Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
จะทำอย่างไรเมื่อเด็กชอบเอาแต่ใจและโมโหง่าย?
1 คำตอบ
- เอกLv 71 ทศวรรษ ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
ดร.วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี แนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่เลี่ยงพฤติกรรมการเอาแต่ใจของเด็กไว้ ดังนี้
* 1. เสริมสร้างกำลังใจ
ทุกครั้งที่เขาแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก เพื่อเรียกร้องให้คุณพ่อคุณแม่ตามใจ เช่น ลงไปชักดิ้นชักงอ ประท้วง พ่อแม่ก็ควรจะอธิบาย ไม่ว่าเขาจะเข้าใจหรือไม่ก็ให้อธิบายความจริงด้วยเหตุผลจะดีกว่า อาจให้ดูตัวอย่างก็ได้ว่าทำแบบนี้ส่งผลเสียอย่างไร และในครั้งหน้าเมื่อลูกไม่ทำอย่างนี้อีกแต่เปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้แล้วก็อย่าลืมชื่นชม เขาก็จะรู้เองว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี ทั้งยังมีความสุขด้วยที่เขาสามารถทำอย่างที่พ่อแม่ต้องการได้สำเร็จ การที่พ่อแม่แสดงความสนใจ ภูมิใจ หรือพอใจในสิ่งที่เขาทำได้ดีจะเป็นการสร้างความรู้สึกปลื้มใจให้กับเขามาก เขาจะเรียนรู้ว่าการทำแบบนี้เป็นสิ่งที่ดี ทำแล้วพ่อแม่ชอบใจ เขาก็จะทำแบบนี้ต่อไปอีก
* 2. อย่าเสริมแรงแบบผิดๆ
บางครั้งการที่เจ้าตัวเล็กแสดงอาการเอาแต่ใจตัวเอง แล้วพ่อแม่ก็เสริมแรงโดยไม่รู้ตัว เช่น เวลาไปซื้อของแล้วเขาอยากได้ของเล่น พ่อแม่ไม่ซื้อให้เลยลงไปนอนดิ้นๆ อยู่กับพื้น พ่อแม่ก็อายเลยต้องซื้อให้ ทีนี้เขาก็เรียนรู้แล้วว่า คราวหน้า ถ้าเขาทำแบบนี้อีกก็ต้องได้อย่างที่เขาต้องการแน่นอน ถ้าเป็นเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องไม่ยอมเขาดูบ้าง แต่ก็ไม่ใช่แสดงพฤติกรรมทางลบกับลูกนะ อาจไม่ต้องถึงขั้นตีแค่มองเฉยๆ ก็อาจช่วยได้ เพราะบางครั้งแม้แต่การดุว่าก็เป็นการเสริมแรงที่ผิดอย่างหนึ่ง เมื่อเขาเห็นว่าทำแล้วพ่อแม่สนใจเขาแม้จะเป็นการดุก็ตาม เขาก็จะคิดว่าดีเหมือนกันที่พ่อแม่สนใจเขาเดี๋ยวคราวหน้าก็ทำอีก
* 3. อย่าหักหาญน้ำใจ
เรื่องความรู้สึกเป็นเรื่องสำคั���มากเลย บางครั้งการทำลายน้ำใจลูกด้วยอารมณ์ จะทำให้เขารู้สึกว่าไม่พอใจและไม่อยากทำตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกทันที กลายเป็นแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมา เพราะเด็กเขาจะรู้สึกว่าการทำอะไรสักอย่างไปแล้วพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ บังคับให้เขาทำสิ่งที่เขาไม่อยากทำ เขาก็เลยทำอย่างที่ตัวเข้าต้องการเสียเลย เพราะไม่เข้าใจกันนี่เอง
* 4. ทำให้ลูกแปลกใจดีกว่า
เด็กๆ เขามีการเรียนรู้ที่เร็วมาก เขาจะคาดเดาถูกหมดเลยว่าถ้าเขาทำอย่างนี้ แม่จะพูดว่าอย่างไร ถ้าในกรณีที่ลูกมีพฤติกรรมเอาแต่ใจมากแล้ว คุณแม่ลองมาสร้างความประหลาดใจให้ลูกดีกว่า เช่น เมื่อลูกดิ้นลงไปนอนกับพื้นเพราะแม่ขัดใจ คุณแม่ก็ลองทำอะไรที่ตรงข้ามกับที่เคยทำดู ลูกจะได้หยุดคิดว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งอาจช่วยลดพฤติกรรมนั้นลงได้ คุณแม่อาจบันทึกเอาไว้เลยว่า ถ้าลูกทำอย่างนี้ คุณแม่พูดว่าอะไร แล้วลูกทำพฤติกรรมอะไรต่อไป เมื่อลองสังเกตทบทวนแล้วเห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำเดิมทุกครั้ง คราวต่อไปคุณแม่อาจต้องเปลี่ยนวิธีแล้วละ
การเลือกดนตรีให้เหมาะกับอารมณ์เด็ก "เด็ก อารมณ์ร้อน หงุดหงิด ฉุนเฉียวโมโหง่าย"
ลักษณะดนตรี : เพลงที่เย็นๆ นุ่มๆ ฟังสบาย เปิดได้ทั้งวัน จะช่วยทำให้เด้กอารมณ์เย็นขึ้นได้
ซึ่งอาจเป็นเพลงบรรเลงที่มีจังหวะช้าๆ ทำนองเรียบๆ เช่น เพลงของ Beethoven
หรือเพลงไทยคลาสสิค