Yahoo Answers จะปิดใช้งานในวันที่ 4 พฤษภาคม 2021 (เวลาตะวันออก) และตอนนี้เว็บไซต์ Yahoo Answers จะอยู่ในโหมดอ่านอย่างเดียว คุณสมบัติหรือบริการอื่นๆ ของ Yahoo หรือบัญชี Yahoo ของคุณจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปิดใช้งาน Yahoo Answers และวิธีการดาวน์โหลดข้อมูลของคุณในหน้าความช่วยเหลือนี้

อย่าหลง "อนัตตา" ? ขอย้ำ อย่าหลง "อนัตตา"?

ญาติโยมหลง “อัตตา”

แต่พระภิกษุสงฆ์หลง “อนัตตา”

(1) ที่ว่าหลงเพราะ “คำคู่” ของ “อัตตา” คือ “นิรัตตา” ไม่ใช่ “อนัตตา”

(2) ที่ว่าหลงเพราะ “คำตรงข้าม” ของ “อัตตา” คือ “นิรัตตา” ไม่ใช่ “อนัตตา”

(3) ที่ว่าหลงเพราะ “คำสมาส” ของ “อนัตตา” ���ือ “อน + อตฺตา” ไม่ใช่ “น + อตฺตา”

คำว่า “อนัตตา” มาจากคำ 2 คำ คือ อน + อตฺตา = อนัตตา

(1) “อน” เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ ฯลฯ ใช้ประกอบหน้าคำศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ตั้งต้นด้วยสระ

1.1 ถ้า “น” ประกอบหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ ต้องแปลง “น” เป็น “อน” ก่อน เช่น อน + อตฺตา = อนัตตา

1.2 เพราะฉะนั้น ใครที่สอนว่า “อนัตตา” มาจากคำว่า “น + อตฺตา” จึงไม่ค่อยจะถูกต้องตามหลักการ

1.3 ด้วยเหตุนี้ ใครที่สอนว่า “อนัตตา” แปลว่า “ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน” ฯลฯ ก็ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

อัปเดต:

(2) คำว่า “อตฺตา” แปลว่า “ตัวตน” (ถาวร) เล็งถึง “วิญญาณ” ไม่ใช่ “ร่างกาย” (เสื่อมสูญ)

2.1 “อัตตา” กูรูโบราณ เล็งถึง “วิญญาณ, กายอมตะ” (เป็นของจริง แท้ ทั้งปัจจุบันและอนาคต)

2.2 “นิรัตตา” กูรูโบราณ เล็งถึง “ร่างกาย, กายเสื่อมสูญ” (เป็นของจริง แท้ เฉพาะในปัจจุบัน)

2.3 “อนัตตา” กูรูโบราณ เล็งถึง “จิต, สิ่งที่จิตสร้างขึ้น” (ไม่เป็นของจริง แท้ ทั้งปัจจุบันและอนาคต)

สรุป (1) “อนัตตา” ไม่ได้แปลว่า “ไม่มีตัวตน” (คำแปลนี้ ยังไม่ครบถ้วน)

แต่ “อนัตตา” แปลว่า “ไม่มีทั้งอัตตาและนิรัตตา”

หมายความว่า “อนัตตา” นั้น “ไม่มีทั้งตัวตนถาวรและตัวตนเสื่อมสูญ”

สรุป (2) “อนัตตา” ไม่ได้แปลว่า “ไม่ใช่ตัวตน” (คำแปลนี้ ยังไม่ครบถ้วน)

แต่ “อนัตตา” แปลว่า “ไม่ใช่ทั้งอัตตาและนิรัตตา”

หมายความว่า “อนัตตา” นั้น “ไม่ใช่ทั้งตัวตนถาวรและตัวตนเสื่อมสูญ”

อัปเดต 2:

สรุป (3) “อนัตตา” ไม่ได้แปลว่า “ไม่เป็นตัวตน” (คำแปลนี้ ยังไม่ครบถ้วน)

แต่ “อนัตตา” แปลว่า “ไม่เป็นทั้งอัตตาและนิรัตตา”

หมายความว่า “อนัตตา” นั้น “ไม่เป็นทั้งตัวตนถาวรและตัวตนเสื่อมสูญ”

หมายเหตุ : หากต้องการสืบทอดพุทธศาสนาไว้ให้คงอยู่กับลูกหลานของเราตลอดไป ขอให้ยึดพระไตรปิฎกเป็นหลัก และเวลาแปลคำสอนใด ๆ ของพระพุทธองค์ขอให้พิจารณาถึง “เบื้องหลัง” และ “บริบท” ด้วย มิเช่นนั้นแล้ว ความผิดพลาดก็จะติดตามไปเหมือนเงาตามตัว เช่น

1.คนสอนก็หลง

2.คนเรียนก็งง

3.คนถ่ายทอดก็สับสน จนถึงทุกวันนี้

การมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะไม่มีใครมีข้อมูลเพียบพร้อมครบถ้วน แต่บางครั้งผู้ที่ไม่รู้จริง แต่มีอำนาจได้เข้ามาร่วมวงด้วยจนก่อให้เกิดความสับสน สร้างความเสียหาย และสร้างบรรทัดฐานที่ผิดจนไม่อาจจะแก้ไขหรือลบล้างได้ง่าย ๆ

อัปเดต 3:

คำถาม : การตีความของ "อนัตตา" ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ต้องหมายถึง "การปฏิเสธทั้งอัตตาและนิรัตตาด้วย" ไม่ใช่มีความหมายแค่การปฏิเสธเฉพาะอัตตาเท่านั้น ท่านเห็นว่าเป็นอย่างไร ?

อัปเดต 4:

ตอบคุณ ARMY ที่เคารพ

เพราะผมเห็นว่าตลอดสองพันกว่าปีที่ผ่านมานั้น พระพุทธศาสนาได้สร้างสิ่งดีงามให้โลกนี้มากมาย ผมถึงต้องหาทางป้องกันและแก้ไขไม่ให้พระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากสังคมไทย (เร็วเกินไป)

คำสอนไหนถูกต้องแล้ว ผมก็ไม่เข้าไปแตะต้องเลย แต่คำสอนไหนที่ผิดพลาด ซึ่งตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วทั้งจากภาษาศาสตร์และธรรมศาสตร์ ก็จะท้วงไปให้ได้สติ ก็ไปพิจารณากันเอง..ใครที่เขาสอนต่างหรือเชื่อต่างไปจากเรา เขาก็เป็นคนไทย และก็เป็นคนดีคนหนึ่ง

การตัดสินว่า ใครอธิบายตามความจริง? ใครอธิบายบิดเบือน? (น่าจะโดยไม่มีเจตนา) เรื่องนี้ คุณ ARMY และญาติธรรมสามารถตรวจสอบความถูกต้องนั้นได้จากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาทั้ง 4 ชั้น เช่น

1. จากพระไตรปิฎก ( นี่เป็นหลักฐานชั้นที่ 1 เรียกว่า “บาลี” )

2. จากคำอธิบายพระไตรปิฎก ( นี่เป็นหลักฐานชั้นที่ 2 เรียกว่า “อรรถกถา” )

3. จากคำอธิบายอรรถกถา ( นี่เป็นหลักฐานชั้นที่ 3 เรียกว่า “ฎีกา” )

4. จากคำอธิบายฎีกา ( นี่เป็นหลักฐานชั้นที่ 4 เรียกว่า “อนุฎีกา” )

หรือตรวจสอบจาก “สัททาวิเสส” ที่แต่งขึ้น ว่าด้วยไวยากรณ์ภาษาบาลีฉบับต่าง ๆ ในนั้นจะมีการอธิบายศัพท์ต่าง ๆ ไว

อัปเดต 5:

อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ กล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม แม้พระไตรปิฎกจะเป็นหลักฐานชั้น 1 เมื่อพิจารณาตามหลักพระพุทธภาษิตใน “กาลามสูตร” ท่านก็ไม่ให้ติดจนเกินไป ดังคำว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน อย่าถือโดยอ้างตำรา เพราะอาจมีผิดพลาดตกหล่นหรือบางตอนอาจเพิ่มเติมขึ้น แสดงว่าพระพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุผล สอบทวนดูให้เห็นประจักษ์แก่ใจของตนเอง เป็นการสอนอย่างมีน้ำใจกว้างขวางและให้เสรีภาพแต่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันให้นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อได้ประจักผลนั้น ๆ ด้วยตนเอง แม้จะมีพระพุทธภาษิตเตือนไว้มิให้ติดตำราจนเกินไป แต่ก็จำเป็นต้องรักษาตำราไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา เพราะถ้าไม่มีตำราเลยจะยิ่งซ้ำร้าย เพราะจะไม่มีแนวทางให้รู้จักพระพุทธศาสนาเลย ฉะนั้น การศึกษาให้รู้และเข้าใจในพระไตรปิฎก จึงเป็นลำดับแรกเรียกว่า “ปริยัติ” การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริต อัธยาศัย เรียกว่า “”ปฏิบัติ” และการได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้น ๆ เรียกว่า “ปฏิเวธ”..”

อัปเดต 6:

เมื่อตรวจสอบแล้ว คุณ ARMY และญาติธรรม ก็จะทราบได้เองว่า ใครอธิบายตามความจริง? ใครอธิบายบิดเบือน? แต่บางเรื่องก็ต้องทำใจ (เพราะเกินสติปัญญา) และบางเรื่องก็ผิดพลาดจริง ๆ (โดยไม่เจตนา)

เมื่อคุณ ARMY และญาติธรรม ได้ตรวจสอบแล้ว และยังคิดว่าผมไม่จริงใจ...ก็ขอวางอุเบกขา...

12 คำตอบ

คะแนนความนิยม
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
    คำตอบที่โปรดปราน

    เห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่คำถามแต่เป็นการโฆษณา

    และการโฆษณานี้มีจุดประสงค์ร้ายคือจงใจบิดเบือน

    ทำลายพระพุทธศาสนา

    "ญาติโยมหลง “อัตตา”

    แต่พระภิกษุสงฆ์หลง “อนัตตา” "

    จากประโยคนี้บ่งอาการชัดว่าลบหลู่การศึกษาพุทธศาสนา

    ในประเทศไทยและทั่วโลกว่าสูญเปล่า

    ไม่ใช่การศึกษาเพราะจู่โจมตีว่าทุกคนเป็นผู้หลง

    มีแต่ตนเองเท่านั้นที่รู้จริง

    และการจงใจบิดเบือนนี้ร้ายกาจมาก

    คือมุ่งโจมตีที่รากฐานเมื่อภาษาธรรมถูกบิดเบือนความหมาย

    ผู้ศึกษาภายหลังย่อมจับเอาความหมายที่สร้างขึ้น

    ด้วยการจงใจทำให้สับสนจากผู้ตั้งกระทู้

    การศึกษาพุทธศาสนาก็จะล้มเหลว

    ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้

    และกลับถูกกลืนโดยนัยยะซ่อนเร้น

    ซึ่งซ่อนอยู่ในเนื้อกระทู้

    ซึ่งผู้มีปัญญามีการศึกษา

    และมีความตั้งใจประพฤติธรรมจริงจังมองเห็นได้โดยไม่ยาก

    "สิ่งที่น่าเศร้าใจก็คือพุทธศาสนาทำร้ายอะไรคุณ

    คุณถึงอุตสาห์พยายามทำลายนักหนา"

    พุทธศาสนาทำร้ายทำลายอะไรโลก

    ถึงไม่ควรอยู่คู่โลกอีกต่อไป

    ตลอดสองพันกว่าปีที่ผ่านมา

    พระพุทธศาสนาไม่ได้สร้างสิ่งดีงามให้โลกนี้เลยหรือ

    คุณถึงต้องพากเพียรทำลายทิ้งไปให้ได้

    ถ้าคุณอยากเผยแพร่ศาสนะธรรมที่คุณเชิดชูบูชา

    คุณก็ประกาศออกมาตรงๆในด้านที่งดงาม

    เราก็ยินดีจะรับฟังและน้อมไปใคร่ครวญดู

    คุณกับพวกซึ่งคุณก็รู้แก่ใจ

    ว่าคุณสามารถเอาตัวรอดได้ด้วยคำโกหกและการอ้างเหตุผลหักล้าง

    บนหน้ากระดานนี้ได้อย่างสบายใจ

    คงไม่มีใครเดินทางไปตอแยกับคุณหรอก

    แต่ถ้าคุณเป็นมนุษย์ปกติที่มีสำนึกสะอาดเช่นปัจเจกชนทั่วไป

    บนหน้ากระดานนี้เห็นได้ชัดว่า

    ไม่ใช่ที่ถกเถียงวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการ

    เพราะผู้ที่ผ่านมาย่อมเลือกอ่านเพียงฉาบฉวย

    ซึ่งคุณก็รู้อยู่แล้วว่ามันเป็นอย่างนั้น

    และคุณก็แน่ใจว่ามันมีประโยชน์สำหรับคุณ

    คุณจึงตั้งใจให้มันเกิดที่นี่

    "ได้โปรดเถอะพระพุทธศาสนาไม่เคยทำร้ายคุณ

    ได้โปรดอย่าทำร้ายท่านอีกเลย"

    ด้วยความเคารพในเกียรติและศักศรีของคุณ คุณManoch P

    ขอให้คุณมีจิตเมตตาอันผ่องใสด้วยเถิด

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนอ่านก็งง ตกลงนี่เป็นคำถามหรือเป็นเว็ปบอร์ดใช้อวดภูมิเฉยๆครับ

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คุณถามหรือบอกครับ

  • Mor r
    Lv 4
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ว่าจะ อัตตา หรือ อนัตตา ก็เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้กล่าวถึงสภาวะของสภาพจิตใจ เพื่อใช้สื่อสารกันให้ผู้คนสามารถทำความเข้าใจถึงอาการของสภาวะดังกล่าวได้ เช่น ในสมัยหนึ่งผู้คนเขาเรียกอาการของการยึดถือในตัวต้นเหตุอันก่อกำเนิดความขัดเคืองใจ หรือความสำคัญว่านี่เรานี่ตัวเรานี่ของเรา ว่า อัตตา เป็นต้น

    การแปลให้เป็นความหมายให้ระบุเจาะจงลงไป ก็จะเป็นการจำกัดการทำความเข้าใจของแต่ละคนซึ่งจะไม่เหมือนกัน การให้ความหมายถึงคำเหล่านั้น จึงควรกล่าวในลักษณะของการอธิบาย น่าจะสร้างความเข้าใจได้ดีวิธีหนึ่ง ดังเช่นที่ผู้ตั้งคำถาม(รึปล่าว) ได้แสดงไว้ ครับ

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    เจ้าของกระทู้ตั้งคำถามแต่ละข้อ เล่นเอาฉงน! ไม่ทราบว่าจะมาไม้ไหน? ครั้งนี้ถึงไม่ตั้งเป็นคำถาม แต่เมื่ออ่านแล้วก็เข้าใจว่าทำไปด้วยเจตนามุ่งที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งคำสอนที่ถูกต้อง

    ลองสังเกตุดู คนà��—ี่สนใจเปิดกระทู้ของธรรมะมีไม่มากนัก ดังนั้น เท่าที่มีอยู่นี้ เราควรตั้งใจร่วมกันว่าจะรักษาพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไว้ให้บริสุทธิ์ เพื่อให้สังคมไทยได้รับประโยชน์จากพระธรรมวินัยอันถูกต้อง แท้จริงนั้น

    อย่าตั้งคำถามหรืออย่าตอบคำถามที่จะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นฝักเป็นฝ่าย ยอมรับนะว่า ข้อมูลที่เจ้าของกระทู้นำมานั้น บางเรื่องลึกซึ้งมากและบางเรื่องก็ไม่เคยมีใครสอนมาก่อนเลย เพราะฉะนั้น ต้องให้เวลาคนอื่นทำความเข้าใจและทำการตรวจสอบด้วย

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ไม่ได้โต้แย้งนะ แต่ขอเพิ่มเติม เพื่อจะได้ช่วยกันทำให้ชัดเจนขึ้น

    หลักในการใช้ “อ”

    “อ” แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ ฯลฯ บอกความปฏิเสธหรือบอกตรงกันข้าม มีวิธีใช้ดังนี้

    1. “อ” ใช้ประกอบหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ เช่น อ + ธรรม = อธรรม (ไม่ใช่ธรรม)

    2. “อน” ใช้ประกอบหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อน + เอก = เอนก (มากมาย)

    หลักในการใช้ “น”

    “น” แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ ฯลฯ เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ มีวิธีใช้ดังนี้

    1. แปลง “น” เป็น “อ” เมื่อประกอบหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ เช่น น + มต = อมตะ (ไม่ตาย)

    2. แปลง “น” เป็น “อน” เมื่อประกอบหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น

    (2.1) น + อตฺตา = อนัตตา เป็นการสมาสที่ “ผิดหลักการ” (ถ้าไม่แปลง “น” เป็น “อน”) ส่วนจะแปลว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตัวตน ฯลฯ ก็ไม่ต้องเถียงกัน แต่ขอให้เข้าใจว่าโดยสาระแล้วเป็นการปฏิเสธความเป็น “อัตตา” เท่านั้นเอง

    (2.2) อน + อตฺตา = อนัตตา เป็นการสมาสที่ “ถูกต้อง” และการแปลว่า ไม่ใช่ทั้งอัตตาและนิรัตตา ฯลฯ (ให้ดูที่บริบทด้วย) ถือว่าเป็นคำแปลที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่า

    แหล่งข้อมูล: มานิต มานิตเจริญ, พจนานุกรมไทย, (ครั้งที่ 23), หน้า 942, 947 และวิสันต์ กฎแก้ว, ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย, หน้า 125
  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    พระพุทธองค์ตรัสไว้เหมือนกันว่ามีศาสดา 3 ประเภท ปรà¸��กฏในโลก คือ

    1. ศาสดาที่บัญญัติ "อัตตา" โดยเป็นของจริง ของแท้ ทั้งในปัจจุบันและเบื้องหน้า เรียกว่า "ศาสดาที่เป็นสัสตวาท" (ลัทธิที่ถือว่า ตัวตนเที่ยง)

    2. ศาสดาที่บัญญัติ "อัตตา" โดยเป็นของจริง ของแท้ เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น เรียกว่า "ศาสดาที่เป็นอุจเฉทวาท" (ลัทธิที่ถือว่า ตัวตนขาดสูญ)

    3. ศาสดาที่ไม่บัญญัติ "อัตตา" โดยเป็นของจริง ของแท้ ทั้งในปัจจุบันและเบื้องหน้า เรียกว่า "ศาสดาผู้สัมมาสัมพุทธะ" (ลัทธิที่ถือว่า ตัวตนเป็นอนัตตา)

    พระพุทธองค์ทรงนำคำว่า "อนัตตา" มาใช้ ก็เพื่อจะปฏิเสธทั้ง 2 ลัทธิ (คือ ปฏิเสธทั้งตัวตนเที่ยงและตัวตนขาดสูญ หรือ ปฏิเสธทั้งอัตตาและนิรัตตา) นั่นเอง

    แหล่งข้อมูล: ดู อภิ.ก.37/188/82 และ อภิ.ปุ 36/103/179
  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    คนนี้บอกว่า "อัตตา"

    คนนั้นบอกว่า "อนัตตา"

    เถียงกันไป ก็เถียงกันมา ตั้งแต่รุ่นปู่ถึงรุ่นพ่อ

    ทั้งปู่ ทั้งพ่อ ทั้งลูก (ยังไม่รวมหลาน) เลยตกหลุมของ "นิรัตตา" ไปเลย

    ก็หลวงพ่อเองนั่นแหละที่อธิบายว่า "อนัตตา คือ ความว่าง"

    แต่ไม่ได้บอกว่า "ว่างจากอะไร" โยมเลยไม่ไปวัด ไม่ไปโบสถ์ ไม่เอาอะไรเลย

  • ไม่ประสงค์ออกนาม
    1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    ตอนแรกหลงเข้ามาค่ะ....แต่อ่านแล้วน่าสนใจนะค๊ะ

    มีความตั้งใจกันจัง ทั้งผู้ถามและผู้ตอบ

    คนอ่านก็ได้ความรู้ ที่หลากหลาย

    หากยังไม่มีคำตอบอื่นที่ชัดเจนกว่านี้

    การพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ ก็ดูมีเหตุมีผล มีความเป็นไปได้สูง

  • 1 ทศวรรษ ที่ผ่านมา

    น่าจะเป็นการบอกนัย ๆ ว่า "ท่านกำลังหลงอนัตตาหรือ? คำเตือนนี้น่าจะมีมูลเหตุมาจากคำถามของท่าน narai เรื่อง "งงครับ" เกี่ยวกับอนัตตา

    พระธรรมปิฎกก็เคยกล่าวไว้ในทำนองนี้เหมือนกันว่า "ถ้าไม่คอยเตือนให้ระวัง ก็ชักจะเพลินไปหรือโน้มเอียงไปโดยไม่รู้ตัว ที่จะรู้สึกเหมือนว่า อนัตตาเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่ตรงข้ามกับอัตตา...คำว่า "อนัตตา" นี้เราพูดทับศัพท์ภาษาบาลีเพื่อความสะดวกเท่านั้น จะต้องระลึกไว้ว่า อนัตตาเป็นคำปฏิเสธความเป็นอัตตา ไม่ให้เกิดการยึดถือเป็นอัตตา

    ส่วนคำที่ตรงข้ามกับอัตตานั้น พระพุทธเจ้ามีให้ใช้อยู่แล้ว พระองค์ทรงใช้คำว่า"อัตตา"กับ"นิรัตตา"

    แหล่งข้อมูล: พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), หนังสือกรณีธรรมกาย, (พิมพ์ครั้งที่ 15) , 2542, หน้า 63,99
ยังคงมีคำถามอยู่ใช่หรือไม่ หาคำตอบของคุณได้ด้วยการเริ่มถามเลยในตอนนี้