Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ค่าเงินบาทแข็งใครได้ใครเสียอย่างไร?

สมมุติว่าท่านซื้อเครื่องจักรนำเข้าและส่งออกผลไม้..ช่วยกันยกตัวอย่างกันให้ชัดๆนะครับ

และถ้าค่าเงินบาทอ่อนก็เช่นกันใครได้ใครเสียอย่างไร?

อัปเดต:

ขอขอบคุณกับคำตอบดีๆของทุกๆนะครับ

***ผมคิดไปคิดมาก็งงๆกับตัวเองเหมือนกัน...ไม่รู้ว่าคิดถูกหรือเปล่าครับ?

สมมุติว่า...

ผู้นำเข้าเครื่องจักร ราคา 10,000$ X ค่าเงินบาทแข็ง 30฿ / $ = ผู้นำเข้าต้องจ่าย 300,000บาท

ผู้นำเข้าเครื่องจักร ราคา 10,000$ X ค่าเงินบาทอ่อน 35฿ / $ = ผู้นำเข้าต้องจ่าย 350,000บาท

ผู้ส่งออกผลไม้ 1 ตัน ราคา 105,000 บาท ค่าเงินบาทอ่อน 35฿ / $ = ผู้ซื้อต้องจ่าย 3,000$/ตัน

ผู้ส่งออกผลไม้ 1 ตัน ราคา 105,000 บาท ค่าเงินบาทแข็ง 30฿ / $ = ผู้ซื้อต้องจ่าย 3,500$/ตัน

(ซึ่งอาจทำให้ฝรั่งหันไปซื้อที่อื่นที่ถูกกว่าหรือผู้ส่งออกต้องยอมลดราคาลง)

อัปเดต 2:

แต่ถ้าเราทำข้อตกลง

ส่งออกผลไม้ 1 ตัน ราคา 3,000$ ค่าเงินบาทอ่อน 35฿ / $ = ผู้ส่งออกได้รับ105,000 บาท/ตัน

ส่งออกผลไม้ 1 ตัน ราคา 3,000$ ค่าเงินบาทแข็ง 30฿ / $ = ผู้ส่งออกได้รับ 90,000 บาท/ตัน

(จะเห็นว่าถ้าค่าเงินบาทแข็งทำให้ผู้ส่งออกขาดทุน....ต้องหาราคาผู้ส่งออกอยู่ได้นั่นคือต้นทุนต้องน้อย 300$จึงเรียกว่าขาดทุนกำไร)

***ถ้ามีเพื่อนเก่งๆในรอบรู้นี้ร่วมลงทุนเป็นเครือข่ายโดยรวมตัวกันเป็นรูปแบบเหมือนสหกรณ์ในการส่งออกได้ก็น่าจะดีนะครับ.. สามารถกำหนดราคาต่อรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ.. น่าสน!!

อัปเดต 3:

(จะเห็นว่าถ้าค่าเงินบาทแข็งทำให้ผู้ส่งออกขาดทุน....ต้องหาราคาผู้ส่งออกอยู่ได้นั่นคือต้นทุนต้องน้อยกว่า 3,000$จึงเรียกว่าขาดทุนกำไร)

11 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ถ้าเงินบาทอ่อนค่าลง เช่น เดิมเหรียญละ 35 บาท อ่อนค่าลงเป็นเหรียญละ 38 บาท ต่างประเทศซื้อสินค้าเรา เขาจะใช้เงินน้อยลงถ้าเราตั้งราคาเท่าเดิม เงิน 1 เหรียญของเขาแลกเป็นเงินไทยได้เพิ่มอีก 3 บาท เขาก็จะซื้อสินค่าเรามากขึ้นเพราะสินค้าเราถูกลง ส่งออกดี

    แต่การนำเข้า เป็นการจ่ายเงินเราซื้อของจากต่างประเทศ ถ้าเขาตั้งราคา 1 เหรียญเท่าเดิม แทนที่เราจะจ่ายเงินแค่ 35 บาท เราต้องจ่ายเป็น 38 บาท ได้ของเท่าเดิม ผู้นำเข้าจะเดือดร้อน

    กรณีเงินบาทแข็งค่าขึ้น เช่นจาก เหรียญละ 38 บาท แข็งค่าขึ้นเป็นเหรียญละ 35 บาท ก็จะเป็นตรงข้าม สินค้านำเข้าเช่นน้ำมันจะถูกลง ส่วนสินค้าส่งออกเช่นสินค้าทางการเกษตร จะขายยากขึ้น เขาจะหันไปซื้อจากประเทศอื่นที่ราคาถูกกว่า ครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ใครได้ไม่รู้แต่ผู้เสียประโยชน์คือผู้มีรายได้น้อยต้องรอรับกรรมต่อไป...

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    บาทแข็งนำเข้าได้เปรียบกว่าส่งออก

    ตรงกันข้ามถ้าบาทอ่อนนำเข้าเสียเปรียบกว่า ค่ะ

  • ?
    Lv 7
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เงินบาทแข็ง

    à��™à¸³à¹€à¸‚้าได้

    ส่งออกเสียค่ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่รู้แต่ที่แน่ๆของนอกถูกแต่ซื้อเยอะเงินมันก็ออกอีกนั่นแหละ ส่งออกถูกก็อย่าไปขายมัน ทองลงก็เก็บไว้ดูเล่น ร้านทองก็ปล่อยไปเรื่อยๆ ฯลฯ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พ่อค้าส่งออกขายผลไม้ได้น้อยลงเพราะสินค้าแพงขึ้นผู้ซื้อก็หันไปซื้อประเทศที่มีค่าเงินที่อ่อนกว่า

    เช่น เดิมผู้ซื้อเขาใช้เงิน 1000 บาท ซื้อข้าวไทยได้ 100 กก. พอค่าเงินบาทแข็งขึ้น เขาต้องใช้เงินมากกว่า 1000 บาท ถึงจะซื้อข้าวไทยได้ 100 กก. อาจต้องใช้เงิน 1100 บาท เป็นต้น ดังนั้น ผู้ซื้อจึงหันไปซื้อข้าวยังประทเศที่มีค่าเงินที่อ่อนกว่า เช่น เวียตนาม เขาอาจใช้เงินเพียง 900 บาท ก็ซื้อข้าวได้ 100 กก. เงินบาทแข็งผู้ส่งออกจะเสียเปรียบในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ

    ในทางกลับกันค่าเงินบาทแข็งขึ้นสินค้านำเข้าจะมีราคาถูกลง เช่น เดิมเราซื้อเครื่องจักรเครื่องละ 1 ล้านบาท แต่เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นเราจะใช้เงินซื้อเครื่องจักรไม่ถึงล้านบาท อาจเป็น 9 แสนบาท เป็นต้น

    สินค้านำเข้าจะสูงกว่าสินค้าที่ส่งออก คนไทยจะแห่ไปเที่ยวนอกมากขึ้นขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติก็มาเที่ยวไทยน้อยลง

    ไทยจะเสียเงินตราออกนอกประเทศมากจะทำให้เสียดุลการค้าระหว่างประเทศ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คการค้าระหว่างประเทศของไทย มีทั้งการนำเข้าและการส่งออก การนำเข้าหมายถึงการซื้อสิ้นค้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งสินค้าที่จำเป็น สินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าประเภทเทคโนโลยีที่เราไม่สามารถผลิตเองได้ การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศจะชำระราคาค่าซื้อสินค้าเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศแล้วแต่จะตกลงกัน แต่ส่วนใหญ่อาจเป็นสกุลเงินดอลลาร์ หรือสกุลยูโร เช่น เราสั่งซื้อเครื่องจักรอุตสาหกรรมจากสหรัฐอเมริกา 1 เครื่อง ราคา 100,000 $ หรือคิดเป็นเงิน 3,500,000 บาท (ขณะสั่งซื้อค่าเงินบาทอยู่ที่ 35 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อถึงเวลาที่เราต้องชำระราคาเครื่องจักรค่าเงินบาทยังอยู่ในอัตรา 35 บาท/1 ดอลลาร์ เราต้องนำเงินบาทไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ เราต้องใช้เงิน 3,500,000 บาท เพื่อใฝห้ได้เงิ 100,000 $ ไปชำระหนี้ค่าเครื่องจักร แต่ถ้าเวลาที่เราต้องชำระหนี้ค่าเครื่องจักร ค่าเงินบาทแข็งค่าอยู่ในอัตรา 30 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ เราจะใช้เงินเพียง 3,000,000 บาท ไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินดอลลาร์ได้ 100,000 $ หากจะบอกว่าราคาสินค้าลดลง หรือเราซื้อของถูกลง เพราะใช้เงินน้อยกว่าถ้าคิดเป็นเงินบาท เงินบาทแข็งค่าเงินบาทเป็นผลดีกับการนำเจข้าสินค้าหรือซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ในทางกลับกัน ในภาคส่งออก เช่น เวลาเราส่งออกผลไม่ไปขายต่างประเทศในราคา 100,000 $ ขณะซื้อขายอัตราค่าเงินอยู่ที่ 35 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ จะคิดเป็นเงินไทยขณะเวลาซื้อขายคือ 3,500,000 บาท เมื่อถึงเวลาชำระราคาค่าผลไม้ ค่าเงินบาทแข็งอยู่ที่ 30 บาท ต่อดอà��¥à¸¥à¹ˆà¸²à¸£à¹Œ เราได้รับชำระเงินมา 100,000 $ เราต้องกลับมาแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินบาท จะได้เงิน 300,000 บาท มูลค่าราคาผลไม้ของเราลดลง 500,000 บาท การแข็งค่าของเงินบาทไม่เป็นผลดีกับภาคการส่งออก ในการส่งออกเวลาเราคิดราคาสินค้า บวกค่ากำไร ขาดทุน ภาษี และค่าขนส่งเป็นราคาเงินบาท แล้วไปคำนวณเป็นเงินดอลลาร์ เมื่อเงินดอลลาร์แลกเงินบาทได้น้อยลงผู้ประกอบการนส่งออกจึงขาดทุน ค่าเงินบาทแข็งในขณะที่ภาคการส่งออกของเรากำลังเจริญเติบโตย่อมมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการในทางลบ แต่จะมีผลดีกับการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศเราจะใช้เงินน้อยลง หรือราคาสินค้าจะถูกลงถ้าคิดเป็นเงินบาท เศรษฐกิจไทยตอนนี้ต้องระวัง เพราะการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ การส่งออก และเงินนอกประเทศจำนวนมหาศาลที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาในตลาดทุน มากกว่าการพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ ถ้าจะลงทุนอะไนในตอนนี้ ผมว่าเอาเงินบาทไปซื้อเงินตราต่างประเทศเช่นเงินปอนด์ หรือยูโร ดอลลาร์เก็บไว้ เชื่อว่าในอีกไม่ช้ารัฐบาลคงออกมาตรการป้องกันการแข็งค่าของเงินบาทเพื่อไม่ให้กระทบภาคการส่งออก ตอนนี้ค่าเงินบาทเดินทางมาอยู่ในจุดที่น่าจะแข็งเกือบที่สุดแล้ว อีกไม่นานคงลงมาอย่างแน่นอนครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    นำเข้าดียิ่งนะ

    แต่ส่งออกนี่สิน่าเห็นใจ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ขอตอบสั้นๆให้เข้าใจง่ายแล้วกันนะ

    ผู้ที่ได้ผลดีจากต่าเงินบาทแข็งก็ตือพวกต้องซื้อของจากต่างประเทศมาใช้ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ กระเป๋า เสื้อผ้าสำร็จรูปแบรนด์เนม ธุรกิจภาพยนต์ต่างประเทศ โรงกลั่นน้ำมัน โดยเฉพาะปตท.ที่ชอบอ้างว่าน้ำมันดิบตลาดโลกขึ้นราคา ก็ปรับราคาตาม ทั้งที่ค่าเงินบาทแข็งไปกี่สิบ% แล้ว

    โดยเครื่องจักรที่มีราคาแพง เมือสั่งซื้อจะประหยัดเงินได้เยอะ ยกตัวอย่าง เครื่องจักรราคา ๑ แสนเหรียญ ค่าเงินปีที่ ๓๖ บาทต่อดอลลาร์ ต้องจ่ายเป็นเงินไทยประมาณ ๓ ล้านหกแสน แต่ตอนนี้ดอลลาร์ เหลือ ๓๐ บาท เท่ากับจ่ายเป็นเงินไทยเพียง ๓ ล้าน ประหยัดไปได้ตั้งหกแสน เลย มองในแง่กลับกัน ถ้าดอลลาร์ขึ้นไปถึง ๔๐ บาท เครื่องจักรเครื่องนี้จะมีราคาถึง ๔ ล้าน เท่ากับต้องจ่ายเพิ่มจากตอนนี้ ตั้งล้านนึงต่อเครื่องเลยเชียว

    เมื่อค่าเงินบาทอ่อน ผู้ส่งออกสินค้าก็แย่ไปตามๆกัน เนื่องจากรายได้อาจจะลดลงหรืออาจจะขาดทุนเลยก็ได้

    ซึ่งสมมุติว่าซื้อมะม่วงมาลูกละ๑๐ บาท ค่าโสหุ้ย ต่างตกลูกละ ๒๐ บาท รวมเป็น ๓๐ บาทตั้งใจส่งไปขายอเมริกาลูกละ ๑ เหรียญ ซึ่งปีที่แล้ว ดอลลาร์ละ ๓๖ บาท ส่งไป๑แสนลูก ก็จะได้กำไรลูกละ ๖ บาทจะได้ ๖ แสนบาท ซึ่งตอนนี้ดอลลาร์เหลือ ๓๐ บาท เท่ากับกำไร ๐ บาท หรือไม่ได้กำไรเลย ทำงานฟรี หรือถ้าเลวร้ายกว่านั้น ถ้าดอลลาร์ลงไปถึง ๒๘ - ๒๙ ก็จะขาดทุน แสนถึง ๒แสนทันที

    หวังว่าคงพอจะเข้าใจได้ไม่ยากนะครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ค่าเงินบาทแข็ง คือใช้เงินบาทน้อยลงในการสั่งซื้อเครื่องจักรนำเข้าจากต่างประเทศมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ผู้ที่ได้ประโยชน์คือผู้นำเข้าสิ่งต่างๆที่เสียเงินในสกุลต่างประเทศน้อยลงค่ะ

    ส่วนผู้เสียประโยชน์คือผู้ส่งออกที่ค้าขานในเงินสกุลต่างประเทศเพราะได้รัับเงินชำระค่าสินค้าน้อยลง แค่เปลี่ยนไปหนึ่งบาทต่อยูเอสดอลล่าห์(ตัวอย่างสมมุติ) ยังไม่ต้องส่งออกก็ขาดทุนไปทันทีค่ะ

    ฉะนั้นหากเป็นนักธุรกิจค้าขายกับต่างประเทศควรกำหนดราคาซื้อขายเป็นบาทไทยไปเลยค่ะ เพราะเราได้มีกำไรในราคาซื้อขายเป็นสกุลเงินบาทไว้แล้ว ไม่สนใจว่าเงินสกุลต่างประเทศจะเป็นเช่นใดขึ้นหรือลงก็ช่าง เพราะการชำระเงินของลููกค้าจะต้องจ่ายเป็นเงินบาท

    และสำหรับผูู้้ชื่นชอบเล่นหุ้นสกุลเงินตรา เป็นช่วงที่เหมาะจะแลกเงินบาทได้น้อยลงในการไปซื้อเงินสกุลต่างประเทศแต่ต้องหาสถานที่เปิดบัญชีเงินฝากผ่านPayPal แล้วค่อยทำการโอนเงินมาเข้าบัญชีธนาคารพาณิชย์ในเมืองไทย เพราะกฏหมายเมืองไทยยังไม่ยอมรับให้เล่นค้าสกุลเงินตราต่างประเทศค่ะ คนที่จะทำได้คือนิติบุคคลที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินในการเปิดวงเงินแอลซี วงเงินโอดีกับแบ๊งค์ค่ะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้