Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

การแกว่งแขนมีประโยชน์อย่างไร ช่วยรักษาโ���คได้หรือไม่?

เคยได้ยินมาว่าการแกว่งแขนมีประโยชน์หลายอย่าง รวมทั้่งยังเป็นการออกกำลังกาย อีกบางตำราก็บอกเป็นการเคลื่อนย้ายเส้นเอ็น ทำให้สุขภาพแข็งแรง หายจากโรคหลายโรค จริงหรือไม่

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • pop
    Lv 7
    8 ปี ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    กายบริหารแกว่งแขน” มีประโยชน์อย่างไร?

    หลังจากได้มีการค้นพบและเผยแพร่ตำรานี้ออกมา ที่นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณะรัฐประชาชนจีน ก็มีประชาชนนิยมทำกายบริหารแบบนี้ทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆโรคที่ไม่มีทางรักษาให้หายได้โดยการแพทย์ปัจจุบัน ก็สามารถใช้การบริหารแบบง่ายๆ นี้รักษาให้หายขาดได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการบำบัดโรคได้รวดเร็วอีกด้วย

    หลักสำคัญพื้นฐานของกายบริหารแกว่งแขน

    1. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่

    2. ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างลงตามธรรมชาติ อย่าเกร็ง ให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหลัง

    3. ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะและปากควรปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ

    4. จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรงเหยียบลงบนพื้นให้แน่น ให้แรงจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง

    5. สายตาทั้ง 2 ข้าง มองตรงไปยังจุดเดียว สลัดความกังวลออกให้หมด ให้จุดสนใจความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น

    6. การแกว่งแขน ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบาๆซึ่งตรงกับคำว่า “ว่างและเบา” ความสูงของแขนที่แกว่งไปให้อยู่ระดับที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องฝืน ให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา อย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว แกว่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหน่อย ตรงกับคำที่ “แน่นและหนั���” แกว่งจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือสูงไปกว่านั้นอีก ให้มีความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ 60 องศา

    เคล็ดวิชา 16 ประการ ของกายบริหารแกว่งแขน

    1. ส่วนบนปล่อยให้ว่าง ส่วนบนหมายถึง ศีรษะ อย่าคิดฟุ้งซ่าน มีสมาธิแน่วแน่ ควรทำอย่างตั้งอกตั้งใจมีสติ

    2. ส่วนล่างควรให้แน่น ส่วนล่างหมายถึง ใต้บั้นเอวลงไป ต้องให้ลมปราณสามารถเดินได้สะดวก เพื่อให้เกิดพลังสมบูรณ์ ฉะนั้นคำว่า “ส่วนบนว่าง ส่วนล่างแน่น” จึงเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารแกว่งแขน ขณะทำกายบริหาร หากไม่สามารถเข้าถึงจุดนี้ได้แล้ว ก็จะทำให้ได้ผลน้อยลงไปมากทีเดียว

    3. ศีรษะให้แขวนลอย หมายถึง ศีรษะจะต้องปล่อยสบายๆ ประหนึ่งว่ากำลังแขวนลอยไว้ในอากาศ กล้ามเนื้อบริเวณลำคอปล่อยให้ผ่อนคลายไม่เกร็ง มองตรงไม่ก้มไม่เงยหน้า

    4. ปากปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ หมายถึง ให้หุบปากเพียงเล็กน้อยโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคือ ไม่เม้มริมฝีปากจนแน่น

    5. ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย คือกล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกต้องให้ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ ไม่เกร็ง อ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย

    6. หลังยืดตรงให้ตระหง่าน คือปล่อยแผ่นหลังให้ยืดตรงต���มธรรมชาติ

    7. บั้นเอวตั้งตรงเป็นแกนเพลา หมายถึง บั้นเอวต้องให้เหมือนเพลารถ ต้องให้อยู่ในลักษณะตรง

    8. ลำแขนแกว่งไกว หมายถึง แกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา ได้จังหวะอย่างสม่ำเสมอ

    9. ข้อศอกปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติ หมายถึง ขณะที่แกว่งแขน อย่าให้แขนแข็งทื่อ ควรให้ข้อศอกงอเล็กน้อยเป็นธรรมชาติ

    10. ข้อมือปล่อยให้หนักหน่วง หมายถึง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือ จะรู้สึกคล้ายมือหนักเหมือนเป็นลูกตุ้มถ่วงอยู่ปลายแขน

    11. สองมือพายไปตามจังหวะแกว่งแขน หมายถึง ขณะที่แกว่งแขน ฝ่ามือหันไปด้านหลัง ทำท่าคล้ายกับกำลังพายเรือ

    12. ช่วงท้องปล่อยตามสบาย หมายถึง เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลายแล้วจะรู้ดีกว่าแข็งแกร่งขึ้น

    13. ช่วงขาผ่อนคลายยืนตรงตามธรรมชาติ หมายถึง ขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันนั้นควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ช่วงขา

    14. บั้นท้าย ควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย หมายถึง ต้องขมิบทวารหนัก คล้ายยกสูงให้หดหายเข้าไปในลำไส้

    15. ส้นเท้ายืนถ่วงน้ำหนักเสมือนก้อนหิน หมายถึงการยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคงยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน

    16. ปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้น หมายถึง ปลายนิ้วเท้าทั้ง 2 ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง

    เคล็ดลับพิเศษของกายบริหารแกว่งแขน

    ข้อพิเศษของกายบริหารแกว่งแขนคือ “บนสาม ล่างเจ็ด”

    ส่วนบน “ว่างและเบา” เรียกว่า “บนสาม”

    แต่ส่วนล่าง “แน่นและหนัก” เรียกว่า “ล่างเจ็ด”

    การเคลื่อนไหวอ่อนโยนละมุนละไม

    ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วจึงแกว่งแขนทั้งสองข้าง

    ด้วยเคล็ดลับพิเศษนี้แหละ ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเพราะส่วนบนแข็งแรงแต่ส่วนล่างอ่อนแอ ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็น ผู้ที่มีส่วนล่างแข็งแรงและส่วนบนกระชุ่มกระชวย อันเป็นลักษณะที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้โรคภัยทั้งหลายในร่างกายถูกขจัดออกไปเองจนหมด

    คำว่า “บนสาม ล่างเจ็ด” หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบการออกแรงมากและน้อย

    “บน” คือ ส่วนบนของร่างกาย หมายถึง มือ

    “ล่าง” คือ ส่วนล่างของร่างกาย หมายถึง เท้า

    “สาม” หมายถึง ได้แรงสามส่วน

    “เจ็ด” หมายถึง ใช้แรงเจ็ดส่วน

    เคล็ดวิชาคำว่า “บนสามล่างเจ็ด” มีความหมาย 2 ประการคือ

    ประการที่ 1 ในการออกแรงแกว่งแขน หมายถึง เวลาแกว่งแขนขึ้นข้างบน ใช้แรงเพียงสามส่วน เวลาแกว่งแขนลงต่ำมาข้างล่าง ใช้แรงเจ็ดส่วน

    ประการที่ 2 ในการออกแรงทั้งตัว หมายถึงถ้านับกันทั้งตัว การออกแรงก็มีอัตราส่วนเปรียบเทียบคือ บน : ล่าง = 3 : 7 คือแกว่งแขนไปข้างหน้านั้น จะเบาหรือแรงก็ตาม แต่มือจะต้องให้ได้ส่วนกับเท้า ในอัตราความแรง 3 ต่อ 7 อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากแกว่งมือแรง เท้าก็ต้องออกแรงยิ่งกว่านั้น นี่คือความหมายที่กล่าวไว้ว่า “ส่วนบนว่าง ส่วนล่างหนักแน่น” หรือ “บนสามล่างเจ็ด”

  • 8 ปี ที่ผ่านมา

    การออกกำลังกายจะช่วยให้เรามีสุขภาพกายและใจดี วิธีกายบริหารด้วยการแกว่งแขนเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายสามารถทำได้ทุกที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย ไม่มีข้อจำกัดในทุกโรคทุกวัย เพราะไม่ใช่การออกกำลังที่หักโหม ที่แน่ๆคือถ้าได้ทำแล้วจะมีทัศนคติที่ดีกับการออกกำลังที่สบายๆช่วยให้ผ่อนคลายได้

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    8 ปี ที่ผ่านมา

    แกว่งแขนออกกำลังกายได้เหงื่อ ได้บริหารปอด เลือดสูบฉีดดี ไขมันลด

    วิธีนี้สะดวก ไม่ต้องอะไรมาก อุปกรณ์ไม่เยอะ ท่าไม่ยาก ทำง่าย

    แกว่งแขนในห้องนอนยังได้เลย

    แต่ถ้ามีทำได้ ควรใช้วิธีเดินเร็วจะดีกว่าแกว่งแขนเยอะเลย

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    8 ปี ที่ผ่านมา

    ประโยชน์ของการแกว่งแขน

    หากทำติดต่อกันสัก 10 นาที จะให้ประโยชน์ในเรื่องของการออกกำลังกาย คือช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้ดีขึ้น สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ทำให้อารมณ์แจ่มใส เบิกบาน แต่หากต้องการบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บให้ได้ผล ก็ต้องทำติดต่อกันในระยะเวลานานกว่านั้น และทำบ่อย ๆ ทุกวันได้ยิ่งดี เพราะจะช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น

    ลดการสะสมของไขมัน หากเราควบคุมอาหารควบคู่ไปด้วย ก็จะช่วยลดพุงได้

    ลดความดันโลหิตสูง ช่วยทำให้การไหลเวียนของโลหิตเป็นไปอย่างปกติ

    ช่วยลดความเครียด เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย

    การได้ยืดเส้นยืดสาย จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า

    ลดอาการปวดบ่า คอ ไหล่ จากการทำงาน

    แก้โรคออฟฟิศซินโดรม ไม่ว่าจะเป็นนิ้วล็อก มือชา ไหล่ติด จากการนั่งทำงานงก ๆ อยู่กับหน้าคอมพิวเตอร์ หากลุกขึ้นมาแกว่งแขนให้เลือดลมได้ไหลเวียนเสียหน่อย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคนี้ได้มากเลยทีเดียว

    ลดน้ำตาลในเลือด โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่นำผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 มาฝึกออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขน นาน 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน รวม 8 สัปดาห์ ภายหลังพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

    ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะการแกว่งแขนจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น

    เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยชะลอการเสื่อมของเข่า เพราะการแกว่งแขนนั้นไม่มีการกระแทกน้ำหนักลงที่ส่วนขาเหมือนกับการวิ่ง หรือการขี่จักรยาน จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาข้อเข่า หรือขาด้วย

    แหล่งข้อมูล: kapook.com
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้