Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

sudb
Lv 4
sudb ถามใน สังคมและวัฒนธรรมศาสนาและจิตวิญญาณ · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

ความก้าวหน้าในการฝึกสมาธิวิปัสนากรรมฐาน?

เมื่อมีการฝึกสมาธิไประยะหนึ่งแล้ว ไม่เกิดความก้าวหน้า

จะทำอย่างไรให้การฝึกฝนก้าวหน้าต่อไป ขอผู้ที่เคยปฏิบัติแล้ว ช่วยแนะนำด้วยครับ

1.ทำอย่างไรให้การเข้าสู่สมาธิได้เร็วขึ้น

2.วิธีการเข้าถึงณาน ได้เร็วขึ้น

3.การรักษาณานให้ได้นานขึ้น

อัปเดต:

เห็นจริงดังคำตอบทั้งสองเลยครับ แต่ก๋อนก็ทำได้ไม่ยาก มาพักหลังภาระกิจมาก บทจะทำก็ทำยากเลยสงสัยตัวเอง ว่าเดินผิดทางหรือเปล่า? เคยเข้าถึงณานได้แต่ตอนนี้รักษาสมาธิไว้ยังไม่ค่อยจะได้เลยครับ.

อัปเดต 2:

ได้อ่านทุกคำตอบคำแนะนำแล้วครับ แต่คิดว่ายังมีหลายท่าน ทั้งที่เคยปฏิบัติ ทั้งอาจเรียกได้ว่ามีประสบการณ์มาแล้ว ในหลายรูปแบบ อยากให้เข้ามาช่วยเติมคำตอบให้อีกครับ ช่วยกันบอกต่อก็ได้ครับ ผมจะไม่เลือกคำตอบที่ดีทีสุดด้วยตัวเอง เพราะคิดว่าผมคงไม่อาจตัดสินใจว่าคำตอบใดดีที่สุดสำหรับคำถามนี้ได้ และอยากให้เพื่อนหรือใครก็ตามทุกๆท่านเข้ามาช่วยกันโหวตครับ อยากให้โหวตกันมากไม่ใช่แค่เพียงคนสองคนเท่านั้นนะครับ ขอบคุณครับและจะเข้ามาอ่านคำแนะนำเพิ่มเติมเป็นระยะจนกว่าจะหมดเวลาเลยครับ.

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    อะแฮ่มๆ..สมาธิไม่เหมือนกับวิปัสสนานะคะ

    ถ้าอยากเก่ง อยากดี อยากสงบ อยากให้จิตใจมีกำลัง

    อันนี้ก็ต้องทำสมถะกรรมฐานหรือทำสมาธิ

    (ไม่มีเจตนาจะหาเรื่องนะคะ เพียงแต่เห็นแล้วอดไม่ได้

    เดี่ยวคนไม่รู้มาอ่านจะสับสนว่าศาสนาพุทธไม่สอนเรื่องพ้นทุกข์หรือ)

    แต่ถ้าอยากพ้นทุกข์ก็ต้องทำวิปัสสนากรรมฐานโดยการมีสติรู้กายใจว่า

    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(ไม่ใช่ตัวตนเพราะบังคับไม่ได้)

    เพราะงั้นถ้ามีอยาก(ตัณหา)ในการทำวิปัสสนาแล้วไม่รู้ก็ถือว่าสอบตกคะ

    เพราะสมาธิเป็นของเสื่อมได้ แม้ว่าจะรักษายังไงวันหนึ่งก็ต้องเสื่อมเป็นธรรมดา

    แม้แต่วิปัสสนาญาณเองถ้าไม่ได้มรรคมาตัดครั้งที่1-2-3-4ก็เสื่อมได้เหมือนกัน

    (ศึกษาเพิ่มเติมที่ www.wimutti.net/pramote)

    ถ้าเวลาทำน้อย หลังกลับบ้านมาแล้วเหนื่อยมาก

    ก็ให้ทำตอนเช้าแทนคะ หรือไม่งั้นก็เจริญสติในชีวิตประจำวัน

    คือทำตอนที่ว่าง เช่น พักเข้าห้องน้ำ หรือตอนเดินไปทำโน่นทำนี่ก็ได้

    ทำสมถะโดยการรู้การเคลื่อนไหวของกาย หรือลมหายใจก็ได้แล้วแต่ถนัด

    ตอนนั่งสมาธิจะรู้สึกว่าดีกว่าที่ไม่ได้ทำอะไรเลยมาทั้งวัน

    ศึลก็ต้องถึงพร้อมอย่างน้อยห้าข้อ ไม่งั้นจิตใจก็ไม่ปกติคะ

    แต่ข้อนี้คุณคงรู้แล้วมั้งคะ

    เฮ้ย..พิมพ์ไปเรื่อย เราไม่เคยจะถึงไหนเลยคะ

    ของเก่าก็น้อย ของใหม่ก็น้อย

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตอบคำถามมาด้วยความเคารพ ตามความรู้ที่พึงมี

    1. ที่เข้าสมาธิได้ช้า เพราะยังติดในนิวรณ์ หรืออารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวคล่องในใจเรานั้นมีมาก กว่าที่เราจะรวมจิตเป็นหนึ่งเดียว จึงทำให้ใช้เวลามาก ต้องสู้กับอารมณ์ต่าง ๆ มากมาย

    วิธิแก้ก็คือ ในแต่ละวัน ควรมีสติควบคุมกาย วาจาอย่างต่อเนื่อง หรือควรสำรวมกาย วาจา ได้แก่ ศีลที่เราสมาทานไว้ หากศีลไม่ประณีตหรือบริสุทธิ์ ก็มีผลต่อการรวมจิตให้เป็นหนึ่งได้ยาก เพราะผลของกรรมคือศีลที่ไม่ประณีต จะมาเป็นนิวรณ์รบกวนใจเรา ทำให้เข้าสมาธิได้ช้า หรือยาก

    2. วิธีการเข้าถึงฌานได้เร็วนั้น ก็ต่อเนื่องมาจากข้อ 1 เมื่อมีศีลบริสุทธิ์ ฝึกรักษาอารมณ์สมาธิ และเจริญสติอย่าง��่อเนื่อง ทััง 3 อย่างจะเกี่ยวเนื่่องและสัมพันธ์กันหมด เพราะจะเริ่มมีความเชี่ยวชาญในสมาธิ รู้อารมณ์ที่เป็นอุปสรรคและทั้่งฝ่ายที่เป็นเหตุปัจจัยแก่สมาธิ ดังนั้น เมื่อรู้เช่นนี้ จะทำให้เข้าและออกสมาธิได้อย่างไม่ติดขัด

    3. การรักษาฌานให้ได้นาน อยู่ที่กำลังของศีล กำลังของสมาธิ และกำลังของสติปัญญา และกำลังของจิตอธิฐานของเรา จะเข้าจะออกจากฌานนานเท่าไร

    ในความเห็นส่วนตัวแล้ว หากเรารักษาศีลให้บริสุทธิ์และประณีต ซึ่งเป็นคุณธรรมพื้นฐาน และเป็นฐานบาทรองสมาธิให้มีความเจริญแล้ว สมาธิก็จะไม่มีอุปสรรคอะไร ขณะเดียวกันก็เจริญสติให้มาก โดยกระทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ชีวิตของนักปฏิบัติก็จะเป็นปกติสุข

  • SATAN
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    1.ตั้งใจที่จะเข้าสมาธิ..ฌาณสมาบัติ..น้อมจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย..กำหนดใจว่าเราจะเข้าสมาธิ

    2.อย่าเร่ง..ปล่อยให้ความคิด..คิดไปจนล้า..แล้วสมาธิจะเกิด

    3.ตัวกำหนดเร็วหรือช้า..ขึ้นอยู่ว่าประคองจิตได้นานขนาดไหน...

    การปฏิบัติต้องตั้งใจและมีบุญเก่าที่เคยปฏิบัติมาในอดีตชาติ เหมือนเป็นสัญญาเดิมๆที่ย้อนเวลากลับมา การปฏิบัติถึงจะเร็วขึ้น..เอวัง..เป็นด้วยประการ..ฉะนี้

    การทำสมาธิสามารถทำได้ทุกอริยบท ยืน เดิน นั่ง นอน มีสิ่งหนึงพึงรู้ จิตที่ควรแก่การงาน ไม่จำเป็นต้องไปนั่งเอาเป็นเอาตาย การทำงานคือการปฎิบัติธรรม กาย วาจา ใจ ต้องสะอาด...ถึงพร้อมเป็นผู้รู้อย่างแท้จริง..รู้แล้วก็ต้องทำลายผู้รู้ จำเอาไว้นะ..ทุกสิ่งทุกอย่างเดินไปสู่ความไม่มี

  • Kimmim
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อย่าเร่งและอย่ายึดติดสิคะ การฝึกสมาธิคือการบังคับจิต

    1.อย่าไปเร่งว่าจะต้องเข้าสู่สมาธิเร็วๆ แม้แต่การกำหนดลมหายใจยังต้องกำหนดให้ช้าที่สุดดังนั้นการฝึกสมาธิไม่ใช่การเร่ง แต่กลับทำทุกอย่างให้นิ่งที่สุดจนแทบจะหยุดนิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง ใจร้อนไม่ได้ค่ะ การเข้าถึงฌานบางครั้งแทบจับลมหายใจเลยไม่ได้ก็มี(เหมือนไม่หายใจ แต่จริงๆแล้วอ่อนมากๆ ดังนั้นเวลาคับขันเช่นติดในลิฟท์ เค้าจึงแนะว่าให้ทำสมาธิ เพราะทุกอย่างจะเข้าสู่ภาวะสงบแทบไม่ไหวติง การใช้อากาศและพลังงานแทบไม่มีจึงอยู่ได้นานกว่าปกติ)

    2.อย่ายึดติดในฌานสมาบัติทุกอย่าง เพราะเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดที่จะทำให้การฝึกสมาธิไม่ก้าวหน้า เพราะไปมัวคิดว่า ฉันเคยนั่งแล้วเกิดฌานแบบนั้นแบบนี้ "การก้าวล่วง"ให้ได้คือจุดหมายที่สำคัญกว่าที่เรียกว่า สุญญตา.. อย่าสงสัย,ระแวงในทุกอย่างที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติ อะไรจะเกิดก็ให้ปล่อยไป จับที่จิตให้นิ่งที่สุด ไม่ให้เกิดยินดีหรือตกใจ,กลัว สมาธิจะแตกทำต่อไปไม่ได้

    3.เมื่อจิตสงบแล้ว นิ่งสุดแล้วก็ภาวนาต่อไปเรื่อยๆ ไม่ต้องสนใจทุกอย่างรอบตัวทั้งนั้น ..การนิ่งที่สุดคือสิ่งที่ดีที่สุดและจะทำให้พัฒนาได้เร็วมากจนเรานึกไม่ถึง(แต่อย่าไปยึดติดกับมัน) การหมั่นฝึกแบบนี้ นานเข้า..จิตจะดิ่งได้ไวและอยู่ได้นานขึ้นเรื่อยๆ

    เคยมีตอนที่ไปบวช ทำตามที่กล่าวมา(พระอาจารย์สอน)เชื่อไหมว่าเริ่มนั่งตั้งแต่2ทุ่ม รู้สึกตัวอีกทีระฆังวัดดังปลุกคนทั้งวัดแล้ว เราไม่ได้นอนทั้งคืนแต่กลับรู้สึกเหมือนนอนเต็มอิ่มที่สุดในชีวิต ไม่ง่วงเลย ทำอะไรก็ดูเหมือนเบาสบายไปหมดทั้งวัน(แถมได้ญานปิติอีกต่างหาก ทั้งที่เราไม่เคยคิดว่าอยากจะได้หรืออยากให้เกิดอะไร)

    การปฏิบัติยิ่งวิ่งหายิ่งไม่เจอ แต่หากนิ่ง.."ทุกอย่าง"จะมาเองขอให้ตั้งสติ บังคับจิตให้มั่น ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มั่นคงไว้ว่าเรากำลังตามรอยท่านทุกขณะจิต

    เคล็ดลับอีกอย่างที่จะช่วยได้มากๆแต่คนมักไม่นึกถึงคือการ"เดินจงกลม"หากเอาแต่นั่ง ไม่ฝึกทุกอริยาบท แม้แต่การกิน,ยืน,เดิน,นั่ง,นอนหรือแม้แต่ขณะปฏิบัติภาระกิจประจำวันการงานทุกอย่าง จะทำให้ก้าวหน้าได้ช้าค่ะ เพราะการฝึกจิตควรทำทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม เรียกว่า ตามให้ทันจิตทุกเมื่อ จิตควบคุมความคิด-ควบคุมกาย เกิดอารมณ์อะไรขึ้นให้รีบเอาจิตเข้าไปจับทันที ไม่โกรธ ไม่ยินด�� ระงับให้หมด...แล้วจะเข้าได้เร็วขึ้น พลังสมาธิจะกล้าแข็งขึ้นโดยเร็ว

    จึงเรียกว่า ผู้ตื่น,ผู้รู้,ผู้เบิกบานไงคะ ธรรมะไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากค่ะ

    แหล่งข้อมูล: การปฏิบัติส่วนตัว
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ได้ยกตนเองว่าเป็นผู้รู้ ผู้ปฏิบัติเป็นเลิศ...แต่พูดเขียนจากประสบการณ์ ที่เริ่มเรียนรู้ ปฏิบัติตั้งแต่อายุ 13-14 ปี ปัจจุบันก็แค่ 55 เอง...

    1) ทำอย่างไรให้การเข้าสู่สมาธิได้เร็วขึ้น... การให้สมาธิเข้าเร้ซหรือช้า ทุกคนมักคิดว่า ความสงัดเท่านั้น หรือแม้นแต่คำว่าจิตว่าง... ความจริงไม่ใช่ แท้จริงแล้ว อยู่ที่การมองเป้าหมายขณะนั้นต่างหาก ให้เข้าใจสั้นๆ ง่ายๆ นะว่า สมาธิก็คือจุดสนใจจุดใดจุดหนึ่ง และขณะนั้นคือจุดเดียวเท่านั้น นั่นคือมีสมาธิ ดังนั้นการเข้าสมาธิมีขึ้นได้ทุกขณะจิต

    2) วิธีการเข้าถึงฌานได้เร็วขึ้น ที่ก็คือคำถามหนึ่งของคนที่ปฏิบัติสมาธิ แล้วมีความอยาก (กิเลสอีกตัวหนึ่ง) ทำไปกี่ชาติก็ไม่ได้ฌานหรอกนะ เพราะจิตนิวรณ์ จิตวิตก ฯลฯ การเข้าฌาน ไม่ใช่การทำงานแบบปกติ ไม่ใช่แค่มีสมาธิแล้วก็ได้ฌาน ...จำไว้ว่า สะสมบารมีแค่ไหน...อยากได้ก็สั่งสมบารมีมากๆ และแบบบริสุทธิ์ใจนะครับ เหมือนคนทำบุญ 1 ล้าน บาท แต่ได้บุญน้อยกว่าคนทำบุญ 1 บาท... คิดว่าคงเข้าใจ...คนได้ฌานมีเวลาและบารมีของเขาเท่านั้น แม้นแต่พระอานนท์ ที่รับการยกย่องว่าเป็นพหูสูตร ก็ได้ฌาน และเป็นอรหันต์ในขณะกึ่งนั่งกึ่งนอนก่อนสังคายนาพระไตรปิฎกเพียง 1 คืน...มีพระผู้ทรงคุณได้ฌานสมาบัติสูง แต่ไม่สามารถบรรลุอรหันต์ในภพมนุษย์ได้ ฯลฯ

    3) การรักษาฌานให้นานขึ้น... คิดว่าคงเข้าใจในฌานสมาธิผิดไป สมาธิคือสวนหนึ่ง แต่ฌานคือพลังของสมาธิ การจะรักษาฌานได้นาน คือการรักษาศีล สมาธิ ปัญญา ให้สมบูรณ์ และไม่มีมลทิน นั่นคือเกราะของฌานครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนถึงนิพพานได้ด้วยการเอาใจใส่งานการในหน้าที่ ภาระกิจ หรือ หน้าที่ที่ต้องทำยิ่งเยอะยิ่งดี ใช้เป็นพาหนะเข้าสู่นิพพาน หรือ สมาธิได้

    กวาดพื้นก็ถึงนิพพานได้

    แหล่งข้อมูล: พุทธทาส
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ข้อ๑. ทำอย่างไรให้การเข้าสู่สมาธิได้เร็วขึ้น

    อย่าไปคิดอยาก ยิ่งอยากมากเท่าไหร่ ก็จะเป็นอุปสรรคในการเข้าสู่สมาธิ ที่ถูกต้องไม่อยาก ทำจิตให้ว่าง เป็นกลางวางเฉย ทำจิตให้ได้เพียงเท่านี้ ท่านแทบจะเข้าสมาธิได้ทันที เพ��ยงหายใจเข้า-ออกไม่เกินสิบเที่ยวเป็นอย่างมาก "สมาธิจะเกิดเมื่อท่าน หมดความตั้งใจ"

    อีกอย่างหนึ่งเป็นเรื่องสำคัญ คือ เวลาที่เรากำลังจะถอนออกจากสมาธิ ให้สังเกตดูซิว่าลักษณะท่าทางของร่างกาย ว่าอยู่ในลักษณะไหน เช่น ก้มหน้า คอเอียงซ้าย/ขวา มือ นั่นแหละเป็นท่าที่ท่านจะเข้าสู่สมาธิได้ง่ายอีกวิธีหนึ่ง

    ข้อ๒. คำตอบอันเดียวกันกับข้อ๑

    ข้อ๓. บุคคลที่เข้าฌานได้จะมีฤทธิ์ เช่น ระลึกชาติได้ รู้ภาษาสัตว์ รู้อดีต-อนาคต คนส่วนมากมักหลง นานวันจะกลายเป็นความอยากได้ สุข ลาภยศ สรรเสริญ อันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม เพราะจิตใจท่านจะเจือด้วยความอยากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จิตที่มีแต่สว่างสงบก็จะเป็นใจที่เร่าร้อน และท้ายที่สุดแม้สมาธิพื้นๆท่านก็จะเข้าไม่ได้ เพราะนิวรณ์ทั้ง๕ได้หุ่มห่อจิตใจท่านเสียแล้ว นี่คือทางเสื่อมมิใช่แค่ฌาน แต่รวมถึงเสื่อมจากความดีงามไปด้วย นี่เรียกว่าคนที่ตายจากพระนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งพุทธศาสนา

    การรักษาเมื่อทำแล้ว ต้องทำจิตให้ว่าง เป็นกลาง วางเฉยเสียทันที ห้ามส่งจิตออกนอก คือต้องตั้งอยู่ในอารมณ์ของฌาน จะเป็นดวงกสิณ หรือการทรงสมาธิจิตให้เป็นเอกัคตารมณ์ก็สุดแท้แต่ท่าน เพราะการส่งจิตออกนอกนั้นเป็นสมุทัยครับ แต่อย่าลืมต้องทำสมาธิทุกวันเป็นปกติสม่ำเสมอ จะเป็นเครื่องหมายให้ท่านได้รู้สภาวะจิตของท่าน ว่าทรงตัวหรือเสื่อมลง วิธีนี้เป็นการตรวจสอบจิตรักษาจิตไม่ให้เสื่อมครับ ข้อสำคัญต้องมั่นมีสติ ใช้จิตดูจิตเพื่อดูสภาวะจิตด้วยครับ

    ขออธิบายเพิ่มครับ การมีฤทธิ์ใช่ว่าจะไม่ดี ในข้อเสียก็ย่อมมีข้อดีอยู่ด้วย แต่ท่านต้องใช้ด้วยปัญญา เช่น การระลึกชาติได้ ดูซิว่าแต่ละภพชาติเกิดเป็นอะไรบ้าง เช่น เกิดเป็นขอทาน สัตว์เดรัจฉาน คนพิการ เป็นกษัตริย์ ดูให้หน่ายจากภพชาติ แล้วนิพพิทาญาณจะเกิด คือความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิด จะได้เร่งหาทางออกที่จะได้พ้นทุกข์ในปัจจุบันชาติ

    สรุป ฌานไม่ใช่ที่สุดแห่งพุทธศาสนาของเรา แต่ถ้ามีได้ก็ดีถ้าไม่หลง พระเทวทัศน์แม้จะบรรลุโลกียฌานสมาบั ติแต่ก็ไม่อาจฆ่ากิเลสให้ตายได้แม้แต่ตัวเดียว และท้ายที่สุดก็จะนำไปสู่ความเสื่อมในที่สุด ตัวอย่างก็มีให้เห็นแล้ว

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้