Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

? ถามใน สุขภาพโรคภัยไข้เจ็บเบาหวาน · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

ใครรู้บ้างการรักษาโรคเหน็บชาได้อย่างไร?

มีอาการชาบริเวรหน้าเท้าแลหลังเท้าแลชาตามนิ้วมือทั้งสิบนิ้วเปนมาร่วมปีแล้วนวดก็ไม่หายกินยาก็ไม่หายไม่รู้ว่าสาเหตุของโรคเกิดจากตรงไหน

9 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    อาจจะเกิดจากการขาดวิตามินบีค่ะ มาฟังคำถามที่ถามคุณหมอ และคุณหมอตอบค่ะ

    http://www.balavi.com/webboard/QAview.asp?id=5322

    แหล่งข้อมูล: ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อาการที่แสดงออก จากโรคเหน็บชา

    * เกิดอาการชามือ แต่เท้าไม่ชา

    - ชาที่หลังมือแต่ไม่เกินข้อมือ แสดงว่าเกิดเส้นประสาทกดทับที่ต้นแขนด้านใน อาจจะเกิดจากการนั่งเอาแขนพาดพนักเก้าอี้นานจนเกินไป แต่ถ้าเกิดอาการชาเลยมาถึงข้อมือ จะเกิดจากการที่เส้นประสาทบาดเจ็à¸��บริเวณรักแร้

    - ชาที่บริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลางเป็นหลัก มักจะเกิดจากที่เส้นประสาทถูกกดทับที่บริเวณข้อมือ ซึ่งก็ควรจะลดการใช้งานของมือ และพยายามหลีกเลี่ยงท่าที่ทำให้ชา เช่น ขี่มอเตอร์ไซค์ โทรศัพท์ หรือชูมือ เป็นต้น

    - ชาที่บริเวณนิ้วนาง และนิ้วก้อย ก็มักจะมาจากการถูกกดทับที่ข้อศอก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อศอก หรือหลีกเลี่ยงการเท้าแขนบ่อยๆ

    - ชาเป็นแถบ ตั้งแต่บริเวณแขนไปจนถึงนิ้วมือ จะเกิดจากกระดูกต้นคอเสื่อม ไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งควรปรึกษาแพทย์

    * เกิดอาการชาเท้า แต่ไม่มีอาการชามือ

    - ชาฝ่าเท้า เกิดจากเส้นประสาทบริเวณตาตุ่มด้านใน หรือบริเวณอุ้งเท้าถูกกดทับ ซึ่งก็ควรจะหลีกเลี่ยงท่าที่จะทำให้ขาชา พยายามลดการยืน หรือเดินนานๆ

    - ชาหลังเท้า และลามขึ้นมาถึงหน้าแข้ง เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับบริเวณใต้เข่าด้านนอก เพราะฉะนั้นควรจะหลีกเลี่ยงการนั่งในท่าที่ต้องพับขา เช่น ท่าขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ หรือการนั่งไขว่ห้าง

    - ชาด้านนอกของต้นขา เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับที่ขาหนีบ ควรหลีกเลี่ยงการงอพับบริเวณสะโพก

    - ชาเป็นแถบจากสะโพกลงมาจนถึงข้อเท้า เกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาท ซึ่งควรจะไปพบแพทย์

    อาการทั้งหมดจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานหรือไม่นั้น ผช.ศ.นพ.พินิจ บอกว่า ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งถ้าเส้นประสาทที่ถูกกดทับเสียหายไม่มาก หรือเพียงแค่ช้ำเท่านั้น แค่ 1-2 วันอาการชาก็จะหายไปเอง แต่ถ้าเส้นประสาทเกิดการถูกกดทับจนเสียหายมาก ก็อาจจะเป็นปีที่อาการจะเริ่มดีขึ้น และเส้นประสาทเริ่มฟื้นตัวได้

    *** ป้องกันและรักษาตามอาการ

    การรักษาอาการชามือชาเท้านั้นก็มีทั้งการรักษาด้วยการผ่าตัด และไม่ผ่าตัด โดยจะขึ้นอยู่��¸à¸±à¸šà¸ªà¸²à¹€à¸«à¸•à¸¸ และความรุนแรงของโรค “ถ้าเกิดอาการชาตามมือ ก็อาจจะแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวให้คนไข้ ด้วยการให้ลดการทำงานโดยใช้มือก่อน ถ้ายังไม่ทุเลาก็อาจจะให้ยาไปรับประทานก่อน และถ้ายังไม่ทุเลาก็อาจจะต้องฉีดยา และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นอีกก็อาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัด”

    ส่วนการป้องกันนั้น ผช.ศ.นพ.พินิจ บอกว่า ควรจะต้องระมัดระวังในเรื่องท่าทาง ระมัดระวังตัวเองอย่าให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนแอ และที่สำคัญต้องหัดสังเกตอาการชาเบื้องต้นอย่างละเอียดว่าเกิดอาการชา หรือปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณใดให้ชัดเจน เพื่อที่เมื่อไปพบแพทย์แล้ว แพทย์จะได้สามารถวินิจฉัยอาการได้อย่างถูกต้องและชัดเจน เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เนื่องมาจากเส้นประสาทมีความซับซ้อนมาก ถ้าคนไข้ที่เกิดอาการไม่สังเกต และบ่งบอกอาการ หรือบริเวณที่เกิดอาการชาได้อย่างชัดเจน ก็อาจจะทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดตำแหน่งได้ง่าย และการรักษานั้นก็จะไม่เกิดผลแต่อย่างใด

    เพียงแค่สังเกตอาการต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นสักนิด ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อตัวคุณเองที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีนั่นแหละค่ะ

    แหล่งข้อมูล: โดย: สุรีย์รัตน์ พิทักษ์, คอลัมน์ how to : นสพ.โพสท์ทูเดย์ 2 ต.ค. 2550 ** ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลสุขุมวิท
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คอลัมน์ : มาเป็นหมอกันเถิด

    Tue, 01/07/2540 - 00:00 — Fon

    เรื่อง “เหน็บชา”

    พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายของคำว่า “เหน็บชา” ว่าเป็นคำนาม หมายถึง ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ทำให้รู้สึกชาตามเนื้อตัว และให้ความหมายของคำว่า “ชา” ว่าเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง อาการที่อวัยวะเป็นเหน็บ เช่น มือชา เท้าชา จะเห็นว่า คำหลายคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานจะอยู่ในลักษณะเช่นนี้ จนทำให้ไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของคำนั้น

    ในที่นี้ คำว่า “เหน็บชา” จะหมายถึงอาการเหน็บชาเป็นสำคัญ ถ้าใช้หมายถึงโรค จะใช้คำว่า “โรคเหน็บชา” ในทีนี้ อาการ “ชา” หมายถึงอาการที่อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดไม่สามารถรับความรู้สึกได้ครบถ้วน ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับความรู้สึกที่ได้จากการสัมผัส เช่น รู้สึกว่ามีอะไรมาแตะหรือมาสัมผัส สิ่งที่มาสัมผัสนั้นร้อนหรือเย็น แหลมหรือทู่ เรียบหรือขรุขระหรืออื่นๆ ถ้าลิ้นชา อาจหมายความว่าไม่รู้รสด้วย เป็นต้น

    ถ้าความรู้สึกต่อการสัมผัสอย่างหนึ่งอย่างใดเสียไป เรียกว่าชาต่อความรู้สึกนั้น เช่น ผิวหนังชาต่อความร้อนเย็น ชาต่อความรู้สึกสัมผัส ชาต่อความรู้สึกเจ็บ หรือชาจนไม่รู้สึกอะไรเลย เป็นต้น ส่วนอาการ “เหน็บ” หมายถึง อาการเจ็บป่วยที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับอาการที่นั่งทับขาตนเองเป็นเวลานานๆ เช่น เวลานั่งพับเพียบนานๆ ชาและเท้าที่ถูกพับและถูกทั��¸šà¸™à¸²à¸™à¹† จะเกิดการเจ็บปวดและชา จนบางครั้งอาจจะอ่อนแรงจนเหยียดไม่ออก และลุกขึ้นยืนไม่ได้ ต้องใช้มือช่วย เป็นต้น

    อาการเหน็บและชา อาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆ เป็นอาการเหน็บหรืออาการชา หรืออาจเกิดร่วมกัน เป็นอาการเหน็บชาก็ได้ ส่วนอาการ “ซู่ หรือ “ซู่ซ่า” ที่ปรากฏเมื่อเวลาขนลุกนั้น ในที่นี้ไม่ถือว่าเป็นอาการเหน็บชา นอกจากว่าจะมีอาการเหน็บชาเกิดร่วมด้วย ดังเช่นในกรณีที่นั่งพับเพียบนานๆ แล้วเหยียดขาออก อาการ “ซุบซู่” ที่เป็นอาการหดห่อตัวอย่างคนกำลังจับไข้และรู้สึกหนาว ในที่นี้ก็ไม่ถือว่าเป็นอาการเหน็บชาเช่นเดียวกัน นอกจากว่าจะมีอาการเหน็บชาเกิดร่วมด้วย

    อาการ “ซึม” หรืออาการเหงาหงอย ไม่เบิกบาน และอาการ “ซึมกะทือ” หรืออาการซึมเซา ง่วงเหงา ก็ไม่ถือว่าเป็นอาการเหน็บชาเช่นเดียวกัน อาการ “เป็นเหน็บไปทั้งตัว” หรือปวดเมื่อยทั่วตัว หรือเข็ดตัวก็ไม่ถือว่าเป็นอาการเหน็บชาเช่นเดียวกัน

    คนไข้รายที่ ๑ หญิงไทยอายุประมาณ ๕๐ ปี เดินเข้ามาในห้องตรวจ

    หญิง : “สวัสดีค่ะคุณหมอ ดิฉันเป็นอะไรไม่รู้ มันชาซู่ทั้งตัวเป็นพักๆ เป็นมา ๒-๓ เดือนแล้วค่ะ”

    หมอ : “สวัสดีครับ แล้วอาการเป็นมากขึ้น น้อยลง หรือคงเดิมครับในระยะ ๒-๓ เดือนนี้”

    หญิง : “รู้สึกว่าเดือนนี้จะเป็นมากขึ้นค่ะ”

    หมอ : “แล้วคุณมีอาการอะไรอื่นอีกมั้ย”

    หญิง : “รู้สึกอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย หายใจไม่อิ่ม และนอนไม่ค่อยหลับหรือหลับไม่สนิทค่ะ”

    ดูเพิ่มที่ลิงค์นะครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    น่าจะขาดวิตามินบีนะ กินข้าวซ้อมมือ หรือไม่ก็ออกกำลังกายบ้างนะ จะค่อยๆช่วยได้ หรือที่แน่นะไปหาแพทย์เฉพาะทางรักษาให้ถูกโรค จะได้หาย

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    โรคเหน็บชาหายได้ หากรู้จักทานข้าวเหนียวทุกเช้า(ซื้อหาได้ตามแผงขายหมูปิ้ง ไก่ทอด ส้มตำ) แค่ทุกเช้า ไม่เกิน 21 วัน( 3 อาทิตย์) หากไม่หายก็โทษกรรมเวรล่ะครับ 555

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ทานอาหารที่มีวิตตามีนครับช่วยได้แน่

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตามตำราของจีน..... งดกินผักบุ้งโดยเด็ดขาด

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ทานข้าวที่ผสมกับข้าวซ้อมมือบ่อยๆซิ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    อยากถามให้เคลียร์อีกหน่อยอีกล่ะค่ะ ว่า ใครเป็นผู้วินิจฉัยให้คุณว่าเป็น "โรคเหน็บชา"

    และไม่แน่ใจว่า คุณเป็นโรคเบาหวานอยู่หรือเปล่า (เนื่องจากพบว่าคุณเข้ามาในหมวดหมู่เบาหวาน) ซึ่งถ้าคุณเป็à¸��เบาหวานเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว เป็นสิ่งสมควรที่คุณจะต้องมีแพทย์ผู้รักษาประจำ หรือต้องไปรับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการตรวจเลือด และวัดความดันโลหิต ซึ่งถ้าพบว่ามีผลการตรวจผิดปกติ เป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้รักษาต้องรีบแจ้งให้คุณรับทราบ ก่อนให้การรักษาด้วยยา หรือให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนของคุณ และถ้าคุณมีอาการผิดปกติใดๆ คุณก็มีโอกาสที่จะแจ้งให้แพทย์ทราบได้ในทุกครั้งของการไปรับการตรวจตามนัด โดยเฉพาะหากคุณมีอาการนี้มานานร่วมปี แล้วแพทย์ไม่ทราบ หรือไม่ได้รับการแก้ไขอย่างนี้.. บอกตรงๆ นะคะ ว่าไม่น่าเป็นไปได้เลยค่ะ

    เพราะฉะนั้น จึงอยากขอให้คุณนำคำถามนี้ไปถามกับแพทย์ผู้รับการรักษา เมื่อต้องไปรับการตรวจตามนัดครั้งต่อไปก็ได้ค่ะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้