Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Q_jaguar ถามใน ธุรกิจและการเงินสินเชื่อ · 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

เทคนิคการใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีอะไรบ้าง?

6 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    1.ต้องมีวินัยในตัวเองในการใช้เงินครับ หากจำเป็นต้องใช้บัตรจริงๆ

    - หากมีทางเลือกแบบ ผ่อน 0% ปลอดดอกเบี้ย

    - ปกติสถาบันการเงิน จะมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย อยู่ที่ 51 วัน

    - พยายาม ชำระแบบเต็มจำนวน ใน Due ที่ต้องชำระ จะไม่มีดอก

    2.ก่อนใช้บัตรกับทางร้านค้า พยายามสอบถามก่อนว่าจะมีการ ชาร์จ ค่ารูดหรือไม่ เพาระ บางร้านอาจมีการรูด

    แหล่งข้อมูล: *.*
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ใช้ในกรณีที่ต้องใช้วงเงินจำนวนมาก ๆ

    ไม่ต้องหอบเงินไป ไม่ปลอดภัย

  • Kid D
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    การบริหารบัตรเครดิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    ชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากการที่ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับบัตรเครดิตมา 2 สัปดาห์ ได้มีท่านผู้อ่านได้ส่งคำถามมายังดิฉัน และ website ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ซึ่งดิฉันเห็นว่า เป็นเรื่องน่าที่จะนำมาเผยแพร่ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบด้วย จึงขออนุญาตท่านผู้ส่งคำถามเข้ามานำมาตอบในครั้งนี้เลยนะคะ

    คำถามแรก คือการพิจารณา ว่าจะอนุมัติบัตรเครดิตหรือไม่ เป็นอำนาจของธนาคาร หรือบริษัทบัตรเครดิต ซึ่งถ้าเป็นการพิจารณาของธนาคารแล้ว จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคารใช่หรือไม่ โดยเฉพาะธนาคารต่างà��Šà¸²à¸•à¸´ ที่เปิดสาขาในไทยกับธนาคารของไทยเอง

    คำตอบก็คือ การพิจารณาอนุมัติบัตรเครดิตนั้น จะมีหลักเกณฑ์ใหญ่ๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดกรอบไว้ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิตที่เราเรียกกันว่า non-bank หรือธนาคารพาณิชย์ ไม่ว่าไทยหรือต่างประเทศ จะต้องปฏิบัติตาม

    อันได้แก่ รายได้ขั้นต่ำของผู้สมัคร จะต้องไม่น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือไม่ต่ำกว่า 180,000 บาทต่อปี นอกจากนั้น จะต้องดูกระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

    ทั้งนี้ โดยมากจะใช้เป็นหลักการพิจารณาสำหรับผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือผู้ที่มีรายได้เป็นลักษณะคอมมิชชั่น เพราะแต่เดิม ผู้ออกบัตรเครดิตมีวิธีปฏิบัติหลากหลาย เช่น ลูกค้าแจ้งเงินเดือน 5,000 บาท แต่มีรายได้อื่น 10,000 บาท ก็พิจารณาอนุมัติออกบัตรให้ โดยอาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดของการวิเคราะห์กระแสเงินหมุนเวียนของลูกค้า ทางธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ออกวิธีปฏิบัติให้เหมือนๆ กัน

    หากนอกจากกรอบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดแล้ว วิธีการพิจารณานั้น อาจจะมีความเหมือน หรือแตกต่างกันได้ แต่ที่จะปฏิบัติเหมือนๆ กันโดยไม่ได้เป็นการบังคับ คือการตรวจสอบข้อมูลจากเครดิตบูโร โดยที่ผู้ออกบัตร จะมีแบบฟอร์มยินยอมของลูกค้าผนวกอยู่ในใบสมัครเลย

    ถึงแม้ว่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลจากเครดิตบูโรเหมือนกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างในการพิจารณา คือจะ “เข้ม” จะ “จาง” ได้ต่างกัน ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก. สมัครบัตรเครดิตไป 2 แห่ง ณ เดือนมกราคม 2548 โดยมีข้อมูล คือนาย ก. เคยมีประวัติมีสินเชื่อเคหะกับธนาคารอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร ที่สมัครบัตรเครดิตคราวนี้ โดยมีการค้างชำระในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ของปี 2547

    แต่พอเดือนเมษายน ได้มีการชำระคืนทั้งหมด 4 งวด รวมดอกเบี้ยค้าง ทั้งนี้ อาจจะด้วยเหตุผลที่จำเป็นไม่ใช่ตั้งใจจะไม่จ่าย ด้วยข้อมูลที่เหมือนกัน บริษัทหรือธนาคาร A อาจจะปฏิเสธเลย เพราะได้มีกฎเกณฑ์ว่า จะไม่พิจารณาบุคคลที่เคยมีประวัติค้างชำระเลย (หลักเกณฑ์ที่เข้มสุด) แต่บริษัทหรือธนาคาร B อาจจะพิจารณาให้ด้วยหลักเกณฑ์ที่ว่า การค้างชำระดูแค่สถานะปัจจุบัน และจากเมษายนถึงธันวาคม 2547 มีการชำระตรงมาตลอด (หลักเกณฑ์ที่ยืดหยุ่น) ดังนั้น จะเห็นแล้วว่า ถึงจะมีข้อมูลเดียวกัน วิธีพิจารณาจะแตกต่างกันได้

    นอกจากนั้น จะมีบางบริษัท หรือธนาคาร ที่นำระบบ Credit Scoring มาใช้ (วิธีที่กล่าวข้างบน ที่มีการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ แล้วให้เจ้าหน้าที่พิจารณาตามหลักเกณฑ์ จะเรียกว่าเป็นวิธีแบบ Judgemental คือใช้วิจารณญาณของเจ้าหน้าที่)

    ซึ่งระบบ Credit Scoring คือวิธีการที่ใช้สถิติมาเป็นตัวประเมินผล ว่าจะอนุมัติหรือไม่ โดยคะแนนที่เป็นเกณฑ์นั้น จะได้มาจากการนำข้อมูลจากฐานลูกค้าที่มีอยู่ ทั้งลูกค้าดี ลูกค้ามีปัญหา ลูกค้าที่ก่อให้เกิดหนี้สูญ ลูกค้าที่สมัครแล้วไม่ได้บัตร มาประมวลกับคุณภาพของลูกหนี้ที่มีอยู่ ก็คือ สถิติว่า มีลูกหนี้ที่จ่ายชำระ ต่อลูกหนี้ที่ค้างชำระแต่ละช่วง เช่น 30-90 วัน, 90-180 วัน และ เกิน 180 วัน

    แล้วประมวลผลทั้งหมด ออกมาเป็นคะแนนที่จะให้สอบผ่าน หรือสอบตก โดยมีการพิจารณาหลักๆ เช่น อายุ เงินเดือน อาชีพ ภาระหนี้สินอื่น ซึ่งในระบบ จะไม่บอกว่าให้คะแนนหมวดไหนเท่าไหร่ มิฉะนั้น หากพนักงาน หรือบุคคลภายนอกทราบ อาจจะเกิดทุจริตได้

    วิธีการ คือเมื่อผู้สมัครสมัครเข้ามา เจ้าหน้าที่จะใส่ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ แล้วระบบจะประมวลผลคะแนน ทำให้ทราบว่า ลูกค้านั้นผ่านหรือไม่ โดยเทียบกับคะแนนที่เป็นเกณฑ์ ที่เรียกว่า cut off score

    ซึ่งในบางประเทศที่ระบบการรายงานต่างๆ เ

    แหล่งข้อมูล: ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ทำเครดิตเอาไว้ก่อนส่วนใหญ่จะทำบัตรเงินสด เอาไว้มีโอกาสที่เราพร้อมจะลงทุนเมื่อไหร่ค่อยกดออกมาใช้ ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่ต้องนำมาใช้ มีเงินพร้อมใช้ดีกว่า จะใช้แล้วไม่มี

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ใช้เท่าที่จำเป็น ใช้เพื่อความสะดวก ไม่ใช้เพื่อเพิ่มอำนาจการซื้อ จ่ายคืนตามกำหนดครบ100% ครับ

  • ?
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ใช้เมื่อเงินสดที่ติดตัวมีไม่พอ หรือเมื่อต้องจ่ายในวงเงินสูง

    ที่สำคัญควรคิดก่อนใช้ว่าใช้ไปแล้วจะหาเงินเข้าบัญชีได้ทันกำหนดหรือไม่

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้