Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

กฏหมายแลศีลธรรมมีเรื่องใหนบ้างที่ขัดแย้งกันจนคุณรับไม่ได้?

อัปเดต:

ย่า ตั้งคำถามนี้ขึ้นมาเพราะย่ากำลังศึกษาในสาขานิติศาสตร์ และในสาขานี้การเปรียบเทียบหลักกฎหมายกับหลักศีลธรรมในเชิงวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบเป็นเรื่องปรกติค่ะ และตัวอย่างของคำถามเช่น คดีข่มขืนผิดหลักศีลธรรมชัดเจนแต่กฎหมายมีช่องให้ยอมความได้ หรือเรื่องคดีครอบครองปรปักษ์ ผิดศีลธรรมแน่นอน แต่ทางกฎหมายเปิดช่องให้สามารถกระทำได้ ย่าถามเพราะ���่าอยากหาความรู้เพิ่มอยากได้รับความคิดเห็นของพี่ๆในรู้รอบแห่งนี้ ย่าผิดมากหรือคะ และข้อกล่าวหาที่ย่าได้รับจากคุณCHAIRATมันยุติธรรมสำหรับย่าแล้วหรือคะ ย่าขอความยุติธรรมสำหรับย่าคืนจากพี่ๆในรู้รอบด้วยนะคะ ขอบคุณทุกท่านนะคะ

17 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    น้องกอหญ้าครับ..

    ก่อนอื่นผมขอปรบมือดังๆให้กับนักศึกษารุ่นใหม่ ที่ไม่เพียงแต่ใส่ใจเฉพาะการเรียนในชั้นเรียน แต่มุ่งที่จะแสวงหาความรู้เพืิ่มเติมจากสังคมภายนอกเข้ามาประกอบด้วย ทำให้วิสัยทัศน์กว้างขวางขี้น ได้วิเคราะห์เปรียบเทียบ อันนี้ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้เป็นนักศึกษาอย่างแท้จริงครับ อยากให้คุณเป็นผู้มุ่งแสวงหาต่อไป เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของสังคมและผู้อื่น และผมเชื่อในความบริสุทธิ์ใจของคุณในการตั้งคำถามนี้ครับ

    เรื่องความขัดแย้งระหว่างกฏหมายและศิลธรรมนั้น เป็นเรื่องที่เราๆท่านๆได้พบเห็นกันบ่อย ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยๆไปจนเรื่องใหญ่ๆ

    เอาเรื่องเล็กที่แสนจะห่วยไปอ่านก่อนนะครับ

    เมื่อวานนี้เป็นวันเก็บขยะ หน้าบ้่านเราจะต้องแยกขยะไว้สามกล่อง มีขยะแท้ๆถังดำ มีขยะที่นำมากลับมาใช้ได้ใหม่(รีไซเคิ่ล)ถังสีฟ้า และขยะที่สามารถนำไปทำปุ๋ยได้ถังสีเขียว ตกตอนเย็นๆ จะเห็นคนยากจนมาคุ้ยหาของในถังขยะรีไซเคิ่ลซึ่งเ��าสามารถนำไปขายเลี้ยงปากเลี้ยงท้องให้ตนเองและครอบครัวได้(เขาจะนำไปขายต่อที่แหล่งรับซื้อของรีไซเคิ่ล ขวดละประมาณ 5-10 เซ็นต์) แต่ที่นี่มีกฏหมายจับและปรับโทษฐานขโมยของ(ขโมยขยะ) ซึ่งผมว่าเป็นกฏหมายที่เสียเวลาร่างเอามากๆ ไม่มีอะไรจะคิดแล้วหรือ จะไปเอาอะไรกะคนยากคนจนครับ เพียงเพราะว่าคนมีกะตังค์บ่นต่อทางศาลากลางว่าเวลามีคนมาคุ้ยขยะมันดังกร๊องแกร๊งหนวกหูเขา และก็ทำให้ดูเอน็จอนาถตา สกปรกและมีคนที่จรมาเพ่นพ่านหน้าบ้าน ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยในเขตหน้าบ้านของตนเอง ผมอ่านแล้วอยากอาเจียรกับความรังเกียจของเพื่อนมนุษย์ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทางการก็บ้าจี้ร่างกฏหมายออกมาบังคับใช้ เป็นกฏหมายขโมยขยะ มีครั้งแรก ปรับ และครั้งที่สองและต่อๆไปเป็นทั้งปรับและจำ

    หลังจากทีผมเอาขยะออก (ผมมีหน้าที่ทำงานบ้านทุกชน��ดที่หนักและสกปรกทั้งหมดครับ ผมแต่งกะเจ้าหญิง แฮ่ แฮ่) ก็มีคนมาเก็บขวดเก็บกระป๋องไปขาย เข้าใจว่าคงจะมีคนโทรฯไปแจ้งกับทางการว่ามีคนมาเดินเก็บขยะรีไซเคิ่ล พอเจ้าหน้าที่มาถึงก็จะทำการจับกุม พอดีหญิงแก่ผู้นั้นเก็บจากบ้านผมเสร็จพอดีกำลังจะเก็บของข้างบ้านผมต่อ ผมจึงเห็นเหตุการณ์พอดี ตำรวจบอกคุณยายว่าผิดกฏหมายเพราะเป็นการขโมยขยะ ผมเลยแย้งว่าขยะของผมผมยินดีให้คุณยาย ผมไม่คิดว่าเป็นการขโมยเพราะผมไม่ใช้แล้วและยินดีให้ใครทั้งนัั้นไม่ว่าจะเป็นคุณยายหรือทางการ แต่คุณยายก็ยังถูกปรับอยู่ดี เป็นค่าปรับที่แพงเอาการเพื่อจะให้หลาบจำ ทั้งๆที่แกก็เป็นคนจน ไม่ได้ไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือสภาพแวดล้อมเสียหาย ในสายตาของผม ผมคิดว่าเป็นกฏหมายที่ไร้สาระที่สุด ไม่ยุติธรรม ร่างขึ้นมาเพราะคนบางกลุ่มเรียกร้องและถูกจัดอ้างให้เป็นระเบียบของส่วนรวม แต่ส่วนรวมนี่ไม่ได้คำนึงถึงคนยากคนจน คนยากคนจนไม่อยู่ในวงจรความคิด

    ขอออกตัวนิดหนึ่งว่าผมวิจารณ์สิ่งเหล่านี้จากวิจารณญาณ เนื่องจากเรียน Aeronautics Engineer ไม่ได้เรียนกฏหมายครับ แต่ในอนาคตนี้ผมกำลังจะได้รับทุนพิเศษให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ (เมืองไทย)ด้านการทำอาหารให้เป็นรสชาดเป็นสัปปะรด ผู้ให้ทุนคือภรรยา หุหุ

    เอ๊่า..นอกเรื่องอีกแระ ขอเล่าต่อครับ เรื่องที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อยที่พบเจอแล้วรู้สึกว่าขัดอกขัดใจก็คือ การใช้ความรุนแรงในครอบครัว

    กฏหมายของรัฐที่ผมอยู่นี่จะเน้นว่าหลังจากที่พ่อแม่หย่ากันแล้ว ศาลจะจัดแบ่งการเลี้ยงดูและการใช้เวลากับเด็กให้กับพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย เพื่อที่ว่าเด็กจะได้มีทั้งพ่อและแม่มีส่วนร่วมในชีวิต ตรงนี้อาจจะมีเจตนาดี แต่ว่ากฏหมายไม่่น่าที่จะนำมาบังคับใช้โดยขาดการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

    หลายๆกรณีที่ผู้เป็นพ่อทารุณกรรมแม่ของเด็กอย่างรุนแรง ด่าว่าดูถูกเหยียดหยาม ทุบตีทำร้าย ข่มขู่ ไม่ให้เกียรติ ทารุณกรรมทางจิตใจ ทางเพศ แต่เวลาหย่าศาลจะแบ่งให้ลูกได้อยู่กับพ่อเท่ากับแม่ทั้งๆที่ลูกกลัวพ่อมากๆและแม่เองก็มีสัญชาติญาณว่าวันหนึ่งพ่ออาจจะล่วงละเมิดทางเพศต่อลูกสาวของตน แต่เนื่องจากสิ่งนั้นมันยังไม่เกิด และกฏหมายได้กำหนดไว้ดังนั้น แม่ของเด็กแม้จะพยายามคัดค้านแต่ศาลก็ไม่รับพิจารณาเหตุผลและเหตุการณ์ต่างๆที่บังเกิดขึ้นกับแม่ที่ตัวแม่นำมาสนับสนุน พ่อจึงได้ลูกไปค้างบ้านด้วย และในที่สุดเขาก็ได้ทำการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กคนนั้นจริงๆ กรณีเช่นนี้ผมก็รู้สึกว่า มันไม่ยุติธรรม ทำให้รู้สึกว่าศิลธรรม ความถูกต้องและเหมาะสมต้องนำมาร่วมพิจารณาด้วย จึงจะเป็นการนำกฏหมายมาใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยุติธรรม และถูกศิลธรรม

    ต้องขอโทษอีกครั้งนะครับหากวิพากย์วิจารณไม่ถูกต้องในสายตาของผู้รู้หรือผู้เรียนกฏหมาย แต่ผมว่า คำถามนี้เป็นคำถามที่ทำให้ผมและคนหลายๆคนต้องนั่งคิดให้ลึกซึ้งครับ ขอบคุณอีกครั้งครับที่แวะเข้ามาถาม

  • Singha
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การครอบครองปรปักษ์

    แย่งทรัพย์เป็นความผิดทางศีลธรรม

    กฎหมายเห็นเป็นการชอบธรรม

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ฮัดดดดชิ้ววว....ดุ้งตื่นตอนดึกนึกว่าแจ้งแร้วที่ใหนได้น้องเราจุดธูปเรียกนี่เอง กอหญ่าเอ้ยยยเจ่ว่าน้องจะเรียกหาไปทำไม"ความยุติธรรมในเมื่อà��™à¹‰à¸­à¸‡à¸‚องเจ่กำลังเรียนที่จะใช้มันเพื่อตัวเองและสังคมอยู่มันอาจมีหลายอย่างที่น้องจะรู้สึกกังวลและขัดแย้งในเมื่อน้องยังใหม่ในสังเวียนนี้คุณธรรมในใจกับกฏหมายมีหลายครั้งที่มันไปด้วยกันไม่ได้น้องเลือกที่จะมาสาขานี้น้องต้องเรียนรู้ที่จะทำใจด้วยจ่ะเสียงหลากหลายในนี้มันก็แค่เสียงนกเสียงกาที่จะช่วยฝึกน้องของเจ่ให้ก้าวสู่วันข้างหน้าได้เข้มแข็งขึ้นนะจ๊ะ เจ่หวังว่าคดีหนึ่งที่จะทำให้น้องเจ่เข้าใจความหมายของความเลื่อมล้ำนี้ได้ดีก็ที่กรณีสงฆ์ของพระพยอมไงจ๊ะน้องเจ่เองก็หัวเราะมิได้ร่ำไห้มิออกร่ำๆจะไปช่วยท่านพับถุงกล้วยแขกซะงั้นละน้องเอ๋ยยยย

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    -ศีลธรรม เป็นความจริงตามธรรมชาติ เป็นหลักการใหญ่ ส่วนกฏหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา กฏหมายที่ดี ต้องสอดคล้องกับหลักศีลธรรม อันใดไม่ถูกต้องก็ต้องแก้ไขครับ

    -• -การà��ªà¸£à¹‰à¸²à¸‡à¸ªà¸£à¸£à¸„์ประชาธิปไตย ต้องเริ่มจากการพัฒนาและสร้างสรรค์คุณสมบัติแห่งความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล คุณสมบัติดังกล่าวเรียกว่า"ธรรมาธิปไตย"ซึ่งหมายถึงแต่ละคนจะต้องถือธรรมเป็นใหญ่ ยึดถือความจริง ถือหลักการ ตลอดจนกฎเกณฑ์กติกาเป็นใหญ่ เป็นมาตรฐานหรือเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ เรียกสั้นๆว่า"หลักการ" หรือ "ธรรม" ซึ่งมี 2 ระดับคือ

    1.หลักการคือตัวความจริง ความถูกต้องดีงาม ความเป็นเหตุผลในสิ่งทั้งหลายที่เป็นความจริงอยู่โดยธรรมดาในธรรมชาติ

    2.หลักการที่มนุษย์บัญญัติขึ้น โดยใช้ปัญญาพิจารณาถึงความจริง ความถูกต้องดีงามในข้อ 1. แล้วยกขึ้นมาตั้งเป็นข้อกำหนดในสังคม ให้ทุกคนยึดถือปฏิบัติตาม เช่นวางเป็นเกณฑ์ กติกา หรือกฎหมาย

    -ถ้าบุคคลใดยึดถือธรรมคือหลักการตามความหมาย 2 อย่างข้างต้นนั้นเป็นใหญ่ คือ เป็นมาตรฐานหรือเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ บุคคลผู้นั้นก็เป็นธรรมาธิปไตย

    -ถ้าสังคมใด มีบุคคลที่เป็นธรรมาธิปไตย เข้ามาปฏิบัติการต่างๆในสังคม โดยใช้ระบบประชาธิปไตยที่จัดตั้งไว้เป็นสื่อและเป็นเครื่องมือดำเนินการ สังคมนั้นก็จะเป็นสังคมประชาธิปไตยทีดี

    "ในระบบประชาธิปไตยนั้น ถือว่าเสียงประชาชนเป็นใหญ่ และเสียงประชาชนนั้นเป็นเสียงสวรรค์ ถ้าเราไม่ต้องการให้เสียงสวรรค์กลายเป็นเสียงนรก ก็ต้องพัฒนาประชาธิปไตยให้ดี โดยพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพ ด้วยการพัฒนาปัญญา ให้สามารถเลือกตัดสินใจด้วยการใช้ปัญญาอย่างยิ่งยวด ให้เป็นปัญญาบริสุทธิ์ อิสระ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำของ โลภะ โทสะและโมหะ ไม่เลือกตัดสินใจหรือทำการใดๆเพราะเห็นแก่จะได้ประโยชน์ส่วนตัว โดยมุ่งหาอำนาจยิ่งใหญ่ หรือความเดียดแค้น ชิงชังมุ่งทำลายใคร หรือโดยไร้ความรู้ความคิด ไม่ม��¸µà¸§à¸´à¸ˆà¸²à¸£à¸“ญาณ"

    แหล่งข้อมูล: 68ปี พระพรหมคุณาภรณ์ พินิจธรรมเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนภณ สมหวัง
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    กฏหมายฉบับไหน และศีลธรรมกลุ่มไหน ล่ะ ก็เห็นๆกันอยู่ อย่าคิดมากเลยทำอะไรตามใจคือไทยแท้และเสมอ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    มนุษย์เราต้องการความปลอดภัยจึงสร้างกำแพงเพื่อป้องกันผู้มารุกราน แต่เมื่อสร้างกำแพงแล้ว

    กลับทำให้เกิดช่องทางเข้า-ออก เหมือนกฏหมายเปิดช่องให้ตีความได้

    ศีลธรรมนั้นเกิดจากการมองเห็น ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี

    การปฏิบัติและการตัดสินด้วยสำนึกเหล่านี้กลายเป็นจารีตใช้กันสืบมา กว่าจะเป็นกฏหมาย

    สำหรับฉันความขัดแย้งนั้นสามารถรับได้ เนื่องจากเป็นการตัดสินใจโดยส่วนรวม

    ในขณะเดียวกัน ฉันสนับสนุนการยกระดับจิตใจของคนในสังคม

    เพื่อให้การบังคบใช้กฏหมายเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อย

    ความยุติธรรม ที่ย่าถามหา ก็อยู่ตรงนี้ อยู่ที่การตีความ

    คนหนึ่งคนมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของเรา ได้ เท่าที่ เราให้ค่า

    ย่าจะเป็นนักกฏหมายที่ดี เพาะย่ามองสถานการณ์ออก รู้จักประเมินค่ะ

    และรู้จุดยืนของตัวเอง

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ศิลปะ,,เอ๊ย..ศิลธรรมเป็นจิตสำนึกที่ตายตัวอยู่แล้วครับ แต่มนุษย์ชั่วเท่านั้นที่ไม่สน

    แต่กฎหมาย ขัดแย้งมากมายครับ เช่น ผัวเอาน้ำกรดสาดหน้าเมียเพราะความหึง แต่ความผิดแค่ทำร้ายร่างกาย

    ดีไม่ดีมีกะตัง รอดสบายแฮ..แต่คนที่ตายทั้งเป็นคือหนึ่งชีวิตที่เกิดมา แต่ต้องมาทรมานทั้งชีวิต กับการกระทำของอีกชีวิตนึ่งที่ไม่ศิลธรรม....(งงม่ะหลายชีวิต) ยอมรับครับว่ากฎหมายไทยอ่อนเหลือเกิน,,เมื่อไหร่จะมีนักการเมืองไทยที่มีสมองดีๆ มีศิลธรรมมาแก้ไขก็ไม่รู้ ส่วนมากจะมีแต่สมอง ขี้ตะหลุย ขี้ตะหลุย..(น้องกอไผ่..อุ๊ กอหญ้าคา..ว๊าก..กอหญ้าเฉยๆ ไม่เข้าใจหรอก,,ตะหลุย,,ภาษาคุณสานเค้าน่ะ....ปล่อยให้งง..หุหุ,,)

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    กฎหมายเรื่องการทำแท้à��‡ น่ะนะ ทุกสิ่งอยู่ที่เจตนา

    อดไม่ได้ขอสักนิด

    อ่านคำถามเรื่องศีลธรรมแล้วสงสัย เพราะอะไรจึงขัดกับหลักกฎหมาย

    มนุษสาในโลกนี้ช่างแสนวุ่นวาย ทำอะไรต้องดูที่ใจและเจตนา

    กอหญ้าคาปลิวใบอ่อนสะท้อนจิต จุดความคิดที่ต่างกันแสนหนักหนา

    กฎหมายแลศีลธรรมแลจรรยา หยิบเอามาเป็นกระทู้ถามตอบกัน

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ผมรับได้หมดทุกเรื่องครับ ผมขออยู่ภายใต้กฎหมายและศีลธรรมของประเทศไทยครับ ผมเป็นคนว่านอนสอนง่ายครับ

    ู

    แหล่งข้อมูล: แหล่งข้อมูลจากสมองที่นึกคิด ผิดหรือถูก ขอรับไว้เพียงผู้เดียว
  • MI1
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การจะพิจารณาตัวบทกฎหมาย หัวใจสำคัญ คือ ต้องดูที่เจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนั้นๆ ว่าการกำหนดกฎหมายในลักษณะนั้น มีกำเนิดอย่างไร เป้าประสงค์ที่แท้จริงคืออะไร เช่น กรณีการครอบครองปรปักษ์ เจตนารมณ์ของกฎหมาย ก็เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งมีจำกัดอยู่แล้ว ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ไม่ปล่อยทิ้งล้างว่างเปล่า ไร้การทำประโยชน์ เป็นการเตือนสติเจ้าของที่ดินให้คอยตรวจตราระมัดระวัง ทรัพย์สินของตนที่ตนมีกรรมสิทธิ์อยู่ กรณีข่มขืน ยอมความกันได้ ก็เพื่อปกป้องฝ่ายผู้ถูกกระทำ กรณียอมความ ก็คือฝ่ายผู้กระทำรับผิดชอบในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป เช่น ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย เป็นต้น ฉะนั้นต้องตั้งธงที่เจตนารมย์ที่แท้จริงของกฎหมาย เป็นสำคัญ ที่เห็นได้ชัดเจน ก็เช่น รัฐธรรมนูญปี 40 จะเห็นเจตนารมณ์ในการร่าง ของ สสร. ขณะนั้น ถ้าศึกษาให้ดีจะเห็นได้ และเข้าใจครับ เป็นกำลังใจครับ สู้ๆ ครับ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้