Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

murraya ถามใน สังคมและวัฒนธรรมประเพณี · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

จังหวัดใดบ้างที่มีวัฒนธรรมของชาวกระเหรี่ยง ถ้ามี มีวัฒนธรรมอะไรบ้าง?

ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงอำเภอสังขละบุรี จะมีการรำตง เพื่อใช้ในงานต่างๆ

2 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ทุกวันนี้ ยังมีประชากรกะเหรี่ยงอาศัยกระจัดกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น

    -บ้านป่าละอูบน ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ มีผู้อยู่อาศัยทั้งหมด 250 หลังคาเรือน อยู่รวมกัน 3 เชื้อสายด้วยกัน ได้แก่ กระเหรี่ยง กระหร่าง และไท

    ตั้งแต่การประกอบอาชีพ การนับถือผู้นำเผ่าหรือผู้นำหมู่บ้าน การแสดงตามประเพณี และการจัดงานวันสำคัญของชนเผ่า

    -บ้านสะเนพ่อง บ้านกองม่องทะและบ้านเกาะสะเดิ่ง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

    -ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

    -ตำบล ทุ่งพร้าว อำเภอ แม่สรวย จังหวัดเชียงราย

    1.ประเพณีปีใหม่ ซึ่งมีขึ้นในราวเดือนกุมภาพันธ์โดยหัวหน้าหมู่บ้านตามประเพณีจะระบุวันให้ทราบล่วงหน้า แต่ละปีไม่ตรงกันและแต่ละหมู่บ้านก็อาจมีวันปีใหม่ไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตรนั่นเอง หลังจากพิธีปีใหม่ผ่านพ้นคือการเริ่มต้น ฟัน - ไร่ข้าวบนภูเขา

    พิธีปีใหม่ ทุกหลังคาเรือนจะหมักเหล้าต้มเหล้าจากข้าวสุก ฆ่าไก่หรือหมูแกงเป็นอาหารและเตรียมฝ้ายดิบไว้ผูกข้อมือทุกคน หัวหน้าหมู่บ้านตามประเพณีจะเริ่มทำพิธีในบ้านของตนเป็นหลังแรกแล้วจึงจะไปทำพิธีในทุกหลังในหมู่บ้าน ซึ่งกว่าจะครบครันอาจกินเวลาถึง 3 วัน 3 คืน พิธีคือการรินเหล้าและนำเนื้อไก่มาบวงสรวงต่อผีและวิญญาณ จากนั้นมีการดื่มเหล้าตามประเพณีแล้วจึงมีการมัดข้อมือด้วยฝ้ายดิบพร้อมกับคาถาอวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข

    2. ประเพณีแต่งงาน คือความหวังที่รอคอยของหนุ่มสาว เจ้าบ่าวอาจมาจากหมู่บ้านอื่น มาแต่งงานและอยู่กับเจ้าสาวในบ้านและในหมู่บ้านของฝ่ายหญิง (เจ้าสาว) มาแต่ตัว สวมเสื้อผ้าเก่าๆเป็นหน้าที่ของเจ้าสาวที่จะต้องทอเสื้อแดงและจัดหากางเกงพร้อมทั้งผ้าโพกหัวกับย่ามไว้ให้เจ้าบ่าวของเธอ ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก หากมีฐานะดีก็อาจฆ่าวัวสักตัวหนึ่งหรือหลายตัวก็ได้ ค่ำคืนในวันแต่งงานจึงมีแต่เสียงเพลงอวยพรจากวงเหล้าและวงอาหารแต่ไม่มีการเมาเกินเหตุ เหล้าและอาหารมิใช่มีเพียงบ้านเจ้าสาวเท่านั้นแต่มีที่บ้านญาติพี่น้องจองเจ้าสาวทุกหลัง บางทีมีทั้งหมู่บ้าน เป็นประเพณีที่สนุกประทับใจและเป็นไปตามจารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในความเชื่อตามวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยงนั้นมีอยู่มากพอสมควรซึ่งคนไทยพื้นราบมักเรียกผิดๆว่า " ผี "แต่หากจะมองอย่างเป็นธรรมแล้วเป็นดังนี้

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน (กลุ่มบ้าน) คือ "เจ้าของหมู่บ้าน"

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน (หลังคาเรือน) คือ "วิญญาณบรรพบุรุษฝ่ายแม่"

    คำว่า "เจ้าของ" นี้ในความเชื่อของชาวกะเหรี่ยงทั้งสะกอและโป คือสิ่งศักดิ์เหนือธรรมชาติ ซึ่งปกป้องคุ้มครองชีวิตของทุกคน มิใช่ "ผี"ซึ่งภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า " ตะมือข่า " เจ้าของหมู่บ้านคุ้มครองทุกคนในหมู่บ้านให้สมบูรณ์พูนสุข ทำไร่ ทำนาได้ผลดีเลี้ยงสัตว์ได้ผลดี ปราศจากภยันตรายใดๆ

    วิญญาณบรรพบุรุษ คุ้มครองสมาชิกทุกคนในครัวเรือนให้สุขสบาย ไม่เจ็บไข้ผู้ที่ทำความดีมีคุณธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ ผู้ที่ทำความชั่ว ความผิด ย่อมถูกลงโทษจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้เช่นกัน ชาวกะเหรี่ยงทุกคนมีความเชื่อในบาปบุญและถ่ายทอดความเชื่อนี้สืบต่อๆกันมา ชาวกะเหรี่ยงทุกคนจะสอนลูก���ลานให้ทำความดี โดยมีเจ้าของหมู่บ้านและวิญญาณบรรพบุรุษคุ้มครองอยู่ตลอดเวลา จะทำสิ่งใดนั้นแม้จะไม่มีใครเห็นแต่สิ่งศักดิ์ก็เห็น ดังความคิดความเชื่อของคนไทยในชนบทที่ว่า ทำอะไรไม่มีใครเห็น แต่ผีเห็น หากมีคนทำผิดในหมู่บ้านต้องมีการเลี้ยงผีเพื่อเป็นการขอขมาลาโทษต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์

    ข้อห้ามสำคัญ

    - เรื่องชู้สาว ห้ามมีพฤติกรรมเชิงชู้สาวไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม

    - การเยี่ยมบ้าน ห้ามขึ้นบ้านหลังที่มีการปัก "เฉลว" บอกว่ากำลังอยู่ในระหว่าง พิธีกรรม

    - การแรมคืน การนอนค้างอ้างแรมในหมู่บ้านนั้นหญิงและชายต้องนอนคนละแห่งแม้ว่าจะเป็นสามีภรรยากัยก็ตาม

    สถานที่สำคัญ ในหมู่บ้านกะเหรี่ยงจะมี "ศาลเจ้าที่" อยู่ที่ท้ายบ้าน การไปจับต้อง

    หรือนั่งเล่นถือเป็นความผิด "ศาล" ดังกล่างนี้อาจมีลักษณะเป็น

    เหมือนบ้านจำลองเล็กๆ

    การเซ่นไหว้ผี คือการเซ่นไหว้ต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่มากมายในความเชื่อตามประพณี

    "การเซ่นไหว้" เป็นการแสดงการสักการะ ขอรับความคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย กิจกรรมในไร่นาได้ผลดี ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์ พืชบริโภคเจริญงอกงาม

    การลงโทษ ชาวกะเหรี่ยงมักจะมีคำพูดที่ว่า "ปรับไหม" ต่อผู้ที่ "ผิดผี" หรือ "ผิดผี" แล้วก็ต้อง "เสียผี"

    แต่จริงๆแล้วความผิดใดๆ เกิดขึ้นนั้นจะมีการพิจารณาตัดสินอย่างยุติธรรมโดยยึดถือตามประเพณีวัฒนธรรมที่ได้สืบทอดกันมาจากสมัยบรรพบุรุษ

    การกำหนดโทษ หัวหน้าหมู่บ้านตามประเพณี (ฮี - โข) จะเป็นผู้กำหนดบทลงโทษในกรณีที่มีผู้ทำผิด โดยมีกลุ่มผู้อาวุโสเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ส่วนมากจะเป็นจังหวัดทางภาคตะวันตกที่อยู่ตามแนวชายแดน

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้