Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ถ้าจะแต่งงานไปอยู่จังหวัดที่ไกลบ้านต้องย้ายทะเบียนบ้านก่อน ใช่ไหม?

คืออีกไม่นานก็ใกล้เวลาที่จะแต่งงาน คือบ้านแฟนอยู่ไกลบ้านมาก อยู่คนละภาค ก็เลยอยากรู้ว่าก่อนแต่งต้องย้ายทะเบียนบ้านก่อน หรืออย่างไร ( บ้านแฟนอยู่ไกลมากนั่งรถ ใช้เวลา 20 กว่าชั่วโมงขึ้นไปน่ะค่ะ) ก็เลยอยากรู้ เกี่ยวกับการย้ายทะเบียนบ้าน การจดทะเบียน การเปลี่ยนนามสกุล การทำบัตรประชาชน ต้องย้ายทะเบียนบ้านก่อนอันดับแรกเลยใช่ไหม ต้องรีบไหม

4 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 7 ปี ที่ผ่านมา

    ทุกวันนี้...เป็นโลกยุค ดิจิทอล แล้ว ครับ จะแต่งงานกับหนุ่มบ้านไกล จะไปอยู่บ้านแฟน ไกลกันสุดเขตประเทศไทย แต่กังวลเรื่องเกี่ยวกับ ทะเบียนบ้าน ทะเบียนชื่อสกุล การจดทะเบียนสมรส การทำบัตรประชาชน ฯ นั้น ไม่ต้องเป็นกังวลครับ จะไล่เรียงให้ตามลำดับเลย นะครับ

    1. การสมรส หากคุณบรรลุนิติภาวะแล้ว 18 ปี ขึ้นไป มีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถทำการจดทะเบียนสมรสได้ที่ สำนักทะเบียนและบัตร ได้ทั่วประเทศไทย ครับ

    แต่หากคุณยังไม่บรรลุนิติภาวะ คืออายุต่ำกว่า 17 ปี จะทำการจดทะเบียนสมรสต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาครับ

    2.การย้ายทะเบียนบ้าน หรือ การย้ายชื่อตัวเองไปอยู่บ้านแฟนนั้น คุณสามารถไปขอย้ายที่สำนักทะเบียนฯ ที่บ้านแฟนคุณได้ครับ เขาเรียกว่าขอย้ายปลายทางครับ

    3 การทำบัตรประจำตัวประชาชน หากมีบัตรเก่าที่หมดอายุหรือยังไม่หมดกรณีขอทำบัตรใหม่ ก็สามารถขอทำได้ทุก ๆ สำนักทะเบียนฯ ในประเทศไทย ครับ ยิ่งคุณไปจดทะเบียนสมรสที่บ้านแฟนและประสงค์จะใช้นามสกุลของแฟน หรือ นามสกุลเดิมของคุณ+นามสกุลของแฟน หรือ เฉพาะนามสกุลเดิมของคุณ เจ้าหน้าที่เขาก็จะทำบัตรประชาชนให้คุณได้นะที่นั้น ๆ ครับ

    เป็นไงครับสบายใจหรือยังครับ เมืองไทยยุค ดิจิทัล อะไร ๆ ก็สบาย ๆ ครับ เรื่องสบาย ๆ แบบนี้เกิดในยุค ทักษิณ ครับ (ใครทำดีก็ชมหน่อยครับ).

  • pop
    Lv 7
    7 ปี ที่ผ่านมา

    ไปที่ว่าการอำเภอเลยเตรียมเอกสารสำคัณทางราชการไปด้วยนะ

  • 7 ปี ที่ผ่านมา

    การย้ายทะเบียนบ้าน

    เป็นเรื่องของการหวังผลความสะดวกใน

    การติดต่อหน่วยราชการในอนาคตอันใกล้

    อย่างเช่นสิทธิในการเลือกตั้ง ก็จะได้สิทธิตามทะเบียนบ้าน

    เปลี่ยนบัตรประชาชน เมื่อเชื่อมั่นว่าต้องอยู่จังหวัดใดนานๆ

    ก็สมควรย้ายชื่อไปลงไว้ที่จังหวัดนั้นๆ

  • 7 ปี ที่ผ่านมา

    ครึ ครึ ครึ

    จะย้ายทะเบียนบ้าน ต้องมีคำรับรอง(ยินยอม)จากเจ้าของบ้านที่เราจะย้ายไปอยู่ด้วย(ยกเว้นกรณีฝ่ายทะเบียนฯดำเนินการเอง เช่น กรณีมีการเลือกตั้งในพื้นที่ เป็นต้น ฮา..)

    หากมีวัตถุประสงค์ ย้ายไปเพื่อเป็นการถาวร(สร้างครอบครัว) ก็แจ้งได้เลยที่สำนักงานทะเบียนต้นทาง(เทศบาลภูมิลำเนาปัจจุบัน) ให้ข้อมูลสถานที่ใหม่ หากปลายทางยินดีต้อนรับ เราสามารถถือหนังสือแจ้งขอย้ายไปแสดงที่สำนักงานทะเบียนที่ปลายทาง(จุดหมาย)ได้เลย หากต้องการความรวดเร็ว

    ส่วนกรณีที่อ้างว่าแต่งงาน ล้วนอยู่ในวิจารณญาณไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องย้าย(ทั้งการเปลี่ยนนามสกุล หรือทำใบสำคัญทะเบียนสมรส หากไม่แน่ใจ ไม่ทำก็ได้ ไม่มีการบังคับ) จะอยู่ทะเบียนบ้านเดิมก็ได้ บางคนขนาดไปอยู่ถึงต่างประเทศ ยังกลับมาใช้สิทธิฯที่ภูมิลำเนาเดิมได้ทุกประการ(ฮา..)

    ทะเบียนบ้าน เป็นหลักฐานสำคัญในการประกอบการพิจารณาร่วมกับบัตรประจำตัวประชาชนเกี่ยวกับประวัติทะเบียนของท่านสำหรับสิทธิในการเป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆ การย้าย การจด การรับรอง การประกัน การเดินทาง การทำงาน การซื้อขายฯลฯ รวมทั้งการรับผิดชอบต่างๆด้วย สำหรับส่วนราชการ ส่วนเอกชน และโดยส่วนตัว

    ก็แล้วแต่ การทำอะไรแบบเชื่อตามๆกันมาก็ดี เห็นคนอื่นเขาทำก็ทำมั่งก็ดี อย่างเช่น เช้าวันแต่งในการทำบุญเลี้ยงพระ แย่งกันจับตวักกระบวยทัพพีตักบาตรพระด้านบนของอีกฝ่ายให้ได้ เห็นแล้ว แหวะ..อ่ะ(ฮา..)

    Hope for the best,

    Expect the worst,

    Life is a play,

    We are unrchearsed.

    ในความหวังก็ให้หวังที่สูงสุด

    แต่อย่าลืมความโทรมทรุดสุดนึกฝัน

    ชีวิตเราเล่นละครกันทุกวัน

    ไม่มีใคร ทันได้ซ้อม ก่อนแสดง..

    นี่แค่ ถ้า..จะแต่งนะ เลยเถิดไปถึง ย้าย/จดทะเบียน เปลี่ยนนู่นเปลี่ยนนี่ ท่าทางจะไม่ธรรมดา(ฮา..)

    ย้าย..แล้วแต่ง หรือ แต่ง..แล้วย้าย ก็ครือกันล่ะครับ

    พอๆกับ แต่ง..แล้วหย่า หรือ หย่า..แล้วแต่ง(ใหม่)

    ชีวิตก็แค่นี้(ฮา..)

    แหล่งข้อมูล: ประสบการณ์..สอนมนุษย์มากกว่าการเรียน ผู้ใดมีความสามารถ ผู้นั้นดำรงอยู่ ผู้ใดมีวิธี ผู้นั้นรุ่งโรจน์ ผู้มีชัย เป็นจ้าว ผู้พ่ายแพ้ เป็นโจร
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้