Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

หมีพู ถามใน สุขภาพสุขภาพจิต · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

โรค panic คืออะไร ผู้่ป่วยเป็นโรคนี้อันตรายหรือไม่?

คนเป็นโรคนี้���าเหตุเกิดจากอะไร? ต้องปฎิบัติตัวอย่างไร? คนใกล้ชิดควรระวังผลกระทบต่อผู้ป่วยอย่างไร

มีใครรู้บ้างช่วยตอบหน่อย

3 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เรื่อง เกี่ยวกับโรค Panic disorder

    Panic disorder คือโรคที่มีกลุ่มอาการวิตกกังวลอย่างเฉียบพลัน (Panic attack)เกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือน้อยครั้งก็ได้ จนทำให้ผู้ป่วยกังวลอย่างมากกับอาการทางกายและจิตใจและผลที่ตามมา เช่น กลัวเป็นโรคหัวใจไม่กล้าไปไหนคนเดียว กลัวเป็นลมหมดสติเสียชีวิต กลัวควบคุมตัวเองไม่ได้เป็นบ้าเป็นบอ มีภาวะซึมเศร้า ฯลฯ

    Panic attack ได้แก่ กลุ่มอาการทางร่างกายและจิตใจ เช่น ใจเต้นใจสั่น หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก หายใจไม่ทั่วท้อง มือเท้าเย็น เหงื่อออก มือสั่นตัวสั่น ตัวซีด จะเป็นลม คลื่นไส้ ท้องอืดท้องเฟ้อท้องไส้ปั่นปวน ท้องเสีย ปัสสาวะบ่อย ตาพร่ามัว กลืนลำบาก จุกแน่นที่คอ ปวดหัวปวดขมับปวดท้ายทอย ปวดตามตัว แขนขาไม่มีแรง ฯลฯ

    อาการเหล่านี้เป็นผลจากการทำงานไวเกินของระบบประสาทอัตโนมัติ Sympathetic ซึ่งเป็นกลุ่มของสมองและไขสันหลังที่ทำหน้าที่ในการตื่นตัวของร่างกายและจิตใจ เพื่อสู้ ตั้งรับ หรือถอยหนี สนองตอบต่อความกลัวหรือวิตกกังวล

    สาเหตุ อาจเกิดจากสารเคมีในสมองที่ทำงานไม่สมดุล บางครอบครัวมีประวัติทางกรรมพันธุ์ หรือการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กที่พ่อแม่วิตกกังวลง่าย ทำให้เด็กซึมซับความกลัว เก็บกดความโกรธ หรือมีประวัติสูญเสียพลัดพรากจากคนที่รักในวัยเด็ก ถูกควบคุมบังคับกดดันจิ��ใจ ถูกคาดหวังสูง ถูกวิพากวิจารณ์ โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่รับผิดชอบสูง ต้องทำให้ดีให้เด่นผิดพลาดไม่ได้ ลักษณะเร่งรีบมีกำหนดเวลา ต้องคอยกระตุ้นเร่งเร้าตัวเองตลอดเวลา ฯลฯ

    โรคนี้มักเกิดในช่วงวัยรุ่นตอนปลายต่อผู้ใหญ่โดยหายเป็นพักๆแล้วเป็นใหม่อีกได้ ซึ่งถ้าได้รับการรักษา 40% หายสนิทไม่มีอาการอีกเลย 50% หายดี แต่อาจมีอาการเล็กน้อยบางครั้งไม่ถึงกับเจ็บป่วย และ 10% เป็นๆหายๆแบบเรื้อรัง

    Alcohol และสารเสพติด รวมทั้ง บุหรี่ ชา กาแฟ สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการ และซ้ำเติมอาการให้มากขึ้นได้

    นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตเวช

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    นักเขียนหมอชาวบ้าน : รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ

    Sat, 01/07/2549 - 00:00 — Fon

    โรคแพนิก-โรคตื่นตระหนก

    ถ้าไม่ได้รับการรักษา มักมีอาการกำเริบบ่อย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย เช่น แยกตัวเอง ไม่กล้าออกจากบ้าน ในเด็กอาจมีผลต่อพัฒนาการ การ เข้าสังคม การเรียนหนังสือ และมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย การติดแอลกอฮอล์ หรือติดยา โรคแพนิกเป็นภาวะวิตกกังวลหรือมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นฉับพลันทันที โดยไม่คาดคิดมาก่อน คืออยูà��ˆà¹† ก็เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นอยู่เพียงประมาณ ๒๐-๓๐ นาทีก็ทุเลาไปเอง แต่มักมีอาการกำเริบซ้ำเป็นครั้งคราว จนบางคนกลัวว่าตนเองจะเป็นโรคหัวใจหรือกลัวตาย บางคนต้องรีบไปตรวจที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล บางคนกลัวจนไม่กล้าออกจากบ้าน

    ความจริงโรคนี้ไม่มีอันตราย หากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ก็สามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติสุขได้

    ชื่อภาษาไทย โรคแพนิก โรคตื่นตระหนก

    ชื่อภาษาอังกฤษ Panic disorder

    สาเหตุ

    ยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวกับความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งพบ��¸§à¹ˆà¸²à¸œà¸¹à¹‰à¸—ี่มีพ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคนี้ มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านจิตใจและด้านชีวภาพ ปัจจัยด้านจิตใจ เชื่อว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น นั้นเป็นการเลียนแบบมาจากพ่อแม่ที่มีอาการในลักษณะ เดียวกับผู้ป่วย หรือเกิดจากผู้ป่วยเคยมีอาการแพนิก ในขณะที่มีสิ่งกระตุ้นหรืออยู่ในสถานที่บางลักษณะ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นหรือสถานที่ลักษณะนั้น ก็เกิดอาการกำเริบซ้ำอีก ส่วนปัจจัยด้านชีวภาพ พบว่า ระบบประสาท อัตโนมัติส่วนซิมพาเทติกของผู้ป่วยมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น ต่างๆ หรือมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อสารส่งผ่านประสาท (neuro transmitlers) ได้แก่ นอร์เอพิเนฟริน ซีโรโทนิน กรดแกมมา อะมิโนบูไทริก (gamma amino-butynic acid หรือ PABA) หรือเกิดจากสารเหนี่ยวนำ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้น 5-35% โซเดียมแล็กเทต ไบคาร์บอเนต โยฮิมบิน (yohimbin) เฟนฟลูรามีน (fenfluramine) กาเฟอีน เป็นต้น

    ดูเพิ่มที่ลิงค์นะครับ

    แหล่งข้อมูล: http://www.doctor.or.th/node/1496
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขอบคุณคับ ข้อมูลดีๆ

    เป็นโรคนี้อยู่ กลัวว่าตนเองจะเป็นโรคหัวใจ กลัวอดีต

    เป็นสักพัก และหายไป และก็กลับมาอีก

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้