Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

อัตตา กับ อัตตตา มีความหมายเหมือนกันหรือแตกต่างกันค๊ะ ?

5 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    อัตตา คือ อะไร?

    ปัญหาคือ : มีอาจารย์หลายท่านนำคำว่า “อัตตา” จากภาษาบาลีมาแปลว่า “ตัวตน” ที่หมายถึง เป็นสัตว์, เป็นบุคคล, เป็นตัวตน,เป็นเรา, เป็นเขา แล้วสรุปว่า “มีจริง” เพียงโดยสมมุติ แต่ “ไม่มีจริง” โดยปรมัตถ์ การตีความเช่นนี้ถือว่าเป็นทัศนะที่ผิดพลาด เพราะทำให้ความหมายของ “อัตตา” นั้น “สุดโต่ง” เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น

    การวิเคราะห์ปัญหา : เมื่อถามว่า “อัตตา คือ อะไร?” ผู้ตอบส่วนใหญ่ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่าง “อัตตา” (แบบเดิม) และ “อัตตา” (แบบใหม่) ออกให้ชัดเจนจึงเข้าใจผิดหลายประเด็นเช่น

    (1) เข้าใจผิดว่า “อัตตา” เป็น สัตว์, บุคคล, ตัวตน, เรา, เขา

    (2) เข้าใจผิดว่า สัตว์, บุคคล, ตัวตน, เรา, เขา มี “อัตตา” อยู่

    (3) เข้าใจผิดว่า มี “อัตตา” อยู่ใน สัตว์, บุคคล, ตัวตน, เรา, เขา

    (4) เข้าใจผิดว่า มี สัตว์, บุคคล, ตัวตน, เรา, เขา ใน “อัตตา”

    เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกัน ต้องแยกความแตกต่างให้ชัดเจนว่า “อัตตา” (แบบใหม่) ว่าอย่างไร และ “อัตตา” (แบบเดิม) ว่าอย่างไร ถ้าศึกษาโดยยึดถือตำราภาษาไทยเพียงอย่างเดียวก็อาจทำให้ผู้ศึกษา “ไขว้เขว” หรือตีความ “คลาดเคลื่อน” ได้

    "อัตตา" กับ "อัตตตา" มีความหมายเหมือนกันหรือแตกต่างกัน?

    เพื่อให้พวกเราเข้าใจคำว่า "อัตตา" มากขึ้น ผมจะขออธิบายที่มาที่ไปของคำนี้เป็น 3 กรณี

    1. คำว่า “อัตตา" เดิมเป็นคำย่อของคำว่า “อัตตตา” หรือ “อัยยัตตตา” ประกอบด้วยปัจจัย 3 ตัว คือ

    (1) “อยฺย” แปลว่า พระผู้เป็นเจ้า, เจ้านาย ฯลฯ

    (2) “ตฺต” (ภาวตัทธิต) แปลว่า ความเป็น, ความเป็นแห่ง

    (3) “ตา” (ภาวตัทธิต) แปลว่า ความเป็น, ความเป็นแห่ง

    เมื่อนำทั้ง 3 ตัวมาสมาสกันเข้าเป็น “อัตตตา” หรือ “อัยยัตตตา” แปลว่า “พระเจ้าเป็นซึ่งพระเจ้าเป็น, เจ้านายเป็นซึ่งเจ้านายเป็น” ฯลฯ ที่หมายถึง “ผู้ทรงดำรงอยู่” หรือ “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่”

    “อัตตตา” ถูกนำมาใช้เพื่อ “ยอมรับทั้ง 2 ด้าน” เพราะกริยาเกี่ยวข้องกับรากศัพท์ที่มีใจความว่า “เป็น” ถึง 2 ตัว (ตฺต,ตา) สอดคล้องกับคำในภาษาฮีบรูคือ Y-H-W-H แปลว่า "เราเป็นซึ่งเราเป็น"

    (I AM THAT I AM หรือ I AM WHO I AM) หมายถึง “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่”, “สิ่งซึ่งดำรงอยู่”

    2. คำว่า “อัตตา” ในภาษาบาลีนั้นประกอบด้วยปัจจัย 3 ตัว คือ

    (1) “o” (พยัญชนะ) แปลว่า ชื่อเครื่องหมายวงกลม

    (2) “ตฺต” (ภาวตัทธิต) แปลว่า ความเป็น, ความเป็นแห่ง

    (3) “ตา” (ภาวตัทธิต) แปลว่า ความเป็น, ความเป็นแห่ง

    เมื่อนำทั้ง 3 ตัวมาสมาสกันเข้าเป็น "๐ตฺตตา" แผลงเป็น “นัตตตา” แปลว่า “ความเป็นเบื้องต้นและความเป็นเบื้องปลาย” ที่หมายถึงความเป็นหนึ่งนั้น “เป็นเหตุ” ทั้ง 2 ���้าน” ไม่ใช่ “เป็นเหตุ-เป็นผล”

    (แผลงตัว o เป็น น เมื่อพยัญชนะวรรค ต ตามหลัง, กำชัย ทองหล่อ, หลักภาษาไทย, กรุงเทพฯ, อมรการพิมพ์, 2550, 43, 275)

    3. คำว่า “อัตตา” (อัตมัน) ในภาษาสันสกฤตประกอบด้วยปัจจัย 3 ตัว คือ

    (1) “o” (พยัญชนะ) แปลว่า ชื่อเครื่องหมายวงกลม

    (2) “ตฺต” (ภาวตัทธิต) แปลว่า ความเป็น, ความเป็นแห่ง

    (3) “ตา” (ภาวตัทธิต) แปลว่า ความเป็น, ความเป็นแห่ง

    เมื่อนำทั้ง 3 ตัวมาสมาสกันเข้าเป็น "๐ตฺตตา" แผลงเป็น “มัตตตา” แปลว่า “ความเป็นกลาง” ที่หมายถึง “ความเป็นพอดีทั้ง 2 ด้าน” ไม่ใช่ "สุดโต่ง" เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น

    (แผลงตัว o เป็น ม เพราะการเขียนคำสันสกฤตในปัจจุบันมักใช้ตัว o กับ ม ปะปนกัน แต่ส่วนใหญ่ใช้เป็นตัวสะกดมากกว่า, กำชัย ทองหล่อ,หลักภาษาไทย,167-168 และ มานิต มานิตเจริญ, พจนานุกรมไทย, (พิมพ์ครั้งที่ 23, หน้า 423)

    หมายเหตุ :

    (1) ตัว “o” ในภาษาบาลีนั้นถูกจัดไว้ในพวกพยัญชนะเศษวรรค แต่ตำราภาษาสันสกฤตของอินเดียจัดตัว “o” ไว้ในพวกสระ แต่ตาราบางเล่มถือว่าตัว “o” เป็นแต่เพียงเครื่องหมายที่ใช้แทนเสียง “มฺ” (MUM) เท่านั้น (วิสันต์ กฎแก้ว, ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย, กรุงเทพฯ, พัฒนศึกษา, 2545, 27, 29)

    (2) คำว่า “มัตตตา” แปลว่า “ความเป็นกลาง” ที่หมายถึง “ความเป็นพอดีทั้ง 2 ด้าน” ซึ่งเป็นคำที่กูรูในสมัยโบราณได้ละไว้ในฐานที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว โดยลบบทหน้า (ปุพพะ-เบื้องต้น) และบทหลัง (อัคคะ-เบื้องปลาย) ออกไป คงเหลือไว้แต่ที่เป็นบทกลาง (มัตตะ-เบื้องกลาง) เท่านั้น แต่เมื่อแปลต้องแปลเต็ม ๆ ว่า “ความเป็นเบื้องต้น-ความเป็นเบื้องกลาง-ความเป็นเบื้องปลาย”

    แหล่งข้อมูล: ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์พระไตรปิฎก บาลี-โรมัน-ไทย, เล่ม 3 อักษร อ กรุงเทพฯ, ราชบัณฑิตยสถาน , 2551, 1 ดูคำว่า "อยฺย"
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อัตตา หมายถึง ตัวตน อตฺตตา (อัตตตา) หมายถึง ความเป็นตัวตน (แท้)

    อนัตตา หรือ อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่อัตตา มิใช่ตัวตน

    อตฺตตา (อัตตตา) หมายถึง ความเป็นตัวตน (แท้) เพราะ

    (ก) เป็นธรรมที่ปฏิเสธ คือมีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับอนัตตา (อนตฺตปฏิกฺเขปโต)

    (ข) เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแสดงหลักเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะของธรรม ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เป็น “อนัตตา” กับฝ่ายที่เป็น “อัตตา” แท้ ๆ โดยนัยว่า รูปเป็นอนัตตา ก็ (ถ้า) รูปนี้จักได้เป็นอัตตา แล้ว รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ ก็เพราะว่ารูปนี้เป็นอนัตตา ฉะนั้น รูปนี้จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ เป็นต้น ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า

    “รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา. รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส. นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺตติ.”

    (พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๔, วินัยปิฎก มหาวรรค, ข้อ ๒๐. หน้า ๒๔-๒๖)

    แปลความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป (คือสังขารร่างกายนี้) เป็นอนัตตา (มิใช่ตน) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ (ถ้า) รูปนี้จักได้เป็นอัตตา (ตน) แล้ว รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ (ความลำบาก).... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป (นี้) แล เป็นอนัตตาฉะนั้นรูป (นี้) จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ”

    เป็นอันแสดงว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแสดงหลักการพิจารณาความเป็นอนัตตา (อนตฺตตา) และความเป็นอัตตา (อตฺตา) ให้ทราบโดยนัยไว้แล้ว ว่า ธรรมที่เป็นอนัตตา ย่อมเป็นไปเพื่ออาพาธส่วนธรรมที่เป็นอัตตา ย่อมไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ธรรมที่ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธนี้ ก็คือ พระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ ซึ่งเป็นอสังขตธรรมที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งให้

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผมเป็นพุทธครับ คำตอบของคุณManoch P ผมก็พึ่งรู้ในYAHOO นี่แหละ ผมจดข้อมูลอ้างอิงของคุณแล้วค้นดู���ามร้านขายหนังสือต่าง ๆ น่าทึ่งมาก

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อะไรที่เราคิดว่าใช่...มันกลับไม่ใช่

    อะไรที่เราคิดว่าไม่ใช่...มันกลับใช่

    อะไรที่เรามั่นใจว่ารู้หมดแล้ว

    มันกลับมีเงื่อนปมให้ค้นหาอีกมากมาย

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อ่านคำถามครั้งแรกแล้วคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรใหม่ ๆ

    พอกลับมาเปิดดูคำตอบแล้ว เราว่าเราได้แนวคิดใหม่นะ

    อย่างน้อยก็รู้ว่า คำ ๆ เดียว แต่สามารถตีความได้หลากหลายมุมมอง

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้