Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Non noN ถามใน สังคมและวัฒนธรรมภาษา · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

คำว่าซักแห้งมีความเป็นมาอย่างไรทำไมจึงกลายเป็นคำอธิบายว่าไม่อาบนํ้าทำไมไม่เป็นอาบแห้งแทนที่จะเป็นซักแห้ง?

2 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ภาษามาจากการใช้ค่ะ

    เขาเรียกกันแบบนั้นหน่ะ

    เอาลักษณะการซักผ้าที่เข้าใจกันดี มาเรียกวิธีการอาบน้ำแบบไม่ต้องใช้น้ำ ก็เข้าใจกันไปตามนั้น

    เป็นการสร้างคำ สร้างความหมายของคำอย่างหนึ่งของภาษาไทย

    ไม่จำเป็นต้องแปลกันตรงตัว ถ้าคำนึงถึงความหมาย ก็ถูกของคุณ เหมือนที่คุณเคยถามเรื่องมองลอดแว่น ไม่ใช่มองข้ามแว่น

    เพราะผู้ใหญ่ท่านเรียกกันเช่นนั้น และสื่อกันเข้าใจมา จึงเป็นเช่นนั้นเอง

    คุณก็ลองบัญญัติคำในความเข้าใจของคุณดูก็ได้ ลองใช้คำของคุณสื่อสารดูกับคนรอบข้าง อาจกลายเป็นคำฮิต ใช้กันแพร่หลายก็ได้นิ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ยามที่ง่วงจนอยากมุดเข้าเตียง หรือดึกจนขี้เกียจจะอาบน้ำ ก็มักจะ''ซักเเห้ง''คือ เว้นไปเลย นอนเลย เเล้วใว้อาบวันรุ่งขึ้น

    เข้าใจว่าเป็นการ'เล่นคำ'น่ะครับ. ''เป็นการนำคำตรงข้ามมาเปรียบเปรย''

    คือความเข้าใจง่ายๆเเละเอามาเทียบกันอย่างง่ายๆ ว่า''ซักน้ำ''น่ะคือ''อาบน้ำ''

    ส่วน'การไม่อาบน้ำ'ก็เทียบกันกับ'การไม่ซักน้ำ' ..เเต่จะบอกว่า''ไม่อาบ''ก็ละอายเล็กๆ..เลยใช้คำพูดว่า ''ซักเเห้ง'' ซะ

    อนึ่ง คำว่า ซัก มีได้2อย่างคือ ซักน้ำ เเละซักเเห้ง จึงนำมาเปรียบเปรยได้เหมะพอดี ส่วนการอาบนั้น ขึ้นชื่อว่าอาบก็เปียกอย่างเดียวเเละไม่มีคำว่าอาบเเห้งน่ะครับ.

    [ว่าเเต่ว่าผมอาบน้ำเสมอน่ะ]

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้