Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต��� Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
"ความจริงคือสิ่งสัมพัทธ์" (Truth is Relative) มีใครอธิบายให้กระจ่างได้ไหมครับ?
ผมได้ยินถ้อยคำนี้มานาน แต่ไม่เคยเข้าใจอย่างชัดเจนว่า ทำไมผู่มีการศึกษาดีๆในสมัยนี้ จีงกล่าวอย่างนั้นและเชื่อกันอย่างนั้น ถ้าจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ในชีวิตให้เห็นชัดๆ ก็จะช่วยได้มาก ครับผม
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบครับ ถ้าเวลาเอื้ออำนาย ผมจะให้ข้อคิดสั้นๆของผม ต่อทุกท่านที่ได้ใช้เวลาเข้ามาตอบคำถามนี้ครับ ก่อนอื่น ผมขอตอบคุณ Marindacyber ในที่นี้ เพราะคงมีผู้อ่านอื่นๆที่อยากรู้ความหมายของสองคำนี้คือ "สัมพันธ์" กับ "สัมพัทธ์" ว่ามันต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไรบ้าง
ความ "สัมพันธ์" คือ ความเกี่ยวข้อง หรือความเกี่ยวโยงกัน
ความ "สัมพัทธ์" เป็นศัพย์ทางวิชาการใหม่ ที่ไม่ค่อยได้เห็นใช้กันบ่อยนัก หมายถึงความสัมพันธ์กันนั่นเอง แต่ว่า จากคนละมุมมอง เมื่อเอามาเปรียบเทียบกัน อาจมีการตั้งค่าให้กันและกัน ที่ไม่เท่ากัน จึงกลายเป็นความ "สัมพัทธ์" ไป แม้ว่าทุกอย่างที่เกี่ยวโยงกัน มี "สัมพันธภาพ" ต่อกัน
ยกตัวอย่างเช่น เวลาเกิดอุบัติเหตุที่สี่แยก พยานที่ยืนอยู่คนละทิศจะเห็นเหตุการณ์อันเดียวกัน แต่อาจจะมีคำให้การณ์ไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนก็พยายามให้การณ์ตรงตาม "ความจริง" ตามที่ตนเห็น จากจุดยืนของตน สิ่งนี้ทุกคนคงเข้าใจและรับได้ ที่รับไม่ได้คือ ถ้าพยานคนหนึ่ง มิได้กล่าวตาม "ความจริง" แต่บิดเบือนความจริง ทั้งที่เ
ขออภัยที่สะกด "คำให้การ" ข้างบนนี้ไม่ถูก แต่ส่งแล้วแก้ข้อความ (ลบ "ณ์" ออกไม่ได้)
และข้อความตอนท้าย ก็ถูกตัดหางออกไปบ้าง จึงขอเขียนต่อให้จบ
ถ้าพยานคนหนึ่ง มิได้กล่าวตาม "ความจริง" แต่บิดเบือนความจริง ทั้งที่เจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของผู้พิพากษาและลูกขุนที่ต้องพิจารณาว่า อะไรคือความจริง และอะไรคือความเท็จ เราทุกคนคือผู้พิพากษา และเราทุกคนคือ "ลูกขุน" นั้นๆ ความจริงกับความเท็จ หรือความ "คลาดเคลื่อน" จากความเป็นจริง ก็มีคุณค่าไม่เท่ากัน บางทีนักวิชาการ และคนแก่เรียน ก็มีคำพูดที่ทำให้เราฟังแล้ว "ก่งก๊ง" ไปได้ในบางกรณีเหมือนกัน จริงไม้ครับ?
*******
ขอขอบคุณ คุณ Jea ที่เป็นคนแรกที่เข้ามาตอบ ผมเห็นด้วยที่คุณเขียนว่า "ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นสิ่งสัมพัทธ์ทั้งสิ้น" รวมทั้ง "ความจริง" และขอตั้งข้อสังเกตเพื่มว่า ความจริงและความจริงจะไม่แย้งกัน แต่จะผสมผสานกันเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ว่า ความจริงและความเท็จ ความถูกต้องและความไม่ถูกต้องนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่ง "สัมพัทธ์" กันและมีค่าไม่เท่ากัน ผมเห็นด้วยที่เราไม่ควรเอามาตราฐานของเราไปข่มมาตราฐานของผู้อื่น แต่ว่า เราทุกคนก็มีสิ่งที่เรารับว่าเป็น "มาตราฐาน" ของเราเอง มิฉะนั้น เราก็ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ในชุมชนนี้ เราแต่ละคนมีมาตรฐานคล้ายกันและต่างกัน และเปรียบเทียบกันอยู่ในจิตสำนึกอยู่ตลอดเวลา เป็นทั้งความสัมพันธ์ และความสัมพัทธ์ ที่เป็นความจริง ครับผม
******
ขอขอบคุณ "คุณเมา" คำตอบของคุณอ่านแล้ว "ไม่เมา" "ไม่เซ" "ไม่ตุง" แต่ตรง ไม่คด ขอบคุณครับ
******
ขอขอบคุณ "คุณนครชัญ" ที่ชี้แจงความ "สัมพันธ์" ของคุณต่อบุคคล สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ เว้นแต่ "ทะเล" นั่นคือความจริงของคุณ ผมรับทราบ และเห็นด้วย ครับผม
******
ขอขอบคุณ "คุณกองกอย" คำตอบของคุณเป็นคำตอบที่มีคุณภาพสูง ยอดเยี่ยม ถูกจุด เข้าถึงต้นตอ และแก่นสารของกระทู้ ถ้าผมจะเลือก best answer เดี๋ยวนี้ ผมจะให้คำตอบของคุณเป็น best answer ครับ แต่ผมจะเปิดโอกาสให้ผู้อ่านทั้งหลายออกความคิดเห็น และช่วยเลือกให้ เป็นการ confirm คุณภาพอีกครั้งหนึ่ง
ข้อความของคุณที่ว่า "ไม่มีคนใดครอบครองความจริงอย่าง "สัมบูรณ์(Absulutely")" เป็นความจริงที่ท้าทายความคิดมาก แต่ว่า ข้อความนี้ ก็เป็นความจริงที่ "ไม่สัมบูรณ์" เพราะไม่มีคนใดครอบครองความจริงอย่างสัมบูรณ์ จริงไม้ครับ?
ผมเห็นด้วยกับข้อความที่ว่า "การผูกขาดความจริงต่างหากที่คอยสร้างความขัดแย้งกัน" นี่คือความจริง (สัมบูรณ์หรือไม่ ผมไม่สน ในขณะนี้) และเป็นหน้าที่ของเรา ที่ยังต้องแสวงหาความจริง และกำจัดความเท็จและสิ่งปนเปื้อนที่อาจแฝงตัวอยู่กับความจริง และทึกทักว่า นั่นหรือนี่ "เป็นความจริง" ถ้าเราเข้าถึงความจริงไม่ได้ ก็แล้วไป แต่ถ้าเข้าถึงความจริงได้ ความจริงทั้งหลาย จะไม่ขัดแย้งกัน นั่นคือความจริง (สัมบูรณ์? หรือ ไม่สัมบูรณ์?) ครับผม
******
ขอขอบคุณ "คุณชีสซี่ ปีโป้" ที่เข้ามาร่วมแจมด้วย รับทราบ และขอบคุณในความคิดเห็นของคุณ ครับผม
******
ขอขอบคุณ "คุณ raison d'etre" ที่เข้ามาตอบ และออกความเห็นครับ
เกี่ยวกับการอ่านหนังสือ ในเนื้อหาของหนังสือโดยทั่วไป คงมีความจริงมากมาย แต่ก็อาจมีความ "คลาดเคลื่อน" จากความจริง ปะปนอยู่ด้วยก็ได้ คือถ้าเรารู่ล่วงหน้าอยู่แล้วว่า อะไรคือความจริง เมื่ออ่านพบความไม่จริง เราก็ตั้งค่าของหนังสือนั้นน้อยลงในใจของเรา แต่ผู้อ่านที่ไม่มีข้อมูลแห่งความจริงนั้นๆมาก่อน ก็กลืนความไม่���ริงที่ปะปนมากับความจริงอื่นๆในหนังสือนั้นเข้าไปอย่างไม่รู้ตัว แล้วคงจะยืนยันว่า ทุกอย่างที่อ่านมานั้นเป็นความจริง (โดยไม่ต้องคำนึงถึง เครื่องกลั่นกลองต่างๆเช่น วุฒิ หรือ อารมณ์ ที่คุณได้เอ่ยถึงด้วยเลย) ด้วยเหตุนี้ การทบทวน และการพิสูจน์ความจริง ก็เป็นภาระของทุกคนที่สนใจในการแสวงหาความจริงล้วนๆ ครับผม
******
ขอขอบคุณ "คุณ Glory777" ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น ครับผม
******
ขอขอบคุณในความเห็นของ "คุณบุษบา" ครับ ขอออกความเห็นเพิ่มเติมจากที่คุณเขียนไว้ว่า "แต่มีคนหลายๆคน ชอบมีความจริงตามแบบฉบับของตนเอง หลายคนก็หลายความจริง กลายเป็นความจริงที่ไม่สัมพันธ์กัน จึงเป็นเหตุให้มีบุคคลที่สามที่เป็นคนชี้ผิด ถูก ขึ้นมา มีกันให้เห็นทั่วไปในทุกสังคม"
ผมขอยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งกล่าวว่า "ฝนตก" อีกคนหนึ่งกล่าวว่า "ฝนไม่ตก" ทั้งสองคนอาจกล่าวความจริงในมุมมองของเขา แม้จะดูเหมือนว่า "แย้งกัน" ถ้าผู้ฟังรู้ว่า คนหนึ่งอยู่กรุงเทพ อีกคนหนึ่งอยู่เชียงใหม่ ก็คงเข้าใจความจริงว่า เขาทั้งสองคงกล่าวความจริง แต่ถ้าทั้งสองคนยืนอยู่ในที่เดียวกัน ผู้ฟังคงมีปัญหา ต้องแสวงหาความจริงเพิ่ม ว่าทำไมจึงแย้งกัน? (ถ้าอยากรู้ความจริง) มิฉะนั้นก็ต้องเลือกเอาว่าจะเชื่อใคร และเพราะเหตุใด ครับผม
10 คำตอบ
- กองกอยLv 49 ปี ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ไม่ได้ยิ่งใหญ่เพราะสมการ อี เท่ากับ เอ็มซี กำลังสอง
แต่ยิ่งใหญ่ ดังคำถามที่ท่านถาม ครับ
"ความจริงคือสิ่งสัมพัทธ์"
คนที่กำลังเดินอยู่บนโลกย่อมเห็นว่าเขากำลังเคลื่อนที่ และโลกอยู่นิ่งๆ
แต่ ขณะที่คนอยู่ในอวกาศนอกโลก ย่อมมองเห็นว่าโลกต่างหากที่กำลังหมุน
เห็นได้ว่าคนทั้งสองนี้ ไม่มีคนใดครอบครองความจริงอย่าง "สัมบูรณ์(Absulutely")
เช่นนี้แล้ว..ความจริงอาจมีหลายด้าน และการยินดีรับฟังความจริงที่หลากหลาย
จึงเป็น "ภราดรภาพ" อย่างแท้จริง และเป็นสิ่ง "สากล" อย่างยิ่ง
แต่..การผูกขาดความจริงต่างหากที่คอยสร้างความขัดแย้งกัน
ยกตัวอย่างเรื่อง "น้ำ" วิกฤตที่ผ่านมา ไม่ต้องถึงขนาดบนโลกกับนอกโลก
เอาแค่ ในเมือง(กรุงเทพฯ) กับนอกแนวกั้นน้ำ..
ภาคเกษตร กับ ภาคอุตสาหกรรม
และรวมถึง คนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยอีกหลากหลาย
จะ "เอาอยู่" จริง จำเป็นต้องมีความจริงที่หลากหลายด้วย
ตัวอย่าง "การเมือง" ที่มีความขัดแย้งสูง ���ะดับที่โหรทุกสำนักกล่าวตรงกันว่า
"หลั่งเลือด"
สังเกตุเถิดครับ มักมาจากมีผู้ยึดเอาความจริงเดี่ยวๆ ไว้กับตัว
ส่วนความจริงของผู้อื่น กลายเป็นสิ่งที่ต้อง "ทำลาย"
แม้แต่ในสังคมรู้รอบของเรา ก็มีพบเห็นเป็นประจำ
ที่จริงไอสไตน์ ได้กล่าวถึงเรื่องศาสนาเอาไว้ด้วย
เป็นปัจฉิมลิขิต ช่วงท้ายของชีวิต แต่ผมไม่ขอยกมากล่าวในที่นี้
ซึ่งท่านที่ผ่านไปมา สามารถหาอ่านได้ตาม เวป ทั่วไปได้โดยง่าย
แด่..อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฏีสัมพันธภาพ
- ?Lv 59 ปี ที่ผ่านมา
ผมเคนได้ยินว่า ความจริงคือสิ่งไม่ตาย แต่คนพูดหรือรู้ความจริงนี่สิจะตาย สัมพัทธ์น่าจะเป็นคำที่สวยหรูสำหรับบอกว่าตนเองมีการศึกษาที่ดีกว่าคนอื่นจึงใช้คำนี้ ถามว่ามันเอาไปทำอะไรได้ถ้ามันเกิดไม่จริงขึ้นมา ครับ
- ?Lv 49 ปี ที่ผ่านมา
รู้สึกยินดีมากที่ได้ตอบคำถามของพีชาติชาย โดยมีความนับถือส่วนตัวรวมทั้งพี่เซอร์ภพ พี่ชรา..
ความเชื่อจากคำพูดดังกล่าว ยกตัวอย่างได้ง่าย เช่น การคิดดีทำดีย่อมสัมพันธ์ไปเข้าหาคนดี ๆ
แม้มีชั่วปะปนแทรกแซงเข้ามา สิ่งสัมพันธ์ดังกล่าวมันจะสร้างกำแพงปฏิเสธอัตโนมัติขึ้นมาทันที
ความจริงเป็นสิ่งสัมพันธ์ เช่น คนเราเกิดมาแล้วต้องยืนอยู่กับสัมพันธ์บนพื้นดินได้ โดยมีอาหาร
น้ำเป็นตัวหล่อเลี้ยงสัมพันธ์กับการมีชีวิตอยู่ต่อไป สัมพันธ์จากดึงอากาศอ๊อกซิเจนเข้าสู่สังขาร
สัมพันธ์จากการสวมเสื้อผ้าให้ร่างกายมีความอบอุ่นและไม่ให้อุจาดแก่สายตาของผู้คนที่พบเห็น
คนสร้างสัมพันธ์ใหม่ ๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตของเราอยู่ทุกวี่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของหรือ
จากสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีทั้งเพื่อนร่วมโลก เพื่อนต่างมิติ มีทั้งรูปร่างมนุษย์ต่างดาว และไม่มีรูปร่าง
คือโลกแห่งวิญญาณ ความสัมพันธ์เกิดได้กับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจนถึงสิ่งที่อยู่ไกลตัวจนลับสายตา
ด้วยความจริงคือสิ่งสัมพันธ์ที่เราไม่รู้อีกสิ่งหนึ่งก็คือ ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจนทำให้เกิดน้ำท่วม
คนมักเรียกเล่นจนติดปาก คือคำว่า "น้องน้ำ" อยากถามว่า "พระแม่คงคา" เป็นน้องของคน
ตั้งแต่เมื่อไหร่ ภัยธรรมชาติที่รุนแรงย่อมก่อเกิดสัมพันธ์รอบข้างให้ได้รับผลกระทบไปด้วย
แม้สายน้ำที่ไหลเชี่ยวมิปรารถนาจะอยากพัดพาชีวิตของสัตว์น้อยใหญ่ไปด้วย แต่ก็ไม่อาจ
จะทัดทานห้ามปรามสู้แรงธรรมชาติที่รุนแรงไว้ได้ สัมพันธ์นี้จึงได้รับผลไปหมดทุกฝ่าย
อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ชีวิตส่วนตัวตั้งแต่เล็กจนโต จะไม่ชอบไปเที่ยวทะเล เพราะทะเลจะเต็มไปด้วยสัมพันธ์เก่า
ที่โหยหวลร้องไห้สะอื้นอยู่ตลอดไม่ขาดสายทุกราตรีกาล มันเป็นความจริงคือสิ่งสัมพันธ์
ชีวิตของผู้คนไว้มากมายนับไม่ถ้วน ดำเนินต่อไปอย่างช้า ๆ เนิ่นนาน และต้องสัมพันธ์กัน
ต่อไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น นั่นคือความทุกข์ทรมานและความหนาวเหน็บของเหล่าวิญญาณ
แหล่งข้อมูล: บุญคุ้มหัว - ?Lv 49 ปี ที่ผ่านมา
ทุกอย่างในโลกล้วนเป็นสิ่งสัมพัทธ์ทั้งสิ้น คนเราส่วนใหญ่้มักตัดสินคนว่าดีหรือเลวก็มาจากความคิดว่าคนนั้นดี คนนี้เลว คิดว่ารวยหรือจนก็ล้วนแล้วมาจากความคิดทั้งสิ้น ถ้าคนเราไม่ได้เอามาตรฐานของตัวเองเป็นที่ตั้งว่า คนนี้ดีหรือเลว หรือว่าอะไรที่คิดว่ารวยหรือจน โลกนี้ก็คงไม่วุ่นวายสับสน
เพราะทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีค่าในตัวของมันเอง อย่างเช่นคนก็มีอายุไม่น่าจะเกิน 100 หรือ 120 ปี ก็ต้องจากโลกนี้ไป คงไม่มีใครจะอยู่ค้ำฟ้า แล้วทำไมเต่าถึงมีอายุยืนยาวกว่าคนเล่า แล้วเมื่อเต่ามีอายุยืนกว่าคน เต่ามีค่ามากกว่าคนหรือไม่ วงจรชีวิตของเต่าก็มีคุณค่าเช่นเต่า คงตัดสินไม่ได้ว่าจะมีค่าไปมากกว่าคน แล้วลองหันกลับมามองคนสิ อายุสั้นมากกว่าเต่าหนึ่งตัวมากนัก แต่เราก็ไม่อาจพูดไ้ด้ว่าคนช่างไร้ค่าเหลือเกิน
แล้วเราลองเปรียบเทียบคนกับสุนัขสิ อายุขัยของสุนัข 12-14 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับคนแล้วช่างอายุสั้นเหลือเกิน แต่อายุของสุนัขเมื่อเปรียบเทียบกับคนแล้วมันต่างกันตรงไหน 14 ปีของสุนัขเทียบกับคนแล้วก็เท่ากับชีวิตคน 1 ชีวิต ไม่เกิน 100 ปี
แล้วเราจะตัดสินใจให้อะไรมีค่ามากน้อยกว่ากัน ทุกสิ่งในโลกล้วนมีค่าในตัวของมันเอง ไม่ว่าจะเป็นงู ไก่ นก หนู มนุษย์ ล้วนแล้วแต่มีคุณค่าในตัวของมันเอง
เราไม่สามารถไปตัดสินใครหรืออะไรว่าดีกว่า เลวกว่า แย่กว่า สวยกว่า ดีกว่าได้หรอกคะ แพงกว่า ถูกกว่า อย่าเอาตัวเองเป็นบันทัดฐานไปตัดสินใครว่าดีหรือเลว แพงกว่า ถูกกว่า อายุยืนกว่า หรือสั้นกว่า เพราะทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสัมพัทธ์ทั้งสิ้น
แค่ดูแลตัวเองไม่ให้ไปเบียดเบียนใคร ดูหมิ่นเหยียดหยามหรือตัดสินใครหรืออะไรตามใจของตนเป็นพอคะ
- ไม่ประสงค์ออกนาม9 ปี ที่ผ่านมา
เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองคือการลงมือทดสอบ ไปใช้ชีวิตกับมันให้เห็นว่าเราไม่ได้คิดไปเอง เหมือนกับการที่เราจะทำอาหารขายออกมาแล้วถูกใจคนทานหรือไม่ก็ต้องลองชิมเอง แล้วให้คนอื่นชิม เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองจึงจะประมาณได้ จึงจะพัฒนาได้ค่ะ
- 9 ปี ที่ผ่านมา
ผมยังงงๆ กับคำว่าสัมพัทธ์อยู่เลย
ลองหาความหมายระหว่าง สัมพันธ์ กับ สัมพัทธ์ แล้วก็เริ่มจะเข้าใจมากขึ้นหน่อย.
- cloud 9Lv 69 ปี ที่ผ่านมา
ตราบใดที่การรับรู้"ความจริง"ของเรา ยังผ่านเครื่องกรอง เช่น อารมณ์ ระดับความตั้งใจ(หรือไม่ตั้งใจ) อคติร้อยแปด ที่มีต่อสิ่งที่เราเห็น เราได้ยิน เราได้กลิ่น เราลิ้มรส เราสัมผัส หรือรับรู้ในระดับจิตใจ "ความจริง"ระดับนั้น ยังคงไม่ใช่ "ความเป็นจริง" เปรียบง่ายที่สุด คงต้องใช้นิทานตาบอดคลำช้าง แม้เราจะรู้อยู่แก่ใจดีว่า เราไม่ได้พิการอะไร แต่จะมีซักกี่ครั้งในชีวิตกัน ที่เราเป็นกลางอย่างบริสุทธิ์ และสามารถรับรู้เรื่องราวตรงหน้าได้โดยไม่เอาตัวเข้าไปพัวพันตัดสิน
แล้วมันสัมพัทธ์อะไรตรงไหน มันสัมพัทธ์เพราะมันยังไม่สัมบูรณ์กระมัง
อีกตัวอย่างที่ขอยก สำหรับผู้ที่รักการอ่าน หนังสือเล่มเดียวกัน แต่อ่านในวัยต่างกัน แม้คนอ่านเป็นคนคนเดียวกัน เรื่องราวที่เราได้จากหนังสือ ยังต่างออกไปจากเดิม
ถ้าไม่สัมพัทธ์ ก็ต้องสัมบูรณ์ หนังสือเล่มเดียว จะอ่านกี่รอบ จะเป็นวัยไหน ก็ต้องได้ข้อมูลเหมือนเดิมทั้งสิ้น
รายละเอียดต่อเติม
ความจริง เช่น ถ้าส่วนใหญ่ แต่ละวัน คุณชายชาติตื่นนอนหกโมงเช้า แต่อยู่ดีดี เช้าวันนี้ เกิดรู้สึกตัวขึ้นมาตอนตีห้า แล้วไม่ง่วงอีกเลย คุณชายชาติก็จะรู้สึกว่า วันนี้เราตื่นเช้าจัง ถ้าเรามาพิจารณาประโยคนี้ว่าเป็นความจริงแบบสัมพัทธ์ ที่รู้สึกว่า"เช้าจัง" เพราะตีห้า ถือว่า "เช้ากว่า" หกโมงเช้า แต่ถ้าเราเอาเช้าตีห้า ไปเปรียบเทียบกับการลั่นระฆังของวัดป่าหลายแห่งที่ลั่นปลุกพระกันตอนตีสาม ตีห้าจะเป็น"เช้ากว่า"ที่หมดความหมายไป
หรือนิทานอีกเรื่อง ที่ชายคนหนึ่งรู้สึกว่าบ้านที่เค้าอยู่มันเล็กคับแคบ แต่พอค่อย ๆ เพ่ิมสมาชิกเข้าไปอยู่ในบ้าน เยอะขึ้น ๆ ๆ ซักพัก แล้ววันนึง ก็เอาสมาชิกทั้งหลายออกไป ชายคนเดิมกับบ้านหลังเดิม กลับเพิ่มความรู้สึกใหม่ขึ้นมาว่า เอ้อ บ้านหลังนี้ มีที่ว่างเยอะจัง
ดังนั้น ในการมุ่งเสาะแสวงหาความจริง"ล้วน" นั้น เราก็ต้องพัฒนาประสิทธิภาพการรับรู้ของเราเอง รับรู้อย่างรู้ตัว มีสติ เมื่อเกิดความคิดใด ๆ ขึ้นในขณะรับรู้ เรารู้ตัว แยกแยะได้ ความจริ���แท้ ก็จะปรากฏ
- 6 ปี ที่ผ่านมา
ความจริงสัมพัทธ์ หรือ Relative Truth
วันนี้ได้มีโอกาสคุยกับน้าที่บ้านเรื่องความจริงสัมพัทธ์หรือ (Relative truth) รู้สึกว่าจริงๆชีวิตมันก็แค่เป็นของมันอย่างนั้น ไม่ได้ดีไม่ได้ไม่ดี จนหรือรวย สวยหรือน่าเกรียด ไม่ได้ถูกหรือผิดแต่อย่างไร สิ่งคู่หลายที่นี้มันเป็นความจริงที่ไม่มีแก่นสารโดยแท้จริง เหมือนม่านที่มาบังตาเราระหว่างสิ่งที่เราคิดว่าโลกเป็นกับสิ่งที่โลกเป็นจริงๆ
ยกตัวอย่างเช่นเรายืนอยู่ข้างนอก เราก็รู้สึกว่าอากาศร้อน แต่เมื่อเราเขาไปห้องที่มีแอร์เราก็ว่า เย็น แต่ถ้าเราสมมุติว่าถ้าเราเดินออกไปจากห้องไปที่ขั้วโลกเหนือที่มีอากาศเย็นกว่าในห้อง เมื่อเรากลับมาในห้องอีกทีเราก็จะว่าห้องมัน ร้อน แล้วตกลงห้องมันร้อนหรือมันเย็น ในความจริงแล้ว ห้องมันก็ไม่ได้เย็นหรือร้อนมันก็แค่เป็นของมันอยู่อย่างนั้น มีแต่เราเท่านั้นที่เอาความแตกต่างไปว่าว่าเป็นความจริงของห้อง ว่ามันเย็นหรือร้อน ห้องมันไม่ได้เย็นหรือร้อน มันก็แค่เป็นของมัน เช่นเดียวกับชีวิตเรานี้ เราเองก็ไม่ได้ดีหรือเลว ดีหรือชัว สวยหรือขี่เห่ร์แต่อย่างไร
ในโลกจําลองที่มีแต่เราคนเดียวในโลก เราไม่มีวันรู้ได้ว่าเราเป็นอะไร เราก็เป็นอย่างนั้นแหละ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราสูงหรือเตี้ย ดีหรือชั่ว เพราะมันไม่มีใครที่จะมาเปรียบเทียบเพื่อจะได้มาเพื่อความจริสัพพัทธ์นั้นที่เกิดมาจากความเปรียบเทียบเท่านั้นทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับว่าเราจะไปเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับสิ่งใด เราว่าว่าเราโง่ แต่เวลาเราไปวัดกับคนที่แย่กว่า อยู่ดีๆเราก็ดู ฉลาด แต่เมื่อเราไม่เจอคนที่ฉลาดกว่าเรา เราก็กล้ายเป็นคนโง่อย่างนั้นหรอ
ดังนั้นสิ่งที่อยากจะฝากให้ทุกคนก็คือในที่สุดแล้วเราก็เป็นอย่างที่เราเป็��นั้นแหละ ไม่ต้องไปคิดหรือไปเอาความจริงของความแตกต่างที่ปลิ้นปล้อนหลอกลวงมาบอกตัวเองว่าเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันไม่จบ มันหาความดีไม่เจอ มันหาความไม่ดีไม่เจอ เพราะมันไม่ได้มีอยู่แล้ว เราก็เป็นอย่างนี้แหละ อะไรไม่รู้ แต่เป็นอย่างนี้แหละ ไม่ต้องไปให้คําพูดอะไรกับมัน
- 9 ปี ที่ผ่านมา
ความจริง สิ่งสัมพันธ์ สัจธรรม ?
ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมีความสัมพันธ์กันและกัน มันมีเหตุที่สัมพันธ์กับผลอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว
เช่น ปลูกแตงโม ก็ย่อมได้แตงโม
แต่มีคนหลายๆคน ชอบมีความจริงตามแบบฉบับของตนเอง หลายคนก็หลายความจริง กลายเป็นความจริงที่ไม่สัมพันธ์กัน จึงเป็นเหตุให้มีบุคคลที่สามที่เป็นคนชี้ผิด ถูก ขึ้นมา มีกันให้เห็นทั่วไปในทุกสังคม
แต่วามจริงที่สัมพันธ์กัน ทั้งมีเหตุ ผลสำหรับทุกคนในโลก และสิ่งมีชีวิตต่างๆที่ไม่อาจปฎิเสธได้คือ สัจจธรรม ซึ่งเป็นความจริงที่สัมพันธ์กัน โดยไม่ต้องมีผู้ใดบัญญัติขึ้น