Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ปลัดกับผู้ว่าต่างกันอย่างไร?

(ไม่แน่ใจว่าไม่ได้เรียนลงลึก หรือเรียนแล้วลืมแล้ว)

เห็นในข่าว ปลัดกรุงเทพฯ เดินรณรงค์ให้คนไปเลือกตั้ง ผู้ว่ากรุงเทพฯ

จึงนึกได้ว่า เคยสงสัยมานาน (จนลืมไปหลายรอบ) ว่า สองตำแหน่งนี้มีบทบาทหน้าที่ต่างกันอย่างไร

มีคนละหน้าที่?

หรือ ทำอย่างเดียวกันแต่ดูแลคนละฝ่าย?

หรือ มีหน้าที่คานอำนาจกัน?

หรือ อย่างไรกันแน่?

รวมถึง ปลัดจังหวัด - ผู้ว่าจังหวัดฯ - อบจ.

ปลัดอำเภอ - นายอำเภอ

ปลัดกระทรวงฯ - รัฐมนตรี

ขอคำอธิบายง่ายๆ เป็น "ความคิดรวบยอด" (concept) เป็นสำคัญของเนื้อคำตอบ

ลองค้น google แล้ว เจอแต่ข้อกฎหมาย ไม่มีใครสรุปให้เข้าใจง่ายๆ

รายละเอียดที่ระบุในกฎหมาย อ่านแล้ว ก็ยัง งง (คนเรามันถนัดไปคนละอย่างจริงๆ นะนี่ แต่ถึงไม่ถนัด ก็ยังอยากเข้าใจ)

ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องยก แต่ถ้าจะก๊อปมา ขอให้เป็นเพียงส่วนเสริมภาคผนวกตอนท้าย

3 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Share
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    หากตำแหน่งใดๆ ที่เป็นข้าราชการ "ประจำ" แล้วมีปลัด

    ปลัดในที่นี้ จะหมายถึง เป็นผู้ช่วยครับ

    เช่น นายอำเภอ ปลัดอำเภอ

    หรือ ผู้ว่าจังหวัดทั่วไป ปลัดจังหวัด ก็คือ ผู้ช่วยงาน ทั้งคู่เป็นข้าราชการประจำ

    แต่หาก ตำแหน่งนั้นๆ เป็นข้าราชการ "การเมือง" ปลัด จะเป็นเสมือน เลขาฯ ครับ

    อย่าง ปลัดกระทรวง คนสั่งการคือ รัฐมนตรี ปลัดทำหน้าที่ประสานงาน เห็นได้ชัดจากศัพท์

    ปลัดกระทรวง permanent secretary (ศัพท์ตัวนี้ ถามเด็กนักเรียน มากกว่า 90% ตอบไม่ได้ว่าแปลว่าอะไร) ปลัดกระทรวง เป็นข้าราชการประจำ จึงpermanent และทำงานดุจเลขาฯ หรือ secretary

    ผู้ว่า กทม เป็นตำแหน่งการเมือง ปลัด กทม เป็นข้าราชการประจำ ผู้ว่าจึงสั่งการ ปลัด จะประสานงาน

    คงชัดเจนนะครับ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผู้ว่ากทม.เป็นข้าราชการการเมืองส่วนปลัดเป็นข้าราชการประจำ

  • ?
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เอาตามความเข้าใจผมคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เขามีหน้าที่เหมือน Visionary ครับ คือกำหนดนโยบายและบริหารในภาพรวม และมาจากการเลือกตั้งของประชาชนคนกรุงเทพฯ แต่ปลัดกรุงเทพมหานคร เขาจะเป็นผู้บังคับบัญชา ในสายข้าราชการประจำสูงสุด เป็นคนลงมือทำ พูดง่ายๆ ว��¹ˆà¸²à¸„นนึงคิด คนนึงทำ มากันคนละสายนั่นเอง แต่ว่าเท่าที่ผมสังเกตดูก็จะช่วยๆ กันคิดช่วยกันทำครับ

    คือในสายข้าราชการพลเรือนทั้งหมดนี้ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย มีระดับระดับ11 (จำนวน 1 คน) ส่วนระดับรองลงมาเป็นรองปลัด ระดับ10 และยังมี ระดับ10 อีกคือ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักต่างๆ มี 16 สำนัก ( สำนักการแพทย์, สำนักอนามัย, สำนักการโยธา, สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร, สำนักสวัสดิการสังคม , สำนักการระบายน้ำ , สำนักการคลัง , สำนักรักษาความสะอาด , สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร , สำนักการศึกษา , สำนักผังเมือง , สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร , สำนักพัฒนาชุมชน , สำนักเทศกิจ , สำนักการจราจรและขนส่ง , สำนักงานเลขาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร )

    แต่ในการปกครองระบบประชาธิปไตยตัวแทนของประชาชนควรจะมาจากการเลือกตั้งไม่ใช่มาจากสายข้าราชการประจำ นี่คือที่เข้าใจนะครับ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้