Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
ไลเค็นคืออะไร..มีคุณสมบัติอย่างไร..ใชทำอะไรได้บ้าง?
3 คำตอบ
- 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
ไลเคน (Lichen) คือ สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันระหว่าง สาหร่าย (algae) และรา (fungi) แบบพึ่งพาอาศัยกัน (symbiosis) เจริญอยู่บนหิน (crustose lichen) บนกิ่งไม้ (foliose lichen, fruticose lichen) และบนดิน (squamulose lichen) โดยราได้รับความชื้นและก๊าซออกซิเจนจากสาหร่าย ส่วนสาหร่ายก็จะได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อใช้ในการสังเคราะห์แสงจากรา
คุณสมบัติของไลเคน รามีความสามารถย่อยสลายซากอินทรีย์ให้กลายเป็นแร่ธาตุที่ง่ายต่อการนำไปใช้เส้นใยของราดูดความชื้นได้ดี และสาหร่ายสร้างอาหารจากการสังเคราะห์แสง ได้แก๊สออกซิเจน
ประโยชน์ของไลเคน
1. ใช้เป็นอาหารใช้โดยป่นเป็นผงผสมแป้งทาขนมปังกรอบ ใช้ผสมกับแป้งไรน์(Rye) ใช้ในการทาขนมปัง
2. ใช้เป็นส่วนประกอบของยาและสมุนไพร
3. การหมักเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4. ใช้เป็นสีย้อม
5. ใช้ผสมน้ำหอม
6. ใช้ทำความสะอาดผม
7. ใช้ในการฟอกย้อมหนัง
8. ใช้เป็นดัชนีบ่งบอกคุณภาพอากาศ
9. ใช้บอกอายุหินและโบราณวัตถุ
- CC..Lv 41 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
ไลเคน (lichen) เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ เห็ดราและสาหร่าย โดยมีการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เห็ดราจะได้ความชื้นและก๊าซออกซิเจนจากสาหร่าย และสาหร่ายก็จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงจากเห็ดรา นอกจากนี้ไลเคนยังสามารถใช้เป็นดัชนีวัดมลพิษทางอากาศได้
ไลเคนมีรูปแบบที่สำคัญ 3 แบบ[1]
1.ครัสโตส (crustose) ลักษณะเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือแผ่นแข็งติดอยู่บนต้นไม้
2.โฟลิโอส (foliose) ลักษณะคล้ายใบไม้
3.ฟรูทิโคส (fruticose) ลักษณะเป็นเส้นหรือแตกกิ่งก้าน
แหล่งข้อมูล: th.wikipedia.org/wiki/ไลเคน พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2549, หน้า 354 - ตัว ต.Lv 71 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
ไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เก���ะอาศัยอยู่บนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ โดยพบทั้งบนวัสดุธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ ใบไม้ ดิน หิน แมลง เป็นต้น และวัสดุก่อสร้าง เช่น คอนกรีต แผ่นป้ายโลหะ ฯลฯ
นักพฤกษ์ศาสตร์ประเมินว่ามีไลเคนปร���มาณ 17,000 - 25,000 ชนิดทั่วโลก ไลเคนพบได้ทั่วไป ตั้งแต่ที่หนาวจัดแถบขั้วโลก (Tundra) จนถึงร้อนและ แห้งแล้งแบบทะเลทราย (Desert) รวมถึงร้อนชื้น (Tropic) เช่น ประเทศไทย แต่ไลเคนไม่สามารถเติบโตได้ ในสถานที่ที่มีมลภาวะทางอากาศ โดยจะเห็นว่า ในเมืองใหญ่ ๆ และในเขตอุตสาหกรรมนั้น ปราศจากไลเคน ด้วยเหตุนี้จึงมี ผู้นิยมใช้ไลเคนเป็นดัชนี (bioindicator) บ่งชี้คุณภาพอากาศ