Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

แด่ธรรมะซึ่งศาสดาไม่ได้สอน : จริงหรือที่ว่า ธรรมะ คือ ความว่าง?

อัปเดต:

คำว่า “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง สภาวะที่ดำรงอยู่ได้เอง, อยู่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง, เป็นสภาวะของเหตุ และเป็นอมตะ-สุขัง-อัตตา ฯลฯ

แต่ผู้ตอบกลับชี้ไปที่ “ธรรมชาติ” ที่หมายถึง สภาวะที่อาศัยสิ่งอื่นเกิดขึ้น-อาศัยสิ่งอื่นดับไป +8่า “ธรรมะ” (สภาวะอมตะ) และ “ธรรมชาติ” (สภาวะเสื่อมสูญ) นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอันเดียวกัน

เมื่อวิเคราะห์ความหมาย “ดั้งเดิม” ของ “ธรรมะ” ทั้งจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ก็ไม่มีส่วนไหนเลยที่ระบุว่า “ธรรมะ” คือ “ความว่าง” ที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แต่ตรงกันข้าม กลับพบว่า “ธรรมะ” คือ “การยึดมั่นถือมั่นไว้ซึ่งคุณงามความดี” เช่น

อัปเดต 2:

ผมต้องขอโทษด้วยนะครับ ผมไม่ได้อคติกับศาสนาพุทธ แต่กำลังสงสัยในคำสอนของพระอาจารย์ทั้งหลาย เช่น

คำว่า “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึง สภาวะที่ดำรงอยู่ได้เอง, อยู่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง, เป็นสภาวะของเหตุ และเป็นอมตะ-สุขัง-อัตตา ฯล%าะสำคัญผิดว่า “ธรรมะ” (สภาวะอมตะ) และ “ธรรมชาติ” (สภาวะเสื่อมสูญ) นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอันเดียวกัน

อัปเดต 3:

ผมต้องขอโทษด้วยนะครับ ผมไม่ได้อคติกับศาสนาพุทธ แต่กำลังสงสัยในคำอธิบายของพระอาจารย์ทั้งหลายว่า ทำไม? พวกเขาตีความไม่ตรงกับความหมายทั้งจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต

เพราะคำว่า “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึงสภาวะที่ดำรงอยู่%E(เอาเอง) ว่า “ธรรมะ” คือ ความว่าง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย การตีความเช่นนี้ไม่ถูกต้อง ถือว่าเป็นความผิดพลาดของการสอนธรรมะในสังคมไทย เพราะสำคัญผิดว่า “ธรรมะ” (สภาวะอมตะ) และ “ธรรมชาติ” (สภาวะเสื่อมสูญ) นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอันเดียวกัน

อัปเดต 4:

1. คำว่า “ธรรมะ” ตรงกับภาษาบาลี คือ “ธมฺม” ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ ธ + มฺม

1.1 “ธ” (dha) เป็นคำสรรพนามบุรุษที่สอง ใช้แทนชื่อบุคคลชั้นสูง เช่น พระเจ้าแผ่นดิน มีความหมายว่า ท่าน, เธอ

1.2 “มฺม” (mum) แปลว่า แม่, ให้กำเนิด, บ่อเกิด, ปลอมตัว, เงียบ ฯลฯ แต่ถูกใช้ในความหมายอื่น 9น้นที่ “มนุษยกรรม” (กรรมดี-กรรมชั่วที่เสื่อมสูญของมนุษย์) แต่เน้นที่ “อมตธรรม” (ความดีที่เป็นอมตะของสิ่งซึ่งทรงตัวอยู่)

อัปเดต 5:

ข้อความข้างบน ทำไม? มันกระโดด อ่านแล้วไม่รู้เรื่องเลย มีปัญหาอะไรหรือ?

อัปเดต 6:

ผมต้องขอโทษด้วยนะครับ ผมไม่ได้อคติกับศาสนาพุทธ แต่สงสัยในคำอธิบายของพระอาจารย์ทั้งหลายว่า ทำไม? พวกเขาตีความไม่ตรงกับความหมายทั้งจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตเลย

เพราะคำว่า “ธรรมะ” แปลว่า “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” หมายถึงสภาวะที่ดำรงอยู่ได้เอง, อยู่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง, เป็นสภาวะของเหตุ และเป็นอมตะ-สุขัง-อัตตา ฯลฯ

อัปเดต 7:

แล้วเขาก็สรุป (เอาเอง) ว่า “ธรรมะ” คือ ความว่าง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย การตีความเช่นนี้ไม่ถูกต้อง ถือว่าเป็นความผิดพลาดของการสอนธรรมะในสังคมไทย เพราะสำคัญผิดว่า “ธรรมะ” (สภาวะอมตะ) และ “ธรรมชาติ” (สภาวะเสื่อมสูญ) นั้นเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน และอยู่ภายใต้เงื่อนไขอันเดียวกัน

เพราะเมื่อวิเคราะห์ความหมายเดิมของ “ธรรมะ” ทั้งจากภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ก็ไม่มีส่วนไหนเลยที่ระบุว่า “ธรรมะ” คือ “ความว่าง” ที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แต่ตรงกันข้าม กลับพบว่า “ธรรมะ” คือ “การยึดมั่นถือมั่นไว้ซึ่งคุณงามความดี” เช่น

อัปเดต 8:

1. คำว่า “ธรรมะ” ตรงกับภาษาบาลี คือ “ธมฺม” ป��ะกอบด้วยคำ 2 คำ คือ ธ + มฺม

1.1 “ธ” (dha) เป็นคำสรรพนามบุรุษที่สอง ใช้แทนชื่อบุคคลชั้นสูง เช่น พระเจ้าแผ่นดิน มีความหมายว่า ท่าน, เธอ

1.2 “มฺม” (mum) แปลว่า แม่, ให้กำเนิด, บ่อเกิด, ปลอมตัว, เงียบ ฯลฯ แต่ถูกใช้ในความหมายอื่น เช่น ชอบ, ดี, ถูกต้อง ฯลฯ

เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเข้าเป็น “ธมฺม” แปลว่า ความเป็นเหตุของพระราชา, ความชอบธรรมของพระราชา, ความดีของพระราชา, ความถูกต้องของพระราชา ฯลฯ โดย “ธมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “ประชาธรรม” (หน้าที่ของประชาชน, การปฏิบัติตามของประชาชน) แต่เน้นที่ “ราชธรรม” (หน้าที่ของพระราชา, การปกครองของพระราชา) หมายความว่า “ธมฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “มนุษยกรรม” (กรรมดี-กรรมชั่วที่เสื่อมสูญของมนุษย์) แต่เน้นที่ “อมตธรรม” (ความดีที่เป็นอมตะของสิ่งซึ่งทรงตัวอยู่)

อัปเดต 9:

2. คำว่า “ธรรมะ” ตรงกับภาษาสันสกฤต คือ “ธรฺม” ประกอบด้วย 2 คำ คือ ธร + รฺม

2.1 “ธร” (dhara) แปลว่า การยึดไว้, การถือไว้, การมีไว้, การรักษาไว้, การทรงไว้, ผู้ทรงไว้ ฯลฯ

2.2 “รฺม” (rum) แปลว่า ผิดธรรมดา, ไม่รู้จัก ฯลฯ คำนี้เป็นรากของคำว่า “รมฺม” กับ “รมฺย” แปลว่า น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, น่ารัก, น่าสบาย, น่าพึงใจ, น่ายินดี, งาม ฯลฯ

เมื่อนำคำทั้ง 2 มาสมาสกันเข้าเป็น “ธรฺม” แปลว่า ความสุขที่ต้องยึดถือไว้, ความยินดีที่ต้องรักษาไว้, คุณงามความดีของผู้ทรงดำรงอยู่ ฯลฯ โดย “ธรฺม” นั้นไม่ได้เน้นที่ “ทุ” (สอง, ปรุงแต่ง, ชั่ว, ยาก, มลทิน, มืด, ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) แต่มุ่งเน้นไปที่ “สุ” (หนึ่ง, แท้, ดี, งาม, ง่าย, สะอาด, สว่าง, สงบ) หมายความว่า “ธรฺม” นั้นไม่ได้มุ่งเน้นที่ “ทุกข์” (ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) แต่เน้นที่ “สุข” (คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง) ในโลกนี้จึงมีแต่ “ทุกข์” เท่านั้นที่เกิดขึ้นและก็มีแต่ “ทุกข์” เท่านั้นที่ดับไป เพราะฉะนั้น จึงมีแต่ “สุข” เท่านั้นที่ดำรงอยู่เป็น “อมตะสุข” แล้วอย่างนี้ “ธรรมะ” จะแปลว่า ความว่าง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย รวมทั้งความดีด้วย ได้อย่างไรเล่า

อัปเดต 10:

สรุป “ธรรมะ” ตามความหมายดั้งเดิม คือ พฤติธรรม หรือ สภาวธรรม ของ “สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” เป็นสภาวะ “คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง” ซึ่ง “ไม่มีอยู่ในโลกนี้” จึง “ไม่มีใครรู้จัก” และไม่อาจหาคำพูดใดๆ มาพรรณนาคุณลักษณะที่สัมบูรณ์นั้นได้ แต่หากจำเป็นต้องพรรณนาก็ไม่ควรใช้คำว่า “อนิจจัง-ทุขัง-อนัตตา” แต่ควรใช้คำว่า “อมตะ-สุขัง-อัตตา” เพราะ “ธรรมะ” ไม่ใช่ภาวะของโลก ที่เป็น “อนิจจัง” (การดำรงอยู่ชั่วคราวของกรรมดี-กรรมชั่ว) “ทุขัง” (การทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ของกรรมดี-กรรมชั่ว) และ “อนัตตา” (การไม่ใช่ตัวตนของกรรมดี-กรรมชั่ว) แต่ “ธรรมะ” คือ ภาวะเหนือโลก ที่เป็น “อมตะ” (การดำรงอยู่ตลอดไปของคุณงามความดี) “สุขัง” (การคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงของคุณงามความดี) และ “อัตตา” (การดำรงอยู่ได้เองของคุณงามความดี)

อัปเดต 11:

สรุป “ธรรมะ” ตามความหมายใหม่ คือ พฤติกรรม หรือ สภาวะกรรม ของ “สรรพสิ่งทั้งปวง” โดยพระโคตมพุทธเจ้าได้ยึดเอา “หลักกรรม” และ “หลักปฏิจจสมุปบาท” นั้นมาเป็น “รากฐาน” ของศาสนาพุทธด้วย เพราะฉะนั้น “ธรรมะ” ในศาสนาพุทธจึงไม่ได้หมายถึง “การรู้แจ้งในสภาวธรรมของสิ่งซึ่งทรงตัวอยู่” แต่หมายถึง “การรู้แจ้งในสภาวะกรรมของตนเอง” หรือ “การปฏิบัติให้ถึงการตรัสรู้ของมนุษย์” กล่าวคือ เป็นการพยายามรู้จักตนเองหรือการทำให้ตัวเองบริบูรณ์มากกว่าที่จะรู้จักหรือเข้าถึงพระเจ้า

อัปเดต 12:

พระโคตมะพุทธเจ้าศาสดาของศาสนาพุทธได้นำคำว่า “มฺม” มาสร้างคำใหม่ เรียกว่า “มรรคมีองค์ 8” เช่น

(1) ส+มฺม+ทิฏฐิ = สัมมาทิฏฐิ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “ให้มีความเห็นตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

ชาวพุทธจะแปลว่า “ให้มีความเห็นตามแนวทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความเห็นชอบ”

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “ให้มีความเห็นตามแนวทางของความว่าง มันไม่มีอะไรเลย”

(2) ส+มฺม+สังกัปปะ = สัมมาสังกัปปะ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “ให้มีความคิดตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

ชาวพุทธจะแปลว่า “ให้มีความคิดตามแนวทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความดำริชอบ”

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “ให้มีความคิดตามแนวทางของความว่าง มันไม่มีอะไรเลย”

อัปเดต 13:

(3) ส+มฺม+วาจา = สัมมาวาจา

นักเทวนิยมจะแปลว่า “ให้มีการพูดตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

ชาวพุทธจะแปลว่า “ให้มีการพูดตามแนวทางที่ถูกต้อง” หรือ “การพูดชอบ”

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “ให้มีการพูดตามแนวทางของความว่าง มันไม่มีอะไรเลย”

(4) ส+มฺม+กัมมันตะ = สัมมากัมมันตะ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “ให้มีการกระทำตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

ชาวพุทธจะแปลว่า “ให้มีการกระทำตามแนวทางที่ถูกต้อง” หรือ “กระทำชอบ”

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “ให้มีการกระทำตามแนวทางของความว่าง มันไม่มีอะไรเลย”

อัปเดต 14:

(5) ส+มฺม+อาชีวะ = สัมมาอาชีวะ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “ให้มีการเลี้ยงชีพตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

ชาวพุทธจะแปลว่า “ให้มีการเลี้ยงชีพตามแนวทางที่ถูกต้อง” หรือ “เลี้ยงชีพชอบ”

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “ให้มีการเลี้ยงชีพตามแนวทางของความว่าง มันไม่มีอะไรเลย”

(6) ส+มฺม+วายามะ = สัมมาวายามะ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “ให้มีความเพียรตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

ชาวพุทธจะแปลว่า “ให้มีความเพียรตามแนวทางที่ถูกต้อง” หรือ “ความเพียรชอบ”

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “ให้มีความเพียรตามแนวทางของความว่าง มันไม่มีอะไรเลย”

อัปเดต 15:

(7) ส+มฺม+สติ = สัมมาสติ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “ให้มีการระลึกตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

ชาวพุทธจะแปลว่า “ให้มีการระลึกตามแนวทางที่ถูกต้อง” หรือ “การระลึกชอบ”

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “ให้มีการระลึกตามแนวทางของความว่าง มันไม่มีอะไรเลย”

(8) ส+มฺม+สมาธิ = สัมมาสมาธิ

นักเทวนิยมจะแปลว่า “ให้มีความตั้งใจตามแนวทางของผู้ให้กำเนิด”

ชาวพุทธจะแปลว่า “ให้มีความตั้งใจตามแนวทางที่ถูกต้อง” หรือ “สมาธิชอบ”

แต่ลัทธิ nihil จะแปลว่า “ให้มีความตั้งใจตามแนวทางของความว่าง มันไม่มีอะไรเลย”

อัปเดต 16:

เพราะฉะนั้น “ธรรมะ” ตามความหมายใหม่ของพระโคตมะพุทธเจ้าจึงไม่ได้แปลว่า “ความว่าง” ที่หมายถึง ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในอะไรเลย ตรงกันข้าม จะพบว่า “มรรคมีองค์ 8” หมายถึง “การให้ยึดมั่นถือมั่นไว้ตามแนวทางที่ถูกต้อง” นั่นเอง

15 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    คนที่ตอบว่า “ธรรมะ คือ ความว่าง” นั้นถูกเพียง 1 มิติ เท่านั้น แต่ผิดถึง 2 มิติ เพราะธรรมะมี “หนึ่ง” แต่มีความแตกต่างกันไปตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการในจิตใจของมนุษย์เอง เช่น

    (1) ถ้าเราบรรลุธรรมในมิติของความเต็มบริบูรณ์ด้วยความดี เราจะเรียก “สภาวะของอัตตา” นั้นว่า “อุดมธรรม”

    (2) ถ้าเราบรรลุธรรมในมิติของความว่างเปล่าจากความชั่ว เราจะเรียก “สภาวะของนิรัตตา” นั้นว่า “สุญตาธรรม”

    (3) ถ้าเราบรรลุธรรมในมิติของความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันของ “สภาวะของอัตตา” กับ “สภาวะของนิรัตตา” เราก็จะเรียก “สภาวะของอนัตตา” นั้นว่า “ปฏิจจสมุปบาทธรรม”

    ธรรมะมี “หนึ่ง” แต่ผู้ฉลาดกล่าวให้มากไปเอง เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของสภาวธรรมทั้ง 3 มิติ นั้น แต่เมื่อมนุษย์บรรลุถึงความเป็น “หนึ่ง” ความแตกต่างนั้นก็จะหมดไป เพราะฉะนั้น การที่คนโง่ ๆ ไปทำลายความแตกต่างนั้นเสีย โดยสรุปว่า “ธรรมะ คือ ความว่าง” ย่อมถือว่าเป็นความผิดพลาด และยังพาให้คนเป็นอันมากพลอยหลงผิดไปด้วย

    แหล่งข้อมูล: วิเคราะห์จากพระไตรปิฎก
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะ คือ ของจริง ที่มีอยู่จริง เมื่อได้เห็นของจริง คือ ได้เห็นสัจจะธรรมด้วยความเห็นถูก ในสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เมื่อเห็นดังนี้ด้วยใจทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆก็ไม่เข้าไปยึดถือในสิ่งใดๆในโลก นี่เรียกว่าเข้าใจโลกแล้วดับโลกได้ แต่ยังมีธรรมอยู่ คือ ยังคงยึดถือในธรรมที่ได้รู้ ได้เห็นนั้นอยู่ ต้องดับธรรมนั้นด้วย ตรงกับพระบาลีว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา" คือ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตนไม่ควรยึดมั่นถือมั่น คือให้ว่างในจิตที่จะเข้าไปยึดถือ จิตก็เป็นอิสระเต็มที่ เพราะไม่ไปแบกหามหรือยึดถือในสิ่งทั้วปวง

    *สรุป ไม่จริงครับ ศาสดาที่ว่านี้ คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ไม่เคยกล่าวธรรมะที่ไหนว่าธรรมะคือความว่าง แต่สอนว่า เมื่อพิจารณาธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว ท้ายสุดก็ไม่ให้เข้าไปยึดถือในธรรม คือ ทำจิตให้ว่าง มิได้หมายความว่า ธรรมะ คือ ความว่างครับ

    ***ขอตอบเพิ่มเติมด้วยความเคารพ ความจริงข้อความที่ถามมานั้น ผมเห็นว่าเป็นคำถามที่มันง่ายๆสั้นๆ ผมจึงอนุเคราะห์กัน ถ้าผมเห็นว่าจะมีข้อความความเห็นมากมาย อันเต็มไปด้วยความสงสัยยิ่ง ผมก็จะไม่ขอตอบคำถามเหล่านั้น

    ผมเป็นคนโง่ที่ไม่มีปัญญาในด้านปริยัติ จะมีอยู่บ้างก็เพียงจดจำไว้สื่อสารกันเล็กๆน้อยๆเท่านั้น หากว่าจะมีก็ต้องวางเอาไว้ก่อนเพื่อรักษาการปฏิบัติธรรมภายในไว้

    การสนธนาธรรมกันอันเต็มไปด้วยความเห็นต่างๆ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม เพราะต่างคนก็ถือความคิดเห็นแห่งตนเป็นใหญ่

    ความสงสัยนั้นก็เป็นภัยอย่างหนึ่ง เพราะมีความกระหายที่จะรู้คำตอบที่ถูกต้อง แต่เชื่อเถอะความสงสัยนั้นแม้รู้คำตอบแล้ว ความสงสัยใหม่ก็แล่นเข้ามาอีกไม่มีที่สิ้นสุด มีพระสายหลวงปู่มั่นท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า "หากท่านมีความสงสัย ท่านก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลในความสงสัยนั้น เพียงแต่ให้ท่านเฝ้ามองความสงสัยนั้น ว่าเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปอย่างไร แล้วท่านก็จะรู้ว่าแม้ความสงสัย ก็ทำให้จิตใจขุ่นมัว เป็นกิเลสที่จรมาเท่านั้น เมื่อรู้เท่าทันมันก็ดับ"

    ต้องของออกตัวไว้ก่อนว่า ผมไม่บังอาจสอนใคร เพราะผมยังโง่อยู่ครับ หากมีสิ่งใดทำให้ระคายเคืองต้องขออภัย แต่เป็นเพราะจิตคิดอนุเคราะห์ และเห็นประโยชน์กับเพื่อนๆyahooรู้รอบ ก็ต้องอธิบายกัน

  • on-ces
    Lv 5
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ว่างจริงคะ แต่ถ้าว่างเหมือนอากาศ ไม่มีอะไรเลย

    จะฆ่าคนก็ไม่บาป ลักทรัพย์ก็ไม่ผิด

    ความเห็นนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะคะ

    ว่างที่แท้จะเป็นว่างจากตัวตน

    ตัวเราไม่มีในกายนี้ใจนี้ ตัวเราไม่มี ณ ที่ใดๆ

    ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีเขา ไม่มีเรา

    มีแต่รูปกับนามที่เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป

    พระท่านว่าเอาไว้อย่างนั้นคะ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ความว่าง ในที่นี้ หมายถึงความว่างที่เป็นอนัตตา

    คือ เป็นความไม่มี ไม่มีสิ่งใดให้ยึดเป็นที่สุด มีมูลเหตุที่เป็นสุญญัง

    เมื่อ อนัตตา เป็นหนึ่งในลักษณะสามอย่างของสรรพสิ่ง(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ดังนั้น ธรรมะ คือ ความว่าง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ธรรมะคือธรรมชาติ ธาตุขันธ์ เกิดมาดับไป ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ กลับคืนสู่สามัญ (ไม่มีอะไรนอกจากความว่างปล่าวทุกอย่างเป็นสิ่งสมมุติ)

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คำตอบ มีอยู่ในคำถามเรียบร้อยแล้ว ถามตัวเองก่อนว่า ทำจิตให้ว่าง หรือยัง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าภาษาคือความจริงแท้

    การปฏิบัติธรรมก็ไม่มีผล

    ถ้าการปฏิบัติธรรมมีผลจริง

    ภาษาก็ไม่ได้แสดงความจริงนั้น

    การตีความคำบอกเล่าจึงเป็นที่มาของข่าวลือ

    คุณเยี่ยมมาก!!!! ขอแสดงความนับถือ

    แหล่งข้อมูล: *ขอความสุขและความหวังดีจงยั่งยืนในทุกดวงใจ*
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    .............สาธุ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าว่างและหลุดพ้นจากทุกข์ใดๆ ก็ใช่เลยค่ะ

  • ?
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าถามผิด ให้ถามใหม่นะครับ

    รู้สึกว่าคำถามคุณจะมี อคติ กับศาสนาพุทธ โดยตรง !

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ถ้าว่างจากความชั่ว ก็ใช่ แต่ถ้าว่างจากความดี คงรับไม่ได้

    ถ้าว่างจากกรรมดี-กรรมชั่ว-กรรมไม่ดีไม่ชั่ว ก็ใช่ แต่ถ้าว่างจากความดีก็คงไม่ใช่

    ถ้าว่างจากกิเลส ตัณหา คงใช่ แต่ถ้าว่างจากความดี รับไม่ได้แน่นอน

ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้