancer) ได้ประเมินให้เมลามีนไม่อยู่ในกลุ่มสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ ซึ่งขณะนี้ EFSA เองก็ได้ระบุเช่นกันว่า เมลามีนไม่มีอันตรายต่อกรรมพันธุ์ ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่ก่อให้เกิดการพิการ

    เพิ่มเติม

    สหภาพยุโรป (European Union : EU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ภายใต้สนธิสัญญามาสทริชต์ (Maastricht treaty)แทนที���ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) EU มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คือ การเลือกซื้อของอุปโภคบริโภค สมัยนี้ น่าเป็นห่วงมากรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ที่สำหรับบรรจุหรือใส่อาหารก็ยังมีผลกระทบเลย ต้องละเอียดในการเลือกซื้อมากเป็นพิเศษยิ่งเฉพาะนมผง,ขนมสำรหับเด็ก รู้สึกว่าอะไรที่มาจากจีนจะไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงดีกว่าอย่าเสี่ยงเลย

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้