Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

? ถามใน สุขภาพทำฟัน · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

siam ทำไมถึงอ่านว่า สยาม?

France ทำไมกลายเป็น ฝรั่งเศษ Japan ทำไมกลายเป็น ญี่ปุ่น

อัปเดต:

ขอบคุณครับ คุณ E-strit -ข้าพระเจ้าหารูป shrek ไม่เจออะดิถ้ามีขอหน่อยนะ

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    คุณไม่ได้หมายถึงคำอ่านใช่มั้ยคะ เพราะเป็นการอ่านออกเสียงก็คงอ่านออกเสียงตามที่คุณe-strit ตอบ เข้าใจว่าคุณคงตั้งใจถามว่า ทำไมตัวเขียนคำเหล่านี้สะกดแบบนี้ คนไทยถึงออกเสียงเรียกชื่อเหล่านี้เป็นเสียงอื่นไปได้

    หลักเกณฑ์การออกเสียงกว้าง ๆ (จากตัวอย่างคำที่คุณยกมา)สรุปว่า หากไม้มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้ใหม่

    ๑. เราจะออกเสียงตามสะดวก เช่น ฝรั่งเศส นั้น เข้ามติดต่อกับไทยสมัยอยุธยาแล้ว มีมพันธไมตรีทางการทูตและการค้ากับไทย มีการใช้ทูตและล่ามในการติดต่อ ฝรั่งเศส เรียกประเทศตัวเองว่า ฟร็องเซ่ ซึ่ง ไม่คุ้นลิ้นคนไทย ไม่สะดวกในการออกเสียง จึงกลายเป็น ฝรั่งเศสไป

    ๒.ออกเสียงตามความเคยชินหรืออกเสียงตามการเรียกของชาติอื่น กรณีนี้จากตัวอย่างที่คุณยกมาคือ "ญี่ปุ่น" เข้าใจว่าไทยน่าจะเรียกตามการออกเสียงของคนจีนนะคะ คำว่า 日本 จีนแต้จิ๋วออกเสียงเป็น ยิกเปิ่น จีนกลางออกเสียงเป็น รื่อ เปิ่น[ri pen]

    ๓.ออกเสียงทับศัพท์

    ส่วน SIAM ทำไมถึงออกเสียงเป็นสยาม อันนี้ต้องไปถามฝรั่งค่ะ ว่าฟังอีท่าไหน ถึงฟังคำว่าสยาม แล้วเอาไปเขียนเป็นSIAM ไปได้

    เว็บที่มีรูปชเร็ค แถม ๆ ๆ ค่ะ

    http://ibaraki.wordpress.com/2007/06/08/sherk-the-...

    http://moviedd.exteen.com/20070419/movie-preview-s...

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ใครบอกว่าอ่านว่าสยาม อ่านว่าไซแอมจ้ะ

    เอฟอาเอเอ็นซีอี อ่านว่า ฟรานซ

    เจเอพีเอเอ็นอ่านว่า ชะแพน

    ส่วนคำว่า สยาม ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เป็นเอกลักษณ์การออกเสียงที่แสดงความเป็นไทย ผสมกลมกลืนไปกับประโยคภาษาไทยได้ดีกว่าที่จะพูดว่า ประเทศไทยกับฟรานซ์มีขนาดใกล้เคียงกัน (ถ้าลองพูดออกเสียงดู จะฟังแล้วกระแดะบอกไม่ถูก หรือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ชะแพนเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้คนทั้งโลกหันมาทบทวนการใช้ชีวิตประจำวันกันใหม่ (เหมือนกัน มันฟังดูสะดุดหูในทางไม่น่าฟัง)

    เหมือนสยามกัมมาจล ที่มาจาก สยามคอมเมิชเชียล อังรีดูนังต์ ที่มาจาก เฮนรี ดูนองต์

    แล้วถ้าจะคิดเปลี่ยนการสะกดภาษาอังกฤษให้พ้องกับการออกเสียงประเทศสยามแล้ว ให้เป็น Sayam ก็ดูยังไงไม่รู้นะ สู้ Siam ไม่ได้ ดูศิวิไลซ์และมีอารยธรรมกว่าเยอะเลย ว่ามะ

    เอ... ว่าแต่คนถามเถอะ ทำไมติดรูปคุณด๊องกี้ แต่ใส่ชื่อเป็นเชร็คไปซะหล่ะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ลองหลับตา ระลึกภาพในประวัติศาสตร์ ย้อนไปในสมัยที่ชนชาติไทยเริ่มมีสัมพันธ์ คบค้าสมาคมกับต่างชาิติ

    เอาละ.....

    1. คำว่า siam ( ไซ - แอม ) กับ สยาม ( สะ - หยาม ) คำไหนน่าจะเกิดก่อนกัน ลองคิดสรุปดูแล้ว น่าจะเป็นสยาม เมื่อไปติดต่อกับชาวต่างชาติจึงกำเนิดศัพท์ siam ขึ้นไว้ใช้เรียกชาวสยาม

    2. คำว่า france กับ ฝรั่งเศษ คำไหนน่าจะเกิดก่อนกัน ลองคิดสรุปดูแล้ว น่าจะเป็น france เมื่อมีชาว france มาติดต่อกับชาวสยาม จึงกำเนิดศัพท์คำว่า ฝรั่ง ( น่าจะเพี้ยนเสียงมาจาก france ) ไว้เรียกชาวต่างชาติเหล่านี้ และสันนิษฐานได้อีกว่า ในสมัยก่อนนั้น ชาวต่างชาคิที่ที่มาติดต่อคบหากับชาวสยาม น่าจะเป็นพวกผิวขาว คนไทยเลยเหมารวมว่าคนต่างชาติผิวขาวคือพวก "ฝรั่ง" ส่วนคำว่าฝรั่งเศษน่าจะเกิดจากพวกที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ไทย แสดงภูมิรู้ว่า franec น่าจะออกเสียงว่า ฟราน - เซ่ จึงบัญญัติศัพท์ไทยขึ้นไว้ว่า ฝรั่งเศษ

    3. คำว่า japan ( แย - แปน ) กับ ญี่ปุ่น น่าจะมีที่มาคล้าย ๆ กับข้อ 2 พวกที่มีหน้าที่บัญญัติศัพท์ไทย ก็เลยแสดงภูมิรู้ บัญญัติศัพท์ไทยขึ้นไว้ว่า ญี่ปุ่น

    เหล่านี้เป็นผลจาการหลับตา แล้วลองนึกภาพไปในประวัติศาสตร์ ลองคิดตามดู หรือเห็นอะไรอย่างอื่น บอกด้วย

    แหล่งข้อมูล: จินตนาการล้วน ๆ
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    สมัยก่อนอาจจะการสื่อสารและการได้รับทราบผิดเพี้ยนกันไป จากคนไทยที่ทำอะไรเราเข้าใจก็พอแล้วเลยไปมันเรื่อยๆไง

  • KK
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ในยุคโบราณ ภาษาบาลีเป็นภาษาต่างประเทศที่นักศึกษาจะต้องเรียนเป็นภาษาเอก ในยุค พ.ศ. ๑๙๐๐ ลงมาศูนย์กลางของภาษาบาลีในยุคโบราณคือ ลังกา ภิกษุไทย-มอญ-พม่าล้วนไปศึกษาธรรมวินัยจากที่นั่นจนเกิดนิกายพุทธศาสนาที่ เป็นแบบลังกาขึ้นในบริเวณมอญ-พม่า-ไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๖๐๐

    วงการภาษา บาลีของลังกานั้น เรียกเมืองไทยว่า สฺยาม หรือ สาม การติดต่อระหว่างไทยกับลังกาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อคราวที่ไทยส่งพระ อุบาลีออกไปตั้งนิกายสยามวงศ์ เมื่อพ.ศ. ๒๒๙๕ นั้น สาส์นติดต่อซึ่งเขียนเป็นภาษาบาลีทั้งสองฝ่ายก็ใช้คำ สยาม และสาม ระคนกัน

    ใน สมัยสุโขทัย มีภิกษุสงฆ์ของไทยทั้งในล้านนาและสุโขทัยไปศึกาพระธรรมวินัยในลังกามาก เป็นต้นว่าทางสุโขทัยก็มีพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามณีศรีรัตนลังกาทวีป หลานของพ่อขุนผาเมือง ทำให้เข้าใจว่าวงการบาลีของลังกาจะได้เรียกคนไทยว่า สาม-สยาม มาแล้วแต่ครั้งนั้น หรือแม้ก่อนหน้านั้น

    ภาษาบาลีนั้นเป็น ภาษาต่างประเทศ เมื่อวงการพุทธศาสนาไทยใช้ภาษาบาลี การจะพูดถึงเมืองไทยก็ย่อมต้องใช้คำของบาลีที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไปทั้งในลังกาและที่อื่น จึงเชื่อว่าพวกนักปราชญ์ภาษาบาลีของเมืองไทย, ทั้งล้านนาและสุโขทัย, น่าจะรับเอาคำ สยาม หรือ สาม มาจากบาลีลังกาอีกทอดหนึ่งมากกว่าจะคิดขึ้นเองในประเทศนี้

    แหล่งข้อมูล: BY คุณพี
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    que es esto ? donde estoy y donde me abeis metido ayuda!

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่น่าถาม

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้