Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้
คำว่า " อัตลักษณ์ " มีความหมายต่างจาก "เอกลักษณ์" อย่างไร ?
เพราะโดยทั่วไปจะเคยได้ยินแต่คำว่า เอกลักษณ์ ที่เป็นที่เข้าใจกัน
แต่วันนี้ไปเจอคำว่า อัตลักษณ์ ความอยากรู้อยากเห็นเลยพุ่งปรี๊ด..
ผมเปิดดูความหมายของสองคำนี้แล้ว มันจะคล้ายๆ กัน ก็เลยงง
ว่า สองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร ทำไม่ปรกติคนถึงใช้แ่ต่คำว่า
เอกลักษณ์ รบกวนผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ ถ้าจะช่วยยกตัวอย่าง
เปรียบเทียบความแตกต่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็จะยิ่งเป็นการดีครับ
ขอบคุณครับ
อ่า...จากทุกคำตอบที่ให้มา ผมมาคิดหาตัวอย่างมาเปรียบเทียบดังนี้
เอกลักษณ์ ของคนอีสาน คือ ดั้งแหมบ เอิ้ก ๆ ๆ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของคนอีสาน
ส่วนอัตลักษณ์ ก็คงจะย่อยลงไปถึงตัวบุคคลเช่นว่า ผมเป็นคนอีสานที่ดั้งแหมบ มวาก...
เอิ้ก ๆๆ ๆประมาณนี้คงจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น เอาตัวเองมาเป็นตัวอย่างเลยน่ะครับเนี่ย..
6 คำตอบ
- ?Lv 79 ปี ที่ผ่านมาคำตอบที่โปรดปราน
" เอกลักษณ์ - อัตลักษณ์ "
ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับคำว่า “ เอกลักษณ์ ” ในความหมายว่าเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เขาเป็นคนมีน้ำเสียงดุดันเป็นเอกลักษณ์ ส่วนคำว่า “ อัตลักษณ์ ” ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ผมพบว่ามีการใช้มากขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะในแวดวงวิชาการ เช่น สัมมนาเรื่องการแสดงอัตลักษณ์ของกวีในบทประพันธ์ร่วมสมัย
คำว่า “ เอกลักษณ์ ” และ “ อัตลักษณ์ ” นี้สะกดคล้ายคลึงกัน แต่มีความหมายไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แถมยังมีความหมายบางส่วนทับซ้อนกันอยู่ วันนี้ผมจึงขอหยิบยกเอาสองคำเจ้าปัญหามาอธิบายดังนี้ครับ
คำว่า “ เอกลักษณ์ ” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน เช่น ชุมชนนี้มีเอกลักษณ์อยู่ที่การทอผ้าจก หมายความว่าคนในชุมชนนี้มีอาชีพทอผ้าจกเหมือนๆ กันหมด อย่างไรก็ดี คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าลักษณะอันเป็นเฉพาะ มีหนึ่งเดียวของสิ่งๆ หนึ่งดังที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น เช่น ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
ส่วนคำว่า “ อัตลักษณ์ ” ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม แต่มีตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า “ อัตลักษณ์ ” ไว้ว่าคุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของบุคล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ พูดง่ายๆ คือลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ
“ อัตลักษณ์ ” มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ โดยที่ “ อัตตะ ” มีความหมายว่า ตัวตน, ของตน ส่วน “ ลักษณะ ” หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ “ อัตลักษณ์ ” จึงเหมาะจะนำมาใช้หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า
ส่วนคำว่า “ เอกลักษณ์ ” มีคำว่า “ เอก ” ซึ่งหมายถึง หนึ่งเดียว จึงน่าจะหมายความว่าลักษณะหนึ่งเดียว (ของหลายๆ สิ่ง) หรือลักษณะที่ของหลายๆ สิ่งมีร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายแรกตามพจนานุกรมนั่นเอง
อย่างไรก็ดี คนไทยโดยส่วนใหญ่ยังนิยมใช้คำว่า “ เอกลักษณ์ ” ในความหมายว่าลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครอย่างกว้างขวาง
ส่วนคำว่า “ อัตลักษณ์ ” นั้นมักจะใช้ในวงแคบๆ เช่นแวดวงวิชาการเท่านั้น และบางครั้งก็ใช้แบบมีนัยยะแฝง เช่น “เอกลักษณ์” เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วน “อัตลักษณ์” สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีข้อบัญญัติการใช้ที่ชัดเจนนัก ผมจึงหวังว่าในอนาคตพจนา���ุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหรือฉบับอื่นๆ จะรวบรวมคำว่า “อัตลักษณ์” ไว้ด้วย และอธิบายความแตกต่างของทั้งสองคำนี้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีครับ
แหล่งข้อมูล: ชมข้อมูลได้ ตาม " ลิ้งค์ " ที่แนบมาน่ะค่ะ http://www.nationejobs.com/citylife/content.php?Co... - 9 ปี ที่ผ่านมา
ส่วนตัวนะครับ มองสองอย่างนี้ต่างกันตรงที่
1.เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะทางบุคคล ( บุคลิกภาพ ที่อยู่ภายนอก )
2.อัตลักษณ์ หมายถึง คุณลักษณะที่ประกอบขึ้นเป็นบุคคล (จิตใจ สิ่งที่อยู่ภายใน)
อาทิ คนคนนี้หล่อ (มองภายนอก) อัตลักษณ์ การชี้ชัดคือ สูง...น้ำหนัก..สีผิว
นิสับใจคอ ภาษาที่ใช้ ที่รวมเป็นองค์ประกอบ
หากผมเข้าใจตามนี้ไม่ถูกต้อง รบกวนผู้รู้ มาชี้ด้วยนะครับ
แหล่งข้อมูล: ป๋าอิ๊กคิว สมาร์ทตี้-จี - Chef Noy71Lv 59 ปี ที่ผ่านมา
เอกลักษณ์ หมายถึงจุดเด่่น ที่คนทั่วไปมองเห้น
อัตลักษณ์ หมายถึง ส่วนประกอบหลายๆ อย่าง ของสิ่งนั้น มีทั้งแง่ดี หรือแง่ร้าย ก้ได้
อัตลักษณ์ น่าจะหมายรวมถึง สิ่งที่เป้นไป โดยที่คนทั่วไป อาจจะมองไม่เห็นตั้งแต่แรก
อัตลักษณ์ น่าจะเป็นการมองครอบคลุม เชิงวิเคราะห์ เพื่อหาวิธีลดจุดด้อย เสริมจุดเด่น
- ไม่ประสงค์ออกนาม9 ปี ที่ผ่านมา
“อัต_ลักษณ์”
อัตะ=อัตตา หมายถึงความเป็นตัวตน
อัตะ=อัตตา + ลักษณ์ หมายถึงความเป็นตัวตน เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว
"เอก_ลักษณ์"
เอก=หนึ่ง หมายถึงความเป็นเฉพาะตน
เอก=หนึ่ง + ลักษณ์ หมายถึงความเป็นเฉพาะตน เช่น เห็นนกแก้วสีเขียว ก็รู้เลยว่าเป็นคุณ Akiko
- 7 ปี ที่ผ่านมา
อัตลักษณ์ เป็นศัพท์บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภา มาจากคำว่า Logo ซึ่่งคือรูปภาพแสดงตัวตนเฉพาะ ส่วนเอกลักษณ์มาจากคำว่า identity หมายถึงลักษณะเฉพาะตัวตน