Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

เพลงชาติเพลงของคนไทยทุกคน?

เพลงชาติไทยที่ได้ยินทุกเช้า เย็นตั้งแต่เล็กจนโต

มีความสำคัญกับทุกคนบ้างไหม

หรือแค่ร้องไปและยืนตรงไปเพราะความเคยชินเท่านั้น

เพราะเห็นว่าปัจจุบันนี้บางคนก็ยืนตรงเคารพธงชาติแต่ยืนคุยโทรศัพท์บ้าง หรือทำธุระส่วนตัว

แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็จะยืนตรงและก็ร้องตามด้วยค่ะ

แล้วทุกคนล่ะคะ

อัปเดต:

อยากจะเป็นกำลังสำคัญ ทุกคืนวันเติบโตช้าๆจะไม่หวั่นบุกบั่นและฟันฝ่า ตอบแทนแดนดินเมืองไทย กำเนิดเราลืมตาขึ้นมาไม่เคยลืมค่าความเป็นไทย ขอเป็นส่วนประกอบสังคมไทย ใส่ใจสร้างความดีงาม

กลั่นจากใจกลายเป็นสำเนียง เปล่งเป็นเสียงร้องๆและร้องตาม บุญคุณเมืองสยามแม้ตายไม่ลืม......

9 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    อืม โรสก็เป็นแบบคุณเหมือนกันค่ะ ไม่ได้อวดไม่ได้โชว์ แต่เป็นไปโดยอัตโนมัติเองค่ะ เน้อะ

    แต่ถ้ายืนในโรงหนังตอนเพลิงสรรเสริญ ก็ร้องตามเพลงไปด้วย และน้ำตาซึมเพราะปลาบปลื้มด้วยค่ะ

    ภาพที่ถ่ายทอดพร้อมเสียงเพลง ทำให้ตื้นตันจริงๆนะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เป็นเพลงภาษาไทย ที่ผมร้องได้จบเพลงโดยไม่ต้องดูเนื้อร้อง (อาจจะเพี้ยนนิดๆ ..แหะแหะ)

    และชอบวรรคหนึ่งซึ่งตอนเป็นเด็ก ร้องมั่วเนื่องจากไม่เข้าใจ และจำยากสำหรับเด็ก

    "ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ ข ล า ด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่

    สละเลือด ทุ ก ห ย า ด เ ป็ น ช า ติ พ ลี เถลิงประเทศ ช า ติ ไ ท ย ทวี มีชัย ไชโย"

    แต่เวลายืนข้างถนนผมจะไม่ร้องตามไปด้วยครับ

    ขอบคุณคนตั้งคำถามแ��ะคนอื่นๆ..ที่ร้องเพลงชาติไทยแทนผมทุกวัน..แหะแหะ

    ..ผมขอรักและหวงแหนประเทศไทย ด้วยวิธีของผมนะครับ

    .

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เหมือนกันค่ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เห็นด้วยกับทุกความเห็น แต่ที่อยากเห็นคือ เสื้อแดงที่ค่อนข้างมีความ

    ต่างทางด้านความคิดกับอีกฝั่งคงไม่อยากมาร้องเพลงชาติเพิ่มจำนวน

    ให้กับรัฐบาลอย่างแน่นอน สรุปแล้วจะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟังก็คง

    ต้องร้องให้เสื้อแดงฟังแน่ๆเลยครับ เพราะให้ร้องคงไม่ร้อง 555

    แต่ที่แน่ๆ ประชาชนสงขลาบ้านผมพาคนร้องเพลงชาติเข้าวินที่แสน

    กว่าคนครับพี่น้อง..อย่างนี้ต้องภูมิใจช่ายไหมครับ

    แหล่งข้อมูล: ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี
  • Nick
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เข้าใจความรู้สึกคนบนหัวนี่

    เพลงชาติไทยเวลาได้ยินในต่างประเทศ

    มันรู้สึกอบอุ่น น้ำตาซึมได้ทันที

    ที่สวนหลวงร9 เวลา8น. เพลงชาติกระหึ่ม

    ทุกคนหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่และยืนนิ่งกัน

    รวมทั้งชาวต่างชาติที่มาออกกำลังกายด้วย

    มีอยู่ครั้งหนึ่งผมบังเอิญไปยืนอยู่ท่ามกลางฝูงนกพิราบ

    นกทั้งฝูงหยุดนิ่งเหมือนกัน ไม่แน่ใจว่านกหยุด

    เพราะเคารพหรือหยุดเพราะระแวงว่าทำไมคนถึงหยุดกัน

  • komet
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เหมือน"เจ้าของคำถาม"จ้ะ..แถม"บอกคนข้างเคียงที่"ไม่เข้าใจดี"ให้"ยืนตาม"ด้วย.

    ช่วงเย็นก็รอพร้อมช่อง ๕ ที่"ถ่ายทอดสดทุกจังหวัดพร้อมกัน"ค่ะ..

    วันพรุ่งนี้(๑๕ พย.) หกโมงเย็นวันอาทิตย์..ร่วม"เคารพและร้องเพลงชาติไทยกับชาวจังหวัด"สตูล"เน้อเจ้า..

    แหล่งข้อมูล: ร้องเพลง"ชาติไทย"ให้"ไทยฟัง"
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตอนเหตุการณ์ปรกติเรามักไม่คิดอะไรเกี่ยวกับเพลงชาติ

    แต่ตอนมีเหตุการณ์สำคัญเช่นขึ้นแท่นรับเหรียญโอลิมปิค

    ไทยชนะการแข่งขันในระดับโลก

    แล้วมีการเชิญธงขึ้นเสาพร้อมเพลง

    ช่วงตอนนี้แหละที่มักจะฟังไปขนลุกไป

    แถมอยากฟังบ่อยๆ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เชื่อไหมครับ เด็กมหาวิทยาลัยบางคน ร้องเพลงชาติไม่ถูก (เคยดูในทีวีที่เค้าไปสัมภาษณ์)

    นั่นเพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับให้เข้าแถวเคารพธงชาติ

    แล้วประชาชนที่ไม่ได้ร้องนานๆละ จะเป็นอย่างไร

    ผมมีโอกาสคุมแถวนักเรียนร้องเพลงชาติทุกวัน รับรู้ความรู้สึกนั้นดี เพราะเนื้อเพลงสอนให้เรารักชาติ กว่าจะมาเป็นชาติ กว่าจะมีเอกราช ปู่ย่าตาทวดเอาชีวิตเข้าแลกไว้

    ร้องเพลงชาติอย่างมีค่า ..อย่าคิดขายชาติ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    5 ปี ที่ผ่านมา

    เพลงชาติไทย เกิดขึ้นจริงๆ หลังจากแนวคิดที่แยกชาติออกจากกษัตริย์และให้ความสําคัญ กับชาติมากกว่ากษัตริย์ได้รับชัยชนะนนคือหลังจาก 24 มิฤนายน 2475 งานเขียนเรื่องเพลงชาติไทยที่ผ่านมาแทบทุกชิ้นกล่าวว่า เพลงชาติไทยเพลงแรกหลังเหตุการณ์นั้น คือ “เพลงชาติมหาชัย” ซึ่งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีแต่งให้กับคณะราษฎรในระหว่างช่วงยึดอํานาจ

    การระบุว่า “เพลงชาติ มหาชัย” คือเพลงชาติเพลงแรกหลัง 2475 นั้นเริ่มมาจากไหน สง���ัยว่าจากบทความประวัติเพลงชาติไทยปี 2515 ของมนตรี ตราโมท (แม้ว่าถ้าอ่านดีๆ จะพบว่า มนตรีไม่ได้บอกว่าเพลงของเจ้าพระยาธรรม ศักดิ์ฯ เป็นเพลงชาติไทยจริงๆ แต่ดูเหมือนคนที่เล่ากันต่อๆ มาจะขยายความไปเอง) เท่าที่ผมอ่านเอกสารของช่วง 2475 ไม่พบการระบุเช่นนี้ ผมพบว่ามีการดีพิมพ์เนื้อเพลงข้างต้น เข้าใจว่าเป็นครั้งแรกใน ศรีกรุง รายวัน ฉบับวันเสาร้ที่ 2 กรกฎาคม 2475 หน้า 9

    น่าสังเกตว่า ศรีกรุง เองไม่ได้ระบุว่านี่คือเพลงชาติไทย และอันที่จริงเนื้อเพลงนี้ถูกตีพิมพ์พร้อมกับเนื้อเพลงอื่นอีก 3 เพลง ภายใต้หัวข้อ “เพลงคณราษฎร์”(สะกดแบบนี้) โดยที่ 3 เพลงซึ่งตีพิมพ์อยู่ตอนต้นก่อนเพลงนี้ (เพลงนี้เป็นเพลงสุดท้าย) อยู่ใต้ชื่อ “นางนาค”, “มอญโยนดาพ” (สะกดแบบนี้) และ “คลื่นกระทบฝั่ง” ซึ่งล้วนเป็นชื่อทํานองเพลงไทย (เดิม) แม้แต่ “มหาชัย” ใน “เพลงชาติมหาชัย” (สะกดแบบนี้ในศรีกรุง) ผมก็เข้าใจว่า น่าจะหมายถึง “มหาชัย” แบบไทยมากกว่าแบบดนตรีฝรั่ง ทั้ง 4 เพลงยาวเท่ากันหมด และไม่มีชื่อผู้แต่ง

    จากหลักฐานที่มีอยู่ ผมคิดว่ามีเหตุผลมากกว่าที่จะสรุปว่า “เพลงชาติมหาชัย” ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นเพลงชาติไทยในความหมาย ที่เข้าใจกัน และก็ไม่ได้ฤกถือว่าเป็นโดยคนฟึมัยนั้นด้วย ถ้าเราลองคิดว่า เมื่อมีข่าวว่าพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน ยังสร้างความไม่พอใจให้กับแวดวงเจ้าส่วนหนึ่ง จนรัฐบาลต้องออกมาปฏิเสธ (ดังจะกล่าวต่อไป)

    เหตุใดจึงสามารถมีเพลงชาติฉบับของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ กันได้ง่ายๆ เล่า? ลักษณะที่เนื้อเพลงถูกตีพิมพใน ศรีกรุง ส่อว่านี่คงเป็นเพียง 1 ในหลายเพลงที่ “มีผู้แต่งส่งมาให้คณะราษฎรเป็นอันมาก” จริงๆ (ตามคําของพระยาพหลฯ ในกรณีพระเจนดุริยางค์ที่จะเห็นต่อไป) 2 วันหลังจากตีพิมพ์ “เพลงคณราษฎร์” ทั้ง 4 เพลงแล้ว ศรีกรุงยังตีพิมพ์เนื้อเพลงอีก 1 เพลงภายใต้ชื่อ “ช้างประสานงา” โดยขึ้นหัวข้อว่า “เพลงปลุกใจชาวไทยคณราษฎรเมื่อคืนนี่” และมีบรรยายสั้นๆ ว่า “ร.ท.หม่อมหลวงขาบ กุญชร เป็นผู้ร้องกระจายเสียงที่สถานีวิทยุพญาไท [คือสถานีวิทยุรัฐบาล-สมศักดิ์] เมื่อคืนนี้” เพลง “ช้างประสานงา” มีความยาวเท่ากับเพลงในชุด “เพลงคณราษฎร์” และไม่มีชื่อผู้แต่ง การที่เพลงนื้มีทํานองเพลงไทยเดิมเป็นเหมือนชื่อเพลงอีก น่าจะยืนยันว่า “เพลงชาติ มหาชัย” ก็คงเป็นทํานอง แบบไทยเดิมเช่นกัน และคงไม่มีสถานะพิเศษกว่าเพลงอื่นๆ เหล่านี้

    ในงานเกี่ยวกับเพลงชาติก่อนหน้านี้ กล่าวกันว่า “เพลงชาติ มหาชัย” ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ ได้รับการขับร้องระหว่างเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรามีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้นใน 2-3 วันแรกของการเปลี่ยนแปลงจากผู้สังเกตการณ์ร่วมสมัยที่มีสายตาคมอย่างหลวงวิจิตรวาทการ หลวงวิจิตรฯ เจาะจงยกเรื่องเพลงที่ใช้ระหว่างการยึดอํานาจ มาเล่าดังนี้ “ในที่สุดแห่งการส่งวิทยุในคืนวันที่ ๒๔ นั้น เพลง “ข้าวรพุทธเจ้า” ได้หายไป และเพลง “มหาฤกษ์มหาชัย” ได้เข้ามาแทนที่ วันที่ ๒๔ มิถุนายนได้ผ่านพ้นไปแล้ว ราตรีกาลคงเงียบสงัด แต่หัวใจพลเมืองยังเต้นอยู่…

    คืนวันที่ ๒๖ มิถุนายน เป็นคืนที่ประชาชนกลับรู้สึกอบอุ่น และบรรเทาความร้อนใจ เพลงมหาฤกษ์มหาชัยที่ใช้มาสองคืน กลับสงบเสียง และเพลง “ข้าวรพุทธเจ้า” ได้เข้ามาแทนที่ ราตรีที่ ๒๖ เป็นราตรีที่สงบ หัวใจของชาวสยามค่อยเต้นเบาลง ผมคิดว่า เราอาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นไปได้ที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ จะได้รับแรงบันดาลใจให้ใช้ท���านอง “มหาชัย” จากการกระจายเสียง 2 คืนแรกนี้เอง (และน่าจะเขียนหลังวันที่ 27 เพราะ “วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่” น่าจะแปลว่ามีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้ว

    สรุปคือเขียนระหว่าง 27 มิถุนายน ถึง 1กรกฎาคม) น่าสังเกตด้วยว่า หลวงวิจิตรฯ ไม่ได้พูดถึง “เพลงชาติไทย” ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ แต่อย่างใด ถ้ามี “เพลงชาติไทย” จริงๆ ผู้มีความสนใจอย่างเข้มข้นต่อเรื่องทางวัฒนธรรมอย่างหลวงวิจิตรฯ น่าจะพูดถึงแล้ว ในความเป็นจริง เท่าที่ผมทราบ ไม่มีหลักฐานว่า “เพลงชาติไทย” ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ เคยได้รับการร้องจริงๆ ด้วยซํ้า (แน่นอน การบรรเลงเพลงมหาชัยหรือทั้งมหาฤกษ์และมหาชัยอย่างที่หลวงวิจิตรฯ เล่า ไม่อาจนับว่าเป็นการเล่นเพลงของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์ฯ ได้)

    นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ “เพลงชาติไทย” โดยยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่ท่านไม่เคยรู้มาก่อน โปรดติดตามบทความต่อไปได้ที่นี่

    แหล่งข้อมูล: http://thailandanthem.com/
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้