Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

สัมมาทิฏฐิสองอย่าง ต่างกันนัก ขอเชิญท่านมาร่วมพิจารณาหาความต่างกัน?

เคยทราบกันบ้างไหม ว่าแม้แต่สัมมาทิฏฐิ อันเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญมากมากสำหรับการทำความเข้าใจและแม้แต่การลงมือปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา ก็แบ่งเป็นสองระดับ คือระดับโลกิยะและโลกุตตระ ท่านคิดหรือเข้าใจความแตกต่างระหว่างสัมมาทิฏฐิสองระดับนี้ว่าอย่างไร

"สัมมาทิฏฐิที่ยังเป็นไปด้วยอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก ดังที่ว่า "ทานที่ให้แล้ว มี, ยัญที่บูชาแล้ว มี, การบูชาที่บูชาแล้ว มี, ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี, โลกนี้ มี,​ โลกอื่น มี, มารดา มี, บิดา มี, โอปปาติกะสัตว์ มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาโดยชอบเอง และประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็มีอยู่"

สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโล���ุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค คือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ และสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญอยู่ซึ่งอริยมรรค" (จากหนังสืออริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย)

เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจธรรมะในพระพุทธศาสนาที่ชัดเจนและต้องตรงยิ่งขึ้น

อัปเดต:

เชิญชวนแสดงความเข้าใจค่ะ

อัปเดต 2:

ยกตัวอย่างที่ได้ฟังมาเร็ว ๆ นี้ค่ะ ท่านชยสาโร อธิบายถึงสัมมาทิฏฐิสองระดับ ระดับแรกมาจากความคิดความเชื่อ เช่น เชื่อว่าการกระทำมีผล เราพูดอะไรออกไปด้วยความโกรธ ผลที่เกิด คนได้ยินก็โกรธ ก็ได้ ตัวคนพูดเองก็ทุกข์จากความโกรธ ก็ได้ หากมีการพิจารณา จนเข้าใจ"ประจักษ์" ถึงผลของการกระทำ คือเห็นจริง โดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องเชื่อ อันนี้ก็จะเป็นสัมมาทิฏฐิระดับที่สอง ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งค่ะ

อัปเดต 3:

ลักษณะของสัมมาทิฏฐิ ระดับสูงสุด

"กัจจานะ! สัตว์โลกนี้ อาศัยแล้วซึ่งส่วนสุดทั้งสอง โดยมาก คือ ส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงมี (อตฺถิตา) และส่วนสุดว่าสิ่งทั้งปวงไม่มี (นตฺถิตา).

กัจจานะ! เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นแดนเกิดขึ้นแห่งโลก (โลกสมุทย) อยู่, ทิฏฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีในโลกย่อมไม่มี.

กัจจานะ! เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งโลก (โลกนิโรธ) อยู่, ทิฏฐิที่ว่าสิ่งทั้งปวงมีในโลก ย่อมไม่มี.

กัจจานะ! สัตว์โลกนี้โดยมาก มีอุปายะ อุปาทานะ และอภินิเวสเป็นเครื่องผูกพัน*; ส่วนสัมมาทิฏฐินี้ ย่อมไม่เข้าไปหา ย่อมไม่ยึดมั่น ย่อมไม่ตั้งทับ ซึ่งอุปายะและอุปาทานทั้งสองนั้น ในฐานะเป็นที่ตั้งทับเป็นที่ตามนอนแห่งอภินิเวสของจิต ว่า "อัตตาของเรา" ดังนี้. "ทุกข์นั่นแหละ เมื่อเกิด ย่อมเกิด ทุกข์นั่นแหละ เมื่อดับย่อมดับ" ดังนี้ เป็นสัจจะที่ผู้มีสัมมาทิฏฐิไม่สงสัย ไม่ลังเล. ญาณดังนี้นั้น ย่อมมีแก่เขา ในกรณีนี้ โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัยเพื่อความเชื่อ.

กัจจานะ! สัมมาทิฏฐิ ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

นิทานวัคค์ สังยุตตนิก

อัปเดต 4:

นิทานวัคค์ สังยุตตนิกาย เล่มที่ ๑๖ หน้า ๒๐-๒๑ ข้อที่ ๔๒-๔๓

3 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • pop
    Lv 7
    9 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ขอบคุณครับ ได้รู้เรื่องธรรมมะมากขึ้น

    เล่าให้ฟังใช่ใหม ไม่มีคำถามเลย

    อุทเทศแห่งสัมมาทิฏฐิ

    ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็ นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! ความรู้อัน

    ใด เป็ นความรู้ในทุกข์ เป็ นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็ นความรู้ใน

    ความดับแห่งทุกข์ เป็ นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับแห่งทุกข์.

    ภิกษุ ท. ! อันนี้เรากล่าวว่าสัมมาทิฏฐิ.

    - มหา. ที. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.

    สัมมาทิฏฐิโดยปริยายสองอย่าง

    (โลกิยะ - โลกุตตระ)

    ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท. ! เรากล่าวแม้

    สัมมาทิฏฐิว่ามีอยู่โดยส่วนสอง คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ

    (สาสว)๑ เป็นส่วนแห่งบุญ (ปุญญภาคิย) มีอุปธิเป็นวิบาก(อุปธิเวกฺก) ก็มีอยู่,

    สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ (อริย) ไม่มีอาสวะ (อนาสว) เป็นโลกุตตระ

    (โลกุตฺตร) เป็นองค์แห่งมรรค (มคฺคงฺค) ก็มีอยู่.

    ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นส่วน

    แห่งบุญมีอุปธิเป็ นวิบาก นั้นเป็ นอย่างไรเล่า? คือสัมมาทิฏฐิที่ว่า “ทาน

    ที่ให้แล้ว มี(ผล). ยัญที่บูชาแล้ว มี(ผล) การบูชาที่บูชาแล้วมี(ผล). ผลวิบาก

    แห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว มี. โลกนี้ มี. โลกอื่น มี. มารดา มี. บิดา มี.

    โอปปาติกะสัตว์ มี. สมณพราหมณ์ที่ไปแล้วปฏิบัติแล้วโดยชอบ ถึงกับ

    กระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่น ด้วยปัญญาโดยชอบเอง และประกาศให้ผู้อื่นรู้

    ก็มีอยู่” ดังนี้.ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ ที่ยังเป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็น

    ส่วนแห่งบุญ มีอุปธิเป็นวิบาก.

    ภิกษุ ท. ! สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ

    เป็ นองค์แห่งมรรค นั้นเป็ นอย่างไรเล่า? คือสัมมาทิฏฐิที่ได้แก่ ปัญญา ปญั ญิ

    นทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ และสัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรค

    ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอริยจิต ของผู้มีอนาสวจิต ของผู้เป็นอริยมัคคสมังคี ผู้เจริญ

    อยู่ซึ่งอริยมรรค. ภิกษุ ท. ! นี้คือ สัมมาทิฏฐิ อันเป็นอริยะ ไม่มีอาสวะ

    เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค.

    - อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๑/๒๕๖ - ๒๕๗.

    แหล่งข้อมูล: http://www.oknation.net/blog/buddha2600/2012/12/08... k
  • 9 ปี ที่ผ่านมา

    สาธุ,สาธุ,สาธุ

    ขอท่านผู้รู้ทุกๆท่าน

    ช่วยกันเด็ดเกล็ดอย่างนี้มาบ่อยๆนะครับ

  • ?
    Lv 7
    8 ปี ที่ผ่านมา

    .....ข้อมูลคับจอ.....

    .........จริง ๆ ค่ะ.......

    .....ฟิ้ววววววววววว.......

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้