Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Yupha K ถามใน สุขภาพสุขภาพจิต · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

เด็กอายุ ห้าขวบ ความจำสั้นทำไงดีมีวิธิรักษาอย่างไรขอคำปรึกษา?

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เด็กยังอายุแค่ 5 ขวบ อาจเป็นเรื่องปกติธรรมดานะครับ

    วิธีสำหรับเด็กวัย 2 - 5 ขวบ

    เมื่อเด็กเริ่มพูดได้คล่อง การพัฒนาความจำก็เริ่มเข้มข้นตามไปด้วย นอกเหนือจากการพูดแล้ว ลองหัดให้ลูกเล่าเรื่องบ้าง การเล่าเรื่องจะช่วยเรื่องความจำได้มาก เพราะต้องมีโครงเรื่อง เด็กจะจดจำว่าจะเริ่มต้นอย่างไร การลำดับความจนกระทั่งถึงตอนจบ เด็กอ่อนวัยเรียนจะถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วได้ เช่นให้ลูกเล่าเรื่องไปเที่ยวทะเล แกจะทบทวนว่าแกใส่ชุดว่ายน้ำสีแดง เล่นตักทรายและเล่นน้ำทะเล นอกจากนี้เด็กวัยนี้จะเริ่มจดจำสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น เรื่องของสี การนับหนึ่งถึงสิบ ตัวอักษร ก-ข-ค หรือ ABC โดยเก็บข้อมูลแบบความจำระยะสั้น (short-term menory) เมื่อเรียกใช้ก็ต้องทบทวนความจำกันหน่อย ซึ่งนานวันเข้า กระบวนการทวนความจำก็อาจหายไปได้ เมื่อใช้สีแดงเด็กก็พูดออกมาได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องนึกว่าสีนี้เรียกว่าอะไร

    เด็กจะเริ่มจำเรื่องราวที่ซับซ้อนได้ โดยอาศัยการซ้ำ (repetition) พ่อแม่ช่วยได้โดย การเล่าเรื่องซ้ำๆ การพูดซ้ำๆ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ การเล่านิทานก่อนนอน ลูกอาจจะขอให้คุณเล่าอยู่เรื่องเดียว คุณไม่ต้องกลัวว่าลูกจะเบื่อ เพราะลูกกำลัง "จำ" เรื่องนั้น จนสามารถที่จะเล่าได้เองโดยไม่ต้องดูหนังสือ (เล่าจากความจำเพราะแกยังอ่านหนังสือไม่คล่อง) คุณไม่ต้องแปลกใจหากคุณข้ามตอนใดตอนหนึ่งของเรื่องไป ด้วยว่าลูกได้จดจ่ออยู่กับคำทุกตัวหนังสือก็ว่าได้

    วิธีการการส่งเสริม

    - การทำซ้ำ แม้จะเป็นการเก็บข้อมูลมากกว่าจะพัฒนาความจำ แต่นักวิจัยพบว่าจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนาความจำ

    - ตั้งเป็นคำถามเฉพาะ เช่น ถามว่าวันนี้หนูกินคุ้กกี้เป็นของว่างหรือเปล่า ไม่ควรถามว่ากินอะไรเป็นของว่าง หรือถามว่า หนูจำช้างตัวใหญ่ที่สุดในเขาดินได้ไหม แทนที่จะถามว่า สัตว์ที่ตัวใหญ่ที่สุดที่หนูเห็นคืออะไร

    - สร้างท่วงทำนองหรือจังหวะ เ่ช่นสอนให้ลูกจำเบอร์โทรศัพท์โดยร้องเป็นเพลง หรืออ่านเป็นจังหวะ สอนให้ลูกสะกดชื่อตัวเอง โดยเน้นจังหวะจะโคน ลูกจะยังไม่รู้จักตัวอักษร แต่ก็พูดออกมาได้ครบ เป็นวิธีเดียวกับการท่องอาขยานนั่นเอง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เห็นด้วยกับคุณเอกค่ะ เด็กเล็กๆนั้น ความจำสั้นและสมาธิไม่นาน แต่ก็จะมากขึ้นตามวัยและการฝึกฝนค่ะ เด็กเล็กๆนั้นจึงเรียนรู้จากการทำซ้ำๆ ห้าขวบนี่คงอยู่ประมาณอนุบาลสอง และเข้าใจว่าลูกคงจำอักษรไม่ได้ หรือ จำชื่อสิ่งของ หรือคำศัพท์ไม่ได้ หรือเปล่าคะ หากเป็นประมาณนี้ ให้ใช้วิธีสอนซ้ำๆทุกวันค่ะ แต่อย่านาน ประมาณ ครั้งละ ๑๐ ถึง ๑๕ นาที

    เทคนิคเรื่องคำ หรืออักษร สามารถใช้ Flash Card ค่ะ หรือการ์ดคำ เปิดให้ลูกดู แล้วอ่านตาม อ่านซำ้ๆ สัปดาห์ละห้าคำ ถึงสิบคำ แล้วสัปดาห์หน้าก็สอนกลุ่มคำใหม่ ตามหลักการเรียนของญี่ปุ่น มีการศึกษาว่า การทำแบบฝึกหัดซ้ำๆ หรือ การทำซ้ำ จะช่วยพัฒนาการเีรียนรู้แม้แต่ในเด็กกลุ่มที่เรียนรู้ช้า ค่ะ สอนไม่เกินเจ็ดครั้งก็จะจำได้เกือบหมด หากสนใจเรื่องนี้ลองอ่านได้ในข้อมูลที่สรุปไว้ ในลิงค์ที่แนบนะคะ

    สอนให้เด็กเป็นอัจฉริยะ โดยวิธีสอนที่มหัศจรรย์จากญี่ปุ่น โดย ฮิเดโกะ คาเงะยามะ

    พัฒนาสมองเด็ก ทำอย่างไร จะได้ความสำเร็จในการเรียน โดย ฮิเดโกะ คาเงะยามะ

  • ?
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อาการของเด็กสมาธิสั้น

    คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากอาการต่างๆ ที่เด็กแสดงออกมา เช่น เด็กไม่สามารถนั่งวางแผนหรือทำงานให้สำเร็จ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้ทักษะได้ แสดงว่าลูกคุณเข้าข่ายของอาการเด็กสมาธิสั้น

    การรักษาโดยการใช้ยา แพทย์ต้องระมัดระวังเรื่องผลกระทบจากการใช้ยาด้วย

    อย่างไรก็ตามเด็กควรได้รับการปรับเปลี่ยนกระตุ้นพฤติกรรมบำบัด เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักวิธีควบคุมตัวเองจากคุณการศึกษาพิเศษ เทคนิคการปรับพฤติกรรม

    การจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก แต่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองและครูประจำชั้นของเด็กควรมีความรู้เกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นบ้าง เพื่อลดผลต่อการปรับตัวในการเข้าสังคมของเด็ก ปัจจุบันมีพ่อแม่ที่มีความรู้มากขึ้นรู้จักที่จะสังเกตพฤติกรรมและจะพร้อมนำลูกหลานมาบำบัดรักษา

    แต่ก็ยังมีพ่อแม่อีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้ ไม่นำเด็กมาบำบัด กระตุ้นปรับพฤติกรรมรักษา เพราะขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อสังคมและตัวเองได้ ถ้าเด็กโตเป็นผู้ใหญ่และต้องอยู่ในสภาพสังคมที่มีกดดันมาก ๆ

    ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการตำหนิต่อว่า เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากโรคสมาธิสั้นหรือลูกอยู่ไม่นิ่ง เพราะไม่ช่วยให้เขาดีขึ้น แต่กลับทำลายความรู้สึกของเด็กอย่างมาก

    พ่อแม่ต้องเข้าใจเด็กที่มีอาการของโรคสมาธิสั้นมาก ๆ เพราะเป็นธรรมชาติของเขาที่เกิดมาà��€à¸›à¹‡à¸™à¸­à¸¢à¹ˆà¸²à¸‡à¸™à¸µà¹‰à¹€à¸­à¸‡

    เด็กไม่ได้แกล้ง ไม่ใช่นิสัยไม่ดี ไม่ใช่เด็กดื้อ ไม่อดทน ไม่ใช่สอนไม่จำ ไม่ใช่ว่าไม่มีความรับผิดชอบ แต่ควรช่วยเด็กคิดวิธีแก้ไขจุดอ่อนช่วยให้เด็กใช้พลังงานไปในทางสร้างสรรค์ มีกิจกรรมให้เด็กทำ เช่น กีฬา ดนตรี คอมพิวเตอร์ คุณพ่อคุณแม่ค่ะเด็กที่เป็นโรคนี้ 1 ใน 3 สามารถเรียนหนังสือหรือทำงานได้ปกติโดยไม่ต้องรับประทานยา แต่ต้องได้รับการฝึกปรับกระตุ้นพฤติกรรมให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ดี รู้จักการปรับตัว เลือกงานที่ไม่ที่ต้องใช้สมาธิมากนัก เด็กก็ประสบความสำเร็จ และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สังเกตุว่าเขาสนใจอะไร ให้เขาทำไปก่อน เเล้วค่อยๆๆกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก

    แหล่งข้อมูล: moniri
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้