Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

การขายที่ดินตามกฎหมายค่าโอนใครเป็นคนจ่าย?

3 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ...อยู่ที่การตกลงกันว่าใครจะจ่ายครับ...!!

    ...ถ้าเอาข้อกำหนดของ"กฏหมายที่ดิน"มาดูกันจะเห็นว่า...!!

    **ตามประมวลกฏหมายที่ดิน ปีพ.ศ. 2497

    ......ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีค่าและประโยชน์แก่มนุษย์มาก เช่น ใช้เป็น ที่อยู่อาศัย ใช้เพื่อเป็นหลักประกัน นอกจากนี้ที่ดินยังเป็นเครื่องแสดงออกถึง ฐานะ ความเป็นอยู่ของแต่ละคนด้วย ผู้คนจึงพยายามใฝ่หาให้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินเป็นของตนเอง แม้จะต้องทำงานด้วยความยากลำบากสักเพียงใด ก็ตามที่ดินนั้นนอกจากจะหมายถึง.....

    .....ที่ดินบนบกอันได้แก่ พื้นที่ดินทั่วไป แล้ว ยังหมายถึงพื้นดินที่เป็นภูเขา และ ห้วย หนอง คลอง บึง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย เนื่องจากที่ดินมีค่าและมีประโยชน์มาก นี่เอง

    รัฐจึงออกกฎหมายวางระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินของ บุคคลคือ ประมวลกฎหมายที่ดิน ปี พ.ศ. ๒๔๙๗

    .....เริ่มจาก...ข้อที่7 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงค่าธรรมเนียมการโอนด้วย

    ๗. ค่าธรรมเนียมในการติดต่อเกี่ยวกับที่ดิน

    ในการติดต่อกับกรมที่ดินหรือที่ว่าการอำเภอ ไม่ว่าจะเป็น

    การขอจด ทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมหรือการขอออกโฉนดที่ดิน น.ส. ๓ หรือ ใบแทน ผู้ขอจะต้องเสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ในบางกรณี เช่น การขอรังวัดที่ดิน ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย

    .....ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในเรื่องที่ดิน

    (๗) ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม

    (ก) ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์เรียกตาม

    ราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด ร้อยละ ๒

    (ข) ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะในกรณีที่องค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือ��ริษัทจำกัดที่สถาบันการเงินตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.๒๕๔๐จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้รับโอนหรือโอนคืนหรือกรณีที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.เป็นผู้รับโอนให้เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด ร้อยละ ๐.๐๑ แต่อย่างสูงไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท

    (ง) ค่าจดทะเบียนโอนมรดกหรือให้ ทั้งนี้ เฉพาะในระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรสเรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด ร้อยละ ๐.๕ กรณีที่สถาบันการเงินรับโอนสิทธิเรียกร้องจากการขายทรัพย์ สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา๓๐แห่งพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นผู้ขอจดทะเบียน ร้อยละ ๐.๐๑ แต่อย่างสูงไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท

    **สรุป...จะเห็นได้ว่าตามที่กฏหมายกำหนด.."ผู้ที่ขอยื่นจดทะเบียนโอนหรือให้หรือขาย" ก็ตามต้องเป็นผู้ที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆเหล่านี้...

    ...แต่ในข้อเท็จจริงนั้น เป็นการตกลงกันระหว่าง.."ผู้จะซื้อและผู้จะขาย" ว่าใครจะเป็นผู้ที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนี้ แบ่งได้เป็น3กรณี...

    1.ตกลงกันว่า.."ผู้จะขาย" เป็นผู้ออกค่าโอนค่าธรรมเนียมต่างๆทั้งหมด

    2.ตกลงกันว่า.."ผู้จะซื้อ" เป็นผู้ออกค่าโอนค่าธรรมเนียมต่างๆทั้งหมด

    3.ตกลงกันว่า.."ทั้ง2ฝ่าย" จ่ายค่าโอนค่าธรรมเนียมต่างๆคนละครึ่ง

    ...อยู่ที่การ.."ตกลงกันระหว่าง.."ผู้จะซื้อและผู้จะขาย" เลือกเอาข้อหนึ่งข้อไดก็ได้ใน3ข้อนี้ ได้เลยครับ...!!!

  • nara
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตามข้อตกลงกันครับ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตามกฏหมายผู้ขายเป็นคนจ่ายค่ะ แต่ก็มีการยกเว้นแล้วแต่ผู้ขายกับผู้ซื้อตกลงกันค่ะว่าใครจะเป็นคนจ่าย

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้