Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

phai v ถามใน สังคมและวัฒนธรรมประเพณี · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

ในเทศกาลสงกรานต์ จะมีวันหนึ่งที่เรียกว่า วันเนาว์ อยากทราบว่า มีความหมายว่าอย่างไร?

5 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า ส-– กรานต แปลว่า ผ่าน หรือเคลื่อนย้ายเข้าไป หรือ ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หมายถึง พระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีหนึ่ง ก็เรียกว่าสงกรานต์ แต่ละราศีก็มีกลุ่มดาวอยู่ในนั้นเป็นเฉพาะราศีหนึ่งๆ(เหตุนี้ ราศีจะแปลว่า กอง ว่าหมู่ เช่น บุญราศี ก็แปลว่า กองบุญ) เมื่ออาทิตย์โคจรเข้าไปในราศีใดและกว่าจะผ่านพ้นราศีนั้นไปสู่อีกราศีหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน วันเวลาที่ดวงอาทิตย์ยกขึ้นสู่อีกราศีหนึ่ง เรียกว่า สงกรานต์เดือน อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือน แล้วย่างขึ้นสู่เมษ คือในวันเวลาที่ดวงอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ในเดือน เมษายน เรียกเป็นพิเศษว่า มหาสงกรานต์ จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติในทางโหราศาสตร์ แต่ด้วยเหตุที่ประชาชนสนใจแต่วันขึ้นปีใหม่ เมื่อพูดถึงสงกรานต์ก็นึกถึงวันมหาสงกรานต์ ส่วนสงกรานต์ของเดือนอื่นไม่เข้าใจและไม่สนใจ ดังนั้น คำว่าสงกรานต์จึงหมายถึงมหาสงกรานต์ไป

    วันสงกรานต์ ถือเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุน วันอาทิตย์ พ.ศ. 1181 โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงถือเป็นวันปีใหม่ของไทยด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ 13 เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ 13 เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้รายละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ 13 จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี

    วันสงกรานต์ หมายเอาเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายน ของทุกปี

    วันที่ 13 เรียกว่า วันมหาสงกรานต์

    มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษ

    วันที่ 14 เรียกว่า วันเนา

    วันเนา แปลว่า วันอยู่ (เนา แปลว่า อยู่) หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา 1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทางในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว (ดวงอาทิตย์คงอยู่ที่ 0 องศา)

    วันที่ 15 เรียกว่า วันเถลิงศก

    วันเถลิงศก แปลว่า วันขึ้นศก เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดใหม่ สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหา เพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศก ถ้าเลื่อนวันเถลิงศกมาเป็นวันที่ 3 ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้ว

    วันสงกรานต์เป็นราชพิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในเดือนห้า ตามที่ปรากฏในหนังสือ นางนพมาศ เดิมเป็นประเพณีของอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งพระสงฆ์ไทยได้นำมาจากลังกา และเข้ามาเป็นพระราชประเพณีและประเพณีของไทย เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบโบราณ ตามจารีตประเพณีโบราณ ไทยเราเคยถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ที่ถือฤดูเหมันต์เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาจารีตนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ โดยใช้วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่

    จะเห็นได้ว่า วันสงกราน���์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ มาตั้งแต่เมื่อสมัยสุโขทัย จนถึงเมื่อ พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไปเป็นวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับหลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์เป็นวันสำคัญ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า ในแง่ของโหราศาสตร์แล้ว วันนี้ควรจะเรียกว่า วันเนา เพราะเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ อันเป็นวันที่ถัดจากวันสังกรานต์ล่อง แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก"วันเน่า" ทำให้เกิดความคิดที่ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่า และหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ"เน่า"และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ในวันพญาวัน เมื่อถึงตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด กองรวมกันทำเป็น การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าของตนออกจาก วัดซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด วันเนานี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา เพราะเป็นวันที่ ดา หรือจัดเตรียม สิ่งของต่างๆ จะใช้ทำบุญนั่นเอง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอา

    วันที่ ๑๓ เป็น วันต้น หรือวันมหาสงกรานต์

    วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา หรือวันกลาง และ

    วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย

    แต่วันต้น วันเนา วันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์ อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี

    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซด์ข้างล่างค่ะ

    แหล่งข้อมูล: http://board.dserver.org/T/Tenninja/00000114.html
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนเหนือเขาว่าเป็นวันเน่า คนข้างบนตอบมาน่ะใช่แล้ว แฮะ แฮะ มาเอาคะแนน อิอิ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    วันที่ ๑๔ วันกลาง หรือวันเนา หมายถึง อยู่คือวันที่ถัดมาจากวันมหาสงกรานต์ ๑ วัน การที่พระอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษเรียบร้อยแล้ว เป็นวันที่มักมีการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมากมายเช่น ขนทรายเข้าวัด ก่อพระเจดีทราย ขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์ การแสดงทางวัฒนธรรมและมหรสพอื่นๆ ... การเล่นสาดน้ำตามประเพณีไทยมักเล่นกันวันนี้มากเป็นพิเศษ

    แหล่งข้อมูล: บล็อกของผมเอง แหะแหะ http://ca.blog.360.yahoo.com/blog-aW4WeLMkf7WV36sd...
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้