Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ช่วยให้คำจำกัดความของคำว่าพูดเพ้อเจ้อ?

นึกถึงคำสอนพุทธองค์ที่มิให้พูดเท็จ ส่อเสียด หยาบคาย เพ้อเจ้อ

แล้วเพ้อเจ้อมีข้อเสียอย่างไร จึงทรงห้าม

7 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 9 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    พูดโดยไร้สติ ไม่ไตร่ตรองก่อน ว่าที่พูดไปนั้นจะสร้างความเสียหายแก่ตนเอง

    หรือแก่ใครบ้าง

    การพูดเช่นนี้ จึงทำให้ตนเองและคนอื่น ได้รับความลำบาก พระพุทธองค์จึงทรง

    ให้พึงสังวรณ์เอาไว้

    ผลเสียที่จะตามมานอกเหนือจากนี้คือ

    1 ขาดการเชื่อถือจากคนทั่วไป

    2 ทำให้เกิดอาการเป็นโรคประสาทได้ง่าย

    3 นรกเป็นที่หมายในเบื้องหน้า

    4 ตัดอรหันต์ นิพพานในชาตินั้น

    แหล่งข้อมูล: http://www.watpabankor.com/webboard/ ศึกษาธรรมะต่อ ได้ที่นี่ครับ
  • ?
    Lv 7
    9 ปี ที่ผ่านมา

    อาจจะตอบได้ไม่ตรงกับ " คำถาม " เท่าไหร่ ? นักน่ะค่ะ

    *** องค์ประกอบของสัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นสาระ) ***

    ๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นสาระ)

    สัมผัปปลาปะ คือการพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไม่เป็นสาระ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บทคือ

    สมฺผ แปลความว่า ทำลายประโยชน์ และความสุข

    ปลาป แปลความว่า การกล่าววาจา

    เมื่อรวมกันแล้วเป็น สมฺผปฺปลาป แปลความว่า การกล่าววาจา ทีทำลายประโยชน์ และความสุข ดังมีวจนัตถะว่า

    สํหิตสุขํ ผลติ วินาเสตีติ - สมฺผํ

    "วาจาอันใด ย่อมทำลายประโยชน์ และความสุขต่างๆ วาจานั้นชื่อว่า สัมผะ"

    สผฺผํ ปลปนฺติ เอเตนาติ - สมฺผปฺปลาโป

    "การกล่าววาจาที่ทำลายประโยชน์ และความสุขต่างๆด้วยเจตนานั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าววาจานั้น ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ"

    การกล่าววาจาที่เป็น สัมผัปปลาปะ จึงหมายถึง การกล่าวเรื่องราวต่างๆอันหาสาระประโยชน์ไม่ได้ เช่น การเรื่องภาพยนต์ โขน ละคร หรือพูดจาตลก คะนอง ตลอดจนนักเขียนนวนิยาย จินตกวี เหล่านี้ จิตเป็นสัมผัปปลาปะทั้งสิ้น เพราะผู้ฟังก็ดี ผู้อ่านก็ดี มิได้รับประโยชน์ให้เกิดปัญญา แก้ทุกข์ในชีวิตลงได้ เพียงแต่ให้จิตใจเพลิดเพลินไปชั่วครั้งชั่วคราว เท่าที่ฟังหรืออ่านอยู่เท่านั้น

    องค์ประกอบของ สัมผัปปลาปะ มี ๒ ประการ

    ๑.นรตฺถกถาปุรกฺขาโร เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์

    ๒. กถนํ กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์นั้น

    องค์ธรรมของ สัมผัปปลาปะนี้ จึงสำคัญที่อกุศลเจตนา ที่เป็นเหตุแห่งการกล่าว สัมผัปปลาปะ ส่วนถ้อยคำที่กล่าวขึ้นเป็นผลของสัมผัปปลาปะเจตนานั่นเอง มีวจนัตถะเกี่ยวกับสัมผัปปลาปะ แสดงไว้ว่า

    สมฺผสฺส นิรตฺกถา ปุรตา กถนํ ทุเว

    ปเรน คหิเตเยว โหติ กมฺมปโถ น โน

    แปลความว่า องค์ทั้ง ๒ ของสัมผัปปลาปะนั้น คือเจตนากล่าววาจา ที่ไม่มีประโยชน์อย่างหนึ่ง กล่าววาจานั้นขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อผู้ฟัง หรือผู้อ่าน เชื่อคำกล่าวนั้น ก็สำเร็จเป็นกรรมบท แต่ถ้าผู้อ่าน หรือผู้ฟังไม่เชื่อตาม ก็ไม่สำเร็จเป็นกรรมบท เพียงเป็นแต่เป็นสัมผัปปลาปะเท่านั้น

    (คัดจาก หนังสือพระอภิธรรมมัตถสังคหะ)

    แหล่งข้อมูล: ชมข้อมูลได้ ตา " ลิ้งค์ " ที่แนบมาน่ะค่ะ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=91115
  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    ครึ ครึ ครึ ในอกุศลกรรมบท 10

    ข้อ 4,5,6,7 แยกข้อการพูดกอปรด้วย การพูดเท็จ(มุสาวาท) พูดส่อเสียด(ปิสุณวาจา) พูดคำหยาบ(ผรุสวาจา) และพูดเพ้อเจ้อ(สัมผัปปลาป) ตามลำดับ

    สำหรับกรรมจากการพูดเพ้อเจ้อ 4 ประการก็กอปรด้à¸��ยประการฉะนี้

    1 ) เป็นอธรรมวาทบุคคล หรือเป็นผู้ที่ถูกกล่าวหา

    2 ) ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน

    3 ) ไม่มีอำนาจ และ

    4 ) วิกลจริต

    ส่วนคำนิยามก็มีอยู่ในตัวอยู่แล้ว หมายถึงการฟุ่มเฟือยไร้สาระน้ำท่วมทุ่งฯอะไรปานนั้นแหละ(ฮา) ยิ่งเราไปจำกัดคำในข้อความ ก็คล้ายทำเรื่องไม่เป็นเรื่องให้เป็นเรื่องขึ้นมา คล้ายสอนเด็กว่าอย่าทำ เด็กก็จะสงสัยอยู่เรื่อยไป เฉก อย่าเล่นไฟมันร้อน เด็กต้องจับเสียก่อนจึงจะรู้ว่าความร้อนเป็นเฉกใด(ฮา)

    พูดเพ้อเจ้อก็เหมือนกัน เมื่อผลเกิดอาจเป็นข้อ 1 หรือข้ออื่นๆ เกิดระลึกได้ ก็จะเลิกไปเอง

    ที่เห็นเด่นชัดมากคือคนที่ชอบพูดเท็จ ปากจะมีกลิ่นเหม็นมาก ถึงตอนนั้นคำจำกัดความคงไม่จำเป็นแล้วมั๊ง(ฮา)

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    "พูดในสิ่งที่ไร้สาระ หรือไม่มีวันเป็นความจริง"

    http://larndham.org/index.php?/topic/19797-%E0%B8%...

    แหล่งข้อมูล: หาจากGoogle ค่ะ ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ไปด้วย ขอบคุณค่ะ
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    9 ปี ที่ผ่านมา

    พูดไปเรื่อยเปื่อย หาสาระประโยชน์กับสิ่งที่พูดไม่ได้

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    พูดจาไร้สาระ ไม่มีเหตุผล ไม่เป็นจริง(เรื่องโกหก) ลมๆแล้งๆ(ไม่มีแผนการณ์มาสนับสนุนว่าจะจริง)

    ยกตัวอย่างเช่น การพูดเล่นตลกของนักแสดงตลกเป็นต้น

    ข้อเสียคือ ไม่มีใครเชื่อถือคำพูดของตน

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    ความเพ้อเจ้อ อาจมีมุมความจริงแฝงอยู่บ้าง ถ้าคนฟังแยกออก

    พูดเพ้อเจ้อ สร้างความไม่มั่นใจให้กับผู้ฟัง (หูไม่ถึง) ได้ จึงมอง

    เป็นเรื่องไร้ค่า ไร้ความหมายที่สื่อออกมา

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้