Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภา��ม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

หนังสือพิมพ์มติชนลงกลอนเศ้ราเพื่ออะไรได้อะไรขึ้นมาถามหน่อย?

ที่สำคัญคนไทยรู้ดีว่าสัญลักษณ์ที่ใช้แทนพระเจ้าแผ่นดินที่เข้าใจกันทั่วไปคือ “ฟ้า” ผู้ประพันธ์จงใจเล่นกับ “ฟ้า” คือฟ้าสว่าง กับ วันที่ฟ้ามืดเมฆมัว มองยังไงก็เข้าใจว่าต้องการสื่อถึงพระมหากษัตริย์ หากไม่มีความช่ำชอง ร้อยคำที่มีความหมายสื่อสารชัดเจน ความเข้าใจของผู้รับสารจะแตกต่าง ตีความเป็นลบได้ .. โดยเฉพาะวรรคส่งบทท้าย “ฝันว่าฟ้าสว่างดีอย่างไร” ชวนให้ประหวัดถึงคำขวัญของ พคท.ในอดีตที่ว่า “เมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ” พร้อมๆ กัน (แม้ผู้แต่งอาจจะไม่ตั้งใจก็ตาม)

ในมิติของการมองในแง่ดี เนื่องจากผู้แต่งยังอ่อนด้อยไม่สามารถเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม การสื่อสารเลยเกิดปัญหาให้เกิดการตีความในแง่ลบ ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติว่าด้วยอาเศียรวาทเขาถือกันเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชคงมีปัญหาแล้ว

มองในแง่ลบ – เนื่องจากค่ายมติชนรายวันสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรฝ่ายแดงที่มีหลายเฉด รวมไปถึงข้อเสนอเรื่องแก้กฎหมาย ม.112 ฯลฯ อาจต้องการนำเสนอ “อุดมการณ์ความคิด” แบบที่เคยมีผู้เสนออยากเห็นสถาบันกษัตริย์เป็นแบบเนปาล ญี่ปุ่น ฯลฯ ผู้ประพันธ์จึงต้องการแทรกอุดมการณ์ความคิดลงในบทอาเศียรวาท จึงปรากฏชุดคำที่สื่อความหมายถึง “ฟ้า” การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศและท้องฟ้า รวมไปถึงการถวิลหา “ฟ้าสว่าง” แทนที่สภาพปัจจุบัน ซึ่งคิดว่าแม้จะมีความเป็นไปได้อยู่บ้างแต่ผู้บริหารมติชนคงไม่เหิมเกริมถึงขั้นนั้น (หรอกน่า) อย่างไรก็ตามด้วยชั้นเชิงของคนประพันธ์ที่ยังอ่อนด้อยอยู่ ทำให้การพยายามจะนำเสนออุดมการณ์ทั้งชุดยังไม่ละเมียดละไม ปรากฏเพียง “ชุดคำสีแดง” ที่แยกๆ แตกๆ กันแต่ละบทละวรรคให้พอจับต้องเป็นร่องรอยได้

ถามว่าสังคมประชาธิปไตยแบบเปิด รธน.รับรอง Right of speech ทำได้มั้ย..ตอบว่าทำได้ แต่ในมิติทางสังคมวัฒนธรรมแล้วดูยังไงก็ไม่เหมาะสมกับกาละเทศะด้วยประการทั้งปวง

………..

(ป.ล.สำหรับท่านที่ต้องการสาระจริงๆ ควรข้ามบทวิเคราะห์แบบอัลเธอร์เนถีบด้านล่าง)

มองในแง่อัลเธอร์เนถีบ (ฮา) - คงจะแค่ต้องการแสดงอิทธิฤทธิ์ของความเป็นปัญญาชนคนก้าวหน้าที่ต้องการจะฉีกธรรมเนียมอาเศียรวาทแบบโบร��ณมาเป็นสมัยใหม่ โดยใช้ภาษาเด็กแว้น เด็กแนว คือภาษาที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ เป็นการยกระดับคำประพันธ์ของไทยก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 คือ กลอนแอ๊บสแตรก อ่าน 100 คนตีความได้ 100 อย่าง ดังนั้นการตีความว่ามติชนกระทำไม่เหมาะสมที่ใช้อาเศียรวาทแบบนี้จึงเป็นความคิดล้าหลังของสลิ่มหัวโบราณ ไม่เท่าทันแว้นศตวรรษที่ 21

จบ-บทวิเคราะห์แบบกึ่งยิงกึ่งผ่าน

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?Ne...

1 คำตอบ

คะแนนความนิยม
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้