Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

คุณว่าเวรกรรมมีจริงหรือ?

บางคนเช��่อว่าตายแล้วสูญ ผู้ถามก็สงสัยว่าถ้ามันจริงก็ไม่ต้องทำบุญทำกุศลให้ลำบาก

อยากทำเลวรากอะไรก็จบแค่ชาตินี้ อยากปั่นหัวคนให้แตกคอ อยากทำ****ตำบอนอะไรก็ทำไป

แต่ส่วนตัวไม่เห็นด้วยว่าตายแล้วสูญ

จึงอยากได้ความเห็นที่จะสนับสนุนความคิดว่าเวรกรรมมีจริง

อย่าคิดว่าโลกหน้าไม่มีจริง หรือตายแล้วสูญต่างหากที่ถูกต้อง

11 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 9 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    สวัสดีค่ะ น้าเหน่ง เก่งทุกอย่าง แต่วันนี้มีปัญหาคาอก เอ้ย! ไม่ใช่ คาใจเรื่องเวรกรรมซะงั้น

    ส่วนตัวหนมผิงเชื่อเรื่องเวรกรรมมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    ข้อมูลสนับสนุนไม่ต้องไปสืบค้นจากงานวิจัยเล่มใด ๆ ในโลก พิสูจน์ทราบด้วยตัวของเราเองค่ะ

    ทำกรรมดี จิตใจรู้สึกอิ่มเอม เป็นสุข ไม่ร้อนรุ่มกลุ้มใจ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า คนทำกรรมดีก็สามารถมีความสุขจากการทำดีได้ทันที

    ทำกรรมชั่ว จิตใจร้อนรุ่ม เป็นทุกข์ จะลุก นั่ง เดิน ยืน นอน หาความสุขไม่ได้ ได้รับความทุกข์ทันทีที่ทำกรรมชั่วเช่นเดียวกัน

    การได้รับความทุกข์/ความสุข ที่เข้ามาในหลากหลายรูปแบบ นั่น กฺ็คือ ผลของกรรม อย่างไรเล่า.....อย่างนี้แล้ว จึงขอสรุปแบบไม่ต้องใช้เอกสารอ้างอิงว่า "เวรกรรมมีจริง" คอนเฟิร์ม ค่ะ..... ^_^

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    ศาสนาพุทธ สอนให้คนเชื่อเรื่องของกรรม 2 ประเภท คือกรรมดี และกรรมชั่ว

    ใครทำกรรมส่วนใด ก็ได้รับผลกรรมนั้น จะเร็วหรือช้า ก็อยู่ที่ตนเองกำลัง

    เสวยกรรมตัวใดอยู่

    "กรรม" เมื่อกระทำแล้ว ไม่สามารถแก้กรรมด้วยวิธีการใดๆทั้งสิ้น

    เปรียบเสมือนข้าวสารที่หุงเป็นข้าวสุกแล้ว ไม่สามารถทำข้าวสุกกลับเป็นข้าวสารได้

    ฉันใด กรรมก็เป็นเช่นนั้น

    คนที่ทำพิธีแก้กรรม จึงเป็นผู้ที่หลงผิด แม้พระที่ทำการแก้กรรมให้ ที่หมายของพระ

    องค์นั้นก็คือ"นรก" เพราะชี้ทางให้คนหลงผิด พระพุทธองค์ไม่ได้สอนเรื่องแก้กรรม

    เพราะกรรมที่กระทำแล้ว แก้ไม่ได้

    ถ้ากรรมแก้ได้ เราคงยืมเงินกันแล้วโกงเลย ไม่ต้องใช้ แล้วไปทำสังฆทานหรือทำพิธี

    แก้กรรม เมื่อทำพิธีแก้กรรมแล้ว แสดงว่าพ้นกรรมนั้น ก็ไม่ต้องชดใช้เงิน ถ้าท่านเป็น

    เจ้าหนี้ จะเอาไหมล่ะ

    ส่วนเรื่องของบุคคลที่จะเชื่อไม่เชื่อเรื่องกรรม ก็ปล่อยไปตามกรรมของเขา เพราะเขาทำบุญ

    มาน้อย จึงไม่ได้รับผลของกรรมดี จึงไม่เชื่อเรื่องของกรรม พระพุทธองค์จึงทรงแยกมนุษย์

    ออกเป็นบัวสี่เหล่า ซึ่งเหล่าสุดท้ายที่ไม่เชื่อเรื่องของกรรม เรื่องชาตินี้ ชาติหน้า เรียกว่า

    เป็นพวกปทปรม(ปะทะปะระมะ) ปล่อยเป็นอาหารปู ปลา เต่า และสัตว์น้ำ แม้แต่พระพุทธเจ้า

    ยังไม่ทรงสอนคนจำพวกนี้ ดังนั้นพวกเราก็ไม่ต้องไปสนใจคนประเภทนี้ ปล่อยไปตามวาระ

    ของกรรมของเขา

    ทุกวันนี้ เรายังมีวันนี้ เมื่อวานนี้ และวันพรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนก่อน เดือนหน้า ปีนี้ ปีก่อน ปีหน้า

    ก็น่าจะมี ชาตินี้ ชาติก่อน และชาติหน้า

    คนระลึกชาติได้ มีเยอะแยะ หาอ่านเอาได้ทั่วไป

    แหล่งข้อมูล: http://www.watpabankor.com/webboard/ แล้วอย่าลืมทำบุญล่ะ มัวแต่หลงแก้กรรมกันอยู่ 5 5 5...
  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    กรรม คือการกระทำที่ประกอบไปด้วยเจตนา หรือ ความจงใจให้เกิดให้ทำ

    กรรมจึงเปรียบเหมือนการขุดหลุมพรางเพื่อดักคนชั่วให้ตกลงไปตาย อาจ

    เกิดขึ้นได้จากการดักตนเอง หรือ อาจถูกผู้อื่นกระทำดักไว้ แล้วเราเกิดความ

    ประมาทเดินไปเหยียบกับดักหลุมนั้น อย่างไม่ทันระวังเนื้อระวังตัว

    การทำดีคือสุขใจ การทำชั่วคือทุกข์ใจ เป็นสิ่งตอบแทนของผู้กระทำ

    ผู้กระทำฝ่ายกุศลย่อมส่งจิตไปสู่คติที่ดี ผู้กระทำอกุศลก็ย่อมส่งจิตไปสู่คติที่เลว

    @โลกคือหมู่สัตว์ อันชรานำเข้าไปใกล้ความตาย ไม่ยั่งยืน

    @โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่ในตนเอง

    @โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป

    @โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสของตัณหา

    โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตนเอง ย่อมเบียดเบียนคนใจเลวได้ทุกเวลา

    ให้มีความร้อนรุ่ม ระส่ำระส่าย กิน เดิน ยืน นั่ง นอน หลับไม่สบาย

    ปรากฎได้เพียงไม่มีความสุขใจ สนับสนุนความดีของใครไม่ได้ คัดค้าน

    คอยตัดรอนการทำดีของคนอื่น ไม่เชื่อเรื่องโลกนี้โลกหน้า

    เมื่อบรรพบุรุษปลูกสิ่งใดไว้ ลูกหลานจึงได้รับผลแห่งสิ่งนั้น นั่นก็คือ

    กรรมทางทาญาติ ที่เพาะบ่มอยู่ในเลือดเนื้อของหัวใจที่ยังดิ้นได้อยู่

    ที่เราเรียกเหมือนกันว่า "สายเลือดก้อนเดียว" ที่มีส่วนประกอบไป

    ด้วยเวรกรรมที่คอยสนองอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะหาไม่ในภพนั้นๆ

    จากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่ง จนกว่าจะถึงซึ่งปราศจากภพภูมิชาติ

    กำเนิดตลอดกาลนาน ทำดีมีสิ่งให้เห็นผล ทำชั่วจึงปะปนชั่วให้

    ยืนยัน..เวรกรรมมีจริง

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    .

    วันที่ พฤหัสบดี มีนาคม 2555

    พิมพ์หน้านี้ | ดูบล๊อกอื่นๆ ที่ OKnation

    นรกหรือสวรรค์...อยู่ที่ท่าทีของชาวพุทธเราเอง

    เขียนถึงเรื่อง “นรก-สวรรค์” ในแง่คิดของพุทธศาสนาเมื่อตอนที่แล้ว, ก็ทำให้คิดถึงใครที่เคยพูดไว้ว่า

    “ใคร ๆ ก็อยากจะไปสวรรค์, แต่ไม่มีใครอยากตายก่อน...”

    เออ, ถ้าไม่ยอมตายแล้วจะไปสวรรค์ได้อย่างไร?

    เหตุก็เป็นเพราะมนุษย์เรานั้นอยากได้อะไรโดยไม่ต้องลงทุน, ไม่ต้องเสี่ยงและไม่ต้องเหนื่อย

    ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น, เรื่องนรก-สวรรค์น่าสนใจตรงที่ว่าคนเราใช้ทั้งชีวิตเพื่อจะได้ไปสวรรค์หลังตาย, แต่พอถามว่าพร้อมจะไปสวรรค์แล้วหรือยัง, คำตอบคือไม่เอา, เพราะการไปสวรรค์หมายถึงการต้องตายก่อน

    ผมเล่าให้ฟังในตอนก่อนว่าท่านอาจารย์พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ได้เคยอธิบายให้พุทธศาสนิกชนที่สนใจว่านรกกับสวรรค์ในความหมายของพุทธศาสนาเป็นเช่นไร

    สรุปสั้น ๆ ว่าสวรรค์ไม่ใช่จุดหมายของพระพุทธศาสนา แต่พระพุทธศาสนาบอกว่ามีสิ่งที่สูงกว่านั้น สิ่งที่สำคัญกว่า “สวรรค์” คือ “นิพพาน”

    และที่สำคัญคือ “ท่าที” ของพุทธศาสนาต่อเรื่องนรก-สวรรค์ซึ่งท่านบอกว่า “การวางท่าทีสำคัญกว่าคำถามที่ว่าสวรรค์กับนครมีจริงหรือไม่...”

    การวางท่าทีที่จะปฏิบัติของชาวพุทธในเรื่องนรก-สวรรค์คืออย่างไร?

    ท่านอาจารย์บอกว่าจะต้องมีปัจจัยดังต่อไปนี้

    ๑. ต้องมีศรัทธา

    ท่านบอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้มีปัญญามาก เท่าที่แสดงออกเป็นคำสั่งสอนต่าง ๆ นั้นเป็นจริง มีเหตุผลน่าเชื่อไหม?

    พระองค์มีความปรารถนาดี มีเมตตากรุณา สอนเราโดยบริสุทธิ์พระทัย ต้องการให้เราได้รับประโยชน์ใช่ไหม?

    ถ้าเรามั่นใจในพระองค์โดยเหตุผลทั้งสองประการ เราก็มีศรัทธา พระองค์สอนเรื่องนรก-สวรรค์ว่าชาติหน้ามีจริงหรือเปล่า ถ้าเรามีศรัทธา เราก็น้อมไปทางที่จะเชื่อตามที่มีหลักฐานว่าพระองค์ได้ตรัสไว้ เรื่องก็เป็นอย่างนั้น เป็นอันตกลงว่า นรก-สวรรค์ขั้นนี้อยู่ที่ศรัทธา

    ๒. ต้องพิจารณาเหตุผล

    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า จะเชื่อหรือไม่เชื่อไม่เป็นไร ไม่ได้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเชื่อ เพราะในพุทธศาสนาไม่มีการบังคับ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพบกับคนที่ยังไม่เชื่อ ไม่มีศรัทธา พระองค์ก็ทรงสอนให้มีท่าทีอย่างที่สอง คือท่าทีในกรณีที่ยังไม่มีศรัทธา เช่นที่ตรัสใน “กาลามสูตร”

    ท่านสรุปว่า ถึงแม้ไม่ต้องใช้ศรัทธา, เอาตามเหตุผล, ก็ควรทำกรรมดี, ละเว้นกรรมชั่ว,

    นี่คือแนว “กาลามสูตร” ซึ่งเป็นการวางท่าทีในขั้นปัญญา

    ๓. ต้องมั่นใจตน ไม่อ้อนวอน

    อาจารย์พระธรรมปิฎกบอกว่าในการที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนรก-สวรรค์ นั้นทรงแสดงว่าผลอะไรต่าง ๆ ย่อมเป็นไปตามเหตุ หลักพระพุทธศาสนาถือเรื่องกรรม ซึ่งเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย เป็นกฎธรรมดาองธรรมชาติ เมื่อมันเป็นไปตามกฎธรรมดา ก็เป็นเรื่องของการที่เราจะรู้เท่านั้น เราไม่ต้องไปวิงวอนให้ผลอย่างนั้นเกิด

    พูดง่าย ๆ ก็คือว่า “ผลเกิดจากเหตุ” เมื่อเหตุเป็นอย่างนี้แล้ว, ผลอย่างนั้น ๆ ก็เกิดเอง ราไม่ต้องอ้อนวอนว่าฉันทำเหตุนี้แล้ว ขอให้ผลนั้นเกิดขึ้นเถิด

    เพราะแม้จะอ้อนวอนอย่างไร, มันก็ไม่เป็นไปตามคำอ้อนวอน แต่มันเป็นไปตามเหตุที่ทำ

    เมื่อทำกรรมดี, ผลดีที่เกิดเป็นไปตามหลักกรรม มันเป็นไปตามกฎธรรมดา ไม่เป็นไปตามคำอ้อนวอนร้องของเรา

    อ่านที่อาจารย์เขียนและพูดอย่างนี้, เราท่านก็คงจะถึงบางอ้อ เพราะแปลว่าหากใครอยากไปสวรรค์จริง, ก็จงทำความดี, ละเว้นความชั่ว

    หรือถ้าทำความชั่วแล้ว, แก้ไขและปรับตัวใหม่ได้และหันมาทำความดีเสีย, ก็จะได้ไปสวรรค์เอง, ไม่จำเป็นต้องไปไหว้พระที่วัด, หรือสวดมนต์กี่ศาลเจ้า, หรือไปทำบุญด้วยเงินด้วยทองจำนวนมหาศาล

    เพราะเงินไม่อาจจะซื้อความดีได้, ความดีจะเกิดได้ก็ด้วยการกระทำเท่านั้น

    ๔. ต้องไม่หวังผลตอบแทน

    อาจารย์ท่านบอกว่าคนของพระพุทธศาสนาจริงต้องเป็น “อริยสาวก” ซึ่งแปลว่าเป็นคนที่ทำความดีโดยไม่ห่วงผล

    ที่ว่าไม่ห่วงผลนั้นเป็นเพราะเรื่องผลดีผลร้ายนั้น มันเป็นไปตามกฎธรรมดาของมันเอง เมื่อเรารู้แล้ว เราย่อมมีความมั่นใจในตัวเอง และเมื่อปฏิบัติให้สูงไปกว่านั้น ก็คือต้องไม่หวังผลเลย

    แปลว่าเราทำความดีเพื่อให้สิ่งที่ดีงามเกิดขึ้น ไม่ได้หวังว่าทำแล้วจะได้โน้นได้นี่, หรือจะได้รางวัลไปสวรรค์ชั้นเจ็ดแต่ประการใด

    สิ่งที่เรียกว่า “ดีงาม” คืออะไร? ก็คือสิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจของเราตั้งแต่ปัจจุบัน และมีผลดีเกิดแก่สังคมและแก่ผู้อื่นด้วย

    สั้น ๆ ง่าย ๆ อย่างนี้นี่เอง

    ท่านอาจารย์บอกว่าท้ายที่สุดแล้วคนเราก็ต้องยึดมั่นหลักการที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” หรือหว่านพืชเช่นไร, ได้ผลเช่นนั้น

    ปลูกมะปรางก็ได้มะปราง...อย่ามองข้ามขั้นตอนว่าได้มะปรางแล้วจะได้เงินกำไรจากการขายมะปรางเท่าไหร่ เพราะการมองอย่างหลังนี้ไม่เป็นเหตุเป็นผลที่ถูกต้องเลย

    สะท้อนว่ามนุษย์ทำอะไรหวังผลตอบแทนมาก แต่ไม่ทำเหตุปัจจัยให้พอแก่ผลที่หวังจะได้ตอบแทนนั้น ตัวเองปัญญาไม่ถึง และทำไม่ถูก ก็ไปโทษกฎธรรมชาติ

    ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว, ตัวเองหลังผิดไปเอง

    ท่านสรุปได้อย่างน่าฟังยิ่งนักว่า

    อย่าเป็นห่วงเรื่องนรก-สวรรค์ที่มาขู่กันอยู่ ถ้าจิตของเราประณีตขึ้นไป, จนกระทั่งรักความบริสุทธิ์ความดีงามของชีวิต รักธรรม อยากให้ชีวิตของเราเป็นชีวิตที่ดีงาม เป็นธรรม อยู่ในธรรม ประณีตด้วยธรรม และต้องการให้ธรรมแผ่ไป ก็อยู่กันได้ด้วยความดี ขั้���นี้ถึงธรรมแล้ว

    ไม่ต้องหวังรอผลตอบแทนอีกต่อไป

    และคำว่านรกกับสวรรค์ก็ไม่มีความสำคัญอีกต่อไปเช่นกัน

    แหล่งข้อมูล: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=789363
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    9 ปี ที่ผ่านมา

    ทุกอย่างเกิดขึ้นมีเหตุมีผลของมันค่ะ ชีวิตคนแต่ละคนดำเนินต่างกันเพราะกรรมเป็นสาเหตุและเป็นทั้งต้นเหตุและปลายเหตุด้วยเช่นกัน

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    ข้อที่พึงพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ

    ชราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะติโต

    เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

    พะยาธิธัมโมมหิ พะยาธิง อะนะตีโต

    เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

    มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต

    เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

    สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว

    เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย

    กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท

    เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

    กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ

    เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์

    กัมมะปะฏิสะระโน ยัง กัมมัง กะริสสามิ

    เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้

    กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา

    เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม

    ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ

    เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น

    เอวัง อัมเหหิ อะภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง

    เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล.

    อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

    (ขยายความ จากพจนานุกรมพุทธศาตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย ท่านพระธรรมปิฏก)

    ข้อที่สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณาเนืองๆ

    ๑. ชราธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้

    ๒. พยาธิธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไมล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้

    ๓. มรณธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

    ๔. ปิยวินาภาวตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น

    ๕. กัมมัสสกตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาท ของกรรมนั้น

    ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ อย่างนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อละสาเหตุต่างๆ มี ความมัวเมา เป็นต้น ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความประมาท และประพฤติทุจริตทางไตรทวาร กล่าวคือ :-

    ข้อ ๑ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความเป็นหนุ่มสาวหรือความเยาว์วัย

    ข้อ ๒ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความไม่มีโรค คือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดี

    ข้อ ๓ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในชีวิต

    ข้อ ๔ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความยึดติดผูกพันในของรักทั้งหลาย

    ข้อ ๕ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความทุจริตต่างๆ โดยตรง

    ๕๐. ผู้ตกนรก

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้ ธรรม ๕ อย่างคือ

    ๑. เป็นผู้มักฆ่าสัตว์

    ๒. เป็นผู้มักลักทรัพย์

    ๓. เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม

    ๔. เป็นผู้มักพูดปด

    ๕. เป็นผู้มักตั้งอยู่ในความประมาท ด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล ย่อมตกนรกเหมือนถูกนำตัวไปวางไว้."

    ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๑

    ๕๑. ผู้ขึ้นสวรรค์

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่าง ย่อมขึ้นสวรรค์ เหมือนถูกนำตัวไปวางไว้ ธรรม ๕ อย่างนี้ คือ

    ๑. ผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์

    ๒. ผู้เว้นจากการลักทรัพย์

    ๓. ผู้เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

    ๔. ผู้เว้นจากการพูดปด

    ๕. ผู้เว้นจากการตั้งอยู่ในความประมาท ด้วยการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างเหล่านี้แล ย่อมขึ้นสวรรค์ เหมือนถูกนำตัวไปวางไว้."

    ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๑

    ๕๒. สัปปุริสทาน ๕ พร้อมทั้งอานิสงส์

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปรุสทาน (การให้ของคนดี) ๕ อย่างเหล่านี้ คือ

    ๑. ให้ทานด้วยศรัทธา (ความเชื่ออย่างมีเหตุผล)

    ๒. ให้ทานด้วยความเคารพ

    ๓. ให้ทานตามกาล

    ๔. ให้ทานมีจิตอนุเคราะห์

    ๕. ให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่น

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลให้ทานด้วยความเชื่อแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนันเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามอย่างยิ่ง."

    "บุคคลให้ทานด้วยความเคารพแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีบุตร, ภรรยา, ทาส, คนรับใช้ หรือกรรมกรก็ตาม บุคคลเหล่านั้นย่อมสนใจฟัง ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตรับรู้ (คำสั่ง)๔."

    "บุคคลให้ทานตามกาลแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และความต้องการทั้งหลายของเขาที่เกิดขึ้นตามกาล ย่อมบริบูรณ์."

    "บุคคลให้ทานมีจิตอนุเคราะห์แล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และจิตของเขาย่อมน้อมไปเพื่อบร��โภคในกามคุณ ๕ อันโอฬาร๕."

    "บุคคลให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่นแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และความล่มจมแห่งโภคะของเขา ย่อมไม่มาจากที่ไหน ๆ คือจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากทายาท (ผู้รับมรดก) ซึ่งไม่เป็นที่รัก."

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สัปปุริสทาน ๕ อย่าง."

  • ?
    Lv 4
    9 ปี ที่ผ่านมา

    เชื่อ มีจริง

    ทุกอย่างเป็นลูกโซ่ มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย

    มีการเกิด ตั้งอยู่ เสื่อมสลาย แตกดับ

    จะวนเวียนอยู่แบบนี้เป็นกฎอัตโนมัติ

    กรรมคือการกระทำ อย่างที่เราก็รู้ ๆกันอยู่แล้ว

    กระทำสิ่้งใดไว้ก็ได้สิ่งนั้น ปลูกถั่วก็ได้ถั่ว

    ปลูกพริกก็ได้พริก จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

    ถ้าทำกรรมไม่ดีเอาไว้อย่างไรก็จะได้รับสิ่่งนั้น

    ตอบแทนแน่นอน เพียงแต่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    มีจริง

  • pop
    Lv 7
    4 ปี ที่ผ่านมา

    เวรอยู่ที่ตัวเรากรรมก็อยู่ที่ตัวเราทำ

  • on-ces
    Lv 5
    9 ปี ที่ผ่านมา

    กุศลสำหรับผู้มีตาพอจะมองเห็นนั่น ไม่ใช่ของตื้นๆ

    ไม่ใช่ของไกลๆ ไม่ใช่ของไร้ค่าแต่อย่างใดเลยค่ะ

    เพราะแค่ใจมีกุศลที่เกิดจากการสละออกด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลงมัวเมา

    ก็จะทำให้เกิดความสุข ความสบายแก่ผู้สละกิเลสสามตัวนี้ได้เลย

    เช่น ใจที่ให้ทานเป็นปกติ ไม่คิดจะเอาแม้แต่เอาดีเข้าตัว หรือเห็นแก่ตัวเล็กๆน้อยๆนั่น

    มีผลให้ใจเปิดกว้างออก มีความสุขเป็นปกติ มีความสบายใจ

    ไม่อึดอัดคับแน่นเท่าผู้ตระหนี่ถี่เหนียว หวงของแต่ไม่เห็นค่าใจที่สบายเลย

    คนที่ทำบาป เห็นแก่ตัว หรือคดโกงมากๆนั่น เขาอาจไม่ทันสังเกตว่าใจแส่ส่าย

    และหวาดกลัวเหมือนขึ้นหลังเสือ กลัวถูกจับได้ จะเลิกก็เลิกไม่ได้

    จะทำต่อก็สับสนลึกๆว่านี่ดีพอหรือยังกับการเป็นคน นี่คือทางที่ถูกหรือไม่

    แค่เท่านี้ก็ทุกข์แล้วค่ะ เท่านี้ก็หาความสุขยากแล้ว

    ไม่ต้องรอให้ถึงชาติหน้า ธรรมะที่พระพุทธ-พระสงฆ์ช่วยแจงแจงก็ชัดแจ้งกันจะจะแล้วค่ะ

    คือทำกรรมขาวจะมีผลเป็นความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า

    ทำกรรมดำจะมีผลเป็นความทุกข์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

    ตอนนี้เราพิสูจน์ชาติหน้าด้วยตาตัวเองไม่ได้

    แต่ว่ารู้สึกได้แล้วว่าสิ่งดีๆที่ทำไว้นั่นเป็นความอบอุ่นใจในอก ไม่ได้หายไปไหนเลย

    เรื่องนี้พิสูจน์ได้ว่ามีจริงก็เชื่อเรื่องนี้ เรื่องอื่นที่พิสูจน์ไม่ไหวแล้วจะศรัทธาเชื่อไว้ก่อนก็ไม่เป็นไรค่ะ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้