Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ขันตอนการกรวดน้ำทำอย่างไรหลังจากที่ใส่บาทตอนเช้า?

ขันตอนการกรวดน้ำทำอย่างไรหลังจากที่ใส่บาทตอนเช้าจะต้องกรวดน้ำตอนกี่โ���งถื่งกี่โมงและวันละสองล้อบได้ไหมและคำกรวดน้ำควรที่จะต้องพูดว่ายังไรบ้่าง ถ้าเราได้ทำบุณโรงศพ เราจะกลับมาต้องกรวดน้ำที่บ้านได้ไหม การทำบุณรับพระอาทิตย์ควรจะต้องพูดอย่างไรและทำอย่างไร

2 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    การกรวดน้ำ หมายถึง การเทน้ำสะอาดลงดินโดยไม่ต้องเอานิ้วรอง พร้อมกับกล่าวคำอุทิศบุญที่ตนได้กระทำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แก่เจ้าเวรนายกรรม และแก่สรรพสัตว์ที่ได้รับความทุกข์อยู่ เป็นต้น การกรวดน้ำจะกระทำในขณะที่พระภิกษุกล่าวคำคาถาว่า...

    ยถา วาริวหา ปูรา ปริ ปูเรนฺติ สาครํ

    เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ

    อิจฺฉิตํ ปตฺกิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ

    สพฺเพ ปุเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา

    มณิ โชติรโส ยถา

    แปลความว่า ห้วงน้ำที่เต็ม (ย่อมไหลบ่า) ไปทำทะเลให้เต็มฉันใด ทานที่ญาติ (อุทิศ) ให้จากโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ขอความต้องการ (และ) ความปรารถนาของท่านจงสำเร็จโดยพลันเถิด ขอความดำริ (ความคิด) ทุกอย่างจงเต็มเปี่ยม (สำเร็จ) เหมือนพระจันทร์วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (ที่เต็มดวง) (และ) เหมือนแก้วมณีโชติรส (มีรัศมีรุ่งเรือง) ทำให้เจ้าของได้สมปรารถนา เมื่อพระภิกษุกล่าวคำจบลงที่คำว่า มณีโชติ รโส ยถา ต้องเทน้ำให้หมด เนื่องจากคำที่พระภิกษุจะกล่าวต่อไปเป็นคำพรที่ให้แก่ผู้ทำบุญนั้น

    [แก้ไข] ความมุ่งหมายของการกรวดน้ำ

    ความมุ่งหมายของการกรวดน้ำ มีอยู่ 3 ประการ คือ

    1. เป็นการแสดงกิริยายกให้ ของบางอย่างถ้าเป็นของใหญ่โตไม่สามารถหยิบยกให้กันได้ ก็นิยมกรวดน้ำให้กัน เช่นพระเจ้าพิมพิสารถวายวัดเวฬุวันแก่พระพุทธเจ้า ก็ใช้หลั่งน้ำลงแทนน้ำพระทัย เป���นต้น

    2. เป็นการตั้งความปรารถนา เช่น พระปรารถนานิพพาน หรือเช่นตอนพระนเรศวรตั้งความปรารถนาตัดขาดไมตรีจากพม่าก็ทรงหลั่งน้ำลงสู่พื้นดิน เป็นต้น

    3. เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย ข้อนี้เป็นข้อที่ชาวพุทธไทยนับถือกันมากว่า น้ำที่ใสบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนน้ำใจใสบริสุทธิ์ของคนเรา อาการที่หลั่งน้ำลงเปรียบเหมือนสายใจที่หลั่งไหลออกมาให้ปรากฎแก่คนทั้งหลาย การกรวดน้ำจึงเป็นนิมิตหมายแห่งน้ำใจอันบริสุทธิ์ที่ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะเป็นผู้อาวุโสกว่าหรือต่ำกว่าก็ตาม เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านเหล่านั้น

    [แก้ไข] ประวัติการกรวดน้ำ

    การกรวดน้ำนี้ได้กระทำกันมาแต่ครั้งพุทธกาล คือเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสารตามที่พระเจ้าพิมพิสารเคยทูลขอไว้ว่าถ้าได้ตรัสรู้แล้วขอจงกลับมาโปรดพระองค์ด้วย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงพระเจ้าพิมพิสารทรงปีติโสมนัสเป็นที่ยิ่ง ได้ถวายเวฬุวัน (ป่าไผ่) เป็นที่ประทับ โดยหลั่งน้ำลงสู่พื้นดินเป็นการแสดงกิริยายกให้ ต่อมาที่ประทับนี้เรียกว่า "วัดเวฬุวัน" หรือ "เวฬุวนาราม" นับเป็นวัดแรกในพระบวรพุทธศาสนา

    [แก้ไข] อานิสงส์กรวดน้ำ

    ในครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มีพราหมณ์ผู้หนึ่งอยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น มีทรัพย์สมบัติอยู่ 80 โกฎิ พราหมณ์ผู้นั้นมีบุตรชายอยู่คนหนึ่ง เป็นที่รักมากเพราะมีบุตรคนเดียว พอบุตรชายมีอายุได้ประมาณ 17 ปี ก็เกิดโรคาพยาธิมาเบียดเบียน ก็ถึงซึ่งความตายไป พราหมณ์ผู้เป็นพ่อและแม่ บังเกิดความทุกขเวทยาโทมนัสเศร้าโศกเสียใจ เพราะอาลัยรักในบุตรที่ตายไปอย่างยิ่ง จึงให้สั่งคนใช้ที่เป็นบริวาร นำเอาศพไปเผาในป่าช้าและสั่งให้ปลูกศาลาขึ้นหนึ่งหลัง มีเสื่อสาดอาสนะ แล้วจัดทาสคนหนึ่งไปคอยปฏิบัติรักษาอยู่ในป่าช้านั้น เพื่อจะได้ส่งข้าวน้ำอาหารเช้าและเย็นให้แก่ลูกชายของตนทุกๆ วันมิได้ขาด ทำเหมือนกับบุตรชายของตนมีชีวิตอยู่ ทาสผู้นั้นก็ทำตามคำสั่งอยู่เสมอมิได้ขาดเลยสักวันเดียว

    อยู่มาวันหนึ่ง บังเอิญฝนตกหนักมากน้ำก็ท่วมหนทางที่จะไปนั้น ทาสผู้นั้นจะข้ามไปก็ไม่ได้จึงกลับมาในระหว่างทางพบพระภิกษุรูปหนึ่งมาบิณฑบาตก็เลยเอาอาหารนั้นใส่บาตรให้เป็นทานแก่พระภิกษุ แล้วก็กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญนั้นส่งให้แก่ผู้ตาย ลูกชายที่ตายไปนั้นมานิมิตฝันให้พราหมณ์ผู้เป็นพ่อว่า ข้าพเจ้าได้ตายไปนานแล้วไม่เคยได้กินข้าวเลยสักวันเดียว เพิ่งจะมาได้กินข้าวแต่วันนี้วันเดียวเท่านั้น

    ครั้นพราหมณ์ผู้เป็นพ่อได้นิมิตฝันอย่างนี้ ก็ใช้ให้คนไปตามทาสผู้ไปคอยเฝ้าปฏิบัติมาไถ่ถามดู ทาสผู้นั้นก็ตอบว่าข้าพเจ้าไปส่งข้าวทุกๆ วัน แต่วันนี้ข้าพเจ้าไปไม่ได้ฝนตกหนักน้ำท่วม ก็กลับมาพบพระภิกษุรูปหนึ่งมาบิณฑบาต ข้าพเจ้าก็เลยเอาข้าวนั้นใส่บาตรแก่ภิกษุรูปนั้น แล้วอุทิศส่วนบุญนี้ไปให้บุตรของท่าน บุตรของท่านก็คงจะได้กินข้าวแต่วันนี้วันเดียวดังนี้แล ครั้นพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้วก็คิดว่าเราจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเสียก่อน จะทูลถามพระพุทธเจ้าว่าเป็นอย่างไร พราหมณ์ก็ถือดอกไม้ธูปเทียนของหอมเข้าไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้วบูชาเครื่องสักการะนั้น แล้วนั่งที่สมควรแก่ตน ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า คนหญิงชายทั้งหลายในโลกนั้น ครั้นเขาตายไปปรโลกแล้ว ผู้อยู่ภายหลังได้แต่งข้าทาสชายหญิงให้ไปปฏิบัติแล้วปลูกศาลาไว้ให้ เอาเสื่อสาดอาสนะช้างม้าวัวควายไปในป่าชั้นนั้น จะเป็นอานิสงส์แก่ผู้ภายไปนั้นหรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า

    ดูเพิ่มที่ลิงค์นะครับ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าเมตตาผมก็นึกถึงหน้าผม หรือจะนึกไปถึงพ่อแม่พี่น้องหรือเจ้ากรรมนายเวรก็ได้ คนเป็นเราก็กรวดน้ำให้ได้ครับ

    วีธีทำ

    1.ก่อนพระมาหรือก่อนใส่บาตรให้ตั่งนโม3จบ อะหังภันเต โภชะนานัง สาลีนัง ปะระสุทธัง พุทธสาวก สังฆัง ปิณฑะปาตัง โส โหตุฯ (คำถวายข้าวใส่บาตร)

    2. เมื่อพระได้ให้พรแล้วหรือกรวดน้ำเสร็จ ให้กล่าว อิทังเม ญาตินังโหตุ สุขิตาโหนตุ ญาตะโยฯ เป็นอันจบพิธีครับ

    แหล่งข้อมูล: แหล่งข้อมูลจากสมองที่นึกคิด ผิดหรือถูก ผมขอรับไว้
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้