Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

พึ่งตรวจพบว่าเป็นเบาหวานชนิด ๒ และอายุก็สูงมาก อยากขอคำแนะนำการปฎิบัติตัวในชีวิตประจำวัน?

ไปพบหมอทุกๆเดือนเพื่อตรวจระดับน้ำตาลประจำ และทานยาที่หมอให้อย่างเคร่งครัด รักษาโดยสิทธิประกันสังคม

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Urai
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    คุณ on-ces ตอบได้ดีทีเดียวครับ

    ขอเพิ่มลิงค์ 2 อันอ่านง่ายดีครับ ขออนุญาตท่านพี่หมอหมูครับ

    http://www.thaiclinic.com/dm.html

    http://www.thaiclinic.com/dmretinopathy.html

  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    โรคเบาหวานชนิดที่2 [Type 2 diabetes]เคยเรียกว่า non-insulin-dependent diabetes[NIDDM] เกิดในผู้ป่วยอายุมากกว่า30ปี และมักจะอ้วน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้อาจจะไม่มีอาการเหมือนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่หนึ่งเนื่องจากอาการค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว บางรายเกิดโรคแทรกซ้อนตั้งแต่วินิจฉัยได้

    สาเหตุ

    เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปสารอาหารจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดร่างกายก็ขับฮอร์โมนชื่ออินซูลินเพื่อนำน้ำตาลเข้าเซลล์ โรคเบาหวานชนิดนี้เกิดจากหลายสาเหตุรวมกันได้แก่ ตับ กล้ามเนื้อ เซลล์ไขมันมีความทนทานต่ออินซูลินเพิ่ม [insulin resistance] และความผิดปกติเกี่ยวกับการหลั่งอินซูลิน [impaired beta -cell function] ของตับอ่อน ส่วนว่าอะไรเป็นสาเหตุนำยังไม่ทราบแน่ชัด โรคเบาหวานไม่หายขาดแม้ว่าท่านผู้อ่านจะควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีท่านยังต้องดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง

    การรักษา

    - การคุมอาหาร หลักการง่ายๆให้ลดอาหารไขมัน เพิ่มอาหารที่มีใยมาก

    - การออกกำลังกาย

    - การลดน้ำหนัก

    - ยาเม็ดลดน้ำตาลในกรณีที่คุมอาหารและออกกำลังแล้วไม่ได้ผล

    - การฉีดอินซูลินในกรณีที่ยาเม็ดลดน้ำตาลไม่ได้ผล

    แนวทางการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

    http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endo...

    เดี๋ยวจะยาวเกินไปเอามาแปะไว้แบบนี้นะคะ

    การควบคุมอาหารและออกกำลังกายช่วยได้จริงๆคะ เพราะแม่เราก็ป่วยเป็นเบาหวาน

    แต่เนื่องจากคุมอาหารได้ เลยแทบไม่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ

    และยังใช้ชีวิตเหมือนคนปกติแทบทุกอย่างคะ

    ยกเว้น ฉี่บ่อย ทานอาหารหวานๆมันๆมากไม่ได้

    แล้วเวลาดื่มกาแฟก็ต้องใช้น้ำตาลเทียม(เช่น อีควล) งดครีมด้วยนะคะ

    อ่อ การคุมอาหารมากไป บางครั้งก็ทำให้ร่างกายขาดน้ำตาลได้

    ควร-พก-ลูกอมติดกระเป๋าไว้ด้วยสักเม็ดสองเม็ดคะ จะได้หยิบมาทานได้ทัน

    ส่วนการออกกำลังกาย ถ้ามีอายุเยอะแล้วก็แค่เดินไปเดินมาในบ้าน

    สัก15-30นาทีทุกวัน พอให้เหงื่อออกก็ช่วยได้แล้วนะคะ

    (อันนี้แถมเทคนิคเพิ่มสมาธิแล้วก็ไม่เบื่อง่ายให้ด้วยนะคะ

    เวลาเดินให้รู้ฝ่าเท้ากระทบพื้นเล่นๆ อาจพูดในใจว่าซ้าย-ขวา ตามฝ่าเท้าข้างที่กระทบพื้น เมื่อไหร่ใจลอยคิดเรื่องอื่นก็รู้ว่าใจลอยแล้วกลับมาอยู่ที่เท้าต่อคะ ถ้าใจไหลนิ่งๆไปแช่ที่เท้าก็รู้ต่อว่าใจใหลนิ่งๆ จากนั้นก็พูดในใจต่อไปเรื่อยๆคะ ทำแบบนี้แล้วจะสดชื่น มีสมาธิอยู่ได้นาน แถมใจยังซึมเศร้าได้ยากด้วยนะคะ)

    และพยายามหลีกเลี่ยงการนั่งเฉยๆทั้งวัน ทำจิตใจให้ผ่องใสเบิกบานพร้อมรบกับโรคร้ายด้วยคะ

    ตอนแรกๆอาจต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเองมากหน่อย

    แต่ทำไปสักพักเมื่อรู้สึกว่าสุขภา��¸žà¸”ีขึ้น หุ่นดีขึ้น

    ก็จะค่อยๆรู้สึกดีกับตัวเองไปทีละน้อย

    ถึงตอนนั้นก็พ้นแรงต้านทานของความขี้เกียจได้อย่างเต็มภาคภูมิแล้วล่ะคะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    นั่งสมาธิ ปล่อยร่างกายจากความเหน็ดเหนื่อยและอ่อนล้าที่สั่งสมมาตลอดชีวิต ปล่อยจิตใจให้คลายกังวลและปราศจากความกลัว แล้วเติมความแน่วแน่ มั่นใจและตระหนักรู้ในสิ่งที่คุณปราถนาอยากจะได้ลงไปในท่าทีความรู้สึก และลมหายใจของคุณ ในที่นี้คือ ความมีสุขภาพที่ดี หายใจเข้าออกให้แข็งแรงและมีพลัง ทำเป็นประจำทุกวัน เช้าเย็น

    ในขณะที่ทำให้บอกออกมา ว่า "ฉันปราถนาความมีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน ขอให้ฉันมีสุขภาพร่างกายเป็นปกติ" บอกเช่นนี้ด้วยเสียงที่สงบ เข้มแข็ง มั่นใจ และเชื่ออย่างไม่มีข้อกังขาว่า คุณจะได้รับในสิ่งที่คุณปราถนา

    ขณะที่นั่งสมาธิ ให้มองเห็นภาพตัวคุณว่ามีสุขภาพดี หายจากโà¸��คแล้ว

    ทำเช่นนี้ เช้า 1 ครั้ง ก่อนนอน 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ปัจจุบันโรคเบาหวานมีแนวทางการรักษา 4 แนวทางประกอบกันคือ

    1. การฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายโดยตรง

    2. การใช้ยาเม็ดควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด

    3. การควบคุมอาหาร

    4. การออกกำลังกาย

    การรักษาโดยการฉีดอินซูลิน

    การใช้อินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1

    เบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้นเมื่ออินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดมีน้อย ระดับน้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มมากขึ้น จนถึงขีดอันตรายและอาจทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดแตกหรือเกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ

    การรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 จำเป็นต้องให้อินซูลินเข้าสู่ร่างกายโดยตรง ผู้ป่วยจึงต้องเรียนรู้วิธีการเพิ่มปริมาณอินซูลินในร่างกายด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างทันท่วงที

    โดยทั่à��§à¹„ปแพทย์มักกำหนดให้ฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายวันละ 2 ครั้ง โดยสามารถฉีดได้ด้วยตนเอง ในกรณีที่ฉีดอินซูลินมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องเจาะเลือดด้วยตัวเองบ่อยๆ ด้วยชุดตรวจแบบปากกา

    การใช้อินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

    ในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 นั้น ตับอ่อนยังคงทำหน้าที่ผลิตอินซูลินได้ แต่ร่างกายกลับต่อต้านอินซูลินหรืออินซูลินที่ได้ไม่มีคุณภาพเพียงพอทำให้ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ ในระยะแรกที่เกิดอาการสามารถรักษาโดยการให้ยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ในรายที่เป็นเรืà��‰à¸­à¸£à¸±à¸‡à¸­à¸²à¸ˆà¸¡à¸µà¸„วามจำเป็นที่จะต้องได้รับอินซูลินเป็นระยะๆ เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินน้อยลงหรือกินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพียงพอที่จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติได้

    เป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นไปที่การลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดทั้งในช่วงก่อนและหลังรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดง เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด (เพราะหลอดเลือดหัวใจตีบ) อันเป็นสาเหตุของการตายอันดับหนึ่งในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

    การรักษาโดยการใช้ยา

    ยารักษาเบาหวาน

    ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานนั้น แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ

    1. ยาที่มีผลในการกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งปริมาณอินซูลินเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น

    - Sulfonylureas (Chlorpropamide, Acetazolamide, Tolazamide, Glyburide หรือ Glipizide) โดยทำหน้าที่ลดปริมาณ น้ำตาลในเลือด ด้วยการกระตุ้นให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินในปริมาณมากขึ้น ซึ่งได้ผลดีกับผู้ป่วยหลายราย แต่ในขณะที่ได้รับยานี้ ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องควบคุมการบริโภคอาหารให้เป็นไปตามตารางที่กำหนดเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำตาลในเลือดต่ำ

    - Nateglinide (Starlix) เป็นยาสำหรับเบาหวานชนิดใหม่ที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FAD) อนุญาตให้ใช้เป็น ยารักษาโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถป้องกันอันตรายอันอาจเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ในหมู่ผู้ป่วยชนิดที่ 2 ยาชนิดนี้ ทำหน้าที่กระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินอย่างรวดเร็วและสั่งตับอ่อนหยุดผลิตได้โดยการตรวจวัดระดับความดันโลหิต (ปริมาณอินซูลินในระดับสูงจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงเนื่องจากเซลล์ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป) นอกจากนี้ยา Starlix สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารได้อีกด้วย

    - Meglitinide (Repaglinide) ทำงานคล้าย Sulfonylureas คือช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนเพิ่มปริมาณการผลิตอินซูลิน แต่มีระยะการทำงานสั้นกว่า

    2. ยาที่มีผลในการยับยั้งการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตในลำไส้ เช่น

    - Alpha-Glycosides inhibitors (Acarbose และ Meglitol) ช่วยชะลอกระบวนการย่อยและดูดซึมน้ำตาลและแป้งในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหลังมื้ออาหาร โดยยาชนิดนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบการย่อยอาหารแทนการลดปริมาณน้ำตาลในเลือดและอาจมีผลข้างเคียงคือ เกิดแก๊สในกระเพาะมากเกินไปทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ แต่อาการข้างเคียงนี้จะบรรเทาลงเมื่อใช้ยาไประยะหนึ่ง ในทางตรงกันข้ามอาการจะเพิ่มขึ้นหากผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาล

    3. ยาที่มีผลในการลดการสร้างกลูโคสในตับและเพิ่มการใช้น้ำตาลกลูโคส เช่น

    - Biguanide (Metformin) เป็นยาที่ช่วยลดปริมาณการผลิตกลูโคสจากตับและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินซึ่งผลิตโดยตับอ่อน การใช้ยาประเภทนี้ต้องมีการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่ไตที่ดี ดังนั้นปัจจัยที่ต้องคำนึงหากจะใช้ยานี้คือการทำงานของหัวใจ ไตและอายุของผู้ป่วย

    - Metformin เป็นยาลดการสร้างกลูโคสจากตับอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เบื่ออาหารและลดน้ำหนักได้เล็กน้อย ส่วนข้อควรระวังของการใช้ยากลุ่มนี้ คือ อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง จนถึงขั้นท้องเสียตามมา ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่รับประทาน

    4. ยาที่ทำหน้าที่ลดภาวะการต้านอินซูลินในร่างกาย ได้แก่ ยาในกลุ่ม Thiazolidine diones

    - Thiazolidinediones (Rosiglitazone และ Pioglitazone) ยาชนิดนี้ไม่มีฤทธิ์ต่อตับอ่อน แต่ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินที่ตับอ่อนผลิตออกมา ยาในกลุ่ม glitazone ที่ผลิตออกจำหน่ายรุ่นแรก คือ troglitazone พบว่ามีผลข้างเคียงต่อตับ แต่ภายหลังได้มีการพัฒนายากลุ่มนี้เป็นรุ่นที่สองออกมาคือ rosiglitazone และ pioglitazone ซึ่งยังไม่พบผลข้างเคียงต่อตับแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีรายงานทางการแพทย์พบว่า ยากลุ่มนี้มีผลต่อการลดปริมาณไขมันอิสร ะและช่วยเพิ่มปริมาณ HDL ซึ่งเป็นไขมันในกลุ่มที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย อาการข้างเคียงที่ยังคงต้องระวังของการใช้ยากลุ่มนี้ คือ การมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะอาจเกิดปัญหาไขมันสะสมในร่างกาย และควรระวังเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีปัญหาด้านการทำงานของหัวใจ แต่โดยมากแพทย์มักไม่สั่งจ่ายยาจำพวกนี้

    การรักษาโดยการออกกำลังกาย

    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการออกกำลังกาย

    เมื่อออกกำลังกายจะมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ ได้แก่

    1. มีการใช้พลังงานมากขึ้น

    2. มีการทำงานของปอดและหัวใจเพิ่มขึ้น

    3.

    แหล่งข้อมูล: http://www.novabizz.com/Health/Health-325.php
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้