Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

เรื่องหมอมีหลักและวิธีปฎิบัติ��ึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ ( Principled ) ปกป้องสิทธิประโยชน์ของคนป่วย?

ท่านนายกครับ ท่านมีหลักและวิธีปฎิบัติชึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ ( Principled ) ปกป้องสิทธิประโยชน์ของคนป่วย เกี่ยวกับหมอที่มี สถานรักษาพยาบาลของตัวเองเอาเวลา ของ รพ.ไปทำ( ลาก็รับเงินเดือนเต็ม ) และไปรับจ้าง รพ.เอกชนโดยใช้เวลาของ รพ.สังกัดที่มีผู้ป่วยคอยอยู่

ปล.หากแตะเรื่องใดผลกระทบก็จะเกิดอย่างน้อย 20 ปี Human รู้จักใช้เหตุผล มีจิตใจสูง แต่ยังมีกิเลส

3 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • Urai
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ไม่ใช่นายกนะครับ แต่เป็นหมอเลยอยากตอบ

    ปัญหาที่เกิดในปัจจุบันเกิดจากความไม่เข้าใจ และพยายามที่จะไม่เข้าใจกันและกัน การอ้างแต่สิทธิ เรียกร้องต่าง ๆ นา ๆ โดยไม่ดูว่าผลเสียที่เกิด เกิดจากอะไร หรือใครกันแน่นั้น ย่อมมีผลเสียมหาศาลตามมาครับ

    กลุ่มที่พยายามปกป้องผลประโยชน์ของผู้ป่วย (หรือตัวเอง หรือผลประโยชน์ตัวเองในอนาคต ผมก็ไม่แน่ใจ) ก็พยายามผลักดันสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้ผ่านการรับรอง

    กลุ่มคนที่ต่อต้าน ก็ไม่มีความสามารถที่จะนำเสนอให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าทำไมถึงต่อต้าน

    ผมคงไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้หมดนะครับ ว่าปัญหาคืออะไรบ้าง แต่จะขอแก้ต่าง และตอบคำถามของคุณ

    1. ปัจจุบันนี้แพทย์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในเมืองไม่นิยมทำคลินิคส่วนตัว เพราะความเสี่ยงสูง แต่มักไปทำตาม��รงพยาบาลเอกชนมากกว่า การไปทำโรงพยาบาลเอกชนนั้นก็มักจะมีเวลาระบุชัดเจนอยู่แล้ว ว่าทำกี่โมง เลิกกี่โมง คงมีส่วนน้อยเท่านั้นที่ไปทำในเวลาราชการ

    2. แพทย์ที่ยังทำคลินิค มักอยู่นอกเมือง ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วภาระงานของแพทย์เหล่านี้หนักกว่าปกติมากนัก จำนวนคนไข้ก็มากมหาศาล เช่นคุณอาจต้องตรวจคนไข้วันละมากกว่าหนึ่งร้อยคน หลักคิดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าคุณเปิดคลินิค คนไข้บางส่วนก็จะไปหาคุณที่คลินิค งานที่โรงพยาบาลของแพทย์ลดลง ได้สตางค์เพิ่มขึ้น และคนไข้ก็ไม่ต้องรอนาน เป็นผลดีกับคนที่จ่ายได้ ส่วนคนที่ไม่สามารถจ่ายสตางค์ได้ ..... คุณก็ได้รับบริการพื้นฐานที่รัฐจัดให้ ถ้าผมอยู่ต่างจังหวัดผมก็เปิดคลินิคเหมือนกันครับ เรื่องอะไรจะเหนื่อยฟรี

    3. จำนวนชั่วโมงทำงานนั้นเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น หรือไม่ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นเวลาคุณไปตรวจที่โรงพยาบาล คุณจะรู้สึกว่าแพทย์ออกตรวจช้า บางครั้งแปดโมงครึ่ง เก้าโมง หรือเก้าโมงครึ่ง กว่าจะเริ่มตรวจ แต่แพทย์บางคนที่มาตรวจช้านั้น เขาอาจเริ่มทำงานตั้งแต่เจ็ดโมง แต่เขาดูคนไข้ในอยู่เป็นต้น แต่คุณจะไม่เห็นครับ แน่นอนว่าไอ้คนที่มันโกงเวลาหลวงจริง ๆ นั้นก็มี แต่ผมยืนยันว่าเป็นส่วนน้อยครับ

    ประเทศเรากำลังเดินผิดทางอย่างมากนะครับ ในไม่ช้าผลเสียทั้งหมดจะตกไปอยู่กับผู้ป่วยเอง แพทย์หลาย ๆ คนในปัจจุบันมีแนวคิดว่า ปล่อยให้เรียกร้องกันไปนั่นแหล่ะ ปล่อยให้รัฐบาลเอาใจประชาชน โดยไม่ต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง ไม่ต้องสร้างความเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร แล้วถึงวันหนึ่งพวกเขาก็จะได้รับผลตอบแทน และสำนึกได้เอง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สิทธิประโยชน์ของผู้ป่วย ขณะนี้ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข กำลังเกิดปัญหาในวงการคุณหมอมีการแต่งชุดดำประท้วง เพื่อให้ พ.ร.บ.นี้แท้งก่อนคลอด ก็เลยทำให้สังคมมองดูว่าหมอใจคอคับแคบ รถยนต์เมื่อส่งเข้าอู่ซ่อมๆไม่ดียังมีการซ่อมให้จนดีตà¸��มเงื่อนเวลาที่กำหนด แต่ชีวิตคนถ้าหมอมือใหม่หัดซ่อม หรือ หมอสะเพร่า ผู้รับบริการก็ย่อมที่จะมีสิทธิเรียกร้องเอากับหมอบ้าง จริงแล้วมันก็แฟร์นะ ถ้าหมอมีจรรยาแพทย์ รักษาด้วยความจริงใจ แม้จะเกิดเหตุสุดวิสัยบ้าง เชื่อว่าคนไข้คงไม่เรียกร้องเอากับหมอหรอก จริงมั้ย ! นี่คือ ข้อเท็จจริงของสังคมไทยที่มองกันว่าหมอคือผู้บำบัดไข้ คนไข้ คือ คนที่รอการรักษาจากหมอ ซึ่งหมอแผนโบราณเขาใช้คำว่า "ยาขอหมอวาน ค่ายกครูเล็กน้อย" สืบทอดกันมาเป็นหมอพื้นบ้าน แต่ตรงกันข้าม สังคมตะวันตกกลับตรงกันข้าม เป็นเชิงธุรกิจไปโน่น มีการมองว่าเป็นผู้ให้บริการ กับ ผู้รับบริการ ดังนั้น เมื่อบริการไม่ดีก็ต้องเรียกร้องเอาบ้าง ดังนั้น หมอในสังคมตะวันตกชาชินแล้วกับวิธีคิดแบบนี้

    พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ได้ตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นมา ตรงนี้ คือ ปัญหาเพราะมีการกันเงินไว้ก้อนหนึ่งสำหรับผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นความผิดจากการกระทำของหมอ หรือ ไม่ ตรงนี้จึงเกิดพวกที่เห็นช่องทางทำเงินขึ้นมา โดยมี NGO กับทีมทนายความพยายามที่จะหา Case ฟ้องร้องจริงบ้างไม่จริงบ้าง ไม่มีการพิสูจน์ ทำให้แพทย์ เกิดความคร้ามเกรงมากขึ้นไม่อยากรักษาไข้กันแล้ว ทำให้สังคมตราหน้าว่าหมอใจแคบ ยังไรเสียกฎหมายก็ต้องออกมา เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ สังคมทุกวันนี้ คนไข้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมากขึ้น มีทางเลือกหลายทาง ข้อซักถามจึงพรั่งพรูออกมาถามหมอๆอาจจะรำคาญ เพราะแต่ก่อนร่อนชะไรไม่มีสภาพแบบนี้เพราะหมอ คือ เทวดา เนื่องจากระบบสาธารณสุขของไทยไม่แข็งแรงพอ ปริมาณหมอกับคนไข้ประมาณ หมื่น-สองหมื่นต่อหมอ 1 คน ช่องทางในการเข้าถึงยามีน้อย ดังนั้น ห��¸¡à¸­à¸„วรที่จะลดมาตรฐานลง และ การรักษาต้องปฏิบัติกันแบบมนุษย์กับมนุษย์มากขึ้น จริงแล้วสาระสำคัญของกฏหมายฉบับนี้ คือ ต้องมีการช่วยเหลือ ต้องทำให้ผู้รับบริหารและผู้ให้บริการสบายใจทัà¹��งสองฝ่าย ประการสุดท้ายต้องมีการพัฒนาระบบป้องกันความเสียหาย ดังนั้น หมอจึงควรปรับท่าทีเสียใหม่ เพราะยังไงก้เลี่ยงไม่พ้นทุกประเทศเขาก็มีกฏหมายทำนองนี้กันทั้งง้านแหละครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เห็นด้วยครับ ว่าหมอต้องมีจรรยาบรรณในการทำงาน ที่ถือหลัก จริยธรรม ควบคู่ด้วย แต่เราก็ต้องเห็นใจหมอประเทศเราด้วยว่า ภาระของหมอในทุกวันนี้ต้องดูแลคนไข้ไม่น้อยเลย หมอ 1คน ต่อคนไข้3 หมื่นคน มันเป็นอะไรที่หนักเอาการเลยทีเดียว ประเทศเราเป็นประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยก็ปกป้องสิทธิของตัวเอง หมอก็ต้องปกป้องสิทธิของตัวเอง ผมคิดว่าเราต้องช่วยกันท้ง2ฝ่ายครับ รวมมือกันหาแนวทางออกร่วมกัน ความพอใจ ไม่ใช่เรื่องของผลประโยชน์ทั้ง2ฝ่าย แต่เป็นผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ ทั้งหมอและผู้ป่วยต่างเป็นผลเมืองที่รัฐต้องดูแล

    หมอไม่ได้เรียนมากันง่ายๆ ชีวิตประชาชนก็ไม่ใà¸��่เรื่องล้อเล่น การทำงาน มันไม่ได้100% ความผิดพลาดมันรอที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่สำคัญที่ว่าถ้าผิดพลาดแล้วจะช่วยเหลือกันยังไง

    หมอเองทำงานต้องมี จริยธรรม รักษาคนไขด้วยจรรยาบรรณที่มีเกียรติของอาชีพหมอ (หมอถูกสอนมาช่วยเหลือชีวิตคน อย่าเอาชีวิตคนมาเป็นแค่ผลประโยชน์)

    ผู้ป่วยเองก็ต้องมีจิตสำนึก ไม่ทุจริต บิดเบือนความเป็นจริง เก็นแก่ตัว

    ช่วยกันทั้ง2ฝ่าย รักกันครับ เมืองไทยจะได้น่าอยู่

    แหล่งข้อมูล: รัฐบาลควรศึกษา ทำการบ้านให้มากกว่านี้ครับ เห็นแต่ละโครงการที่ออกมา จับฉ่ายทุกอย่าง
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้