Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
จิตสาธารณะ เป็นจิตแบบไหนแน่?
เห็นพูดกันจัง ว่า จิตสาธารณะ จิตสากล อะไรเนี่ย แล้วไม่ทราบว่าคนพูด รู้ลึกซึ้งขนาดไหน ถึงกับนำมาใช้เป็นหลักสูตรสอนเด็ก (คงลอกของอเมริกา มาใช้)
สงสารครูและนักเรียน คงกุมหัววุ่นวาย เพราะ ไม่เข้าใจ จิตที่เป็นสาธารณะ เป็นจิตอย่างไร เฮ้ออออออ
1 คำตอบ
- sathaporn kLv 71 ทศวรรษ ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ (Public Consciousness) คือ
ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
สรุป จิตสาธารณะหรือจิตส��นึกสาธารณะ คือ จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง ส่วนคำว่า สาธารณะ (Public) เป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
น่าสนใจ คือ สำนึกสาธารณะ (public mind) ซึ่งเป็นสำนึกที่ควรจะต้องมีในตัว ข้าราชการไทยทุกคน สำนึกที่จะกล่าวถึงประกอบด้วย P+U+B+L+I+C= Public= สาธารณะ
1. Professional ทำงานแบบมืออาชีพ ข้าราชการที่คิดใหม่ ทำใหม่จะต้องเป็นข้าราชการอาชีพ (profession) รู้ลึก ในหน้าที่ๆ รับผิดชอบ รู้รอบในงานที่เกี่ยวข้อง การเป็นเพียงอาชีพข้าราชการ ไม่เพียงพอ ต้องเป็นข้าราชการอาชีพให้ได้ ต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หาความรู้ใหม่เสมอ
2. Unity เอกภาพ ค่านิยมใหม่ต้องเป็นไปในทิศทางของความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่กลัวกันได้หน้า หรืออิจฉาริษยา กัน ควรจะฝึกการทำงานเป็นทีม เพราะการที่คนในองค์กรมีเอกภาพ จะช่วยให้การขับเคลื่อนภาระงานเพื่อมวลประชา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีหลายองค์กรที่คนในองค์กรกลัวกันได้ดี เลยไม่มีใครทำอะไร ประชาชนก็ไม่ได้อะไรด้วย แต่ในความเป็นเอกภาพก็ยอมให้มีความแตกต่างได้ แต่อย่าแตกแยก
3. Believe ความเชื่อ ข้าราชการจะต้องทำงานด้วยความเชื่อ เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วยึดให้มั่น ถ้าข้าราชการขาดแล้วซึ่งความเชื่อ การทำงานก็จะขาดพลัง
4. Locally ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการยุคใหม่จะต้องเป็นผู้ที่เชื่อและศรัธทาในความเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ของภูมิปัญญาไทย ลอความเชื่อทันสมัยนิยมลง (Modernization) Local wisdom ในด้านต่างๆ จะนำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบและเข้ากับบริบทของสังคมไทย ข้าราชการไทย ต้องเลิกดูถูกภมิปัญญาของคนในระดับรากหญ้า แล้ว หันไปสู่วิถีของการเรียนรู้ร่วมกัน เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในชุมชน
5. Integrity ความซื่อสัตย์ ข้าราชการยุคใหม่จะต้องยึดเอาคาวมซื่อสัตย์เป็นที่ตั้ง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม คิดดี ทำดี เพื่อชาติ งานทุกชิ้นจะต้องตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส
6. Creative สร้างสรรค์ ข้าราชการยุคใหม่จะต้องคิดและทำงานที่สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม (innovation) ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคม ต้องไม่หยุดนิ่ง ต้องมีความเป็นพลวัต ทั้งนี้ก็เพื่อประชาชนและประเทศชาติ
ถ้าจิตสาธารณะ เป็นจิตที่เกิดแก่ข้าราชการไทยในภาพรวม เชื่อแน่ว่า ประชาชน จะได้รับแต่สิ่ง ที่ดีจากราชการ ระบบโดยภาพรวมก็จะเข้มแข็ง สังคมไทยก็จะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น.....
แหล่งข้อมูล: http://gotoknow.org/blog/articlerrpol/215483 http://www.geocities.com/psothailand/publicmind.ht...