Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

เรียนสายอาชีพ มีอะไรบ้าง?

เรียนสายอาชีพ มีอะไรบ้าง แล้วรู้ได้งัยว่าเราควรเรียนสายอาชีพแบบไหน

สายอาชีพมีสาขาอะไรน่าสนใจบ้าง เรียนยากไหม แล้วจบมาหางานง่ายไหม เงินเดือนดีไหม

จริงๆก็ผ่านวัยที่จะเรียนแล้วแต่ สงสัยมาก อยากรู้เผื่อมันจะมีประโยชน์ต่อคนรุ่นลูกรุ่นหลาน

ใครพอตอบคำถามด้านบนได้ช่วยตอบที่ค่ะ สงสัยและอยากรู้จริงๆค่ะ

2 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 7 ปี ที่ผ่านมา

    10 สิ่งที่ไม่เคยมีใครบอกเรา เมื่อจบการศึกษา

    การสำเร็จการศึกษาเป็นเสมือนก้าวแรกของการเดินออกไปสู่โลกกว้าง ที่เหล่านักศึกษาจบใหม่จะต้องพบเจอกับสิ่งต่าง ๆ มากมายในชีวิต พวกเราต่างมุ่งมั่นที่จะไขว่คว้าชีวิตที่ดี มีการงานที่ มั่นคง ด้วยความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมในศักยภาพของตัวเองว่าจะต้องผ่านพ้นทุกอย่างไปด้วยดี และก้าวขึ้นไปสู่จุดสูงสุดในชีวิต แต่ถึงอย่างนั้น แค่เพียงประสบการณ์ 4 ปีของเรา อาจจะยังไม่เพียงพอสำหรับการเผชิญหน้าต่อโลกของความเป็นจริงที่เราจะต้องพบเจอหลังจากนี้

    นักศึกษาจบใหม่1. โลกแห่งความเป็นจริง ไม่ได้เหมือนกับสิ่งเราคาดไว้

    ตลอดระยะเวลา 4 ปีที่เราศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย เราถูกปลูกฝังให้เห็นภาพของโลกที่แสนสดใส มองว่าทุกสิ่งล้วนเป็นเรื่องง่าย เพราะว่าเราคือบัณฑิตผู้มีศักยภาพของสังคม แต่แท้ที่จริงแล้ว ภาพที่สวยหรูนั้นก็ไม่ต่างจากคำโกหก เพราะโลกไม่ได้ง่ายขนาดนั้น การใช้ชีวิตคือการดิ้นรนและฟันฝ่า พวกเราที่เป็นบัณฑิตใหม่ล้วนแต่ด้อยประสบการณ์ และขาดการเตรียมพร้อม ดังนั้นเพื่อการก้าวออกไปเผชิญต่อโลกได้อย่างมั่นคง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อสิ่งต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

    2. ปริญญานั้นไม่ได้มีความหมายอะไรเลย

    จากสถิติล่าสุดของสำนักข่าวเอพีระบุว่า อัตราการว่างงานในหมู่ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่สูงถึง 53% นั่นหมายความว่า มีบัณฑิตจบใหม่เกินกว่าครึ่งที่ยังเตะฝุ่น ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการแข่งขันที่สูงมากในตลาดแรงงาน ผสมกับความต้องการแรงงานในตลาดที่น้อยลงหลังจากหลายอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย

    นอกจากนี้ ผลการเรียนของเหล่าบัณฑิตก็มักมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.00 ซึ่งนั่นทำให้เราแทบจะไม่มีความแตกต่างไปจากบัณฑิตคนอื่น ๆ เลย ดังนั้นการได้รับงานนักศึกษาจบใหม่อาจจะไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด และปริญญาก็อาจจะไม่ได้ช่วยให้ได้งานเสมอไป

    3. เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ทำให้เราหางานได้ยากขึ้น

    เทคโนโลยีเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญเบื้องหลังชีวิตที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ดังเช่นการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ หรือกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะทำให้เราเกิดความสะดวกสบายในชีวิต มันก็เป็นสิ่งที่เข้ามาลดบทบาทความสำคัญ และลดความจำเป็นในการจ้างงานมนุษย์เช่นกัน

    อย่างไรก็ตามยังนับเป็นเรื่องดีที่อุตสาหกรรมหลายประเภทยังคงต้องการแรงงานมนุษย์ เข้าไปควบคุมการทำงาน และดำเนินงานในสิ่งที่ผู้ใช้บริการทำผ่านระบบออนไลน์ของบริษัทอยู่

    4. ใช่ว่าทุกสิ่งจะเหมาะสมสำหรับเราเสมอไป

    ในโลกของการทำงาน บางครั้งเราอาจจะพบกับอุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ นั่นก็คือการไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ หรือต้องพบกับช่วงเวลาที่ยากลำบากเมื่อไม่ได้รับในสิ่งที่คาดหวังไว้ จนทำให้เราอยู่ในสภาวะที่เศร้าซึม พร้อมกับเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในใจ นั่นเพราะที่ผ่านมา เราถูกปลูกฝังให้มีความคาดหวังถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เราพอใจ แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นอาจจะไม่มีอยู่บนโลกของความเป็นจริงก็ตาม

    5. คนรักที่คบกันสมัยมหาวิทยาลัยมักจะกลายเป็นความทรงจำสีจาง ๆ

    อีกสิ่งหนึ่งที่คู่รักในรั้วมหาวิทยาลัยไม่เคยตระหนักและไม่คาดว่าจะเกิด ขึ้นก็คือ ความสัมพันธ์ของพวกเขามักจะจบลงเมื่อบัณฑิตทั้ง 2 ก้าวออกมาอยู่ในโลกของความเป็นจริง เพราะสิ่งต่าง ๆ และความกดดันที่เข้ามาในชีวิตจะทำให้พวกเขาเกิดความซับซ้อนในตัวเอง จนเติบโตขึ้นและเรียนรู้ถึงการจัดลำดับความสำคัญของงาน หรือสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกในการใช้ชีวิตเสียใหม่ ซึ่งจะทำให้พวกเขาต่างก้าวเดินไปตามเส้นทางของตัวเอง จนเป็นจุดสิ้นสุดของความสัมพันธ์นั้นในที่สุด

    6. การเกิดความคิดว่า ชีวิตตอนเรียนมหาวิทยาลัยคือช่วงชีวิตที่ดีที่สุด

    หากเรากำลังคิดว่าช่วงเวลา 4 ปีในมหาวิทยาลัยเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุดของเราแล้วล่ะก็ คิดผิดแล้วล่ะ เพราะไม่��ีเหตุผลใด ๆ ที่จะบอกได้ว่าทำไมช่วงเวลาเหล่านั้นจะต้องเป็นเวลาในชีวิตที่ดีที่สุด ขณะที่โลกภายนอกยังมีกิจกรรมต่าง ๆ รออยู่อีกมากมาย มหาวิทยาลัยเป็นเพียงบันไดให้เราก้าวไปสู่ชีวิตที่ดีที่สุดของเราเท่านั้น แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเกิดความคิดแบบนี้ขึ้นมาแล้วล่ะก็ นั่นก็คงเป็นสัญญาณว่าชีวิตของเรากำลังอยู่ในช่วงขาลง ทำให้เราเกิดความโหยหาช่วงเวลานั้นมากเหลือเกินเท่านั้นเอง

    7. นักเรียนที่สอบได้เกรด C เป็นผู้ขับเคลื่อนโลก

    เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับนักศึกษาทั้งหลายที่จะพยายามเรียนรู้ และมุ่งมั่นทำข้อสอบเพื่อคว้าเกรด A มาครอง ในขณะที่ใครอีกหลายคนที่ทำข้อสอบได้เพียงเกรด C กลับใช้ช่วงเวลาในการเรียนรู้นั้น เพื่อหาทางก่อตั้งกิจการของตัวเอง ซึ่งจริง ๆ แล้ว สัญชาตญาณในการเป็นเจ้าของธุรกิจนี้ต่างหากที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่เราได้ มากกว่าความรู้ที่มีอยู่เพียงในตำรา ซึ่งไม่สามารถนำมาเป็นคู่มือในการใช้ชีวิตได้ จนบางครั้งอาจเป็นเรื่องตลกเมื่อมหาวิทยาลัยได้กลายมาเป็นสถานที่ ซึ่งนักเรียนที่สอบได้เกรด A สอนนักเรียนที่สอบได้เกรด B ว่าจะทำงานให้นักเรียนที่สอบได้เกรด C ได้อย่างไรบ้าง

    8. ผูกมิตรสร้างสัมพันธ์

    อาจารย์บางคนอาจจะเคยแนะนำแล้วว่าเครือข่ายของเราเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าเราไม่ได้รอบรู้ในทุก ๆ สิ่งบนโลก แต่เพื่อน ๆ และคนรู้จักของเราอาจจะมีความรู้ในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเลือกคบหากลุ่มคนที่หลากหลาย จากกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ และจับตาดูว่าพวกเขามีการทำงานร่วมกันอย่างไรบ้าง เราควรจะคบหาทั้งเพื่อนที่เป็นเด็กเรียนและเด็กกิจกรรม เพราะใครจะรู้ว่าสักวันเราอาจจะต้องโทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือจากคนรู้จักของเราก็ได้

    9. ทุกการกระทำจะส่งผลตามมาเสมอ

    ในมหาวิทยาลัยเราสามารถทำในสิ่งที่เราชอบโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลที่จะตามมา แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้นเราต้องตระหนักอยู่เสมอว่าทุกการกระทำและทุกการ ตัดสินใจของเราจะส่งผลคืนสนองกลับมาเสมอ

    10. การทำงานหนักและทุ่มเท

    เราจะสามารถประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการทำงานหนักและการทุ่มเทของเราเอง พรสวรรค์อาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นใด ๆ และในมหาวิทยาลัยก็ไม่มีหลักสูตรที่จะสอนว่าเราจะก้าวผ่านความล้มเหลวของเรา ไปได้อย่างไรด้วย เพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะช่วยเราให้ปีนขึ้นจากหลุมแห่งความล้มเหลวได้ ก็คือประสบการณ์ของเราเอง

    สุดท้ายนี้ อยากฝากถึงบัณฑิตทุก ๆ คนนะว่า อย่าได้กลัวที่จะล้มเหลว อย่าได้เกรงกับอุปสรรคที่กีดกันเราได้ อย่าได้เป็นเพียงบัณฑิตมหาวิทยาลัยที่ใช้ชีวิตไปวัน ๆ แต่ให้เรากลายเป็นบัณฑิตนักแก้ปัญหาและทำงานได้ทุกสถานการณ์

    ที่มา : http://education.kapook.com/view62298.html

  • 7 ปี ที่ผ่านมา

    ครึ ครึ ครึ

    ก่อนอื่น ถามตัวเองก่อนว่า จะเป็นลูกจ้างเขา(ตลอดไป) รึจะเป็นนาย(ช่าง)ซ๊ะเอง

    ไม่เกี่ยวจะชอบรึไม่ชอบ แต่..ควรรู้ว่าเราถนัดอะไร

    ไฟฟ้า อิเล็คโทรนิค ยนตรกรรม เขียนแบบ บัญชี ฯลฯ

    ความยากง่ายต้องดูที่อิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)

    หางานง่าย หาเงินง่าย ต้องกอปรด้วยปัจจัยและสภาพแวดล้อมหลายอย่าง

    แต่..ที่ควรรู้ไว้ คือ สายอาชีพเป็นอะไรที่เร่งรัด ซึ่งแตกต่างกับทางวิชาการมาก

    เน้นที่การปฎิบัติ การสั่งสมประสบการณ์ การเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจนั้นๆ

    ตัวอย่างสายอาชีพที่เห็นได้ชัดและไวมากในปัจจุบัน คือ ช่างตัดผม หรือช่างเสริมสวย

    จังหวะดี มีลูกค้าประจำ และมากพอ ก็สามารถมีร้านเป็นของตนเองเลย

    บางคนไม่มีที่เรียนด้วยซ้ำ(ไม่มีประกาศฯ ไม่มีกระดาษรับรอง ฮา..)

    อาศัยครูพักลักจำ ก็สามารถแอ็คทีพตัวเองได้ เช่น เชฟ เป็นต้น

    เลยเป็นอะไรที่ อนุบาล ประถม มัธยม อุดมศึกษา (ตามลำดับ)ไม่เข้าใจ ก็ไม่ว่ากัน

    ขอแค่..อย่าดูถูกกัน เท่านั้นพอ โดยเฉพาะทั่นด๊อกฯทั้งหลาย(ฮา..)

    แหล่งข้อมูล: ประสบการณ์..สอนมนุษย์มากกว่าการเรียน ผู้ใดมีความสามารถ ผู้นั้นดำรงอยู่ ผู้ใด มีวิธี ผู้นั้น อยู่รอด ผู้ใด มีหลักการ ผู้นั้น รุ่งโรจน์
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้