Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ดุ๊ค ถามใน สังคมศาสตร์จิตวิทยา · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

สอนคนที่โตเเล้วให้รู้จักขยันงานเเละขวนขวายปรับปรุงตัว ทำอย่างไร?

11 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ทำให้เขาเห็นค่าของสิ่งที่ทำ และรักที่จะทำค่ะ

    คุณอาจต้องรู้จักเขาให้มากขึ้น เพื่อจะได้รู้ว่าเขามีเหตุผลอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลัง

    อะไรจะเป็นแรงจูงใจให้ได้บ้าง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ใช้ทั้งการให้รางวัล ถ้าทำได้เกินเป้าหมายที่กำหนดหรือตกลงกัน

    และการลงโทษ ( เช่น การหักค่าใช้จ่าย ) ถ้าทำไม่ได้ตามที่กำหนดหรือตกลงกัน

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนโตแล้วมักมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง หัวดื้อ รั้น

    จำต้องให้เขาเห็นผลที่เกิดจากการกระทำของตน

    ว่าเป็นคุณหรือโทษต่อตนเองอย่างไร

    ถ้าเป็นคนที่ไม่ใช่ดอกบัวเหล่าที่สี่

    ก็จะสามารถสอนได้ด้วยการชี้แนะแนวทางเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ

    ซึ่งสามารถจัดเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย แบบกัลญานมิตร

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ทำให้เขาดูเป็นตัวอย่างก่อน

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ยากมาก แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบและเทคนิคหลายอย่าง

    ต้องพิจารณาถึงคนผู้นั้นด้วยว่ามีลักษณะอยางไร ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงดอกบัว 4 เหล่า

    1. ถ้าเราต้องสอนคนดั่งดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำแล้ว ก้เพียงแค่สอนแนวทางในการค้นหาการปรับปรุง

    คนกลุ่มนี้จะคิดสร้างสรรของเขาเอง ดังเช่น พระอัญญาโกทันยะ

    2. ถ้าเราต้องสอนคนดั่งดอกบัวปริ่มน้ำ การที่สอนแนวทางในการค้นหาการปรับปรุงอาจไม่เพียงพอ

    การสอนวิธีคิด ลำดับการคิดเพื่อปรับปรุงงาน เป้นสิ่งจำเป็น

    3 ถ้าเราต้องสอนคนดั่งดอกบัวในน้ำ ท่านอาจมีความจำเป็นที่ต้องแสดงผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้น ของการปรับปรุงตัว ที่จะมีต่อตัวเอง พร้อมทั้งความเอาใจใส่ของผุ้สอนมากเช่น การดูแลแบบฝึกหัดและปฏิบัติ

    4.ถ้าเราต้องสอนคนดั่งดอกบัวใต้ตม นอกจากจะทำหลาย ๆ วิธี การลงโทษ ก็มีความจำเป็นดั่งเช่นพระเจ้าอชาติศัตรู

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    โทษของเขา มองเห็นเป็นภูเขา โทษของเรามองเห็นเป็นเส้นผม

    การสอนที่ดี เราต้องเป็นตัวอย่างให้เห็นว่ามันดีจริง ควรลอกเลียนเป็นแบบอย่างได้ในการดำรงชีวิต ทุกชีวิตต่างมีความต้องการแตกต่างกัน บางครั้งความปรารถนาดีของเรา อาจจะแลกซึ่งมาได้กับการขาดกัลยณมิตรที่พีงพาได้ในกาลต่อไปภายภาคหน้า ต้องถามตัวเองว่ามันสมควรแล้วหรือที่คิดจะสอนควายที่ชอบนอนปรัก ไปลากเกวียน

  • ?
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เราสามารถสอนได้ตามแต่อุปนิสัยของแต่ละคน..ไม่ว่าจะด้วยวิธีการพูดการชมการให้ของรางวัลหรืออะไรก้อแล้วแต่...แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก้อขึ้นกับตัวบุคคลด้วยว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยได้แค่ได้...

    เอาแบบตรง ๆ นะ เราสามารถสอนใครหลายคนได้แต่เค้าจะฟังหรือปฎิบัติตามหรือไม่อีกเรื่อง...แต่เมื่อตั้งใจแล้วก้อขอให้โชคดีค่ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ให้รางวัลหากทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ชมเชยเขาบ้าง และตัวเราก็ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยคะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ควรให้การยกย่อง ชมเชย และจูงใจด้วยการให้รางวัล แต่เมื่อทำผิดก็มีการทำโทษเพื่อให้เกิดความเกรงกลัวบ้างนะ อาจจะว่ากล่าว หรือ มีกฏระเบียบ ให้รู้จัปฏิบัติตามด้วยนะจึงจะเห็นผล พูดง่ยๆนะใช้ทั้งพระเดชและพระคุณควบคู่กันไป

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คงต้องใช้กฎมาสโลว์ค่ะ

    ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

    ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต

    ที่มั่นคง ปลอดภัย

    ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้า

    ไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้��¸•à¸™à¹€à¸›à¹‡à¸™à¸—ี่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่

    ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง

    ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูง

    ของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้

    มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป

    คนที่โตแล้วมีความเชื่อมั่นในตนเองเข้ามาแทนคนที่เป็นเด็กค่ะ ดังนั้นทุกอย่างเราต้องมีเหตุผลไม่ว่าการกระทำใดแล้วถ้าบางวิธีกีการไม่ได้ผลก็ต้องหาวิธีการใหม่ค่ะ เช่นการจ่ายเบี้ยขยันให้พนักงานตามเงื่อนไขบริษัทก็เป็นการจูงใจให้เขาอยากทำงานมากขึ้นหรือการมีรางวัลที่คิดว่าเหมาะสมและถ้าเขาจัดหาเองก็คงไม่ได้เช่นการไปพักต่างจังหวัดหรูๆพร้อมครอบครัวหรือการพาไปต่างประเทศก็จะเป็นการชักจูงให้เขาอยากทำงานค่ะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้