Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

? ถามใน สุขภาพสายตา · 9 ปี ที่ผ่านมา

อาการเริ่มต้นของโรคปากเท้าเปื่อยเปนอย่างไร?

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 9 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    พ่อแม่จะสังเกตอาการเหล่านี้ได้อย่างไร ? เด็กที่ได้รับเชื้อโรคนี้ จะมีอาการไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย หลังจากมีไข้ 2-3 วัน เด็ก จะเริ่มเจ็บคอน้ำลายไหล ปฎิเสธอาหารและน้ำ ถ้าให้เด็กอ้าปาก จะเริ่มเห็นมีแผลในปาก และเริ่ม มีผื่นตามมือและเท้า ในอีก 2-3 วันต่อมา

    เด็กๆ จะมีอาการอาเจียน ท้องร่วง ซึม ไม่วิ่งเล่นเหมือนเดิม โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดร่วม กับ HFMD ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Aseptic meningitis) และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) โรคแทรกซ้อนเหล่านี้ถึงแม้จะเกิดขึ้นไม่มากนักแต่ค่อนข้างจะอันตรายถึงแก่ชีวิต

    ฉะนั้นถ้าพ่อแม่ สงสัยว่าลูกจะเป็นโรคนี้ ให้สังเกตอาการดังกล่าว ถ้าสงสัยว่าจะมีโรค แทรกซ้อน เช่น เด็กมีอาการอ่อนเพลียมาก ซึม ปวดศีรษะ ปัสสาวะน้อย ผิวหนังแห้ง เพลีย หมดแรง ให้รับพาไปหาหมอโดยด่วน

    การรักษา

    สำหรับในแง่ของการรักษาโรคมือ เท้า และปาก เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จึงไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง เช่นเดียวกับโรคติดเชื้อไวรัสทั่วๆไป ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่า "การรักษาเฉพาะเจาะจง" specific treatment เช่นถ้าสาเหตุเกิดจาเชื้อโรคก็ใช้ยาที่ออกฤทธิ์ฆ่าหรือทำลายเชื้อก่อโรคนั้นเสีย ดังนั้นการรักษาที่สำคัญ จึงเน้นที่การรักษาตามอาการ และการรักษาประคับประคอง symptomatic and supportive treatment และเฝ้าระวังอาการที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย การใช้ยาลดไข้ acetaminophen or ibuprofen กระตุ้นและดูแลให้เด็กดื่มน้ำและทานอาหารให้ได้ตามปกติ

    ดูเพิ่มที่ลิงค์นะครับ

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    Pee Pao Napat

    วันนี้นำสาระมาให้เพื่อน ๆ กันค่ะ โรคฮิตกันขณะนี้ค่ะ

    **รุ้ทัน โรคมือเท้าปากเปื่อย***

    โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักจะเป็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ แต่ก็อาจจะพบในผู้ใหญ่ได้

    โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.

    สาเหตุ

    โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน

    อาการ

    อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ

    -ไข้

    -เจ็บคอ

    -มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล

    -ปวดศีรษะ

    -ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้

    -เบื่ออาหาร

    -เด็กจะหงุดหงิด

    ระยะฝักตัว

    ระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน

    การติดต่อ

    เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว

    การวินิจฉัย

    โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว

    การรักษา

    ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ

    -ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin

    -บ้วนปากด้วยน้ำเกลือใช้เกลือ1/2ช้อนต่อน้ำ1แก้วต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได้

    -ดื่มน้ำให้พอ

    โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน

    โรคแทรกซ้อน

    ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน

    -อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้

    -อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมองอักเสบได้

    การป้องกัน

    โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย

    -ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ

    -หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย

    -หลีกเลี่ยงที่มีคนมาก

    -ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับบ่อย เช่น ลูกบิด โทรศัพท์

    ควรพบแพทย์เมื่อไร

    -ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง

    -ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม

    -เด็กระสับกระส่าย

    -มีอาการชัก

    หมายเหตุ : ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการต้องสงสัยดังกล่าว

    ที่มา : siamhealth.net

    https://fbcdn-sphotos-a.akamaihd.net/hphotos-ak-sn...

    credit facebook.

  • 6 ปี ที่ผ่านมา

    สังเกตอาการอย่างไร เด็กคนใดเป็น มือ เท้า ปาก?

    สำหรับสัญญาณบอกโรค มือ เท้า ปาก นั้น นพ.อิสระ สังฆวะดี กุมารแพทย์ด้านระบบประสาทและสมองในเด็ก โรงพยาบาลพญาไท 3 ได้แนะนำ ให้สังเกตจากอาการแสดง ดังต่อไปนี้

    เริ่มมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คอเจ็บ

    อาการที่อาจมีร่วมด้วย คือ มีอาการคล้ายหวัดน้ำมูกไหล ต่อมน้ำเหลืองใต้คางโตและอักเสบท้องร่วง ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน หลังจากนั้น1-2 วัน ก็จะพบผื่นที่เยื่อบุในปาก มักเกิดที่ลิ้นและในช่องปาก

    ผื่นจะกลายเป็นแผลเล็กๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-8 มิลลิเมตร

    สุดท้ายจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ และแตกเป็นแผล

    จากนั้นอีกไม่กี่วันผิวหนังก็จะเป็นผื่น มีขนาด 3-7 มิลลิเมตร โดยเฉพาะฝ่ามือ ฝ่าเท้า (มักจะเกิดที่มือมากกว่าที่เท้า) ผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ และในตุ่มน้ำนี้ก็มีเชื้อไวรัสอยู่ด้วย ซึ่งจะยุบแห้งไปเองภายในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จะไม่แตกเป็นแผลเหมือนในปาก บางครั้งจะพบบริเวณสะโพกด้วย แต่จะไม่กลายเป็น ตุ่มน้ำ จะเป็นเพียงผื่นแดงๆ นูนๆ เท่านั้น โดยเด็กบางคนอาจจะเป็นโรคนี้ซ้ำได้

    ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของโรคมือ เท้า ปาก นั้น อยู่ที่ราว 3-6 วัน หลังได้รับเชื้อจึงจะเริ่มแสดงอาการ โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี

  • ?
    Lv 6
    9 ปี ที่ผ่านมา

    โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักจะเป็นในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบ แต่ก็อาจจะพบในผู้ใหญ่ได้

    โรคมือเท้าปากจะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.

    สาเหตุ

    โรคปากเท้าเปื่อยเกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Coxsackievirus โดยต้องประกอบด้วยผื่นที่ มือ เท้าและที่ปาก เริ่มต้นเป็นที่ปาก เหงือก เพดาน ลิ้น และลามมาที่มือ เท้า บริเวณที่พันผ้าอ้อมเช่นก้น ผื่นจะเป็นตุ่มน้ำใส มีแผลไม่มากอายุที่เริ่มเป็นคือ 2 สัปดาห์จนถึง 3 ปีผื่นจะหายใน 5-7 วัน

    อาการ

    อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ

    ไข้

    เจ็บคอ

    มีตุ่มที่คอ ปาก เหงือกลิ้นโดยมากเป็นตุ่มน้ำมากกว่าเป็นแผล

    ปวดศีรษะ

    ผื่นเป็นมากที่มือรองลงมาพบที่เท้าที่ก้นก็พอพบได้

    เบื่ออาหาร

    เด็กจะหงุดหงิด

    ระยะฝักตัว

    หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน

    การติดต่อ

    โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจากการสัมผัสเสมหะ น้ำลายของผู้ที่ป่วย หรือน้ำจากผื่นที่มือหรือเท้า และอุจาระ ระยะที่แพร่เชื้อประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว

    การวินิจฉัย

    โดยการตรวจร่างกายพบผื่นบริเวณดังกล่าว

    การรักษา

    ไม่มีการรักษาเฉพาะโดยมากรักษาตามอาการ

    ถ้ามีไข้ให้ยา paracetamol ลดไข้ห้ามให้ aspirin

    บ้วนปากด้วยน้ำเกลือใช้เกลือ1/2ช้อนต่อน้ำ1แก้วต้องมั่นใจว่าเด็กบ้วนคอได้

    ดื่มน้ำให้พอ

    งดอาหารเผ็ด หรืออาหารเป็นกรดเพราะจะทำให้ปวด

    โรคนี้หายเองได้ใน 5-7 วัน

    โรคแทรกซ้อน

    ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirus A16 ซึ่งหายเองใน 1 สัปดาห์ แต่หากเกิดจากเชื้อ enterovirus 71 โรคจะเป็นรุนแรงและเกิดโรคแทรกซ้อน

    ภาวะขาดน้ำ ต้องกระตุ้นเด็กให้รับน้ำให้เพียงพอ หากขาดน้ำรุนแรงจะต้องได้รับน้ำเกลือ

    มีการติดเชื้อซ้ำบริเวณที่เป็นแผล

    อาจจะเกิดชักเนื่องจากไข้สูง ต้องเช็ดตัวเวลามีไข้และรับประทานยาลดไข้

    อาจจะเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

    สมองอักเสบได้ ผู้ป่วยจะเกิดอาการ อาเจียน ซึม และชัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหาย

    การป้องกัน

    โรคมือเท���าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย

    ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย

    หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย สวมถุงมือเมื่อจะทำแผลผู้ป่วย

    หลีกเลี่ยงที่มีคนมาก

    ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับ่อย เช่นลูกบิด โทรศัพท์

    ไม่แบ่งของเล่นกับเด็กปกติ

    ควรพบแพทย์เมื่อไร

    ไข้สูงรับประทานยาลดไข้แล้วไม่ลง

    ดื่มน้ำไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม

    เด็กระสับกระส่าย

    มีอาการชัก

    แผลไม่หาย

    แหล่งข้อมูล: ฟัดวา
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้