Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรื��บัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ถามเพราะอยากรู้กฎหมายจริงๆ?

ส่วนใหญ่ผมจะถามความคิดเห็น โดยที่ผมก็มีความคิดเห็นของตัวเองด้วย แต่คราวนี้ขอนำปัญหาในที่ทำงานมาถาม เพราะอยากรู้กฎหมาย โดยที่ผมไม่รู้คำตอบอยู่ก่อน

คือผมทราบว่า คนที่ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือตำรวจ แต่แต่งเครื่องแบบเหมือนหรือคล้ายข้าราชการหรือตำรวจ จะผิดกฎหมายอาญา

ผมขอถามว่า แล้วถ้าคนที่เป็นข้าราชการอยู่ แต่แต่งเครื่องแบบเหมือนหรือคล้ายลูกจ้างประจำ จะผิดกฎหมายหรือไม่ครับ

ตอบตามความคิดเห็นก็ได้ หรือถ้าใครจะตอบโดยมีการอ้างอิงที่เชื่อถือได้ด้วยก็จะขอบคุณยิ่งครับ

อัปเดต:

.

.

ที่จริงผมถามอ้อม ๆ แต่ปัญหาในที่ทำงานจริง ๆ คือ มีหนังสือจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตอบข้อหารือ ว่า "เครื่องแบบพนักงานราชการ จักต้องไม่เหมือนหรือคล้าย เครื่องแบบข้าราชการหรือลูกจ้างประจำซึ่งมีกฎหมายรับรองสิทธิ์ในการแต่งเครื่องแบบไว้"

หนังสือฉบับนี้ทำให้กลุ่มพนักงานราชการ กศน. เกิดความไม่พอใจ ( เดิมพนักงานราชการ กศน. แต่งเครื่องแบบสีกากี เข็มขัดสีกากี และใช้อินทรธนูเหมือนลูกจ้างประจำ ) โดยคิดว่า เป็นการ "แบ่งชนชั้น"

แต่ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องการแบ่งชนชั้น คือถ้าลูกจ้างประจำแต่งกายเหมือนข้าราชการแล้วผิดในขณะที่ข้าราชการแต่งกายเหมือนลูกจ้างประจำไม่ผิด อย่างนี้จึงจะเป็นการแบ่งชนชั้น

จากคำตอบหลาย ๆ ท่าน พอจะสรุปได้ว่า ข้าราชการแต่งเครื่องแบบลูกจ้างประจำโดยมีเจตนาอำพราง ลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดในบทบาทหน้าที่ของตน ก็ผิดเช่นเดียวกัน จึงแสดงว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการแบ่งชนชั้น

ผมว่าคำตอบของคุณ Chef Noy71 กับคุณ Stardust ให้ข้อมูลมากกว่าคนอื่น ๆ แต่เมื่อต้องเลือกคำตอบเดียว ผมขอเลือกคำตอบคุณ Chef Noy71 เป็นคำตอบที่ดีที่สุดครับ เพราะพูดถึงเรื่อง "ทำให้ผู้อื่นเข้าใ

5 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 9 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ตามหลักกฏหมายอาญา

    หนึ่ง ต้องมีผู้เสียหาย หรืออัยการ เป้นโจทก์ เริ่มต้นคดี ด้วยการร้องทุกข์ กล่าวโทษก่อน

    สอง ความเสียหายที่เกิดขึ้น ควร หรือ ต้อง ประเมินความเสียหาย เป็นตัวเงินได้

    สาม ผู้กระทำความผิด จะอ้างว่าไม่รู้กฏหมายไม่ได้ เพราะมีกฏหมายบัญญัติไว้แล้ว

    กรณีตามคำถาม ควรพิจารณาว่า การที่ผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด

    คือ นำเครื่องแบบที่ตนไม่มีสิทธิสวมใส่ นั้น ได้ก่อให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือไม่

    ถ้าข้อเท้จจริง ฟังว่า ผู้้ต้องหา มีเจตนาอำพราง หรือ เจตนาอย่างหนึ่งอย่างใด ในการลวง

    ให้ผู้อื่นเ้ข้าใจผิด ในบทบาทหน้าที่ของตน อย่างนี้ น่าจะถือว่า เป้นความผิดสำเร็จ ครับ

    ตย. เช่น นายดำ ไปซื้อ ชุดทหาร ลายพราง จากตลาดนัด มาสวมใส่ เพื่อกันหนาว

    สวมใส่ เพื่อทำนา ทำไร่ อย่างนี้ แสดงว่า นายดำ ไม่มีเจตนา หลอกลวงผู้อื่น ครับ

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    โดยส่วนตัวผมว่าไม่มีกฎหมายรองรับนะครับสำหรับการแต่งกายเลียนแบบลูกจ้างประจำแต่หากในกรณีดังกล่าวนั้นเป็นการแต่งกายหรือนำเอาเครื่องหมายตราต่างๆของทางราชการที่มีกฎหมายรองรับอยู่เพื่อนำไปใช้ให้ก่อประโยชน์ส่วนตนหรือทำให้บุคคลอื่นนั้นเข้าใจผิดและได้รับความเสียหายย่อมต้องมีโทษตามที่กฎหมายระบุไว้เช่นกันครับ

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    -ถ้า ลูกจ้างประจำ มีการแต่งกาย ซึ่งออกเป็นพรบ. ไว้

    การแต่งเลียนแบบ น่าจะมีความผิดตามกฏหมาย

    แม้ว่า ผู้แต่งจะมีตำแหน่งหน้าที่เหนือกว่าเครื่องแบบที่ตัวแต่งอยู่

    เนื่องจากมีพรบ.คุ้มครองการใช้เครื่องหมายสังกัดฯลฯอยู่

    มิได้ยกเว้นว่า ผู้ที่ไม่มีสิทธิ จะแต่งได้

    ยกเว้นจะมีในกฏกระทรวง ที่เป็นข้อย่อยระบุไว้ชัดเจนว่า

    ข้าราชการหน่วยนั้น มีสิทธิแต่งเครื่องแบบลูกจ้างประจำได้

    ก็ไม่น่าจะผิด

    ถ้าเป็นปัญหา ก็คงต้องให้ศาลชี้ขาด ว่าการกระทำแบบนั้น

    ทำเพื่ออะไร ใครได้ผลประโยชน์ และใครเสียประโยชน์

    เพราะศาลจะดูเจตนารมณ์ของผู้กระทำเป็นหลัก

    http://www.opm.go.th/OpmInter/content/legal/%E0%B8...

    ถ้าเป็นการปลอมตัวมา เพื่อจับผิดใครสักคน

    และผู้เสียหายจากการกระทำนั้���เอาฟ้องร้อง

    ศาลจะวินิจฉัย ถึงสภาพแวดล้อม

    และเร่องการละเมิดพรบ.การใช้เครื่องแบบลูกจ้าง

    ซึ่งคงเป็นเรื่องน่าแปลกใจ..

    ถ้ามีใครมาเล่าให้ผมฟังว่า ผู้กำกับหรือหัวหน้าตำรวจ

    แต่งตัวด้วยเครื่องแบบจ่าหรือดาบตำรวจ

    มานั่งอยู่ร้านกาแฟ ฟังพวกตำรวจคุยกันในโรงอาหาร

    คือรายละเอียดมันน่าสนใจมากกว่าสิ่งที่เห็นน่ะครับ

    .

  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    เครื่องแบบลูกจ้างประจำนั้น เป็นเครื่องแบบที่มีกฎกระทรวง กฎหมายรับรองหรือไม่? ถ้ามีก็ผิด แต่ที่เขียนว่าเป็นข้าราชการอยู่ แต่แต่งเครื่องแบบเหมือนหรือคล้ายลูกจ้างประจำ น่าจะแบ่งเป็น 2 กรณี

    1. ในสังกัดเดียวกัน ไม่น่าจะผิด

    2. นอกสังกัดกัน ต้องผิด

  • ?
    Lv 4
    9 ปี ที่ผ่านมา

    เท่าที่พอทราบคือ....

    ต่อเมื่อกระทำความผิด !

    และความผิดนั้นๆสำเร็จแล้ว...!!

    ถือว่าผิดครับ ไม่ว่าจะใส่เครื่องแบบใดๆ หรื่อชุดแต่งกายใดๆครับท่าน

    ########

    ยังมีกฎหมายที่ อ่าน-ฟังดูตลกๆอีกเยอะแยะครับ

    วันใหนว่างๆ จะมาสาทยายให้ฟังครับท่าน

    ########

    ต้องขออภัย...ผมโดนไข้หวัดเล่นงานอยู่ เลยนั่งหน้าจอนานๆไม่ค่อยได้ครับ.........แค่ก ๆ ๆ ๆ

    แหล่งข้อมูล: ข้าพเจ้าเอง
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้