Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

ธรรมะจะเป็นธรรมชาติได้อย่างไร เพราะธรรมะนั้นอยู่เหนือธรรมชาติ?

10 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    ต่อไปนี้ จะชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างโครงสร้างพื้นฐานของ “ธรรมะ” กับ “ธรรมชาติ” ดังนี้

    (1) “ธรรมะ” เล็งถึง “การธำรงรักษาไว้ซึ่งสภาวะของผู้สร้าง” โดยทรงไว้ซึ่ง “เหตุ” แห่งคุณงามความดี, ทรงไว้ซึ่ง “เหตุ” แห่งความชอบธรรม, ทรงไว้ซึ่ง “เหตุ” แห่งความถูกต้อง ฯลฯ กล่าวคือ “ผู้รู้จักธรรมะก็คือผู้รู้จักสภาวะของเหตุ” การหยั่งรู้สภาวธรรมแบบนี้ คนโบราณเรียกว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หรือ “ผู้ทรงดำรงอยู่” (I AM WHO I AM)

    แต่ “ธรรมชาติ” เล็งถึง ผลที่เกิดขึ้นจากเหตุ ตั้งอยู่ได้โดยเหตุ และก็ดับไปเพื่อเหตุ หรือ “สิ่งที่เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปโดยอาศัยเหตุ” การหยั่งรู้โลกตาม “สภาวะที่เป็นเหตุ-เป็นผล” แบบนี้เรียกว่า “ตถตา” หรือ “ความเป็นเช่นนั้นเอง” (TathataThusness) ที่เล็งถึงอิทัปปัจจยตา(หลักการของเหตุและผล) หรือ ปฏิจจสมุปบาท (ความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล)

    (2) “ธรรมะ” เล็งถึง “ความจริงสัมบูรณ์” (Absolute Being) ของสภาวะที่เป็นเหตุซึ่ง “ดำรงอยู่” ในความจริงสัมพัทธ์ “ดำรงอยู่” เหนือความจริงสัมพัทธ์ และยังคง “ดำรงอยู่” ตลอดไป แม้ว่าความจริงสัมพัทธ์ของสภาวะที่เป็นผลอื่น ๆ จะแตกดับไปแล้วก็ตาม

    แต่ “ธรรมชาติ” เล็งถึง “ความจริงสัมพัทธ์” (Relative being) ของสภาวะที่เป็นผลซึ่งอาศัยสิ่งอื่น (สภาวะที่เป็นเหตุ) เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป มีทั้งเจริญขึ้น (ตามสภาวะที่เป็นเหตุ) และเสื่อมลง (ตามสภาวะที่เป็นผล) เป็น “ตถตา” (ความเป็นเช่นนั้นเอง) เล็งถึง อิทัปปัจจตา ซึ่งเท่าเทียมกันทั้งหมด

    (3) “ธรรมะ” เล็งถึง “สภาวะที่เป็นหนึ่ง” ไม่มีด้านตรงข้ามจึง ขับเคลื่อนบนสภาวธรรมที่ “สืบเนื่องกัน” ในลักษณะ “ไตรธรรม” จะปรากฏโดยผ่านทางธรรม (เติมเต็มด้วยความดี) อธรรม (ว่างเปล่าจากความชั่ว) และธรรมาธรรม (การปกครองซึ่งดำรงอยู่เหนือกรรมดี-กรรมชั่วของวิญญาณ , ดำรงอยู่เหนือความสุข-ความทุกข์ของจิต , ดำรงอยู่เหนือความเกิด-ความตายของกาย ฯลฯ)

    แต่ “ธรรมชาติ” เล็งถึง “สิ่งตรงกันข้ามประกอบขึ้นเป็นสิ่งเดียวกัน” ถ้าทำสิ่งใดมากสิ่งตรงข้ามกับสิ่งที่ทำก็จะปรากฏจึงขับเคลื่อนบนสภาวะกรรมที่ “ต่างกัน” ในลักษณะ “ไตรกรรม” และจะปรากฏโดยผ่านทางกุศลกรรม (การทำดี) อกุศลกรรม (การทำชั่ว) และอัพยากฤตกรรม (การไม่ทำกรรมดี-การไม่ทำกรรมชั่ว)

    (4) “ธรรมะ” หมายถึง “การทรงตัวอยู่ถาวร”

    แต่ “ธรรมชาติ” หมายถึง “การทรงตัวอยู่ชั่วคราว” ของสิ่งทั้งปวงที่อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น อาศัยสิ่งอื่นตั้งอยู่ และอาศัยสิ่งอื่นแตกดับไป

    ท่านพุทธทาส (อเทวนิยม) กล่าวว่า “นิพพาน (ไกวัลยธรรม) เป็นสภาวะชนิดหนึ่ง.....แม้จะพูดว่ามีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงก็ยังน้อยไป พูดว่าอยู่คู่กับสิ่งทั้งปวงก็ยังน้อยไปเพราะเป็นสภาพที่อยู่เช่นนั้นโดยตัวเองจนตลอดอนันตกาล เราจึงกล่าวได้แต่เพียงว่านิพพานคืออมตะธรรมคือไม่ตาย เป็นอสังขตธาตุคือไม่เปลี่ยนแ���ลง ดุจอานุภาพของพระเจ้าที่ไม่มีวันตาย ตรงกันข้ามกับธรรมอื่น สิ่งอื่นซึ่งประกอบด้วยสังขตธาตุ”

    (5) “ธรรมะ” หมายถึง สภาวะที่อยู่ “เหนือธรรมชาติ”

    แต่ “ธรรมชาติ” เล็งถึง สภาวะที่เป็นไปตาม “ธรรมดา” ของสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป

    ท่านโพธิรักษ์ (อเทวนิยม) ได้กล่าวว่า “ความเข้าใจและความยึดถือที่ว่า “ธรรมะ คือ ธรรมชาติ” แล้วก็เห็นเลยเกิดไปถึงว่าแม้แต่ อนัตตาหรือนิพพานก็เป็นธรรมชาติด้วย เป็นความเข้าใจผิด ความจริงแล้วอนัตตาหรือนิพพานของพุทธคือสภาพ “เหนือธรรมชาติ” เรียกว่า “โลกุตระ” เพราะดับธรรมชาติหรือดับโลกียะในตนลงได้ เช่น มนุษย์ย่อมสมสู่สืบพันธุ์เป็นธรรมชาติ แต่ผู้ปฏิบัติธรรมะของพุทธ “ลดละกามุปาทาน” อย่างสัมมาทิฏฐิจนบรรลุถึงขั้นอนัตตาหรือนิพพานก็จะเป็นผู้สามารถดับธรรมชาติที่ต้องสืบพันธุ์ได้อย่างหมดเชื้อกิเลส อุปาทาน”

    ท่านโพธิรักษ์ (อเทวนิยม) ยังได้กล่าวอีกว่า “คุณก็คงจะเคยได้ยินใคร ๆ พูดกันมามากว่า “ธรรม” คือ “ธรรมชาติ” แต่สำหรับอาตมานั้น ก็เคยยืนยันมาหลายครั้งหลายคราแล้วว่า กล่าวเช่นนั้นมีส่วนถูกแค่ขั้นหยาบผิว ๆ เผิน ๆ เท่านั้น หรือจะกล่าวว่าพูดเช่นนั้น “ผิด” ก็ได้ เพราะถ้าแม้นเข้าใจ “ธรรม” ขั้นสูงขั้นเนื้อหาสำคัญ ชั้นสุดยอดของพุทธศาสนาแล้วจะรู้แจ้งชัดเจนว่า “ธรรม” ไม่ใช่ “ธรรมชาติ” หรือเอาให้ชัดลึกสุดยอดกันแล้ว “ธรรมขั้นนิพพาน” คือ ความไม่มี “ธรรมชาติ” หรือ “ดับธรรมชาติ” นั้นอย่างสนิทและยั่งยืนกันทีเดียว....

    สุดยอดของ “ธรรม” ที่เป็น “นิพพาน” นั้น เที่ยง (นิจจัง, ธุวัง, สัสสตัง, อสังกุปปัง ฯลฯ ) ไม

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะคือกฏเกณฑ์ตามธรรมชาติ เพียงแต่เรารู้เท่าทัน และดำเนินชีวิตได้สอดคล้อง ทำให้เราไม่ทุกข์ แต่การที่จะเข้าใจได้ดี และไม่เป็นทุกข์ เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ ศึกษา และฝึกฝน จึงจะไปสู่จุดที่สูงสุด คือ พ้นทุกข์

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะไม่ได้อยู่เหนือธรรมชาติแต่อย่างใด

    ธรรมก็เป็นกฎธรรมชาติ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คำว่า ธรรมะเป็นธรรมชาติ ถ้าเข้าใจ"ธรรมะ" อย่างแท้จริงจะเข้าใจ เพราะทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา สามารถเป็นธรรมะได้หมด ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ วัตถุสิ่งของ หรือสัตว์ และที่สำคัญที่สุด คือย้อนมาดู"ธรรมะ"ที่อยู่ในตัวเรา

    ทำไมจึงมีคำว่า"ธรรมะเป็นธรรมชาติ" เพราะเมื่อคุณพิจารณาแล้วจะเห็นว่า ทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรอยู่คงทนไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของหรือแม้แต่ ธรรมชาติ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ไม่มีอะไรแน่นอน ถ้าพิจารณาจนมองเห็นว่าทุกอย่างคือธรรมชาติ คือสิ่งปกà��•à¸´à¸—ี่เมื่อเกิดขึ้นมาก็ย่อมแตกดับสูญสลาย สูญสิ้นไปตามกาลเวลา ไม่มีพายุที่ไหนที่จะอยู่ได้ตลอดไป เมื่อพายุมา อีกไม่นานพายุก็จะสิ้นสุดลง เป็นสัจธรรมที่สามารถเอามาพิจารณาได้หมด ให้เห็นธรรมได้อย่างแท้จริง ธรรมะ คือการยอมรับและปล่อยวาง ไม่ไปยึดติดกับสิ่งใดทั้งสิ้น

    ที่มา ศึกษาจากหนังสือธรรมทั่วๆไป โดยไม่เน้นว่าต้องมาจากที่ไหน

    ถ้าท่านใดปรารถนาอยากทราบ ความหมายอย่างแท้จริง ต้องลงมือปฏิบัติค่ะ ใครบอก ใครอธิบายก็ไม่เหมือนเราลงมือทำด้วยตัวของเราเอง...

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คุณกำลังสับสนความหมายของสองคำนี้ ธรรมมะหมายถึงการใช้ชีวิตแบบปฎิษัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โกหกไม่ดื่มสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่เป็นชู้สาวกับคนที่มีเจ้าของแล้ว ล้วนแล้วไม่เกี่ยวกับธรรมชาติเลย คำสะกดคล้ายกัน แต่มิได้มีความหมายเดียวกันเลยสักนิด ส่วนธรรมชาติหมายถึงสิ่งแวดล้อมรอบๆๆตัวเรา เช่นต้นไม้ สัตว์ต่างๆ รวมทั้งคน(มนุษย์) แม่น้ำ ภูเขา ล้วนแล้วเกิดจากธรรมชาติ แต่คนกลับพยายามแหกกฎธรรมชาติด้วยการสร้างสิ่งจอมปลอมขึ้นมาเอง เช่น เงิน เทคโนโลยี่ ตึกสูงๆๆ บ้านช่องใหญ่ๆ ทิ้งขยะและสร้างโรงงานมากๆแล้วปล่อยควันพิษไปสู่ชั้นบรรยากาศทำลายสิ่งแวดล้อมคือธรรมชาติถูกทำลาย แล้วตอนนี้ธรรมชาติก็ลงโทษคน(มนุษย์)ด้วยการเกิดอุทกข์ภัย และโลกร้อนตามมาแล้ว ฉนั้นมิได้เกี่ยวกับธรรมะนะคุณเอ่ย คุณกลับไปเรียนภาษาไทยใหม่เถอะ แล้วจะเข้าใจความหมายของสองคำนี้ตอบเอาบุญ

  • nara
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    งงเหมือนกัน........

    ธรรมะ จะเป็นธรรมชาติ เมื่อเข้าใจว่าธรรมะคืออะไร

    ธรรมชาติ ไม่ได้หมายถึง ต้นไม้ ภูเขา ลำธาร อย่างนั้น อย่างเดียวหลอกนะ

    ทุกอย่าง ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะ กับ ธรรมชาติ ในด้านภาษาพูด ภาษาเขียนนั้นต่าง

    แต่หากพิจารณาอย่างละเีอียดแล้ว ความหมายอย่างเดียวกัน

  • SATAN
    Lv 6
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ศาสนา ธรรมะ ธรรมชาติ....ก็คือความไม่มี..โลกสมมุติทั้งสิ้น ตัวคุณ ตัวผม ก็คือสิ่งสมมุติทั้งนั้น

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นนำหลักคำสอนมาจากธรรมชาติ เกิดจากการทดลองด้วยพระองค์เองทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเดินอยู่บนทางสายกลางโดยยึดถือหลักธรรมชาติของตัวเราเอง กินอยู่อย่างพอเพียง ไม่รักโลภโกรธหลง ทำจิตใจให้สงบ เข้าถึงแก่นแท้ของเหตุและผล สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเป็นผลของการกระทำ ธรรมะอาจไม่ใช่ธรรมชาติ หากแต่ถ้าเราใช้หลักธรรมะมาดำรงชีวิตจนเกิดเป็นนิสัยโดยธรรมชาติก็จะเป็นผลดียิ่ง

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถูกครับ ธรรมะไม่เป็นธรรมชาติ

    เพราะฉนั้น ถ้าเราอยากเข้าถึงธรรมะ

    เราก็ต้องทำจิตให้เป็นธรรมชาติ

    นั่นคือ ทำจิตให้บริสุทธิ์ สะอาด ปล่อยวาง

    ว่างเปล่า ตามธรรมชาติครับ

    แล้วท่านจะเข้าถึงธรรมะได้อย่างง่ายดายเลยทีเดียว

    แหล่งข้อมูล: WWW.RAKSA-DHAMMA.COM
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้