Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

Lv 58,815 points

Manoch P

คำตอบทีโปรดปราน46%
คำตอบ953

โรงฟักเถ้าแก่ เทรนนิ่ง อาจารย์พิเศษ, นักเขียน, นักพูด, วิทยากรฝึกอบรม-สัมมนา Facebook / Manoch Phoomphaichit

  • ใครมีประสบการณ์บ้าง? เมื่ออยู่ต่างประเทศจะถาม-ตอบใน yahoo รู้รอบตามปกติได้ไหม?

    ผมจะไปพักผ่อนที่ Australia ประมาณ 3 เดือน ถ้าเหงาก็ว่าจะเปิดyahoo รู้รอบ แต่ไม่ทราบว่าจะเปิดได้หรือเปล่า ใครมีประสบการณ์ช่วยบอกหน่อยครับ

    9 คำตอบQueensland (Brisbane)1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • อย่าหลง "อนัตตา" ? ขอย้ำ อย่าหลง "อนัตตา"?

    ญาติโยมหลง “อัตตา”

    แต่พระภิกษุสงฆ์หลง “อนัตตา”

    (1) ที่ว่าหลงเพราะ “คำคู่” ของ “อัตตา” คือ “นิรัตตา” ไม่ใช่ “อนัตตา”

    (2) ที่ว่าหลงเพราะ “คำตรงข้าม” ของ “อัตตา” คือ “นิรัตตา” ไม่ใช่ “อนัตตา”

    (3) ที่ว่าหลงเพราะ “คำสมาส” ของ “อนัตตา” คือ “อน + อตฺตา” ไม่ใช่ “น + อตฺตา”

    คำว่า “อนัตตา” มาจากคำ 2 คำ คือ อน + อตฺตา = อนัตตา

    (1) “อน” เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ ฯลฯ ใช้ประกอบหน้าคำศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ตั้งต้นด้วยสระ

    1.1 ถ้า “น” ประกอบหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ ต้องแปลง “น” เป็น “อน” ก่อน เช่น อน + อตฺตา = อนัตตา

    1.2 เพราะฉะนั้น ใครที่สอนว่า “อนัตตา” มาจากคำว่า “น + อตฺตา” จึงไม่ค่อยจะถูกต้องตามหลักการ

    1.3 ด้วยเหตุนี้ ใครที่สอนว่า “อนัตตา” แปลว่า “ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน” ฯลฯ ก็ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

    12 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ปริศนาธรรม (5) “ตัววัดผลสำเร็จ” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน?

    ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า “ศาสนา” ที่ชี้นำความเชื่อของบุคคลนั้นแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ศาสนาระดับโลกธรรม (ระดับต้น) ศาสนาระดับโลกุตรธรรม (ระดับกลาง) และ ศาสนาระดับอมตะธรรม (ระดับสูงสุด) เรื่อง ๆ เดียวกัน ถ้ามองในระดับของ “โลกธรรม” ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองในระดับของ “โลกุตรธรรม” ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในระดับของ “อมตะธรรม” ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (5) “ตัววัดผลสำเร็จ” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน? ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบต่อไปนี้ก่อน

    5.1 ตัววัดผลของศาสนาระดับโลกธรรมอยู่ที่ การได้รับ “ความสุข” ในโลกนี้

    5.2 ตัววัดผลของศาสนาระดับโลกุตรธรรมอยู่ที่ การ “ไม่ยึดมั่นถือมั่น” อะไรเลย

    5.3 ตัววัดผลของศาสนาระดับอมตะธรรมอยู่ที่ การรัก “พระเจ้า” และ “มนุษย์”

    8 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ปริศนาธรรม (4) “แนวทาง” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน?

    ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า “ศาสนา” ที่ชี้นำความเชื่อของบุคคลนั้นแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ศาสนาระดับโลกธรรม (ระดับต้น) ศาสนาระดับโลกุตรธรรม (ระดับกลาง) และ ศาสนาระดับอมตะธรรม (ระดับสูงสุด) เรื่อง ๆ เดียวกัน ถ้ามองในระดับของ “โลกธรรม” ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองในระดับของ “โลกุตรธรรม” ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในระดับของ “อมตะธรรม” ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (4) “แนวทาง” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน? ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบต่อไปนี้ก่อน

    4.1 แนวทางของศาสนาระดับโลกธรรมอยู่ที่ การให้ “ธรรมชาติ” เป็นศูนย์กลาง

    4.2 แนวทางของศาสนาระดับโลกุตรธรรมอยู่ที่ การให้ “มนุษย์” เป็นศูนย์กลาง

    4.3 แนวทางของศาสนาระดับอมตะธรรมอยู่ที่ การให้ “คนกลาง” เป็นศูนย์กลาง

    5 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ปริศนาธรรม (3) “หน้าที่” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน?

    ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า “ศาสนา” ที่ชี้นำความเชื่อของบุคคลนั้นแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ศาสนาระดับโลกธรรม (ระดับต้น) ศาสนาระดับโลกุตรธรรม (ระดับกลาง) และ ศาสนาระดับอมตะธรรม (ระดับสูงสุด) เรื่อง ๆ เดียวกัน ถ้ามองในระดับของ “โลกธรรม” ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองในระดับของ “โลกุตรธรรม” ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในระดับของ “อมตะธรรม” ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (3) “หน้าที่” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน? ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบต่อไปนี้ก่อน

    3.1 หน้าที่ของศาสนาระดับโลกธรรมอยู่ที่ การสร้างมนุษย์ให้เป็น “คนดี”

    3.2 หน้าที่ของศาสนาระดับโลกุตรธรรมอยู่ที่ การสร้างมนุษย์ให้เป็น “อรหันต์”

    3.3 หน้าที่ของศาสนาระดับอมตะธรรมอยู่ที่ การสร้างมนุษย์ให้เป็น “พระเจ้า”

    5 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ปริศนาธรรม (1) “รากฐาน” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน?

    ในปัจจุบันนี้ จะเห็นว่า “ศาสนา” ที่ชี้นำความเชื่อของบุคคลนั้นแบ่งได้ 3 ระดับ คือ ศาสนาระดับโลกธรรม (ระดับต้น) ศาสนาระดับโลกุตรธรรม (ระดับกลาง) และ ศาสนาระดับอมตะธรรม (ระดับสูงสุด) เรื่อง ๆ เดียวกัน ถ้ามองในระดับของ “โลกธรรม” ก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามองในระดับของ “โลกุตรธรรม” ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง และถ้ามองในระดับของ “อมตะธรรม” ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างและสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาใช้ทดแทนกันได้เลย เพราะฉะนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก่อนที่ท่านจะตอบคำถามที่ (1) “รากฐาน” ของ “ธรรมะ” อยู่ที่ไหน? ขอให้พิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบต่อไปนี้ก่อน

    1.1 รากฐานของโลกธรรมอยู่ที่ความเป็น “สามัญ” ของธรรมชาติ

    1.2 รากฐานของโลกุตรธรรมอยู่ที่ความเป็น “พิเศษ” ของมนุษย์

    1.3 รากฐานของอมตะธรรมอยู่ที่ความเป็น “มนุษย์” ของพระเจ้า

    4 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ท่านพุทธทาสสอนผิด (5) เรื่อง "การตีความของธรรมะ" หรือ ?

    หลักในการตีความ���มายของ “ธรรมะ” ที่ถูกต้อง

    ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ทางฟิสิกส์และทางเคมี เขาต้องรู้คุณสมบัติของสารด้วยว่า อะไรผสมกับอะไรได้ อะไรผสมกับอะไรไม่ได้

    ความรู้ทางไสยศาสตร์ เช่น การเล่นแร่แปรธาตุ เขาต้องรู้ว่าเมื่อนำสิ่งนี้ไปผส���กับสิ่งนั้นแล้วจะเป็นอะไร อะไรผสมกับอะไรไม่ได้

    ความรู้ทางธรรมะ เช่น การเล่นแง่แปล (อภิ) ธรรม ก็เหมือนกัน เขาต้องรู้คุณสมบัติของธรรมะด้วยว่า ธรรมะผสมกับอะไรได้ และธรรมะผสมกับอะไรไม่ได้ เพราะหากถอดความของ “ธรรมะ” ผิดไปจุด ๆ หนึ่ง ก็จะคลาดเคลื่อนไปเป็นพัน ๆ ข้อ สังคมจะเสื่อมสลาย ผู้คนจะเลวทราม และสถานการณ์คับขันจะอุบัติขึ้นในชั่วพริบตา เพราะฉะนั้น การถอ��ความของ “ธรรมะ” จะต้องรู้ถึง “ข้อยกเว้น” ของธรรมะทั้ง 4 ประการ ได้แก่

    7 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ท่านพุทธทาสสอนผิด (4) เรื่อง “ธรรมะขั้นสูงสุดคือกรรมที่ไม่มีดีไม่มีชั่ว”หรือ?

    ท่านพุทธทาส กล่าวว่า

    กรรมที่ 1 คือ กรรมดี

    กรรมที่ 2 คือ กรรมชั่ว

    กรรมที่ 3 คือ กรรมไม่ดีไม่ชั่ว, กรรมไม่ขาวไม่ดำ

    กรรมอย่างนี้เรียกว่า “อริยมรรค” ท่านควรจะจดหรือจำไว้เลยว่า อริยมรรคนั้นคือกรรมที่ 3 ที่ไม่ดีไม่ชั่ว ใครทำกรรมที่ 3 นี้เข้าแล้วจะอยู่เหนือโลก จะอยู่เหนือกรรมแล้วจะนิพพาน เป็นการปฏิบัติที่มุ่งไปเพื่อมรรคผลนิพพานโดยตรง ไม่มุ่งเพื่อเกิดใหม่เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้….เพราะว่ามันเป็นไปเพื่อไม่เกิด มันเป็นไปเพื่อไม่ดับ…ซึ่งกรรมไม่ดีไม่ชั่วนี้ล้างหมดทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว”

    (พุทธทาส อินทปัญโญ,คู่มือแสดงหลักธรรม ,ฉบับสมบูรณ์,กรุงเทพฯ,ธรรมสภา, 95-96)

    7 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ท่านพุทธทาสสอนผิด (3) เรื่อง “ ธรรมะ คือ อะไร ” หรือ ?

    ปัญหาคือ : มีอาจารย์หลายท่านได้นำคำว่า “ธมฺม” (บาลี) และ “ธรฺม” (สันสกฤต) ที่แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” มาสรุปว่า “กุศลธรรม-อกุศลธรรม-อัพยากฤตธรรม ก็เป็นธรรมะทั้งนั้น” ถ้าเราฟังพระสวดศพก็จะได้ยินคำว่า “กุสลาธมฺมา อกุสลาธมฺมา อพยากตาธมฺมา” หมายความว่า “ธรรมะฝ่ายดีก็เป็นธรรมะ ธรรมะฝ่ายชั่วก็เป็นธรรมะ และธรรมะฝ่ายที่ไม่มีดีไม่มีชั่วก็ล้วนเป็นธรรมะทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดยกเว้น”

    การวิเคราะห์ปัญหา : เมื่อถามว่า “ธรรมะคืออะไร?” ผู้ตอบส่วนใหญ่ไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่าง “ธรรมะ” ตามความหมาย “ดั้งเดิม” และ “ธรรมะ” ตามความหมาย “ใหม่” ให้ชัดเจน จึงทำให้ผู้ตอบ “หลงทาง” และ “สับสน” เสียเองใน 4 ประเด็น คือ

    7 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ท่านพุทธทาสสอนผิด (2) เรื่อง “ ธรรมะ คือ ความว่าง ” หรือ?

    เพื่อไม่ให้ประชาชนที่ฟังสับสน เมื่อสอนว่า “ธรรมะ คือ ความว่าง” ผู้สอนควรชี้แจงให้ชัดเจนด้วยว่าเล็งถึง “ธรรมะ” ตามความหมาย “ดั้งเดิม” ? หรือ “ธรรมะ” ตามความหมาย “ใหม่” ? หรือว่ารวมถึง “ธรรมะทั้งหมด” ? ไม่มีธรรมะใดยกเว้น

    เพราะเมื่อวิเคราะห์ “ธรรมะ” (ดั้งเดิม) และ “ธรรมะ” (ใหม่) ทั้งจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตก็ไม่มีส่วนไหนที่ระบุว่า “ธรรมะ” คือ “ความว่าง” ที่หมายถึง การไม่ยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย แต่ตรงกันข้าม กลับพบว่า “ธรรมะ” หมายถึง “การยึดมั่นถือมั่นไว้ซึ่งคุณงามความดี” เช่น

    ตัวอย่างที่ 1

    การวิเคราะห์จาก “มรรคมีองค์ 8”

    โดยพระโคตมพุทธเจ้าศาสดาของศาสนาพุทธได้ทรงนำคำว่า “มฺม” มาสร้างคำใหม่ เรียกว่า “มรรคมีองค์ 8” ได้แก่

    16 ค��ตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • ท่านพุทธทาสสอนผิด (1) เรื่อง “ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ” หรือ ?

    ความถูกต้องดีงามที่ชนรุ่นก่อนทำไว้คือสิ่งที่ชนรุ่นหลังจะต้องเลียนแบบและถ่ายทอดต่อไป แต่ความบกพร่องและบิดเบี้ยวที่ชนรุ่นก่อนได้ทำไว้ มันท้าทายให้ชนรุ่นหลังหาทางเติมเต็มและแก้ไขให้ตรงทาง เพราะฉะนั้น สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ “การเปรียบเทียบกัน” แต่มิได้จงใจลบหลู่ และขอให้เป็น “กรณีศึกษา” ก็แล้วกัน ก่อนที่จะตอบคำถามเรื่องที่ 1 (ธรรมะ คือ ธรรมชาติ) ขอให้ท่านพิจารณาข้อมูลต่อไปนี้ก่อนครับ

    20 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
  • แด่ธรรมะซึ่งทำให้คนหลงข้ามภพข้างชาติ : พวกเรากำลังหลงธรรมหรือ?

    หลักการตีความหมายของธรรมะที่ถูกต้อง

    ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ทางฟิสิกส์และทางเคมี เขาต้องรู้คุณสมบัติของสารด้วยว่า อะไรผสมกับอะไรได้ อะไรผสมกับอะไรไม่ได้

    ความรู้ทางไสยศาสตร์ เช่น การเล่นแร่แปรธาตุ เขาต้องรู้ว่าเมื่อนำสิ่งนี้ไปผสมกับสิ่งนั้นแล้วจะเป็นอะไร อะไรผสมกับอะไรไม่ได้

    ความรู้ทางธรรมะ เช่น การเล่นแง่แปล (อภิ) ธรรม ก็เหมือนกัน เขาต้องรู้คุณสมบัติของธรรมะด้วยว่า ธรรมะผสมกับอะไรได้ และธรรมะผสมกับอะไรไม่ได้ เพราะหากถอดความของ “ธรรมะ” ผิดไปจุด ๆ หนึ่ง ก็จะคลาดเคลื่อนไปเป็นพัน ๆ ข้อ สังคมจะเสื่อมสลาย ผู้คนจะเลวทราม และสถานการณ์คับขันจะอุบัติขึ้นในชั่วพริบตา เพราะฉะนั้น การถอดความของ “ธรรมะ” จะต้องรู้ถึง “ข้อยกเว้น” ของธรรมะทั้ง 4 ประการ ได้แก่

    7 คำตอบศาสนาและจิตวิญญาณ1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา