Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

? ถามใน สุขภาพสุขภาพหญิง · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

ขอคำปรึกษาด้วยครับ คือ ลูกสาวเป็นโรคหัวใจ ( ผนังหัวใจรั่ว ) โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้มั๊ยครับ ขอบคุณครับ?

3 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    คุณควรปรึกษาแพทย์จะด��ที่สุด เพราะการตอบคำถามโดยไม่ได้ตรวจวินิจฉัย จะได้รับคำตอบที่ไม่สมบูรณ์

    ปัจจุบันนี้การแพทยทันสมัยมากๆๆๆๆๆเรื่องผนังหัวใจรั่วแทบจะเป็นเรื่องเล็กๆสำหรับแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจแต่ปัญหาใหญ่อาจขึ้นอยู่กับค่ารักษา...ซึ่งค่อนข้างสูง

    ไม่ต้องวิตกมากนะคะเพราะหากปฎิบัติตามการรักษาของแพทย์ก็มีชีวิตอยู่อย่างคนปกติได้และมีอายูยืนยาวเช่นกัน

    แหล่งข้อมูล: คนตอบเคยเป็นพยาบาล และดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจมามากพอสมควร
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    แพคเกทผ่าตัดปิดผนังหัวใจรั่ว ราคา 450000 บาท นอนโรงพยาบาลรวม 6 วัน หัวหน้าทีมผ่าตัดคือ นพ.กิติพันธ์ วิสุทธารมณ์ และมีแพทย์ผ่าตัดในทีมอีก 5-6 ท่าน ...

    (โปรดสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ Heart Hotline : 081-375-2222)

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    โรคผนังหัวใจรั่ว

    โรคผนังหัวใจรั่วมักจะเกิดขึ้นได้ในกลุ่มของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

    1.ผนังหัวใจห้องบนมีรูรั่ว เรียกว่า Atrial Septal Defect หรือ ASD ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องซ้ายบน (ซึ่งเป็นเลือดแดง ผ่านการฟอกที่ปอดแล้ว) ไหลผ่านรูรั่วมายังหัวใจห้องขวาบน (ซึ่งเป็นเลือดดำ) ผ่านลงมายังหัวใจห้องขวาล่าง และออกไปยังปอด เลือดส่วนเกินนี้หลังจากถูกฟอกที่ปอดแล้วก็จะไหลกลับมายังหัวใจห้องซ้ายบนอีกครั้ง ทำให้หัวใจรับเลือดมากขึ้นกว่าปกติ ความผิดปกติชนิด ASD นี้ส่วนใหญ่แล้วไม่มีอาการใดๆ อาจตรวจพบจากการตรวจสุขภาพ พบว่าเสียงหัวใจผิดปกติ หรือเอกซเรย์ปอด พบว่าขนาดหัวใจและหลอดเลือดที่ปอดผิดปกติ หากจะมีอาการก็มักจะเริ่มที่อายุประมาณ 30 ปี อาการ คือ เหนื่อยหอบง่ายเวลาทำงาน

    อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับขนาดรูของ ASD ด้วย หากรูเล็กแล้วไม่ควรจะมีอาการและไม่น่าจะเกิดปัญหาในระยะยาว ในผู้ป่วย ASD ที่รูโต มีเลือดไปที่ปอดมากเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ปอดจะหนาตัวขึ้น และตีบมากขึ้น เป็นผลให้ความดันในปอดสูงมากขึ้น จนในที่สุดสามารถดันเลือดดำให้ผ่านรู ASD ไปปนกับเลือดแดง และเกิดหัวใจล้มเหลวตามมาได้ การเปลี่ยนแปลงทางปอดนี้หากเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ การผ่าตัดปิดรู ASD ที่ใหญ่ตั้งแต่ยังไม่มีอาการจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ปอดได้

    2.ผนังหัวใจห้องล่างมีรูรั่ว เรียกว่า Ventricular Septal Defect หรือ VSD ทำให้เลือดแดงจากหัวใจห้องซ้ายล่าง (ซึ่งเป็นเลือดแดงผ่านการฟอกที่ปอดแล้ว) ไหลผ่านรูรั่วมายังหัวใจห้องขวาล่าง (ซึ่งเป็นเลือดดำ) แล้วออกไปยังปอด เลือดส่วนเกินนี้หลังจากถูกฟอกที่ปอดแล้วก็จะไหลกลับมายังหัวใจห้องซ้ายบนและลงมาที่ซ้ายล่างอีกครั้ง ทำให้หัวใจรับเลือดมากขึ้นกว่าปกติ ความผิดปกติเช่นนี้แตกต่างจาก ASD เพราะมักจะมีอาการตั้งแต่เด็กเจริญเติบโตช้า มีอาการของหัวใจล้มเหลว บางรายต้องได้รับการผ่าตัดตั้งแต่เด็ก โชคดีที่ผู้ป่วยบางส่วนรูสามารถเล็กลงหรือปิดเองเมื่อโตขึ้น แต่หากโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แล้ว รู VSD มีขนาดโตและยังไม่ปิด จะก่อให้เกิดปัญหามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ปอดเสียได้บ่อย จึงสมควรได้รับการผ่าตัดปิดรูรั่ว

    3.มีท่อต่อระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) กับหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงปอด (Pulmonary artery) ท่อนี้เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Patent Ductus Arteriosus หรือ PDA ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกันกับ VSD และพบบ่อยมากในเด็กที่ คลอดก่อนกำหนด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องผ่าตัดหรือแก้ไขปิดท่อดังกล่าว

    อาการ ขอเน้นว่าส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นระยะ (เนื่องจากในบางวัยอาจตรวจได้ไม่ชัดเจน) หากมีอาการก็จะเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว คือ เหนื่อยหอบง่ายเวลาทำงาน

    การรักษา แต่ละชนิดมีการรักษาที่แตกต่างกันไป หากเป็นมากส่วนใหญ่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ ในบางโรค เช่น ASD PDA อาจมีวิธีการรักษาโดยใส่อุปกรณ์บางอย่างไปปิดรูรั่ว โดยผ่านเทคนิคการสวนหัวใจ ซึ่งได้ผลดีในเด็ก แต่ก็ไม่ได้ทำได้ทุกราย หากปล่อยให้อาการเป็นมากขึ้นแล้ว ความดันปอดสูงมากแล้ว ไม่มีการรักษาใดๆ ที่จะให้กลับมาเป็นปกติได้ ในกรณีเช่นนั้น การรักษาที่ดีที่สุด (ในโลกปัจจุบัน) คือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดไปพร้อมๆ กัน ซึ่งทำได้แต่ยาก และไม่ค่อยมีผู้ยอมบริจาคนัก แม้จะผ่าตัดแล้วก็ยังต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต...

    หากสงสัย ไม่แน่ใจ กรุณาตรวจสุขภาพกับกุมารแพทย์ (ผู้ป่วยเด็ก) หรือ อายุรแพทย์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ หากมีความจำเป็นอาจจะได้รับการตรวจดูหัวใจละเอียดด้วยอัลตราซาวน์หรือที่เรียกว่า Echocardiagram ซึ่งสามารถบอกรายละเอียดของความผิดปกติได้ดี

    แหล่งข้อมูล: นสพ.บ้านเมือง โดย น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้