Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

จิตสาธารณะ เป็นจิตแบบไหนแน่?

เห็นพูดกันจัง ว่า จิตสาธารณะ จิตสากล อะไรเนี่ย แล้วไม่ทราบว่าคนพูด รู้ลึกซึ้งขนาดไหน ถึงกับนำมาใช้เป็นหลักสูตรสอนเด็ก (คงลอกของอเมริกา มาใช้)

สงสารครูและนักเรียน คงกุมหัววุ่นวาย เพราะ ไม่เข้าใจ จิตที่เป็นสาธารณะ เป็นจิตอย่างไร เฮ้ออออออ

5 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน

    สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

    สรุป จิตสาธารณะหรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง ส่วนคำว่า สาธารณะ (Public) เป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม.....

    แหล่งข้อมูล: http://gotoknow.org/blog/articlerrpol/215483
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พึ่งเคยได้ยินเหมือนกัน แต่จะไปเอาของใครมาก็แล้วแต่ ลักษณะตามที่คุณสถาพร อธิบายมา ดูจะเป็นความคิดที่ดีมีประโยชน์และน่าเผยแพร่ เพราะคนทุกวันนี้คิดถึงตัวเองมากกว่าส่วนรวม

    จริงจริงก็คือสภาพจิตที่รู้ตัว มีสติ และรู้จักใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเป็นผู้รู้นั่นเอง

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เรียนศีลธรรมก่อนดีไหม

  • ?
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คำว่า"จิตสาธารณะ" ตามหลักของ รปศ. แล้วทุกอย่างที่ทำต้องไม่หวังผลกำไร แต่สิ่งที่ต้องการก็คือ ความสุขหรือการที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของส่วนรวม ความตั้งใจทำงานและผลที่ต้องการไม่ใช่ตัวเราเอง แต่เป็นส่วนรวม

    หรืออีกนัยหนึ่ง

    หมายถึง การมีส่วนร่วมโดยชอบธรรม มีเจตนาที่ดีต่อการร่วมมือกันสร้างและพัฒนา

    โดยไม่หวังผลประโยชน์และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันค่ะ

    แหล่งข้อมูล: www.chonmeedee.com
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เพิ่งเคยได้ยินวันนี้เอง

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้