Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

อยากถามอะไรวิธีฟื้นฟูสุขภาวะของผู้หญิงวัย 50 ปีเป็นไปได้ไหม?

อยากดูแลตนเองน่ะ มีวิธีการอะไรบ้าง

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 8 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เป็นไปได้ตามปกติครับ แต���ทุกอย่างเริ่มที่ตัวป้าเองนะครับ

    ลุงใช้วิธี 5 อ ครับ )ป้าต้องทำให้ได้ทั้งหมด อย่าอ้างโน่นนี่(

    1 อารมณ์...ดี )งดโลภ โกรธ หลง(

    2 อากาศ...ดี )สูอกากาศบริสุทธิ์ลึกๆลงถึงช่องท้อง(

    3 อาหาร...ดี )ยึดหลักโภชนาการตามวัย(

    4 ออกกำลังกาย...ดี )แบบแอโรบิค ไม่ใช่เต้นย็อกแย็กแบบที่มีครูแด๊นเซอร์นำนะ คนละเรื่องเลย(

    5 อุจาระ...ดี )อึทุกเช้าหลังตื่นนอน 6.00 น.(

    แหล่งข้อมูล: ลุงเองนะ
  • 8 ปี ที่ผ่านมา

    เป็นไปได้ค่ะ สำหรับการจัดการ อาหารที่เหมาะสม อยู่ในที่อากาศดี

    ฝึกฝนการใช้อารมณ์ รู้จักอารมณ์ของตัวเองดี รวมถึงอนามัยส่วนตัว

    และออกกำลังอย่างพอสมควรแก่ร่างกาย

    รายละเอียด แยกย่อย ต้องดูที่สภาพร่างกาย งานอาชีพ สถานที่อยู่

    อาศัย คนรอบข้าง แล้วมาปรับกันเป็นเรื่อง ๆ ไปค่ะ

  • 8 ปี ที่ผ่านมา

    สุขบัญญัติ สิบประการ ท่านห้ามปล่อย

    อาจกินน้อย หวาน มัน เค็ม เล็มเท่านั้น

    ออกไปเดิน พบเพื่อนฝูง สุงสิงกัน

    ห้ามอยู่บ้าน คิดหงอยเหงา เศร้าคนเดียว

    ประสบการณ์ ท่านสอนใคร ได้หรือเปล่า

    หรือลองเข้า เล่นรู้รอบ ถาม-ตอบเข้า

    เห็นคะแนน ก็สุขแล้ว เพื่อนแก้วเรา

    ยิ่งเจอเขา เลือก..ที่สุด.. ช่วยชู๊ตใจ

  • pop
    Lv 7
    8 ปี ที่ผ่านมา

    การใช้ยารักษาปัญหาในสตรีวัยทอง

    ยาที่ใช้ ในการรักษาปัญหาในสตรีวัยหมดระดู แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม (ดังแสดงในตารางที่ 5) คือ กลุ่ม ฮอร์โมนเพศ และ กลุ่ม ยาที่ใช้รักษาเฉพาะอาการ

    ยาในกลุ่มฮอร์โมนเพศ ยังเป็น ยา ที่ได้ผลดีในการรักษาปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดระดู ส่วนยาที่ใช้รักษาเฉพาะอาการนั้นเหมาะสำหรับสตรีที่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องให้การรักษา แต่ มีข้อห้าม หรือไม่ต้องการ ใช้ฮอร์โมนเพศ

    นอกจาก ยาใน 2 กลุ่มนี้ ยังมีการนำเอาการแพทย์ทางเลือก ( complementary alternative medicine หรือ CAM ) ชนิดต่างๆ มาใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการที่สัมพันธ์กับภาวะหมดระดู แต่วิธีการเหล่านี้ยังขาดหลักฐานที่จะพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย และจาก หลักฐาน เท่าที่มี ในปัจจุบันพบว่าประสิทธิภาพของวิธีการเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ต่างจากการใช้ยาหรือวิธีการหลอก ( placebo )

    สรุป

    วัยทองเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามปกติจากวัยผู้ใหญ่สู่วัยสูงอายุ การดูแลสตรีวัยทองตั้งอยู่บนพื้นฐานของเวชศาสตร์ป้องกัน โดยเน้นที่การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ในสตรีที่มีปัญหาด้านสุขภาพอาจจะต้องให้การรักษาด้วยยา หรือฮอร์โมน การเลือกที่จะใช้ยาชนิดใดนั้นให้พิจารณาและปรับแต่งตามความเหมาะสมต่อสตรีวัยหมดระดูแต่ละราย โดยพิจารณาจาก อายุ อาการ ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม และโรคประจำตัว

    การส่งเสริมสุขภาพสำหรับสตรีวัยทอง

    การส่งเสริมสุขภาพในวัยนี้ทำได้โดยแนะนำให้ “ ปรับเปลี่ยน วิถีการดำเนิน ชีวิต ” ( life style modification ) ได้แก่ การเลิกสูบบุหรี่ การ รับประทานอาหารที่เหมาะสม การคลายเครียด และ การ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

    อาหาร ควรจะเป็นอาหารที่มีเส้นใยมาก มีแคลเซี่ยม พอเพียง และมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในปริมาณต่ำ อาหารดังกล่าวได้แก่ ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่างๆ สำหรับแคลเซี่ยมนั้นปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1 , 000-1 , 500 มก ดังนั้นอาจจะต้องเสริมแคลเซี่ยมจากแหล่งอื่น เช่น นม ผลิตภัณฑ์ของนม หรือยาเม็ดแคลเซี่ยม เนื่องจากปริมาณแคลเซี่ยมที่มีอยู่ในอาหารไทยโดยเฉลี่ยมีไม่เพียงพอ

    การออกกำลังกาย ควรจะเป็น การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เนื่องจากมีผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ทำให้ระบบทางเดินหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้มีรูปร่างและการทรงตัวที่ดี ไม่หกล้มง่าย ช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด นอกจากนี้การออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก ( weight bearing ) ยังช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก การออกกำลังกายแบบแอโรบิก มีหลายชนิด การ จะ เลือกชนิด ใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวก ความชอบ และข้อจำกัดด้านสุขภาพ สำหรับสตรีสูงอายุซึ่งมักจะมีโรคข้อเสื่อมร่วมด้วยนั้นไม่แนะนำให้ออกกำลังกายแบบที่มีการ******น้ำหนักอย่างรุนแรง แต่เน้นในเรื่องความยืดหยุ่นและการทรงตัว เช่น การรำมวยจีน ส่วน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ควรเริ่มการออกกำลังในปริมาณน้อยๆ ก่อน แล้วจึง เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ตามสมรรถภาพของร่างกาย

    การออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที การออกกำลังแต่ละครั้งจะต้องเริ่มจากการอบอุ่นร่างกาย ( warm up ) โดยค่อยๆ เพิ่มความรุนแรงจนอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นสูงสุด (คำนวณจากสูตร อัตราการเต้นสูงสุด= 220 – อายุ) แล้วคงไว้ที่ระดับนั้นจนได้เวลา ที่ต้องการ ก่อนที่จะหยุดจะต้องค่อยๆ ลดความรุนแรงของการออกกำลังลง ( cool down ) ไม่ควรหยุดทันที

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้