Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2551 นั้น มีอายุในการรับใช้ในตำแหน่งนั้นกี่ปี?
เดี๋ยวนี้ สว. ทั้ง 150 คนนี้ ยังทำหน้าที่คงเดิมร่วมกับ สส. ชุดใหม่นี้หรือไม่? สว.เหล่านี้มีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถาม ซักฟอก และมีมติตามรัฐธรรมนูญในการปลดออกจากตำแหน่ง สส. รัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี ที่พบว่าทำทุจริตใช่หรือไม่? ผมอ่านจากลิ๊งค์ข้างล่างนี้ครับ แต่หาข้อมูลเพิ่มไม่พบ มีใครช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ
4 คำตอบ
- เอกLv 710 ปี ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 117 กำหนดให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการสรรหา มีกำหนดคราวละ "หกปี" นับแต่วันเลือกตั้งหรือวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหาแล้วแต่กรณี โดยสมาชิกวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้
สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดทั้งคณะ ตามมาตรา 106 (1) ถึงคราวออกตามอายุหรือ "มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร"
แต่ มาตรา 119 (1) ได้บัญญัติให้สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงเมื่อถึงคราวออกตามวาระ
แต่ ... มีบทเฉพาะกาลในมาตรา 297 บัญญัติว่า "ในวาระเริ่มแรก ให้สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา มีวาระ 3 ปี นับแต่วันเริ่มต้นสมาชิกภาพ" ทำให้สมาชิกวุฒิสภาจากการสรรหาชุดแรกของรัฐธรรมนูญนี้จำนวน 74 คน ซึ่งได้รับการสรรหามาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 มีวาระเพียง 3 ปี ครบกำหนดต้องสรรหาเข้ามาทดแทนจนครบจำนวนเดิมในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา ส่วน สว.ที่มาจากการเลือกตั้ง อยู่ต่อไปให้ครบ 6 ปี
( มิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระมาใช้บังคับกับ สว.สรรหา ในการสรรหาคราวถัดไปหลังจากวาระแรก หมายถึงวาระ 3 ปีแรก ไม่นับเป็น 1 วาระ คนเก่าสามารถได้รับการสรรหาเข้ามาต่อได้ แต่หลังจากนี้จะอยู่วาระละ 6 ปี จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินหนึ่งวาระไม่ได้ )
หน้าที่สำคัญของ ส.ว.
1. การกลั่นกรองกฎหมาย
ส.ว.มีอำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย โดยสามารถแก้ไขร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ เพื่อให้การออกกฎหมายเป็นไปด้วยความรอบคอบ รัดกุม และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
หน้าที่ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี หรือตั้งคณะกรรมาธิการไปศึกษางานด้านต่างๆ ให้มีการตรวจสอบฝ่ายบริหาร เพื่อให้มีข้อสังเกต คำแนะนำ และกระตุ้นเตือนรัฐบาล รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาล
3. การเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบ
กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ให้วุฒิสภา ทำหน้าที่เลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆโดยเฉพาะองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
4. การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
วุฒิสภามีอำนาจในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งระดับสูงทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ เป็นไปด้วยความระมัดระวัง และเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
- ?Lv 510 ปี ที่ผ่านมา
สมาชิกวุฒิสภาน่าจะอยู่ในอำนาจตุลาการ ซึ่งจะต้องทำงานควบคู่ไปกับการบริหารเพื่อรักษาความยุติธรรม เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามกฏหมาย เช่น 1. ด้านนิติบัญญัติ 2. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน 3. การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแผ่นดิน 4. พิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ ให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรต่างๆ 5. ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง สมาชิกวุฒิสภาพมีวาะดำรงค์ตำแหน่ง 6 ปี นับตั้งแต่การเลือกตั่งเมื่อหมดวาระจะต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน หากโดนกระทำหรือมีเหตุจำเป็นต้องออกก่อนกำหนด ให้เลือกภายใน 45 วัน (ช่องโหว่อะ) แต่หากเหลือเวลา 180 วัน ให้ทำตามปกติ ยังไงก็ควรจะปล่อยให้เป็นไปตามระบบ เราอาจจะมองเห็นปัญหา แต่มันก็จะถูกระบบสลายไปเอง
การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภา ดูตามลิงค์ที่ 1
แหล่งข้อมูล: http://www.senate.go.th/structure/terminate.htm - ซอสามสายLv 410 ปี ที่ผ่านมา
...เข้ามาเพื่อขอบคุณ ทั้งท่านฯผู้ถาม และท่านฯผู้ตอบ เป็นความรู้มากครับ...