Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

การดูแลผู้ป่วยต้องทำยังไงบ้างคะ?

คือว่าคุณครูให้ฝากหาข้อมูลน่ะค่ะ แต่ว่าพอเปิด Google หาแล้วก้อเจอแต่แบบที่ว่าการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออกประมานนั้นน่ะคะ่ เพราะฉะนั้นช่วยตอบหน่อยนะคะ ต้องการก่อนวันจันทร์ค่ะ ช่วยเอาแบบจิงๆจังๆหน่อยนะคะ

6 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 8 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    การดูแลผู้ป่วย..ต้องถามก่อนว่าคำว่าผู้ป่วยนั้นเป็นผู้ป่วยเกิดการติดเชิ้อ หรือโรค

    ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั้นชื่ออะไรเพราะการดูแลผู้ป่วยนั้น แต่ละโรค การดูแลจะแตก

    ต่างกันทั้งสิ้น ดังนั้นการตอบคำถามหรือการหาจากกูเกิ้ลคงจะไม่พบเป็นแน่แท้

    หรือหากรู้โรคหริือชื่อโรคนั้น เราก็สามารถพิมลงไปในกูเกิ้ลไงก็เชื่อว่ามันจะหา

    คำตอบมาให้เราจนได้เช่น การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ การดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ

    หรือ อื่นๆครับ

    โดยหากถามกว้างๆการดูแลผู้ป่วย แบบกว้างๆจะตอบได้ว่า การดูแลผู้ป่วย

    นั้นจะต้องดูความสามารถของผู้ป่วยเองว่าสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากน้อย

    เพียงใด ซึ่งการวินิจฉัยนี้จะนำไปสู่การให้ความช่วยเหลือดูแลนั่นเอง โดยอยาก

    ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ อัมพาต ที่ผู้ป่วยมีการขยับตัวหรือดูแล

    ตัวเองได้น้อยการให้การดูแลจะต้องเพิ่มมากขึ้นเช่น การป้อนข้าวป้อนน้ำ

    การจับผู้ป่วยพลิกตัว การดูแลความสะอาด การทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วย

    ซึ่งจะต่างกับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่ต้องลดอุณหถูมิของไข้ลงเพื่อการลด

    การแข็งตัวของเกร็ดเลือด ที่หากแข็งตัวจะนำไปสู่การช๊อคหรือหมดสติ ที่จะ

    เป็นอันตรายถึงกับชีวิตได้ ไงก็พอมองเห็นภาพแล้วนะครับ.

    แหล่งข้อมูล: ป๋าอิ๊กคิว สมาร์ทตี้-จี
  • pop
    Lv 7
    8 ปี ที่ผ่านมา

    ยกมาให้ดูชักตัวอย่างแล้วกันนะครับ

    การดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บ ณ ที่เกิดเหตุ

    ในความคิดเห็นของหลายๆ คน อาจคิดว่าไม่จำเป็นนักสำหรับการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

    แต่ในบางกรณีเวลาไม่กี่นาท ีที่รอรถนำส่งโรงพยาบาลอาจไม่เพียงพอ ที่จะต่อชีวิตให้ผู้เคราะห์ร้ายบางราย แม้กระทั่งสามารถผ่อนให้การบาดเจ็บไม่เพิ่มความรุนแรง หรือมีผลเลวร้ายไปกว่าที่เป็น เช่น การดามกระดูกหัก, การห้ามเลือดเบื้องต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้ประสบเหตุเป็นบุคคลที่เรารู้จักมักคุ้น อาจเป็นญาติสนิท หรือคนที่เรารัก การช่วยชีวิตคนเหล่านี้ หรือกระทั่งคนที่ไม่รู้จัก ย่อมเป็นการกระทำที่ดีงามและเหมาะสม

    แต่ต้องไม่ลืมหลักการสำคัญ ที่จะต้องรีบนำผู้ประสบเหตุส่งสถานพยาบาลที่เหมาะสมให้เร็วที่สุด

    หากว่าเราอยู่ ณ ที่เกิดเหตุ ย่อมไม่อาจปล่อยให้ผู้ประสบเหตุเสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตาโดยไม่ทำอะไรเลย ข้อจำกัดอย่างมากในเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการช่วยชีวิต ซึ่งมีเพียงวัสดุที่ติดตัวอยู่รวมทั้งข้าวของต่างๆ ที่พอหาได้จากในรถหรือหยิบยืมจากผู้ร่วมเห็นเหตุการณ์ ตลอดจนหาได้รอบๆ จุดเกิดเหตุ

    อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยชีวิตที่หาได้ ณ จุดเกิดเหตุและบริเวณใกล้เคียง

    - ปากกา

    - มีด,มีดพับ, คัตเตอร์

    - เชือก/เข็มขัด

    - เสื้อผ้า

    - ถุงพลาสติก

    - นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ต่างๆ

    - พลาสเตอร์พันสายไฟในรถยนต์ หรือ กระดาษกาว หรือ พลาสเตอร์อื่นๆ

    - กิ่งไม้, ท่อนไม้ หรือ ประแจ

    การดูแลระบบทางเดินหายใจ

    ทางเดินหายใจอาจอุดตันภายหลังได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ลิ้นตก, การบวมของเนื้อเยื่อบริเวณคอ, ก้อนเลือดในช่องปากและ ทางเดินหายใจส่วนบน, สิ่งแปลกปลอม, ฟัน, และเศษอาหารที่ผู้ป่วยอาเจียนขึ้นมา ผู้ป่วยที่มีโอกาสจะเกิดการอุดตันต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนสูงได้แก่ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวจากสาเหตุต่าง ๆ (เช่นได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ, เมาสุรา), ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บต่อกระดูกหน้ารุนแรง และผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่คอ

    ผู้ป่วยที่มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนอาจมีอาการกระวนกระวาย, หายใจมีเสียงดัง, เขียว, บางรายมีอาการเสียงแหบ, พูดไม่ออก หากผู้ป่วยที่เมื่อแรกรับสามารถพูดจาตอบคำถามได้ดีและหายใจได้ดี บ่งว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจอุดตัน

    ผู้ป่วยที่อาจมีปัญหาเรื่องการอุดตันของระบบทางเดินหายใจส่วนบน มักมีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ จึงควรระมัดระวังว่าผู้ป่วยอาจมีการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอด้วยเสมอ ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ไม่รู้สึกตัว, มีการบาดเจ็บต่อกระดูกหน้า, มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ, มีการบาดเจ็บที่คอ, และผู้ป่วยบ่นว่าปวดต้นคอ ผู้ป่วยเหล่านี้ควรได้รับการปกป้องกระดูกคอ, ระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และเมื่อจะทำหัตถการต่างๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวคอผู้ป่วย

    ณ ที่เกิดเหตุมีอุปกรณ์ที่จำกัด เราสามารถดูแลทางเดินหายใจได้จำกัดเช่นกัน โดยเริ่มจากการประเมินผู้ป่วย หากพูดเสียงปกติไม่น่าจะมีปัญหาทางเดินหายใจ แต่หากหมดสติไปอาจเกิดปัญหาเช่น สำลักเศษอาหาร หรือฟันปลอมเข้าไปได้ หรือมีลิ้นตกไปขวางทางเดินหายใจได้

    หัตถการที่พอจะทำได้ในสถานการณ์นี้คือ เปิดปากผู้ป่วยแล้วหยิบหรือล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากปาก เช่à¸�� อาหาร ฟันปลอม เป็นต้น ห้ามทำการหมุนหรือห้ามเอียงหรือห้ามขยับคอ เนื่องจากไม่ทราบว่าผู้ป่วยมีการบาดเจ็บต้นคอหรือไม่ การป้องกันกระดูกต้นคอสามารถทำได้โดยการหาวัสดุมาวางประกบข้างหูทั้ง 2 ข้างกั้นไม่ให้หันคอได้ หรืออาจใช้หนังสือนิตยสารห่อครึ่งหลังของศีรษะและต้นคอไว้เป็นการชั่วคราว

    การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต

    ระบบไหลเวียนโลหิตในที่นี้หมายถึงภาวะช้อค สาเหตุของภาวะช้อค ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดคือ การเสียเลือด สิ่งสำคัญที่ควรทำ คือ การหยุดเลือดที่กำลังออก ถ้าเลือดออกจากบาดแผลภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน ควรหยุดเลือดโดยใช้การกด เช่น กดแผลไว้, พันแขน/ขาที่มีเลือดออก

    สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้เสมอคือ ผู้ป่วยอาจมีการเสียเลือดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้มากกว่า 1 แห่ง จึงควรระมัดระวังในข้อนี้ไว้เสมอ

    ในที่เกิดเหตุ ควรห้ามเลือดหรือลดอัตราการเสียเลือดให้ได้มากที่สุด โดยที่ไม่ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เพิ่มขึ้น การขันชะเนาะหรือรัด Tourniquet นั้น ไม่แนะนำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้อวัยวะส่วนปลายจากบริเวณที่รัด มีอาการขาดเลือดรุนแรงมากขึ้น

    การยกขาผู้ป่วยให้สูงขึ้นกว่าระดับหัวใจจะทำให้เลือดจากช่วงล่างของร่างกายไหลเวียนกลับเข้าหัวใจมากขึ้น ช่วยเสริมชีพจรและความดันโลหิตได้บ้าง

    การห้ามเลือดบริเวณบาดแผลภายนอกที่เหมาะสม ควรใช้การกดที่แผลโดยตรง โดยการใช้ผ้าที่สะอาดกดเอาไว้หรือพันให้แน่นขึ้นโดยใช้เข็มขัด, เชือก หรือ เศษผ้าที่หาได้ แต่ต้องคอยตรวจสอบชีพจรส่วนปลายเสมอว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลังจากกดหรือพันไปหรือไม่

    บางตำแหน่งไม่สามารถพันรอบได้หรือกดได้ถนัด เช่น บาดแผลถูกแทงบริเวณคอ ซึ่งหากแน่นเกินไปอาจก่อปัญหาทางเดินหายใจได้ จึงควรใช้นิ้วกดบริเวณบาดแผลไว้ เป็นการชั่วคราวระหว่างรอและนำส่งโรงพยาบาล

    บริเวณกระดูกที่หักควรดามกระดูกไว้ชั่วคราว โดยการใช้กิ่งไม้หรือท่อนไม้รอบๆ ที่เกิดเหตุ หรือแม้กระทั่งใช้ประแจหรืออุปกรณ์ซ่อมรถอื่นๆ ที่หาได้ดามบริเวณที่หักไว้ แล้วใช้เชือก, เข็มขัด หรือเศษผ้าพันไว้ก่อน จะสามารถลดอัตราเลือดที่ออกได้ และลดความเจ็บปวดของผู้ประสบเหตุได้อย่างมาก

    หากสงสัยว่ามีกระดูกเชิงกรานหักจากการตรวจร่างกายเบื้องต้น ควรใช้ผ้าพันรอบกระดูกเชิงกรานที่ระดับสะโพก (Pelvic binding) จะลดการเสียโลหิตไปได้

    นอกจากนั้นที่พอกระทำได้ในที่เกิดเหตุ คือ การป้องกันกระดูกสันหลังและไขสันหลัง โดยระมัดระวังให้กระดูกสันหลังผู้ป่วยอยู่ในแนวเส้นตรงเสมอ ไม่เอียง ไม่งอ ไม่ก้ม ไม่เงย หรือไม่บิดไม่ว่าจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือไม่ก็ตาม เพื่อไม่ก่อให้เกิดความพิการเพิ่มเติม

  • 8 ปี ที่ผ่านมา

    การดูแลผู้ป่วย ก็เหมือนกับเราดูแลตัวเองนั้นแหละ เพียงแต่ผู้ป่วยจะทำไรอะไรไม่ได้ ทุกอย่าง เราต้องเป็นคนไปช่วยทำให้ในส่วนที่เขาทำไมได้ เช่น เช้าตื่นมา เราก็ต้องอาบน้ำหรือเช็ดตัวเปลี้ยนเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอนต่างๆ ให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรค หาอาหารที่เหมาะสมกับกับร่างกายหรืออาการของผู้ป่วย สอบถาม ว่า ต้องการอะไรเพิ่มไหม อยู่เป็นเพื่อนคุย บรรยากาศในห้องต้องปลอดโป่งโล่งสบาย อากาศถ่ายเทสะดวก

    ตั้งคำถามกว้างไปนะ

  • ?
    Lv 7
    8 ปี ที่ผ่านมา

    ......คำถามกว้างมากค่ะ........

    ช่วยระบุให้แคบลงมาซักนิด

    เพื่อ...................

    " ผู้ตอบคำถาม " จะได้พอหาข้อมูลให้ได้บ้างน่ะค่ะ

    .............................................................

  • 8 ปี ที่ผ่านมา

    ไม่แจ้งว่าเป็นผู้ส่งอีเมลขยะโปรดเพียงต้องแนะนำตัวเองใน

  • 8 ปี ที่ผ่านมา

    ทักทายทั้งหมดแวะไปที่พร็อกซี่นินจาของฉันบทความ

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้