Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
นิพพาน มีจริงหรือไม่?
ความหมายของนิพพาน
ความรู้เรืองนิพพาน
บริบทการมุ่งสู่นิพพาน
ทำอย่างไร ได้อย่างไร ทำได้จริงๆ ไหม
8 คำตอบ
- 9 ปี ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
คุณเคยรู้สึกว่างจากความอยากไหม ถ้าเคยนั่นแหละคือนิพพาน นิพพานคือเย็น แต่ก็เป็นเพียวชั่วขณะให้พอรู้ว่า นิพพานคือแบบนั้น ถ้าอยากถึงจริงๆแบบพระอริยบุคคลก็ทำตามมรรคมีองค์ ๘ ด้วย สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ ใจที่สงบระงับคือสุขอย่างยิ่ง
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
แหล่งข้อมูล: http://www.unzeen.com/article/437/%E0%B9%82%E0%B8%... http://watpit.org/index.php?option=com_content&vie... http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m6/web/l_... http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25... http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?... - ไม่ประสงค์ออกนาม9 ปี ที่ผ่านมา
ความหมายของนิพพาน :-
หมายถึงความดับกิเลส ดับทุกข์ ที่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและผู้อื่น เพื่อหลีกพ้น
จากสภาพความเนิ่นนาน ความเบื่อหน่าย ความไม่อยากมี ความไม่อยากได้มาเป็นของตน
คือการดับกิเลสโดยสิ้นเชิง จากดับโดย
@อวิชชา ความรู้ไม่ยินดีในทุกข์ระทมอยู่กับสุขเวทนา ทุกข์เวทนา
@สิ้นราคะ ความไม่กำหนัดยินดีในสุขเวทนา ทุกข์เวทนา
@ตัณหา ความไม่ทะยานอยากกับสุขเวทนา ทุกข์เวทนา
@ทุกข์อย่างสิ้นเชิง ความไม่ผูกพันธนาการกับสิ่งที่อยู่รอบกายและความไม่ผูกพันธ์ทางใจ
ความรู้เรื่องนิพพาน :-
หมายถึงความว่าง ที่ไม่ว่าง เป็นสุขอย่างยิ่ง
บริบทการมุ่งสู่นิพพาน ทำอย่างไร? ได้อย่างไร? ทำได้จริง :-
คนที่จะเข้าถึงนิพพาน จะต้องมีจิตว่างจากกิเลสทั้งหมด ไม่ใช่การดับสูญ
นิพพาน เป็น ปัจจัตตัง คือ รู้ได้เฉพาะตน ยึดถือปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ให้สมบูรณ์
จนเกิดวิปัสสนาญาณ สามารถตัดสังโยชน์ 3 ประการ คือ
@สักกายทิฐิ กายนี้เป็นของตน
@วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
@สีลัพพตปรามาส ยึดถือไว้อย่างผิด
จนถึงโคตรภูญาณ จะใช้ทิพย์จักษุญาณเห็นนิพพานได้อย่างชัดเจน นิพพาน จึงเป็นธรรมชาติ
ที่ไม่ใช่โลกวิสัย แต่เป็นโลกุตรธรรม ไม่สามารถจะใช้ความรู้ความเข้าใจอย่างโลก ๆ โดยการ
เดาสุ่มหรือคาดคะเน นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นโลก ไม่ใช่อยู่ในโวหารที่จะกล่าวได้ว่ามีสาระ
หรือไม่มีสาระ เป็นภาวะ ไม่เป็นภาวะ มีแต่สภาวะความมีความเป็น นิพพานเป็นสภาพแห่งความ
ดับสนิทของทุกข์ยากทั้งหลาย ไม่ได้ตั้งอยู่ที่นั่นที่นี่ ไม่ใช่โลกสวรรค์วิมานเมฆที่อยู่สูงขึ้นไป
แต่นิพพานนั้นกระจายกว้างอยู่ไปทั่วหรือแม้แต่บางขณะของความนึกคิดก็ปรากฎแก่ตัวของเรา
เพียงแต่เราไม่ใส่ใจที่จะตามผลให้เข้าใจแจ้งว่า...ความรู้สึกแห่งความสงบนั้น คือบันไดขั้นต้น
ของนิพพานคนเป็น..
- AramboyLv 59 ปี ที่ผ่านมา
นิพพานสำหรับทุกคน
คัดจาก หนังสือ นิพพานสำหรับทุกคน โดย พุทธทาสภิกขุ พิมพ์ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๕
โดย ธรรมทานมูลนิธิ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
ธรรมบรรยายประจำวันเสาร์ ณ ลานหินโค้ง ๒ เมษายน ๒๕๓๑
ท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรม ทั้งหลาย,
การบรรยายประจำวันเสาร์ แห่งภาควิสาขบูชา เป็นครั้งที่ ๑ ในวันนี้ อาตมาก็จะกล่าวเรื่องปกิณกะ คือเรื่องเดียวจบต่อไปตามเดิม. ในวันนี้มีหัวข้อสำหรับกล่าว ว่า นิพพานสำหรับทุกคน นิพพานสำหรับทุกคน
พอได้ยินคำนี้ มีหลายคนที่คงจะเชื่อว่า เป็นไปไม่ได้ นิพพานสำหรับทุกคนจะเป็นไปได้อย่างไร, เพราะว่า นิพพาน นั้น หมายถึง การตายของพระอรหันต์ เมื่อทุกคนไม่ได้เป็นพระอรหันต์ นิพพานจะเป็นของทุกคนได้อย่างไร. นี่ขอยืนยันว่า ไม่ใช่อย่างนั้น นิพพานไม่ใช่การตายของพระอรหันต์; นิพพานนั้น หมายถึงความเย็นเพราะไม่มีกิเลสและไม่ต้องตาย.
ขอให้เข้าใจให้ถูกต้องว่า นิพพาน นี้ไม่ได้เกี่ยวกับความตาย แต่หมายถึงความเย็น ถ้าตายแล้วจะรู้สึกเย็นอย่างไรได้ คนตายรู้สึกร้อนรู้สึกเย็นได้อย่างไร; มันต้องเป็นของคนที่ยังมีความรู้สึกอยู่ คือไม่ตายนั่นเอง. นิพพานแปลว่าเย็น เมื่อใดไม่มีร้อนเมื่อนั้นก็เย็น มันเย็นชนิดที่ไม่มีร้อน. ไม่ใช่เอาของเย็นๆ มากินเข้าไป เช่นว่าเอาน้ำแข็งมากินเข้าไปแล้วมันก็จะเย็น, มันเย็นอย่างนี้ มันอีกความหมายหนึ่ง เย็นในนิพพานนั้น หมายความว่า มันไม่มีความร้อน ไม่ต้องเอาน้ำแข็งมากินหรืออะไรทำนองนั้น
ท่านจะต้องสนใจให้ดี ให้เข้าใจเรื่องของนิพพาน จึงจะไม่เสียทีที่เป็นพุทธบริษัท และพระพุทธศาสนาก็จะมีประโยชน์แก่ทุกคนหรือทุกท่าน มันเป็นสิ่งที่มีสำหรับทุกคน ไม่ใช่มีสำหรับสองสามคนหรือไม่กี่คน; ถ้ามีได้เฉพาะแก่พระอรหันต์แล้ว พระอรหันต์ก็มีไม่กี่คน พุทธศาสนาก็ไม่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป มีแก่คนไม่กี่คนอย่างนี้ มันไม่คุ้มค่า; พุทธศาสนาจะต้องเป็นประโยชน์แก่ทุกคนไม่มากก็น้อย เหมือนกับว่าสระน้ำใหญ่ สระน้ำใหญ่ที่ใครขุดไว้ มันก็มีประโยชน์แก่สัตว์ทุกชนิดและทุกขนาด สัตว์ตัวโตๆ เช่นช้าง มันก็ลงไปกินไปอาบได้ สัตว์ตัวเล็กๆ เช่น กบเขียดหรือเล็กกว่าเขียด มันก็ลงไปกินไปอาบได้; มีประโยชน์แก่สัตว์ทุกชนิดหรือทุกขนาดดังนี้ มันก็คุ้มค่า. พระนิพพานก็เหมือนกัน เหมือนกับเป็นสระที่พระพุทธเจ้าท่านขุดไว้ ก็เป็นประโยชน์ได้แก่ทุกคนตามมากตามน้อย โดยสมบูรณ์เต็มที่หรือโดยบางส่วน ก็ตาม มันก็เรียกว่ามีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้นแหละ.
ฉะนั้นขอให้นึกให้ถูกต้องว่า ถ้าเป็นพุทธบริษัทต้องได้รับประโยชน์จากพระนิพพาน ตามมากตามน้อย และเพราะว่าพระนิพพานนั้นสามารถให้สำเร็จประโยชน์เช่นนั้นได้จริง, ขอให้พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ และมันยังจะไปไกลถึงกับว่า แม้คนโง่ไม่รู้จักพระนิพพานเอาเสียเลย เขาก็ยังลงไปกินไปอาบในสระแห่งนิพพานนั้นได้โดยไม่รู้สึกตัว ข้อนี้ก็เพราะว่า พระนิพพานเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในที่ทั่วไป เมื่อบุคคลไม่มีความร้อนใดๆ ก็หมายความว่า กำลังดื่มกินพระนิพพาน
ดูเพิ่มที่ลิงค์นะครับ
แหล่งข้อมูล: http://www.buddhadasa.com/shortbook/nippanforall.h... http://www.buddhadasa.com/shortbook/nippan.html - 9 ปี ที่ผ่านมา
ขอบคุณครับที่นำเรื่องนี้ขึ้นมาถาม จริง ๆ ผมก็ไม่น่าจะตอบเพราะผมเองก็ยังตุปัดตุเป๋อยู่ แต่เอาเป็นว่าตอบตามความเข้าใจของผมก็แล้วกัน
"นิพพาน" คือ แดนที่ไม่มีกิเลส ตัณหา อุปทาน สูญสิ้นดับแล้วซึ่งเชื้อในการกลับมาเกิดมามีร่างกายอีกไม่มี คนที่มุ่งหมายที่จะเข้าสู่นิพพานนั้น ไม่ใช่ปรารถนาเพียงในชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น แต่ได้ปรารถนามาแล้วหลายชาติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับบารมีหรือกำลังใจของเราไม่เข้มแข็ง หรือไม่เต็มนั่นเอง แนวทางการปฏิบัติสู่พระนิพพาน คือ
วิปัสนาญาณ บารมี 10 ประการ ตัดสังโยชน์อีก 10 ที่สำคัญคือศีลต้องมั่นคงด้วย
ที่มา : ตอบตอน ตี 4
- 6 ปี ที่ผ่านมา
๑ สอุปาทิเสสนิพพาน (ภาพบน + แผนผัง) บรรลุนิพพานขณะมีชีวิต จิตเป็นธรรมธาตุ (ธรรมธาตุครอบไตรโลกธาตุ) ประสบเวทนาบ้าง แต่เวทนาเข้าไม่ถึงจิต ไม่มีเวทนาทางใจ มีแต่เวทนาทางกาย สักแต่ว่ารู้ๆ ไม่เป็นกิเลส ไม่มีเกิดดับ เพราะ เที่ยงตลอด จิตเป็นกลางๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดียินร้าย ไม่สะทกสะท้าน จิตปล่อยวางเต็มร้อย คือ ปล่อยวางข้างนอก ปล่อยวางข้างใน และ ปล่อยวางด้วยประการทั้งปวง ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่ใช่เสแสร้งแกล้งทำ ไม่ใช่โดยสัญญา หรือว่าฝึกดัด .. ๒ อนุปาทิเสสนิพพาน (ภาพล่าง + แผนผัง) ขันธ์ ๕ แตกดับ การรับร��้อารมณ์ทั้งปวงดับสนิท สุดแดนสมมุติ , ที่สุดแห่งจิต , ที่สุดแห่งทุกข์ , ที่สุด ของ ที่สุด และ เป็นบรมสุขไปตลอดอนันตกาล (บรมสุขที่ปราศจากสมมุติใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง)
แหล่งข้อมูล: hotmail.com อีเมล์ supanya3330@hotmail.com รหัส supanya6 หนังสือ สายตรงพ้นทุกข์ หน้า ๕ (พระ สุปัญญา ธนปัญโญ ผู้เขียน ๐๘๕ - ๗๕๑๐๗๖๕) - on-cesLv 59 ปี ที่ผ่านมา
เรื่องนิพพานนี้ถ้าจะอธิบายก็ขอยกมาจากพระไตรปิฎกเพื่อไม่ให้ถกเถียงกันว่า
จริงหรือไม่จริง และเชื่อได้หรือเชื่อไม่ได้ค่ะ ขออธิบายจากสรุปอีกที
เพื่อให้ท่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นอีก
คำอธิบายนิพพานธาตุ 2 อย่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุมี 2 อย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กับ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้วหลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
ภิกษุนั้นยังมีอินทรีย์ 5 ดำรงอยู่ เพราะเหตุที่อินทรีย์ 5 ยังไม่หมดสิ้นไป
จึงประสบสิ่งที่น่าพอใจบ้าง ไม่น่าพอใจบ้าง เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง
ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะของภิกษุนั้นเรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้วมีกิจที่พึงทำอันได้ทำเสร็จแล้ว วางภาระแล้ว
มีประโยชน์ของตนอันได้บรรลุแล้ว สิ้นเครื่องผูกพันในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
การเสวยอารมณ์ทั้งปวงของภิกษุนั้นสนิท เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"
อิติวุตตก 25/258 (พระไตรปิฎกฉบับประชาชน หน้า54)
(แปลว่า พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิต ไม่มีกิเลสแล้ว แต่ยังประสบเวทนาได้อยู่
ส่วนพระอรหันต์ที่ดับขันธ์นั่น ก็ไม่เกิดอีก หมดการเสวยอารมณ์และหมดการเสวยภพแล้ว)
"ลักษณะที่สุดแห่งทุกข์"
(ตามความเข้าใจของเราคือ ทรงหมายถึง เมื่อพระอรหันต์ท่านดับขันธ์(ตาย)แล้วค่ะ)
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในอายตนะนั้นไม่มีดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ไม่มีอากาสานัญจายตนะ, วิญญาณัญจายตนะ, อกิญจัญญายตนะ, เนวสัญานาสัญญายตนะ, ไม่มีโลกนี้, ไม่มีโลกอื่น, ไม่มีพระจันทร์ พระอาทิตย์ทั้งสอง, เราย่อมกล่าวถึงอายตนะนั้นว่า ไมใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การจุติ (การเคลื่อนจากที่เดิม) มิใช่การเกิดขึ้น ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีความเป็นไป ไม่มีอารมณ์ นั่นแหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์."
(อายตนะ แปลว่า การสื่ออารมณ์ภายนอก คือ การกระทบอารมณ์นั่นเอง
ด้วยอวัยวะต่าง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
อุทาน 25/200 (พระไตรปิฏกฉบับประชาชน หน้า 105)
(พระสูตรที่ 2 นี้ ถ้าใครสงสัยว่าพระอรหันต์ตายแล้วไปไหน ก็จะเข้าใจมากขึ้นค่ะ)
ธรรมชาติที่ไม่เกิดไม่ถูกปรุงแต่งมีอยู่
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง มีอยู่
ถ้าไม่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง
ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิด ที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีอะไรปรุงแต่งก็จะปรากฎไม่ได้
เพราะเหตุที่มีธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น ไม่มีใครทำ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง
ความพ้นไปจากธรรมชาติที่เกิดที่เป็น ที่มีใครทำ ที่มีใครทำ
ที่มีอะไรปรุงแต่ง จึงปรากฎได้"
อิติวุตตก 25/257 (พระไตรปิฎกฉ.ประชาชน หน้า 55)
(แปลว่านิพพานเป็นภาวะที่ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่ปรุงแต่ง และไม่มีบุคคลตัวตน
ถ้าไม่มีนิพพานก็คงไม่มีการหลุดพ้นไปจากภาวะแห่งการเกิดดับนี้จึงมีอยู่)
ส่วนการเข้าถึงนิพพานนั้น ก็สามารถทำด้วยธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแจกแจงไว้
บางตอนเทศน์ให้บางคนฟัง ก็เป็นอริยสัจ 4
บางตอน ก็เป็นอริยมรรคมีองค์ 8
บางตอน ก็เป็นสติปัฏฐาน 4
บางตอนเป็นโพชชงค์ 7 เป็นต้น
เหล่านี้มีใจความ มีองค์ประกอบซ้ำๆกันส่วนหนึ่ง
ก็คือการรู้ทุกข์ (ด้วยสัมมาสติ พร้อมด้วยสัมมาสมาธิ)
เพื่อให้เห็นความจริงจนมีความรู้ถูก(สัมมาทิฏฐิ)ว่าตัวเราไม่มี
สุดท้ายก็เพื่อ ธรรมทั้งหลายไม่ควรยึดมั่นถือมั่นค่ะ
(ก่อนบรรลุนั้นต้องยึดในแนวทางปฏิบัติก่อน เพื่อให้ใจหลุดพ้นนะคะ
อย่าสรุปเอาว่าไม่ต้องทำอะไร แล้วจะหลุดพ้นไปเอง)
แหล่งข้อมูล: ค้นมาจากพระไตรปิฎกฉบับประชาชนค่ะ - e-naiLv 69 ปี ที่ผ่านมา
ขอพูดถึง บริบทการมุ่งสู่นิพพาน
เคยอ่านหนังสือ(เยอะมากจำไม่ได้่ว่าเล่มไหน) กล่าวถึง การมุ่งสู่นิพพานว่า
ถ้าปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่นิพพาน จะไม่ถึงนิพพาน เพราะไปยึดติดกับการสู่นิพพาน จึงไม่หลุดพ้น
ในหนังสือเล่มนี้เปรียบเทียบการได้มาซึ่งนิพพาน โดยอธิบายว่า การมุ่งสุ่นิพพานเหมือนการตั้งเป้ายิงธนูสู่เป้าหมาย นิพพานนั้นถึงได้เมื่อลูกธนูตกหล่นจากเป้าลงสู่พื้น นิพพานคือไม่ยึดติดอยู่กับเป้าจึงจะถึงนิพพาน
ฟังตอนแรกก็งงๆ ทำความเข้าใจอยู่นานเหมือนกัน
ซึ่งตรงกับคำตอบของคุณ Vasin ที่ว่า "ว่างจากความอยาก"
ถ้ายังอยากนิพพาน ปฏิบัิติอย่างไรก็ไม่ถึงนิพพาน
- cloud 9Lv 69 ปี ที่ผ่านมา
"พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า "พรหมจรรย์นี้ มีวิมุตติเป็นโอสาเร" สาระของการปฏิบัติธรรม ก็เพื่อเข้าถึงวิมุตติ หรือ อิสระภาพ ส่วนพระนิพพานนั้น เป็นโอทตา เป็นที่หยั่งลง
เพื่อที่จะเข้าใจได้ง่าย สมมติว่าผมมีเม็ดกรวด หรือลูกกระสุนแข็ง ๆ แต่ผมต้องการจะยิงเป้าที่อยู่บนฝ้าเพดาน เป้าหมายผมอยู่ที่นั่น เมื่อกระสุนโดนเป้าแล้ว มันก็ตกลงมาสู่พื้น ขาลงของกระสุน ไม่ได้เป็นเป้าหมาย แต่มันหล่นลงเอง
เป้าหมายของการภาวนา คืออิสรภาพ (วิมุตติ) ต่อแต่นั้นคือการหยั่งลงสู่พระนิพพาน (โอทตา - การหยั่งลง) หยั่งลงด้วยกฎธรรมชาติของมันเอง
ไม่มีใคร ไม่มีกรมกองใด ไม่มีกองทัพใด เข้าถึงพระนิพพานได้ ไม่มีใครเลยที่จะเดินเข้าสู่พระนิพพานได้ เพราะพระนิพพาน ไม่ใช่ที่ที่จะต้���งไป แต่เป็นที่ที่หยั่งลง เมื่อเป็นอิสระจากกิเลสตัณหา ว่างจากบุคคล ความพยายามจะเข้าพระนิพพานด้วยกิเลสอาสวะ เป็นการสูญเปล่า การกล่าวว่า พระนิพพานเป็นเป้าหมายนั้น เป็นเพียงถ้อยคำล่อให้ปรารถนา เป็นโวหารเปรียบเปรยกับสังสารวัฏฏ์
เป้าหมายของมนุษยชาติก็คืออิสรภาพ พ้นจากเครื่องพันธนาการ อันหมายถึง กิเลสมูล โทษะ โลภะ โมหะ ถูกตัดราก เมื่อสิ่งเหล่านี้ขาดแล้ว ก็แจ่มแจ้งพระนิพพานเอง
ข้อวิวาทบาดหมาง ที่แบ่งเป็นฝักฝ่าย ทำให้พระพุทธศาสนามัวหมองในทัศนะของผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ การยึดพระนิพพานว่าเป็นอัตตาก็ตาม พระนิพพานเป็นอนัตตาก็ตาม ล้วนคาดคิด ขัดขวางกันโดยติดโวหารสมมติ ..."
แหล่งข้อมูล: หนังสือ ดวงตาแห่งชีวิต ของท่านเขมานันทะ