Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

กรณีเหยื่อผู้หญิงถูกฆ่าข่มขืน แล้วนสพ.ลงชื่อ-นามสกุลจริง ภาพถ่าย ถือว่า"ผิดจรรยาบรรณ"ไหมคับ?

สังเกตุหลายครั้งแล้ว ล่าสุดลงหน้า 1 นสพ.หัวสี ถ้าไม่ผิดจรรยาบรรณ มีความจำเป็นเพียงไร? ที่ต้องลงภาพถ่าย(สวยๆ) ตอนมีชีวิต ไม่มีการคาดตา ลงชื่อเล่นที่เพื่อนฝูงเรียก อ่านแล้วรู้สึก ทื่อ เบลอ ตื้น ถ้าเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัว คงไม่รู้จะบรรยายอย่างไร

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เรียกความรู้สึกสูญเสียกลับไม่ได้ครับ ฟ้องร้องก็ต้องยอมความและได้รับการขอโทษผ่านสื่อสิ่งพิมพ์โดยศาลสั่งว่าต้องลงคอลัมภ์เล็กๆซีกล่างสุดหน้าคลาสสิคไฟล์ประมาณ2คูณ2นิ้วก๊ฉบับก็ว่าไป ในแง่ของจิตวิทยาผู้ที่เสพข่าวใดก็เพื่อสนองความต้องการจากสิ่งนั้นไม่ใช่การสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็นเหมือนที่พูดๆกัน สิ่งที่ต้องการสนองตนเองนั้นมันถูกกระตุ้นและสะสมมาจากสภาพสังคมที่รุนแรงจากสื่อเองสังคมเองเข้ามาเรื่อยๆและกลายเป็นเรื่องปรกติในการที่จะไปหยิบจับหัวสีสักเล่มที่มีคนตกเป็นเหยื่อมาอ่านโดยต้องการแค่รู้ว่าผู้เสียหายเป็นใคร?เป็นญาติหรือคนที่รู้จักหรือปล่าว?เท่านั้น...หยิบปุ๊บต้นใม้ถูกตัตปั๊ปเครื่องจักรผลิตกระดาษเดินเครื่องฝ่ายข่าวส่งข่าวทันทีนี้แหล่ะคือจรรยาบรรณของการเลี้ยงชีพและบริษัทจริงๆ เราคงหามันไม่ได้จากการหยิบยื่นให่คนอื่นครับ

    ผมเองก็ไม่โทษผู้อื่นครับถ้าผมไปหยิบหัวสีพวกนี้หรือตอนเด็กผมแอบอ่าน191ของผู้ปกครองครับ

    เพราะจรรยาบรรณในการซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ของผมด้อยครับ

    นะครับอย่าไปคิดมากกับพวกเค้าหรือถามหาจรรยาบรรณกับพวกพี่ๆเค้าครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การรายงานข่าวที่เป็นเรื่องจริงไม่��¸œà¸´à¸”กฏหมาย แต่การนำภาพที่ไม่น่าดูมานำเสนอ ในแง่มุมที่ไม่เหมาะสมเพียงเพราะต้องการยอดขาย เรียกว่าผิดจรรยาบรรณ

    หนังสือพิมพ์หัวสีในเมืองไทย ไม่เคยรู้จักคำๆ นี้ ตั้งแต่สมัยดิฉันยังเด็กๆ แล้ว ไม่เคยเปลี่ยน..............

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การการะทำเช่นนี้ของนสพ. เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายของบางประเทศเชียวละครับ

    แต่ประเทศเราอาจจะเจริญทางด้านจิตใจมากกว่าประเทศทางยุโรป(..มั๊ง...) จึงไม่มีกฏหมายรองรับ หรือมี แต่มิได้รับนำมาปฏิบัติต่อสื่อ เพื่อปกป้องประชาชนมิให้เกิดการละเมิด

    เมื่อไม่มีกฏหมายมากดหัว พวกนสพ.ไทย ก็สร้า่งกฏฯมาควบคุมพวกเดียวกันเอง โดยใช้คำที่สวยหรู เรียกให้ดูดีว่า "จรรยาบรรณ" ซึ่งคำแปลนี้น่าจะหมายถึง

    "สำนึก"

    แล้วพวกเขามีสำนึกกันมากมายขนาดไหน? ก็ขอให้พวกเราตัดสินกันเอง

    สำหรับผม หนังสือพิมพ์-สื่อหลายๆแขนงและหลายๆสาขา

    "ขาดสำนึกพื้นฐาน" ครับ

    อาจจะหมายไปไกลถึงท่านอาจารย์ผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย ที่สอนตามสถาบันศึกษาต่างๆบางท่านด้วย

    ผมเก็บข้อมูลจากคำบอกเล่าของนักศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องด้านการทำสื่ิอและโฆษณา-มิได้หาข้อมูลแบบเป็นระบบ จึงอาจจะคลาดเคลื่อน และมันเป็นแค่เป็นความรู้สึกของคนเสพสื่อคนหนึ่งเท่านั้น..ขอบคุณครับ

    .

  • ในกรณีนี้ดิฉันเห็นว่าญาติคงอนุญาตหนังสือพิมพ์จึงลงทั้งชื่อและรูปถ่าย อย่างนี้รู้เห็นยินยอม ไม่ผิดจรรยาบรรณ และถ้าคนตายไม่ยินยอมก็คงต้องหาทางจัดการกับหนังสือพิมพ์เอาเองค่ะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้